ตอนนี้นับตั้งแต่มีรถไฟฟ้าสายแรก (รถไฟฟ้ายุคสมัยใหม่) ก็ผ่านมา 20 กว่าปีแล้ว แต่กว่าจะมีมาถึงวันนี้มีความเป็นมายังไงบ้างกระทู้นี้ผมก็นำข้อมูลมารวบรวมให้แล้วในกระทู้นะครับ
ก่อนจะมีรถไฟฟ้าสายแรก
เดิมทีเราเคยมีรถไฟที่ใช้เป็นระบบไฟฟ้า (รถไฟสายปากน้ำ) และรถรางไฟฟ้ามาก่อนในอดีต แต่ว่าความนิยมในการใช้รถราง รถไฟฟ้าในอดีตเริ่มน้อยลง หลังจากที่รถยนต์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะด้วยความสะดวกรวดเร็วกว่าการใช้รถราง และรถไฟฟ้า จนกระทั่งในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2503 ได้มีการยกเลิกรถไฟสายปากน้ำ และในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร รถรางก็ได้ถูกยกเลิกไปจนหมดในปี 2511 ก่อนที่ในเวลาต่อมาได้มีโครงการรถไฟฟ้าสมัยใหม่ขึ้นมา ซึ่งในยุคแรกก็มีโครงการที่ไม่สำเร็จ 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้าลาวาลิน กับ โครงการโฮปเวลล์
โครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน
โครงการนี้เรียกได้ว่าเป็นโครงการระบบขนส่งมวลชน โครงการแรกของประเทศไทยในยุคใหม่เลยทีเดียว ตั้งแต่มีการเลิกใช้รถราง รถไฟฟ้ารูปแบบเก่าไปในช่วงก่อนหน้านี้
สำหรับโครงการนี้เริ่มมีการพูดถึงและศึกษากันขึ้นมาตั้งแต่ในยุค 70 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รถยนต์มีความนิยมมากจนนำมาซึ่งปัญหาการจราจรติดขัดและยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นไปอีกในเวลาต่อมา (รถติดหนักมากสำหรับยุคนั้น) รัฐบาลในยุคนั้นจึงได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมันมาทำการศึกษา สำรวจและทำเป็นแผนแม่บทซึ่งแบ่งเป็น โครงการ "ระบบทางด่วน" กับ "ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน" (สำหรับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน โครงการจะเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สมัยก่อนยังไม่มี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฯ หรือ รฟม.)
สำหรับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในระยะแรกจากผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 สาย คือ
- สายพระราม 4 จากพระโขนง-หัวลำโพง-หมอชิต ระยะทาง 25 กิโลเมตร
- สายสาธร จากวงเวียนใหญ่-สาทร-ลาดพร้าว ระยะทาง 20 กิโลเมตร มีการเตรียมที่จะสร้าง ที่ตอม่อบริเวณกึ่งกลางสองข้างของสะพานสาทร (สะพานตากสิน)
- สายสะพานพุทธ จากดาวคะนอง-สะพานพุทธ-มักกะสัน ระยะทาง 16 กิโลเมตร มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้ว พร้อมกับการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า อยู่กึ่งกลางระหว่างทั้งสองฝั่ง หรือที่เรียกสะพานตรงนี้ว่าสะพานด้วน ปัจจุบันกำลังใช้สะพานด้วนตรงนี้ให้กลายมาเป็นพระปกเกล้าสกายปาร์ค
ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงจะอยู่ที่ห้วยขวาง แต่ปัจจุบันจุดนี้ได้กลายเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน กับสายสีส้มไปแล้ว
รูปภาพของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในภาพจะมีทั้งโครงการทางด่วนเฉลิมมหานคร กับรถไฟฟ้าอีก 3 สาย

รูปนี้เป็นแผนที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าลาวาลินที่ผมทำขึ้นมาเอง (แสดงสถานีและเครื่องหมายต่าง ๆ)



ภาพจำลองของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน

ช่วงสร้างรถไฟฟ้าลาวาลินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณกึ่งกลางสะพานพระปกเกล้า
โครงการโฮปเวลล์
โครงการนี้มีชื่อจริง ๆ ว่า "โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร" แต่ต่อมาบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้งส์ ของนาย กอร์ดอน วู เมืองฮ่องกง ชนะการประมูล ในโครงการทางรถไฟยกระดับนี้ จึงมีการเรียกกันว่า "โครงการโฮปเวลล์" ที่เราคุ้นหู คุ้นเคยกัน ซึ่งเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือต้องการจะให้รถไฟไปวิ่งบนทางยกระดับ ลดปัญหาจุดตัดทางรถไฟบนถนนที่ทำให้รถติด พร้อมทั้งเสริมด้วยทางด่วนชั้นบนสุด กับรถไฟฟ้าไปด้วยในตัว
แนวเส้นทางในโครงการโฮปเวลล์
ช่วงที่ 1 ยมราช-ดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538
ช่วงที่ 2 ยมราช-หัวลำโพง-หัวหมาก และ มักกะสัน-แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539
ช่วงที่ 3 ดอนเมือง-รังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540
ช่วงที่ 4 หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ และ ยมราช-บางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ช่วงที่ 5 วงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร และ ตลิ่งชัน-บางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

แผนที่เส้นทางของโฮปเวลล์

ภาพจำลองโครงการโฮปเวลล์ถ้าสร้างเสร็จ


โครงการโฮปเวลล์ช่วงที่มีการสร้าง

ภาพขบวนรถไฟฟ้าของโฮปเวลล์แบบจำลอง (Mock-up) ที่เดิมเคยเอาไปตั้งโชว์ในสถานีหัวลำโพง ปัจจุบันอยู่ที่ศาลายา
บทสรุปของทั้ง 2 โครงการ
ในปี 2534 โครงการรถไฟฟ้าลาวาลินและโฮปเวลล์ ก็ได้ถูกล้มเลิกไปในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เพราะหลังจากการตรวจสอบของทั้ง 2 โครงการ มีปัญหาการส่งมอบพื้นที่และการทุจริตที่ไม่ชอบมาพากล แต่โครงการโฮปเวลล์ก็ยังถูกกลับนำมารื้อฟื้นอีกในช่วงหนึ่ง สมัยของรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 แต่สุดท้ายก็ได้บอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการในปี 2541 สมัยรัฐบาลของชวลิต ยงใจยุทธ ด้วยความคืบหน้าเพียง 13.77%
ในเวลาต่อมาหลังจากการตรวจสอบและยกเลิกโครงการทั้ง 2 ไปแล้ว ก็ได้เกิดองค์การรถไฟฟ้ามหานครในปี 2535 (ต่อมาเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ในปี 2543) และในเวลาเดียวกันทางฝั่งของ กทม. เองก็ได้มีการตั้งโครงการรถไฟฟ้าเป็นของตัวเอง ที่ต่อมาเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย ในชื่อ "รถไฟฟ้าบีทีเอส" นั่นเอง (รายละเอียดรถไฟฟ้าสายแรกอยู่ข้างล่าง)
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน ก็ถูกแทนที่ด้วยแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้าในสมัยใหม่มาแทนถูกทับด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าหลากสี หลากสายไปในปัจจุบัน
ส่วนโครงการโฮปเวลล์ในเวลาต่อมาถูกดัดแปลงมาเป็นโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงขึ้นมาแทน อย่างที่เราเห็นวิ่งกันทั้งรถไฟดีเซลธรรมดา และสายสีแดง แต่ปัจจุบันก็ยังมีเสาตอม่อของโฮปเวลล์บางส่วนที่รอทุบเพื่อจะสร้างรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน กับรถไฟความเร็วสูงสายเหนือกับอีสานอยู่

รถไฟทางไกลวิ่งบนทางยกระดับ คู่กับรถไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นได้จริงแล้วในปัจจุบัน
รถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย

ภาพรถไฟฟ้าขบวนแรกที่เข้าสู่ท่าเรือ
ในสมัยที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้มีการอนุมัติโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร โดยลงนามสัมปทานให้กับบริษัท ธนายง จำกัด ของคีรี กาญจนพาสน์ เมื่อปี 2535 และเริ่มก่อสร้างราว ๆ 2537-2538 ซึ่งในช่วงที่กำลังสร้าง เดิมที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงจะอยู่ที่สวนลุมพินี แต่ก็ถูกคัดค้านจึงย้ายไปอยู่ที่บริเวณกรมธนารักษ์ สถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต) ซึ่งส่วนตัวมองว่าดีแล้วที่ได้ย้ายไป โดยในตอนแรกโครงการนี้จะเรียกว่า รถไฟฟ้าธนายง แต่พอเปลี่ยนชื่อบริษัท จึงเรียกเป็น รถไฟฟ้าบีทีเอส ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน



ภาพช่วงที่มีการสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอส
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กระทู้ย้อนภาพเก่าๆ ของรถไฟฟ้า BTS 20 ปี. https://ppantip.com/topic/39364590
และแล้วโครงการนี้ก็เป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่สร้างจนเสร็จในวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2542 ด้วยการลงทุนของเอกชนเอง 100% ท่ามกลางขวากหนามของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 ในระยะแรกรถไฟฟ้าบีทีเอสต้องพบกับการขาดทุน เพราะคนใช้บริการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ถ้าตามเป้าหมายคือ 400,000 คน/ปี แต่กลับใช้เพียง 100,000 - 200,000 คน/ปี ทำให้บริษัทถึงกับต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูการเงินใหม่ทีเดียว จนปัจจุบันโครงการส่วนแรกก็คืนทุนไปหมดแล้ว
โดยรถไฟฟ้าสายแรกมีทั้งหมด 2 สายคือ สายสุขุมวิท และ สายสีลม
• สายสุขุมวิท (สายสีเขียวอ่อน) จากหมอชิต-สยาม-อ่อนนุช
• สายสีลม (สายสีเขียวเข้ม) จากสนามกีฬาแห่งชาติ-สยาม-สะพานตากสิน

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายนี้มีอายุมากกว่า 20 ปีแล้ว (ภาพปี 2543)
จากนั้น 5 ปีต่อมาวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 ก็ได้เปิดรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกที่หลายคนคุ้นเคยกับชื่อนี้กันดีคือรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง




ภาพช่วงที่มีการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินครั้งแรก
ความเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่
****อยากขอหมายเหตุตรงนี้ว่าหลายคนยังมักจะเข้าใจผิด มักจะชอบแยกประเภทรถไฟฟ้าแบบผิด ๆ โดยที่ไปคิดว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน เรียกว่า MRT ส่วนลอยฟ้าหรือยกระดับ เรียกว่า BTS เท่านั้น ซึ่งมันไม่ใช่เลย จริง ๆ แล้ว ที่เรียกว่า BTS เพราะเป็นโครงการของ กทม. ย่อมาจากชื่อเต็ม ๆ ว่า "Bangkok Mass Transit System" หรือที่แปลว่า ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร"
ส่วนรถไฟฟ้าที่ชื่อว่า MRT เนี่ยมันเป็นโครงการของ รฟม. ที่ใช้เรียกย่อมาจากคำว่า Mass Rapid Transit System ที่แปลว่า ระบบขนส่งมวลชนเร็ว ที่พอเรียกย่อ ๆ จึงเป็น MRT สายสีต่าง ๆ เช่น MRT สายสีส้ม สายสีเหลือง ฯลฯ ซึ่งจริง ๆ ผมคิดว่า BTS เนี่ยถ้าให้ถูกจริง ๆ ก็อยากจะให้เรียกว่า MRT จะได้เหมือน ๆ กันไปเลย ไม่ต้องมาสับสนกัน แต่ก็นั่นแหละ ตอนแรกมันบังเอิญว่า BTS เปิดมาก่อนและเป็นแบบลอยฟ้าตลอดเส้น ส่วน MRT สายแรกมันก็ดันเปิดแต่แบบใต้ดินคนก็เข้าใจผิดไปอย่างที่บอกตอนแรก
ดังนั้นถ้าใครเห็นชื่อ BTS หรือ MRT ที่ถูกต้องและเข้าใจตรงกันนั้น มันก็คือ รถไฟฟ้าแบบประเภท Metro เหมือนกันจะวิ่งลอยฟ้า บนดิน หรือใต้ดินมันก็คือคือกันนั่นแหละครับ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะครับ ใครอยากแชร์ประสบการณ์นั่งรถไฟฟ้าครั้งแรกยังไงก็ลองคอมเม้นต์ได้ครับ
****กระทู้นี้เรียบเรียงใหม่ และมีการอัปเดตข้อมูลมาจากกระทู้เดิมที่เคยตั้งไว้ตอนปี 62****
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1. https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99
2. https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C
รถไฟฟ้าที่คนกรุงเทพไม่เคยนั่ง
ก่อนจะมีรถไฟฟ้าสายแรก
เดิมทีเราเคยมีรถไฟที่ใช้เป็นระบบไฟฟ้า (รถไฟสายปากน้ำ) และรถรางไฟฟ้ามาก่อนในอดีต แต่ว่าความนิยมในการใช้รถราง รถไฟฟ้าในอดีตเริ่มน้อยลง หลังจากที่รถยนต์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะด้วยความสะดวกรวดเร็วกว่าการใช้รถราง และรถไฟฟ้า จนกระทั่งในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2503 ได้มีการยกเลิกรถไฟสายปากน้ำ และในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร รถรางก็ได้ถูกยกเลิกไปจนหมดในปี 2511 ก่อนที่ในเวลาต่อมาได้มีโครงการรถไฟฟ้าสมัยใหม่ขึ้นมา ซึ่งในยุคแรกก็มีโครงการที่ไม่สำเร็จ 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้าลาวาลิน กับ โครงการโฮปเวลล์
โครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน
โครงการนี้เรียกได้ว่าเป็นโครงการระบบขนส่งมวลชน โครงการแรกของประเทศไทยในยุคใหม่เลยทีเดียว ตั้งแต่มีการเลิกใช้รถราง รถไฟฟ้ารูปแบบเก่าไปในช่วงก่อนหน้านี้
สำหรับโครงการนี้เริ่มมีการพูดถึงและศึกษากันขึ้นมาตั้งแต่ในยุค 70 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รถยนต์มีความนิยมมากจนนำมาซึ่งปัญหาการจราจรติดขัดและยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นไปอีกในเวลาต่อมา (รถติดหนักมากสำหรับยุคนั้น) รัฐบาลในยุคนั้นจึงได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมันมาทำการศึกษา สำรวจและทำเป็นแผนแม่บทซึ่งแบ่งเป็น โครงการ "ระบบทางด่วน" กับ "ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน" (สำหรับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน โครงการจะเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สมัยก่อนยังไม่มี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฯ หรือ รฟม.)
สำหรับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในระยะแรกจากผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 สาย คือ
- สายพระราม 4 จากพระโขนง-หัวลำโพง-หมอชิต ระยะทาง 25 กิโลเมตร
- สายสาธร จากวงเวียนใหญ่-สาทร-ลาดพร้าว ระยะทาง 20 กิโลเมตร มีการเตรียมที่จะสร้าง ที่ตอม่อบริเวณกึ่งกลางสองข้างของสะพานสาทร (สะพานตากสิน)
- สายสะพานพุทธ จากดาวคะนอง-สะพานพุทธ-มักกะสัน ระยะทาง 16 กิโลเมตร มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้ว พร้อมกับการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า อยู่กึ่งกลางระหว่างทั้งสองฝั่ง หรือที่เรียกสะพานตรงนี้ว่าสะพานด้วน ปัจจุบันกำลังใช้สะพานด้วนตรงนี้ให้กลายมาเป็นพระปกเกล้าสกายปาร์ค
ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงจะอยู่ที่ห้วยขวาง แต่ปัจจุบันจุดนี้ได้กลายเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน กับสายสีส้มไปแล้ว
รูปภาพของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในภาพจะมีทั้งโครงการทางด่วนเฉลิมมหานคร กับรถไฟฟ้าอีก 3 สาย
โครงการโฮปเวลล์
โครงการนี้มีชื่อจริง ๆ ว่า "โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร" แต่ต่อมาบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้งส์ ของนาย กอร์ดอน วู เมืองฮ่องกง ชนะการประมูล ในโครงการทางรถไฟยกระดับนี้ จึงมีการเรียกกันว่า "โครงการโฮปเวลล์" ที่เราคุ้นหู คุ้นเคยกัน ซึ่งเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือต้องการจะให้รถไฟไปวิ่งบนทางยกระดับ ลดปัญหาจุดตัดทางรถไฟบนถนนที่ทำให้รถติด พร้อมทั้งเสริมด้วยทางด่วนชั้นบนสุด กับรถไฟฟ้าไปด้วยในตัว
แนวเส้นทางในโครงการโฮปเวลล์
ช่วงที่ 1 ยมราช-ดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538
ช่วงที่ 2 ยมราช-หัวลำโพง-หัวหมาก และ มักกะสัน-แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539
ช่วงที่ 3 ดอนเมือง-รังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540
ช่วงที่ 4 หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ และ ยมราช-บางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ช่วงที่ 5 วงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร และ ตลิ่งชัน-บางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
บทสรุปของทั้ง 2 โครงการ
ในปี 2534 โครงการรถไฟฟ้าลาวาลินและโฮปเวลล์ ก็ได้ถูกล้มเลิกไปในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เพราะหลังจากการตรวจสอบของทั้ง 2 โครงการ มีปัญหาการส่งมอบพื้นที่และการทุจริตที่ไม่ชอบมาพากล แต่โครงการโฮปเวลล์ก็ยังถูกกลับนำมารื้อฟื้นอีกในช่วงหนึ่ง สมัยของรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 แต่สุดท้ายก็ได้บอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการในปี 2541 สมัยรัฐบาลของชวลิต ยงใจยุทธ ด้วยความคืบหน้าเพียง 13.77%
ในเวลาต่อมาหลังจากการตรวจสอบและยกเลิกโครงการทั้ง 2 ไปแล้ว ก็ได้เกิดองค์การรถไฟฟ้ามหานครในปี 2535 (ต่อมาเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ในปี 2543) และในเวลาเดียวกันทางฝั่งของ กทม. เองก็ได้มีการตั้งโครงการรถไฟฟ้าเป็นของตัวเอง ที่ต่อมาเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย ในชื่อ "รถไฟฟ้าบีทีเอส" นั่นเอง (รายละเอียดรถไฟฟ้าสายแรกอยู่ข้างล่าง)
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน ก็ถูกแทนที่ด้วยแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้าในสมัยใหม่มาแทนถูกทับด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าหลากสี หลากสายไปในปัจจุบัน
ส่วนโครงการโฮปเวลล์ในเวลาต่อมาถูกดัดแปลงมาเป็นโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงขึ้นมาแทน อย่างที่เราเห็นวิ่งกันทั้งรถไฟดีเซลธรรมดา และสายสีแดง แต่ปัจจุบันก็ยังมีเสาตอม่อของโฮปเวลล์บางส่วนที่รอทุบเพื่อจะสร้างรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน กับรถไฟความเร็วสูงสายเหนือกับอีสานอยู่
รถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย
ในสมัยที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้มีการอนุมัติโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร โดยลงนามสัมปทานให้กับบริษัท ธนายง จำกัด ของคีรี กาญจนพาสน์ เมื่อปี 2535 และเริ่มก่อสร้างราว ๆ 2537-2538 ซึ่งในช่วงที่กำลังสร้าง เดิมที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงจะอยู่ที่สวนลุมพินี แต่ก็ถูกคัดค้านจึงย้ายไปอยู่ที่บริเวณกรมธนารักษ์ สถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต) ซึ่งส่วนตัวมองว่าดีแล้วที่ได้ย้ายไป โดยในตอนแรกโครงการนี้จะเรียกว่า รถไฟฟ้าธนายง แต่พอเปลี่ยนชื่อบริษัท จึงเรียกเป็น รถไฟฟ้าบีทีเอส ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และแล้วโครงการนี้ก็เป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่สร้างจนเสร็จในวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2542 ด้วยการลงทุนของเอกชนเอง 100% ท่ามกลางขวากหนามของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 ในระยะแรกรถไฟฟ้าบีทีเอสต้องพบกับการขาดทุน เพราะคนใช้บริการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ถ้าตามเป้าหมายคือ 400,000 คน/ปี แต่กลับใช้เพียง 100,000 - 200,000 คน/ปี ทำให้บริษัทถึงกับต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูการเงินใหม่ทีเดียว จนปัจจุบันโครงการส่วนแรกก็คืนทุนไปหมดแล้ว
โดยรถไฟฟ้าสายแรกมีทั้งหมด 2 สายคือ สายสุขุมวิท และ สายสีลม
• สายสุขุมวิท (สายสีเขียวอ่อน) จากหมอชิต-สยาม-อ่อนนุช
• สายสีลม (สายสีเขียวเข้ม) จากสนามกีฬาแห่งชาติ-สยาม-สะพานตากสิน
จากนั้น 5 ปีต่อมาวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 ก็ได้เปิดรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกที่หลายคนคุ้นเคยกับชื่อนี้กันดีคือรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง
ความเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่
****อยากขอหมายเหตุตรงนี้ว่าหลายคนยังมักจะเข้าใจผิด มักจะชอบแยกประเภทรถไฟฟ้าแบบผิด ๆ โดยที่ไปคิดว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน เรียกว่า MRT ส่วนลอยฟ้าหรือยกระดับ เรียกว่า BTS เท่านั้น ซึ่งมันไม่ใช่เลย จริง ๆ แล้ว ที่เรียกว่า BTS เพราะเป็นโครงการของ กทม. ย่อมาจากชื่อเต็ม ๆ ว่า "Bangkok Mass Transit System" หรือที่แปลว่า ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร"
ส่วนรถไฟฟ้าที่ชื่อว่า MRT เนี่ยมันเป็นโครงการของ รฟม. ที่ใช้เรียกย่อมาจากคำว่า Mass Rapid Transit System ที่แปลว่า ระบบขนส่งมวลชนเร็ว ที่พอเรียกย่อ ๆ จึงเป็น MRT สายสีต่าง ๆ เช่น MRT สายสีส้ม สายสีเหลือง ฯลฯ ซึ่งจริง ๆ ผมคิดว่า BTS เนี่ยถ้าให้ถูกจริง ๆ ก็อยากจะให้เรียกว่า MRT จะได้เหมือน ๆ กันไปเลย ไม่ต้องมาสับสนกัน แต่ก็นั่นแหละ ตอนแรกมันบังเอิญว่า BTS เปิดมาก่อนและเป็นแบบลอยฟ้าตลอดเส้น ส่วน MRT สายแรกมันก็ดันเปิดแต่แบบใต้ดินคนก็เข้าใจผิดไปอย่างที่บอกตอนแรก
ดังนั้นถ้าใครเห็นชื่อ BTS หรือ MRT ที่ถูกต้องและเข้าใจตรงกันนั้น มันก็คือ รถไฟฟ้าแบบประเภท Metro เหมือนกันจะวิ่งลอยฟ้า บนดิน หรือใต้ดินมันก็คือคือกันนั่นแหละครับ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะครับ ใครอยากแชร์ประสบการณ์นั่งรถไฟฟ้าครั้งแรกยังไงก็ลองคอมเม้นต์ได้ครับ
****กระทู้นี้เรียบเรียงใหม่ และมีการอัปเดตข้อมูลมาจากกระทู้เดิมที่เคยตั้งไว้ตอนปี 62****
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้