พรรคการเมือง..ก็ทำหน้าที่ของพรรคการเมือง ที่หาเสียงเอาไว้
แม้ว่านโยบายที่หาเสียงไว้ ดูเหมือนจะศึกษามาไม่ครบทุกด้านมากพอที่จะลงมือปฏิบัติได้ทันที
แม้ว่าจะก้ำกึ่งว่า เป็นสัญญาว่าจะให้ ตามที่หลายๆคนตั้งข้อสังเกตไว้
พรรคร่วมรัฐบาลก็ยังคงเงียบเสียง ไม่แสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด
แม้แต่พรรคที่ตรงข้ามกับรัฐบาล ก็แทบจะไม่ออกแอ๊กชั่นอะไร ในเรื่องนี้
ทั้งๆที่ทุกพรรค ก็เคยหาเสียงกันทั้งนั้นว่า
จะทำทุกสิ่งเพื่อประโยขน์ของประเทศชาติ และประชาชน
นั่นเป็นนัยที่บ่งบอกว่า..ผลประโยชน์อย่างไหนสำคัญกว่า ระหว่าง
ผลประโยชน์ทางการเมือง หริอผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ประชาชนจึงหวังพึ่งได้แต่กลุ่มนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์..
ที่เสียสละตนเองออกมาแสดงความเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติมต่อรัฐบาล
ซึ่งหลายต่อหลายคนเป็นผู้ที่เคยมีส่วนในการควบคุม ดูแล นโยบายทางการเงินการคลังของประเทศ
และไม่มีส่วนได้เสียทางการเมือง เหมือนนักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล
เป็นความกล้าหาญ มิใช่ความขี้ขลาดเหมือนอีกหลายๆคน หลายๆพรรคการเมือง
ความเห็นของคนเหล่านี้มีส่วนเป็นการคานอำนาจกลายๆ
ต่อนโยบายที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะก่อความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ
เปรียบเสมือน ส.ส.นอกสภาที่เป็นปากเป็นเสียง แทนประชาชนที่ไม่มีความรู้ด้านนี้
แทนประชาชนที่ไม่รู้ว่าจะไปแสดงความคิดเห็นกับใคร ที่ไหน
และแทนประชาชนที่ไม่ยินดียินร้ายกับการเมือง แม้จะรู้อยู่เต็มอกว่าอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงก็ตาม
ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการทราบ
หากไร้ซึ่งความคลุมเครือ บวกกับการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของนโยบายรายวัน
ก็ยิ่งก่อให้เกิดความสับสนของประชาชน
ตลาดการเงินก็สับสน และคาดการณ์กันไปล่วงหน้าแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต
ดอกเบี้ยเงินกู้ ต้นทุนทางการเงินก็ไปรออยู่แล้วตอนนี้
แต่ประชาชนผู้อยากได้เงินจำนวนมาก กลับไม่รู้ว่าเงินสิบพันที่ตนเองจะได้รับนั้น
ต้องแลกกับอะไรบ้าง เช่น ราคาสินค้า ที่จะสูงขึ้น สวัสดิการต่างๆอาจถูกปรับลดลง
หรือไม่มีเงินมาขยายเพิ่มขึ้น เป็นต้น
หากประชาชนเหล่านั้นรู้รายละเอียดผลกระทบครบถ้วน
อาจเปลี่ยนความคิดของตนเองก็เป็นไปได้
ได้ยินนายก เรียกร้องให้ประชาชน ออกมาส่งเสียงร้องประชันกับคนที่เห็นต่างกับนโยบายนี้
ดูเหมือนจะขัดกับตอนที่มีความพยายามในการจัดตั้งรัฐบาล ว่า..
จะสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศ สลายสี สลายขั้ว
แต่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการ แยกฝ่าย แยกขั้ว ขึ้นมาใหม่หรือไม่?
ท่านน่าจะทบทวนและระมัดระวัง การพูด การจาให้มากกว่านี้
อย่าให้โอษฐ์พาไป เหมือนกรณีประณามเหตุรุนแรงเมื่อเร็วๆนี้
สิ่งที่ควรทำมากกว่าการปั่นคนออกมาชนกัน คือ..
การให้นักวิชาการของพรรค ออกมาถกกับผู้เห็นต่าง ในเวทีสาธารณมากกว่า
จึงจะเป็นประชาธิปไตย..หรือเปล่า?
แค่สงสัย..ทำไมไม่เอานักวิชาการของพรรคมาดีเบตกับผู้คัดค้านนโยายสิบพัน แต่ปั่นประชาชนออกมาแทน?
แม้ว่านโยบายที่หาเสียงไว้ ดูเหมือนจะศึกษามาไม่ครบทุกด้านมากพอที่จะลงมือปฏิบัติได้ทันที
แม้ว่าจะก้ำกึ่งว่า เป็นสัญญาว่าจะให้ ตามที่หลายๆคนตั้งข้อสังเกตไว้
พรรคร่วมรัฐบาลก็ยังคงเงียบเสียง ไม่แสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด
แม้แต่พรรคที่ตรงข้ามกับรัฐบาล ก็แทบจะไม่ออกแอ๊กชั่นอะไร ในเรื่องนี้
ทั้งๆที่ทุกพรรค ก็เคยหาเสียงกันทั้งนั้นว่า
จะทำทุกสิ่งเพื่อประโยขน์ของประเทศชาติ และประชาชน
นั่นเป็นนัยที่บ่งบอกว่า..ผลประโยชน์อย่างไหนสำคัญกว่า ระหว่าง
ผลประโยชน์ทางการเมือง หริอผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ประชาชนจึงหวังพึ่งได้แต่กลุ่มนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์..
ที่เสียสละตนเองออกมาแสดงความเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติมต่อรัฐบาล
ซึ่งหลายต่อหลายคนเป็นผู้ที่เคยมีส่วนในการควบคุม ดูแล นโยบายทางการเงินการคลังของประเทศ
และไม่มีส่วนได้เสียทางการเมือง เหมือนนักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล
เป็นความกล้าหาญ มิใช่ความขี้ขลาดเหมือนอีกหลายๆคน หลายๆพรรคการเมือง
ความเห็นของคนเหล่านี้มีส่วนเป็นการคานอำนาจกลายๆ
ต่อนโยบายที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะก่อความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ
เปรียบเสมือน ส.ส.นอกสภาที่เป็นปากเป็นเสียง แทนประชาชนที่ไม่มีความรู้ด้านนี้
แทนประชาชนที่ไม่รู้ว่าจะไปแสดงความคิดเห็นกับใคร ที่ไหน
และแทนประชาชนที่ไม่ยินดียินร้ายกับการเมือง แม้จะรู้อยู่เต็มอกว่าอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงก็ตาม
ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการทราบ
หากไร้ซึ่งความคลุมเครือ บวกกับการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของนโยบายรายวัน
ก็ยิ่งก่อให้เกิดความสับสนของประชาชน
ตลาดการเงินก็สับสน และคาดการณ์กันไปล่วงหน้าแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต
ดอกเบี้ยเงินกู้ ต้นทุนทางการเงินก็ไปรออยู่แล้วตอนนี้
แต่ประชาชนผู้อยากได้เงินจำนวนมาก กลับไม่รู้ว่าเงินสิบพันที่ตนเองจะได้รับนั้น
ต้องแลกกับอะไรบ้าง เช่น ราคาสินค้า ที่จะสูงขึ้น สวัสดิการต่างๆอาจถูกปรับลดลง
หรือไม่มีเงินมาขยายเพิ่มขึ้น เป็นต้น
หากประชาชนเหล่านั้นรู้รายละเอียดผลกระทบครบถ้วน
อาจเปลี่ยนความคิดของตนเองก็เป็นไปได้
ได้ยินนายก เรียกร้องให้ประชาชน ออกมาส่งเสียงร้องประชันกับคนที่เห็นต่างกับนโยบายนี้
ดูเหมือนจะขัดกับตอนที่มีความพยายามในการจัดตั้งรัฐบาล ว่า..
จะสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศ สลายสี สลายขั้ว
แต่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการ แยกฝ่าย แยกขั้ว ขึ้นมาใหม่หรือไม่?
ท่านน่าจะทบทวนและระมัดระวัง การพูด การจาให้มากกว่านี้
อย่าให้โอษฐ์พาไป เหมือนกรณีประณามเหตุรุนแรงเมื่อเร็วๆนี้
สิ่งที่ควรทำมากกว่าการปั่นคนออกมาชนกัน คือ..
การให้นักวิชาการของพรรค ออกมาถกกับผู้เห็นต่าง ในเวทีสาธารณมากกว่า
จึงจะเป็นประชาธิปไตย..หรือเปล่า?