จากกระทู้ก่อนหน้าที่ผมเคยพูดถึงไปแล้วเกี่ยวกับ รถไฟฟ้าที่คนกรุงเทพไม่เคยนั่ง ในกระทู้นี้ผมก็พามาลงข้อมูลแยกต่างหากมาลึกหน่อย เกี่ยวกับโครงการนึง ๆ ที่หลาย ๆ คนเวลาขับรถผ่านหรือจะไปนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง ก็คงจะเคยเห็นสิ่งก่อสร้างของโครงการนึงที่ทำไม่เสร็จและเป็นอนุสรณ์ตั้งเรียงอยู่เป็นแถวแนวยาวให้เราได้เห็นเป็นตอม่อร้างตามแนวทางรถไฟหรือริมถนนวิภาวดีรังสิตจนกระทั่งทุกวันนี้
โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Elevated Road and Train System - BERTS) หรือชื่อที่หลาย ๆ คนรู้จักในนามของ
"โครงการโฮปเวลล์" ซึ่งเป็นโครงการของ
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่เกิดขึ้นคิดมานานถึง 30 กว่าปีแล้ว ถ้านับมาจนถึงปีนี้ (2566)
จริง ๆ แล้วแรกเริ่มเป็นแผนที่เกิดขึ้นมาเพื่อมาแก้ปัญหารถติดที่เกิดมาจากจุดตัดทางรถไฟที่ไปขวางรถยนต์ (จากรถที่มันก็ติดอยู่แล้ว) ช่วงประมาณปี 2530-2533 ในตอนนั้น รฟท. และกระทรวงคมนาคมก็เลยคิดแผนที่จะทำเมกะโพรเจกต์ขึ้นมา โดยมีคอนเซปต์ที่จะย้ายทางรถไฟไปวิ่งแบบทางยกระดับแทน แต่ตอนนั้นก็เหมือนจะมีไอเดียแถมมาอีก โดยที่จะทำรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ทางด่วนซ้อนกันไปด้วย (ถ้ามีทางด่วนเกิดขึ้นจริงก็จะไปทับซ้อนกับโทลเวย์กับอุดรรัถยาอีกสาย) ทำให้เป็นระบบการเดินทาง 3 รูปแบบในโครงการเดียวกัน ตามแนวพื้นที่ของทางรถไฟ รฟท.ทั้ง 4 ทิศ ทั้งเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณยมราช
แผนที่แนวเส้นทางโฮปเวลล์จากขบวนรถไฟ mock up ที่ปัจจุบันอยู่ที่ศาลายา
โครงการเกิดขึ้นมาในเวลาอันรวดเร็วมากเพียงแค่ไม่กี่ปี ภายในปี 2533 ก็มีการลงนามสัญญากันทันที โดยโฮปเวลล์โฮลดิงส์ของฮ่องกง เป็นผู้ชนะการประมูลไป โครงการเริ่มสร้างจากบริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิตก่อนที่จะสร้างในจุดอื่น ๆ
แต่โครงการพึ่งจะเริ่มได้ไม่นานก็ต้องมาหยุดลงชั่วขณะในปีต่อมา 2534 หลังการรัฐประหารที่ได้ตรวจสอบ ทบทวนโครงการจนมีการสั่งให้ยกเลิก แต่เพราะโครงการยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญาจริง ๆ ในรัฐบาลชวน สมัยแรก ก็มีการผลักดันให้ทำต่อไป แต่การก่อสร้างก็เป็นไปด้วยความล่าช้ามาก เพราะเรื่องปัญหาเงินทุนของบริษัทเอง บวกกับปัญหาเรื่องของพื้นที่บนทางของ รฟท. และปัญหาเศรษฐกิจ อีก สุดท้ายโครงการนี้เลยต้องเลิกก่อสร้างไปกลางคันและทำการบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการในปี 2540 คืบหน้าแค่ 13.77%
ลองคิดดู ถ้าโครงการนี้สร้างเสร็จตามแผนงานไม่ล่าช้า และนับมาจนถึงตอนนี้สัญญาสัมปทาน 30 ปี ที่เซ็นไป ตอนนี้ก็คงจะหมดพอดี หรือเกือบจะหมดสัญญาไปแล้ว
จากความล้มเหลวสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง
อ่านถึงตรงนี้หลาย ๆ คนก็คงเข้าใจไปแล้วว่า โครงการมันก็คงหยุดอยู่แค่นี้ รฟท. ก็คงไม่มีอะไรจะพัฒนาหรือปรับปรุงต่อ แต่จะพูดแบบนั้นก็อาจจะไม่ถูก เพราะปัญหารถติดจากจุดตัดทางรถไฟก็ยังคงอยู่ หนำซ้ำยิ่งจะติดหนักทวีคูณขึ้นไปอีก โดยเฉพาะหลังจากยุคทองของเศรษฐกิจในช่วงปี 2530 ปลาย ๆ ถึง 2540 ขึ้นมา รถไฟฟ้าก็ยังไม่มีสักสาย
ในเวลาต่อมากระทรวงคมนาคม และรฟท. ก็กลับมาคิดแผนที่จะแก้รถติดจากจุดตัดทางรถไฟด้วยคอนเซปต์เดิมเหมือนโฮปเวลล์ แต่คราวนี้จะต่างกันนิดหน่อยตรงที่ไม่มีทางด่วนแล้ว และรถไฟดีเซลกับรถไฟฟ้าจะสามารถใช้ทางวิ่งบนขนาดราง 1.000 เมตร ร่วมกันได้ โดยแนวเส้นทางจะแบ่งรถไฟออกเป็น 2 สาย คือ สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-หนองงูเห่า (แนวเส้นทางเดิมก่อนที่จะเปลี่ยนในเวลาต่อมา)
ซึ่งเดิมทีจะสร้างสายสีแดงเข้มก่อน แต่เพราะมีติดปัญหาเรื่องการดำเนินงานของ รฟท. เอง แล้วก็เกิดการฟ้องร้องของโฮปเวลล์ แผนการก่อสร้างรอบนี้ รฟท. ก็เลยไปเริ่มสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าต้นแบบของสายสีแดงไปก่อน ช่วงพญาไท-หนองงูเห่า ประมาณปี 2548-2549 ซึ่งในเวลาต่อมาก็คือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ตอนนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ไปแล้ว โครงการก็ยังส่งมอบพื้นที่ยังไม่เสร็จสักที (3 ปีละ ยังส่งมอบไม่เสร็จสักที ผมขอระบายหน่อยเถอะ -*-)
ต่อมาในปี 2552 ก็เริ่มสร้างรถไฟสายสีแดงสักที เริ่มจากสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน สร้างเสร็จในปี 2556 แต่สายสีแดงอ่อนก็ต้องมาอยู่ในสภาพที่ทางวิ่งและสถานีเสร็จแล้วแต่ถูกทิ้งไว้เปล่า ๆ ไม่ได้วิ่งอยู่เกือบ 10 ปี เพราะความล่าช้าของสายสีแดงเข้มที่สร้างทีหลังในปี 2556 และเรื่องชิ้นส่วนของโฮปเวลล์ที่ถล่มลงมา การรื้อย้ายท่อ การรื้อทุบเสาโฮปเวลล์บางส่วน รวมถึงการปรับแบบแผนการสร้างสถานีกลางบางซื่อ (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) ให้เป็นฮับสถานีขนาดใหญ่เพื่อรองรับรถไฟฟ้ากับรถไฟความเร็วสูง แทนหัวลำโพงที่มีพื้นที่คับแคบ
สถานการณ์ปัจจุบัน
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม จอดสถานีรังสิต
หลังจากช่วงยุค 2550 กว่า ๆ ที่มีปัญหาอุปสรรคมากมายของสายสีแดง มาในปี 2564 รถไฟสายสีแดงก็สามารถเปิดให้บริการได้ทั้ง 2 สาย โดยเบื้องต้นแดงเข้มบางซื่อ-รังสิต และแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน ส่วนรถไฟดีเซลก็สามารถขึ้นไปวิ่งบนทางยกระดับคู่กับรถไฟฟ้าได้เป็นที่เรียบร้อยในตอนนี้ ส่วนข่าวล่าสุดในส่วนที่เหลือของสายสีแดงก็อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก ครม. ซึ่งตอนนี้กระทรวงคมนาคม โดย รมต.ช่วยคนล่าสุดก็ได้สั่งการให้ รฟท. ไปเร่งรัดนำโครงการส่วนต่อขยายที่มีความพร้อมช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต และตลิ่งชัน-ศิริราช ให้นำเข้ามาอนุมัติภายในปลายปีนี้ และคงจะเริ่มสร้างต่อไปในปีหน้า ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดี และมีความหวังที่โครงการรถไฟสายสีแดงยังคงสามารถเดินหน้าต่อไปได้จนตอนนี้ แม้ว่าอาจจะมีอุปสรรคจากการรื้อของคนที่ผ่านมาบ้าง...
สำหรับใครที่อาจจะสงสัยเกี่ยวกับส่วนของเสาตอม่อโฮปเวลล์ส่วนที่เหลือ ต่อไปในอนาคตอันใกล้(มั้ง) ก็จะถูกทุบไปเป็นทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน สาย 3 สนามบิน แล้วก็สายเหนือ
และสำหรับใครที่มีคำถามสงสัยเกี่ยวกับปัจจุบันของโครงการรถไฟสายสีแดงก็สามารถถามมาได้ครับ (ถ้าผมตอบได้นะครับ) อันนี้ก็เป็นข้อมูลที่ผมสะสมมา ศึกษามาจากเพจต่าง ๆ หรือเว็บต่าง ๆ
จากโฮปเวลล์สู่รถไฟฟ้าสายสีแดง
โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Elevated Road and Train System - BERTS) หรือชื่อที่หลาย ๆ คนรู้จักในนามของ "โครงการโฮปเวลล์" ซึ่งเป็นโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่เกิดขึ้นคิดมานานถึง 30 กว่าปีแล้ว ถ้านับมาจนถึงปีนี้ (2566)
จริง ๆ แล้วแรกเริ่มเป็นแผนที่เกิดขึ้นมาเพื่อมาแก้ปัญหารถติดที่เกิดมาจากจุดตัดทางรถไฟที่ไปขวางรถยนต์ (จากรถที่มันก็ติดอยู่แล้ว) ช่วงประมาณปี 2530-2533 ในตอนนั้น รฟท. และกระทรวงคมนาคมก็เลยคิดแผนที่จะทำเมกะโพรเจกต์ขึ้นมา โดยมีคอนเซปต์ที่จะย้ายทางรถไฟไปวิ่งแบบทางยกระดับแทน แต่ตอนนั้นก็เหมือนจะมีไอเดียแถมมาอีก โดยที่จะทำรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ทางด่วนซ้อนกันไปด้วย (ถ้ามีทางด่วนเกิดขึ้นจริงก็จะไปทับซ้อนกับโทลเวย์กับอุดรรัถยาอีกสาย) ทำให้เป็นระบบการเดินทาง 3 รูปแบบในโครงการเดียวกัน ตามแนวพื้นที่ของทางรถไฟ รฟท.ทั้ง 4 ทิศ ทั้งเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณยมราช
แผนที่แนวเส้นทางโฮปเวลล์จากขบวนรถไฟ mock up ที่ปัจจุบันอยู่ที่ศาลายา
โครงการเกิดขึ้นมาในเวลาอันรวดเร็วมากเพียงแค่ไม่กี่ปี ภายในปี 2533 ก็มีการลงนามสัญญากันทันที โดยโฮปเวลล์โฮลดิงส์ของฮ่องกง เป็นผู้ชนะการประมูลไป โครงการเริ่มสร้างจากบริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิตก่อนที่จะสร้างในจุดอื่น ๆ
แต่โครงการพึ่งจะเริ่มได้ไม่นานก็ต้องมาหยุดลงชั่วขณะในปีต่อมา 2534 หลังการรัฐประหารที่ได้ตรวจสอบ ทบทวนโครงการจนมีการสั่งให้ยกเลิก แต่เพราะโครงการยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญาจริง ๆ ในรัฐบาลชวน สมัยแรก ก็มีการผลักดันให้ทำต่อไป แต่การก่อสร้างก็เป็นไปด้วยความล่าช้ามาก เพราะเรื่องปัญหาเงินทุนของบริษัทเอง บวกกับปัญหาเรื่องของพื้นที่บนทางของ รฟท. และปัญหาเศรษฐกิจ อีก สุดท้ายโครงการนี้เลยต้องเลิกก่อสร้างไปกลางคันและทำการบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการในปี 2540 คืบหน้าแค่ 13.77%
ลองคิดดู ถ้าโครงการนี้สร้างเสร็จตามแผนงานไม่ล่าช้า และนับมาจนถึงตอนนี้สัญญาสัมปทาน 30 ปี ที่เซ็นไป ตอนนี้ก็คงจะหมดพอดี หรือเกือบจะหมดสัญญาไปแล้ว
จากความล้มเหลวสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง
อ่านถึงตรงนี้หลาย ๆ คนก็คงเข้าใจไปแล้วว่า โครงการมันก็คงหยุดอยู่แค่นี้ รฟท. ก็คงไม่มีอะไรจะพัฒนาหรือปรับปรุงต่อ แต่จะพูดแบบนั้นก็อาจจะไม่ถูก เพราะปัญหารถติดจากจุดตัดทางรถไฟก็ยังคงอยู่ หนำซ้ำยิ่งจะติดหนักทวีคูณขึ้นไปอีก โดยเฉพาะหลังจากยุคทองของเศรษฐกิจในช่วงปี 2530 ปลาย ๆ ถึง 2540 ขึ้นมา รถไฟฟ้าก็ยังไม่มีสักสาย
ในเวลาต่อมากระทรวงคมนาคม และรฟท. ก็กลับมาคิดแผนที่จะแก้รถติดจากจุดตัดทางรถไฟด้วยคอนเซปต์เดิมเหมือนโฮปเวลล์ แต่คราวนี้จะต่างกันนิดหน่อยตรงที่ไม่มีทางด่วนแล้ว และรถไฟดีเซลกับรถไฟฟ้าจะสามารถใช้ทางวิ่งบนขนาดราง 1.000 เมตร ร่วมกันได้ โดยแนวเส้นทางจะแบ่งรถไฟออกเป็น 2 สาย คือ สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-หนองงูเห่า (แนวเส้นทางเดิมก่อนที่จะเปลี่ยนในเวลาต่อมา)
ซึ่งเดิมทีจะสร้างสายสีแดงเข้มก่อน แต่เพราะมีติดปัญหาเรื่องการดำเนินงานของ รฟท. เอง แล้วก็เกิดการฟ้องร้องของโฮปเวลล์ แผนการก่อสร้างรอบนี้ รฟท. ก็เลยไปเริ่มสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าต้นแบบของสายสีแดงไปก่อน ช่วงพญาไท-หนองงูเห่า ประมาณปี 2548-2549 ซึ่งในเวลาต่อมาก็คือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ต่อมาในปี 2552 ก็เริ่มสร้างรถไฟสายสีแดงสักที เริ่มจากสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน สร้างเสร็จในปี 2556 แต่สายสีแดงอ่อนก็ต้องมาอยู่ในสภาพที่ทางวิ่งและสถานีเสร็จแล้วแต่ถูกทิ้งไว้เปล่า ๆ ไม่ได้วิ่งอยู่เกือบ 10 ปี เพราะความล่าช้าของสายสีแดงเข้มที่สร้างทีหลังในปี 2556 และเรื่องชิ้นส่วนของโฮปเวลล์ที่ถล่มลงมา การรื้อย้ายท่อ การรื้อทุบเสาโฮปเวลล์บางส่วน รวมถึงการปรับแบบแผนการสร้างสถานีกลางบางซื่อ (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) ให้เป็นฮับสถานีขนาดใหญ่เพื่อรองรับรถไฟฟ้ากับรถไฟความเร็วสูง แทนหัวลำโพงที่มีพื้นที่คับแคบ
สถานการณ์ปัจจุบัน
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม จอดสถานีรังสิต
หลังจากช่วงยุค 2550 กว่า ๆ ที่มีปัญหาอุปสรรคมากมายของสายสีแดง มาในปี 2564 รถไฟสายสีแดงก็สามารถเปิดให้บริการได้ทั้ง 2 สาย โดยเบื้องต้นแดงเข้มบางซื่อ-รังสิต และแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน ส่วนรถไฟดีเซลก็สามารถขึ้นไปวิ่งบนทางยกระดับคู่กับรถไฟฟ้าได้เป็นที่เรียบร้อยในตอนนี้ ส่วนข่าวล่าสุดในส่วนที่เหลือของสายสีแดงก็อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก ครม. ซึ่งตอนนี้กระทรวงคมนาคม โดย รมต.ช่วยคนล่าสุดก็ได้สั่งการให้ รฟท. ไปเร่งรัดนำโครงการส่วนต่อขยายที่มีความพร้อมช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต และตลิ่งชัน-ศิริราช ให้นำเข้ามาอนุมัติภายในปลายปีนี้ และคงจะเริ่มสร้างต่อไปในปีหน้า ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดี และมีความหวังที่โครงการรถไฟสายสีแดงยังคงสามารถเดินหน้าต่อไปได้จนตอนนี้ แม้ว่าอาจจะมีอุปสรรคจากการรื้อของคนที่ผ่านมาบ้าง...
สำหรับใครที่อาจจะสงสัยเกี่ยวกับส่วนของเสาตอม่อโฮปเวลล์ส่วนที่เหลือ ต่อไปในอนาคตอันใกล้(มั้ง) ก็จะถูกทุบไปเป็นทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน สาย 3 สนามบิน แล้วก็สายเหนือ
และสำหรับใครที่มีคำถามสงสัยเกี่ยวกับปัจจุบันของโครงการรถไฟสายสีแดงก็สามารถถามมาได้ครับ (ถ้าผมตอบได้นะครับ) อันนี้ก็เป็นข้อมูลที่ผมสะสมมา ศึกษามาจากเพจต่าง ๆ หรือเว็บต่าง ๆ