ชาวเน็ตตั้งคำถาม เมื่อไหร่ไทยจะมี Emergency Mobile Alert
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7898974
ชาวเน็ตตั้งคำถามสนั่น เมื่อไหร่ประเทศไทยจะมี Emergency Mobile Alert หรือระบบเตือนภัยฉุกเฉิน แบบที่หลายประเทศทั่วโลกใช้กัน
เหตุการณ์สลด ณ สยามพารากอน เมื่อวานนี้ (3 ต.ค.) สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นเหตุการณ์อุกอาจใจกลางเมือง ในสถานที่ที่ผู้คนสัญจรหนาแน่น
สิ่งที่หยิบยกมาพูดอีกครั้ง คือ ระบบ Emergency Mobile Alert หรือ ระบบการแจ้งเตือนภัย ที่ไทยควรจะมีเหมือนในหลายประเทศทั่วโลก
เพราะนี่ไม่ใช่เหตุการณ์รุนแรงแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หลายคนที่ใช้สถานที่อยู่บริเวณใกล้เคียงจะไม่มีทางรู้เลยถ้าไปกดเข้าแอพฯโซเชียลต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งก็มักจะมาพร้อมเฟกนิวส์เกินจริง ฉะนั้นการมีระบบเตือนภัยจากส่วนกลาง ก็ดูปลอดภัยและน่าเชื่อถือที่สุด
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้แชร์ข้อความเตือนภัยจากแอพฯของนิสิตจุฬาลงกรณ์ ที่บอกว่า
“มีรายงานคล้ายเสียงปืนที่ห้าง Paragon ใกล้มหาวิทยาลัยโปรดหลีกเลี่ยง”
หรือแม้แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เองก็ยังมีการส่งข้อความเตือนภัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยให้กับประชาชน ผู้ใช้แอพจะได้รับข้อความ
การมี Emergency Alert System ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในเหตุการณ์ก่อการร้ายเท่านั้น แต่ในเรื่องของอุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติ ก็มีประโยชน์มากเช่นกัน
โดยเฉพาะในยุคใหม่ที่เป็นการเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ Cell Broadcast คือวิธีการส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือหลายๆ เครื่อง ในพื้นที่ให้บริการพร้อมกันในคราวเดียว รองรับมาตรฐานตั้งแต่ 2G, 3G, 4G LTE ไปจนถึง 5G
ปัจจุบัน รัฐบาลในหลายสิบประเทศทั่วโลกมีการนำระบบ Cell Broadcast มาใช้แจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินหรือสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉินเป็นวงกว้าง
พริษฐ์ เสนอรัฐบาล 3 ข้อ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำรอย เหมือนคดีเยาวชน 14 ในห้างดัง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7898776
พริษฐ์ เสนอ 3 ข้อถึงรัฐ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำเหมือนคดีเด็ก 14 บุกยิงกลางพารากอน ทั้งเตือนภัยผ่านเอสเอ็มเอส-ครอบครองอาวุธปืน-ป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 4 ต.ค.2566 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯ คนที่สอง ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม ก่อนเข้าสู่วาระได้เปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนในพื้นที่
โดยนาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หารือถึงปัญหาเหตุการณ์ เด็ก 14 ปีบุกยิงที่สยามพารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า ตนขอใช้พื้นที่สภาแห่งนี้แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์บุกยิงที่สยามพารากอน และขอเสนอ 3 ด้านเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต
1.
ระบบแจ้งเตือนภัย ที่ในพื้นที่ไม่ได้รับการแจ้งเตือนผ่านเอสเอ็มเอสจากหน่วยงานรัฐ ต้องอาศัยการแจ้งเตือนภัยจากเอกชนหรือค้นหาข้อมูลกันเองในสื่อโซเชียล จึงขอหารือไปถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดแผนการพัฒนาระบบแจ้งเตือนเตือนภัยแบบ Cell Broadcast ของรัฐเพื่อส่งข้อความเข้าไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่อยู่บริเวณที่เกิดเหตุ
2.
การครอบครองอาวุธปืน แม้ปืนที่ถูกใช้จะเป็นปืนดัดแปลง แต่การที่ประเทศเรามีอัตราผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมปืนสูงเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย ก็เป็นสัญญาณว่าเราจำเป็นต้องมาทบทวนเรื่องการครอบครองอาวุธทั้งระบบ จึงขอหารือผ่านไปยังกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้หาแนวทางปรับปรุงทั้งกฎหมายขออนุญาตปืนทั้งระบบให้ครอบครองประเภทมากขึ้น และปิดช่องทางการค้าขายปืนนอกระบบให้มีความรัดกุมมากขึ้น
3.
ข้อมูลผู้ก่อเหตุและการป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งนับตั้งแต่เกิดเหตุเราจะเห็นการเผยแพร่และใบหน้าของผู้ก่อเหตุอย่างกว้างขวาง
“
แม้ผู้เชี่ยวชาญและงานวิจัยจะชี้ชัดว่า การประโคมข่าวในลักษณะดังกล่าว อาจจะสุ่มเสี่ยงให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ จึงขอหารือไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สร้างความเข้าใจกับสังคมให้งดแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุเพื่อส่งสัญญาณไปทั่วประเทศว่าการกระทำอำมหิตต่อเพื่อนมนุษย์เช่นนี้ จะไม่มีวันทำให้เขาได้แสงหรือความสนใจจากใครสักคนแม้แต่นิดเดียว” นาย
พริษฐ์ กล่าว
ปดิพัทธ์ เมินวิปรัฐบาล ยื่นตีความปมถูกขับออก มั่นใจ15 ตค.ชัดเจนสังกัดพรรคไหน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7899017
ปดิพัทธ์ ตอบปมวิปรัฐบาล จ่อชงองค์กรอิสระตีความปมถูกขับออก เชื่อฝ่ายนิติบัญญัติแก้ปัญหาเองได้ คาดหาบ้านใหม่ได้ภายใน 15 ต.ค. เผย ‘สุพิศาล-อมรัตน์’ แจ้งลาออกจากคณะทำงานแล้ว เหตุมีตําแหน่งบริหารในก้าวไกล
เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 4 ต.ค.2566 ที่รัฐสภา นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงการหาสังกัดพรรคใหม่ หลังพรรคก้าวไกล (ก.ก.) มีมติขับออกว่า อยู่ในช่วงเริ่มพูดคุย เพราะการจะไปอยู่พรรคไหนต้องเห็นด้วยกับนโยบาย และอุดมการณ์ของพรรค ซึ่งตนอยากทําประโยชน์ให้กับพรรคใหม่ ฉะนั้น ไม่ใช่กระบวนการที่จะคุยกันสั้นๆ แต่ต้องทยอยคุย
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคเป็นธรรม (ปธ.) อยู่ในใจหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า มีพรรคให้เลือกเยอะ ตอนนี้มีพรรคร่วมฝ่ายค้าน 2 พรรค และพรรคนอกสภาที่กําลังพิจารณาข้อเสนออยู่ แต่ตนขอยํ้าว่าพรรคฝั่งรัฐบาลไม่ต้องติดต่อมาเพราะเสียเวลา ทั้งนี้ ตนมีเวลา 30 วัน คือภายในวันที่ 28 ต.ค. แต่ถ้าการพูดคุยเป็นไปได้ด้วยดี คาดว่าภายในวันที่ 15 ต.ค. จะมีความชัดเจน
เมื่อถามว่าหลังถูกขับออกจากพรรคก้าวไกล คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาจะต้องมีการทําอย่างไร นาย
ปดิพัทธ์ กล่าวว่า คนที่มีตำแหน่งบริหารในพรรคก้าวไกลอย่าง พล.ต.ต.
สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รองหัวหน้าพรรค ได้ยื่นลาออกจากคณะทํางานแล้ว ส่วนนาง
อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล แจ้งลาออกด้วยวาจา จะกลับมาเซ็นเอกสารหลังกลับจากต่างประเทศ
นาย
ปดิพัทธ์ กล่าวว่า หากใครที่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการในพรรคก้าวไกลจะต้องลาออกทั้งหมด แต่ถ้าใครมีแค่ความสัมพันธ์กับพรรค ก็ไม่ต้องลาออก เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ แต่ในความเหมาะสมคงต้องมีการพูดคุยกัน เพราะการอยู่ในทีมทำงานของตน อาจมีทั้งคนภายนอก และคนจากหลายพรรค จึงต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใส โดยจะมีการเปิดเผยหลังจากนี้ ขอเวลาเคลียร์
เมื่อถามถึงวิปรัฐบาล มีมติเตรียมยื่นการถูกขับออกของนายปดิพัทธ์ ให้องค์กรอิสระวินิจฉัย จะถือเป็นการแทรกแซงกระบวนการนิติบัญญัติหรือไม่ นาย
ปดิพัทธ์ กล่าวว่า หากย้อนดูคำแถลงของตนที่เคยประกาศไว้ว่า เราจำเป็นต้องฟื้นฟูองค์กรนิติบัญญัติให้ไม่อยู่ภายใต้อาณัติของรัฐบาล และตุลาการ 3 อำนาจอธิปไตยต้องถ่วงดุลกัน มีอิสระ และความรับผิดชอบต่อกัน ตนจึงคิดว่าสามารถจัดการเรื่องภายในองค์กรนิติบัญญัติได้
หากเราต้องพึ่งพาองค์กรที่เต็มไปด้วยคำถามถึงความเป็นกลางทางการเมือง โดยเฉพาะองค์กรที่สืบทอดอำนาจจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเป็นประเด็นที่สังคมต้องถามถึงบทบาทต่างๆ ของฝ่ายการเมือง
JJNY : เมื่อไหร่ไทยจะมี Emergency Mobile Alert│พริษฐ์เสนอรัฐบาล3ข้อ│ปดิพัทธ์เมินวิป รบ.ยื่นตีความ│บาทอ่อนค่า-หุ้นไทยร่วง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7898974
ชาวเน็ตตั้งคำถามสนั่น เมื่อไหร่ประเทศไทยจะมี Emergency Mobile Alert หรือระบบเตือนภัยฉุกเฉิน แบบที่หลายประเทศทั่วโลกใช้กัน
เหตุการณ์สลด ณ สยามพารากอน เมื่อวานนี้ (3 ต.ค.) สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นเหตุการณ์อุกอาจใจกลางเมือง ในสถานที่ที่ผู้คนสัญจรหนาแน่น
สิ่งที่หยิบยกมาพูดอีกครั้ง คือ ระบบ Emergency Mobile Alert หรือ ระบบการแจ้งเตือนภัย ที่ไทยควรจะมีเหมือนในหลายประเทศทั่วโลก
เพราะนี่ไม่ใช่เหตุการณ์รุนแรงแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หลายคนที่ใช้สถานที่อยู่บริเวณใกล้เคียงจะไม่มีทางรู้เลยถ้าไปกดเข้าแอพฯโซเชียลต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งก็มักจะมาพร้อมเฟกนิวส์เกินจริง ฉะนั้นการมีระบบเตือนภัยจากส่วนกลาง ก็ดูปลอดภัยและน่าเชื่อถือที่สุด
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้แชร์ข้อความเตือนภัยจากแอพฯของนิสิตจุฬาลงกรณ์ ที่บอกว่า
“มีรายงานคล้ายเสียงปืนที่ห้าง Paragon ใกล้มหาวิทยาลัยโปรดหลีกเลี่ยง”
หรือแม้แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เองก็ยังมีการส่งข้อความเตือนภัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยให้กับประชาชน ผู้ใช้แอพจะได้รับข้อความ
การมี Emergency Alert System ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในเหตุการณ์ก่อการร้ายเท่านั้น แต่ในเรื่องของอุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติ ก็มีประโยชน์มากเช่นกัน
โดยเฉพาะในยุคใหม่ที่เป็นการเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ Cell Broadcast คือวิธีการส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือหลายๆ เครื่อง ในพื้นที่ให้บริการพร้อมกันในคราวเดียว รองรับมาตรฐานตั้งแต่ 2G, 3G, 4G LTE ไปจนถึง 5G
ปัจจุบัน รัฐบาลในหลายสิบประเทศทั่วโลกมีการนำระบบ Cell Broadcast มาใช้แจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินหรือสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉินเป็นวงกว้าง
พริษฐ์ เสนอรัฐบาล 3 ข้อ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำรอย เหมือนคดีเยาวชน 14 ในห้างดัง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7898776
พริษฐ์ เสนอ 3 ข้อถึงรัฐ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำเหมือนคดีเด็ก 14 บุกยิงกลางพารากอน ทั้งเตือนภัยผ่านเอสเอ็มเอส-ครอบครองอาวุธปืน-ป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 4 ต.ค.2566 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯ คนที่สอง ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม ก่อนเข้าสู่วาระได้เปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนในพื้นที่
โดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หารือถึงปัญหาเหตุการณ์ เด็ก 14 ปีบุกยิงที่สยามพารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า ตนขอใช้พื้นที่สภาแห่งนี้แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์บุกยิงที่สยามพารากอน และขอเสนอ 3 ด้านเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต
1. ระบบแจ้งเตือนภัย ที่ในพื้นที่ไม่ได้รับการแจ้งเตือนผ่านเอสเอ็มเอสจากหน่วยงานรัฐ ต้องอาศัยการแจ้งเตือนภัยจากเอกชนหรือค้นหาข้อมูลกันเองในสื่อโซเชียล จึงขอหารือไปถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดแผนการพัฒนาระบบแจ้งเตือนเตือนภัยแบบ Cell Broadcast ของรัฐเพื่อส่งข้อความเข้าไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่อยู่บริเวณที่เกิดเหตุ
2. การครอบครองอาวุธปืน แม้ปืนที่ถูกใช้จะเป็นปืนดัดแปลง แต่การที่ประเทศเรามีอัตราผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมปืนสูงเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย ก็เป็นสัญญาณว่าเราจำเป็นต้องมาทบทวนเรื่องการครอบครองอาวุธทั้งระบบ จึงขอหารือผ่านไปยังกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้หาแนวทางปรับปรุงทั้งกฎหมายขออนุญาตปืนทั้งระบบให้ครอบครองประเภทมากขึ้น และปิดช่องทางการค้าขายปืนนอกระบบให้มีความรัดกุมมากขึ้น
3. ข้อมูลผู้ก่อเหตุและการป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งนับตั้งแต่เกิดเหตุเราจะเห็นการเผยแพร่และใบหน้าของผู้ก่อเหตุอย่างกว้างขวาง
“แม้ผู้เชี่ยวชาญและงานวิจัยจะชี้ชัดว่า การประโคมข่าวในลักษณะดังกล่าว อาจจะสุ่มเสี่ยงให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ จึงขอหารือไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สร้างความเข้าใจกับสังคมให้งดแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุเพื่อส่งสัญญาณไปทั่วประเทศว่าการกระทำอำมหิตต่อเพื่อนมนุษย์เช่นนี้ จะไม่มีวันทำให้เขาได้แสงหรือความสนใจจากใครสักคนแม้แต่นิดเดียว” นายพริษฐ์ กล่าว
ปดิพัทธ์ เมินวิปรัฐบาล ยื่นตีความปมถูกขับออก มั่นใจ15 ตค.ชัดเจนสังกัดพรรคไหน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7899017
ปดิพัทธ์ ตอบปมวิปรัฐบาล จ่อชงองค์กรอิสระตีความปมถูกขับออก เชื่อฝ่ายนิติบัญญัติแก้ปัญหาเองได้ คาดหาบ้านใหม่ได้ภายใน 15 ต.ค. เผย ‘สุพิศาล-อมรัตน์’ แจ้งลาออกจากคณะทำงานแล้ว เหตุมีตําแหน่งบริหารในก้าวไกล
เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 4 ต.ค.2566 ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงการหาสังกัดพรรคใหม่ หลังพรรคก้าวไกล (ก.ก.) มีมติขับออกว่า อยู่ในช่วงเริ่มพูดคุย เพราะการจะไปอยู่พรรคไหนต้องเห็นด้วยกับนโยบาย และอุดมการณ์ของพรรค ซึ่งตนอยากทําประโยชน์ให้กับพรรคใหม่ ฉะนั้น ไม่ใช่กระบวนการที่จะคุยกันสั้นๆ แต่ต้องทยอยคุย
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคเป็นธรรม (ปธ.) อยู่ในใจหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า มีพรรคให้เลือกเยอะ ตอนนี้มีพรรคร่วมฝ่ายค้าน 2 พรรค และพรรคนอกสภาที่กําลังพิจารณาข้อเสนออยู่ แต่ตนขอยํ้าว่าพรรคฝั่งรัฐบาลไม่ต้องติดต่อมาเพราะเสียเวลา ทั้งนี้ ตนมีเวลา 30 วัน คือภายในวันที่ 28 ต.ค. แต่ถ้าการพูดคุยเป็นไปได้ด้วยดี คาดว่าภายในวันที่ 15 ต.ค. จะมีความชัดเจน
เมื่อถามว่าหลังถูกขับออกจากพรรคก้าวไกล คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาจะต้องมีการทําอย่างไร นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า คนที่มีตำแหน่งบริหารในพรรคก้าวไกลอย่าง พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รองหัวหน้าพรรค ได้ยื่นลาออกจากคณะทํางานแล้ว ส่วนนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล แจ้งลาออกด้วยวาจา จะกลับมาเซ็นเอกสารหลังกลับจากต่างประเทศ
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า หากใครที่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการในพรรคก้าวไกลจะต้องลาออกทั้งหมด แต่ถ้าใครมีแค่ความสัมพันธ์กับพรรค ก็ไม่ต้องลาออก เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ แต่ในความเหมาะสมคงต้องมีการพูดคุยกัน เพราะการอยู่ในทีมทำงานของตน อาจมีทั้งคนภายนอก และคนจากหลายพรรค จึงต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใส โดยจะมีการเปิดเผยหลังจากนี้ ขอเวลาเคลียร์
เมื่อถามถึงวิปรัฐบาล มีมติเตรียมยื่นการถูกขับออกของนายปดิพัทธ์ ให้องค์กรอิสระวินิจฉัย จะถือเป็นการแทรกแซงกระบวนการนิติบัญญัติหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า หากย้อนดูคำแถลงของตนที่เคยประกาศไว้ว่า เราจำเป็นต้องฟื้นฟูองค์กรนิติบัญญัติให้ไม่อยู่ภายใต้อาณัติของรัฐบาล และตุลาการ 3 อำนาจอธิปไตยต้องถ่วงดุลกัน มีอิสระ และความรับผิดชอบต่อกัน ตนจึงคิดว่าสามารถจัดการเรื่องภายในองค์กรนิติบัญญัติได้
หากเราต้องพึ่งพาองค์กรที่เต็มไปด้วยคำถามถึงความเป็นกลางทางการเมือง โดยเฉพาะองค์กรที่สืบทอดอำนาจจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเป็นประเด็นที่สังคมต้องถามถึงบทบาทต่างๆ ของฝ่ายการเมือง