เห็ดชนิดนี้ คนภาคอีสานจะเรียกว่า เห็ดผึ้งขม
ภาคใต้ เราเห็นเขาเรียกว่า เห็ดเสม็ด/เห็ดเหม็ด
ส่วนสามีเราซึ่งเป็นคนระยอง (เราก็ไม่รู้ว่าคนภาคกลางเรียกเหมือนกันหรือเปล่า เพราะเราเองมาได้กิน ได้รู้จักและเห็นเห็ดนี้ตอนอยู่ระยองแล้ว) และเขาจะเรียกเห็ดนี้ว่า...
เห็ดยูคาลิปตัส เพราะเห็ดนี้จะขึ้นในพื้นที่ที่มีต้นยูคาลิปตัสค่ะ
รสชาติของเขาจะมีรสขม คนที่ชอบกินแกงขี้เหล็ก ต้มจืดหรือแกงมะระกันอยู่แล้ว จะสามารถกินเจ้าเห็ดชนิดนี้ได้สบายและอร่อยเลยค่ะ (ถ้าเทียบรสขมของเขา เรารู้สึกว่าจะน้อยกว่าขี้เหล็กด้วยซ้ำนะคะ) แต่ก่อนจะนำมาทำอาหาร เราก็ต้องทำการต้มทิ้งน้ำก่อนไม่ต่างอะไรกับขี้เหล็กเลยค่ะ
.
.
.
.
สำหรับเห็ด ไม่ว่าจะเห็ดอะไรก็ตาม โดยเฉพาะเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (ไม่ใช่เห็ดเศรษฐกิจที่คนเพาะขายอย่างพวกเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ฯลฯ) ถ้าไม่ชัวร์ ไม่รู้ว่ามันคือเห็ดอะไร อย่าได้นำมาทำอาหารกินเด็ดขาด เพราะต่อให้โดนหรือผ่านความร้อนแล้ว แต่พิษของเห็ดบางชนิดไม่อาจถูกทำลายได้ด้วยความร้อนค่ะ ครั้นจะสังเกตดูจากรอยหนอนกิน ก็ใช้ไม่ได้กับเห็ดมีพิษ เพราะบางชนิดสัตว์หรือแมลงมาแทะกินได้ก็จริง แต่เขาดันมีพิษกับคนค่ะ
ส่วนเห็ดชนิดนี้ เราค่อนข้างมั่นใจ เพราะรู้จักและคุ้นเคยกับมันมาหลายปี อีกทั้งที่ระยองนี้ จะมีเห็ดชนิดนี้ขายกันในท้องตลาดด้วยเหมือนกัน (แต่อาจจะไม่ได้แยะเท่าเห็ดเศรษฐกิจ)
เห็ดชนิดอื่น เราเดินเจอเหมือนกัน
แต่เพราะไม่รู้จัก และไม่รู้ว่ามันกินได้หรือไม่ได้ รวมถึงบางดอกเป็นเห็ดที่คุ้นตาก็จริง แต่เรารู้สึกไม่ชัวร์ไม่มั่นใจ ก็ไม่ขอเสี่ยง เลือกที่จะไม่แตะและไม่เก็บเลยจะดีที่สุดค่ะ
ครั้งนี้ ก็ไม่ได้เก็บเห็ดที่ไหนไกลค่ะ ป่าข้างบ้านเราเอง 😊😊
.
.
.
.
ก่อนจะมาทำแกงเมนูนี้กันนั้น เราก็เตรียมน้ำพริกแกงกันก่อนค่ะ ส่วนตัวในวันนี้ ใช้เป็นน้ำพริกแกงคั่วแบบตำเองเหมือนเดิม (หรือจะใช้เป็นน้ำพริกแกงเผ็ดก็ได้นะคะ แล้วแต่ชอบและสะดวก)
วัตถุดิบน้ำพริกแกงคั่วของเรา จะประกอบด้วย...
พริกจินดาแดงแห้ง พริกชี้ฟ้าแดงแห้ง
หอมแดง ตะไคร้ กระเทียม ข่า
ผิวมะกรูด ปลาแห้ง และกะปิ
⭐ ในส่วนของปลาแห้ง จะใช้ปลาแห้งแบบไหนก็ได้นะคะ
หรือจะใช้เป็นกุ้งแห้ง(แบบมีเนื้อ)ก็ได้เช่นกัน และถ้าจะนำน้ำพริกแกงนี้ ไปทำแกงขี้เหล็ก จะโขลกกระชายเพิ่มใส่ลงไปได้เหมือนกันค่ะ
.
.
.
.
วัตถุดิบแกงกะทิเห็ดขมใส่หมูย่าง
- เห็ดยูลิปตัส
(ผ่านการต้มสุก แบบต้มทิ้งน้ำแล้ว)
- หมูย่าง
- น้ำพริกแกงคั่ว
- กะทิ
- น้ำปลา
- น้ำตาลมะพร้าว
- ใบมะกรูดซอย
⭐ สำหรับหมูย่างที่จะนำมาใส่แกงกะทินั้น เราไม่ต้องย่างจนสุกก็ได้นะคะ ย่างหรืออบเอาแค่ให้ข้างนอกมีกลิ่นหอมๆก็พอ แต่ครั้งนี้หมูของเราสุกเกินไปหน่อยค่ะ
.
.
.
.
วิธีทำแกงกะทิเห็ดยูคาลิปตัสใส่หมูย่าง
ตั้งกระทะ ใส่หัวกะทิลงไปนิดหน่อย
ให้พอผัดน้ำพริกแกงคั่วได้
และผัดให้เข้ากันดีมีกลิ่นหอม
.
.
.
.
เติมหางกะทิลงไป ตามด้วยเห็ดยูคาลิปตัส
รอเดือด ทำการปรุงรสชาติด้วย...
น้ำปลา และน้ำตาลมะพร้าว
หลังจากนั้น ใส่หมูย่างที่เราหั่นเป็นชิ้นลงไป
กดให้เนื้อหมูย่างจมน้ำแกง
ต้มต่ออีกสักพัก ให้หมูซึมซับน้ำแกงค่ะ
ขั้นตอนสุดท้าย
ใส่ใบมะกรูดซอยส่วนหนึ่งลงไปนิดนึง
เป็นอันเสร็จค่ะ
⭐ ด้วยความที่เราใช้เป็นกะทิกล่องสำเร็จรูป
หางกะทิก็จะได้จากการผสมกะทิกับน้ำเปล่า
ส่วนตัวเราใช้อัตราส่วน กะทิ:น้ำเปล่า คือ 1:1ค่ะ
.
.
.
.
🧡💛 เมื่อเสร็จแล้วจะได้ประมาณนี้ค่ะ 🧡💛
.
.
.
.
... แกงกะทิเห็ดยูคาลิปตัสใส่หมูย่าง เมนูอร่อยจากธรรมชาติช่วงเวลาฝนตก (มีภาพการเก็บเห็ดมาให้ชมด้วยค่ะ) 💛🧡❤️
รสชาติของเขาจะมีรสขม คนที่ชอบกินแกงขี้เหล็ก ต้มจืดหรือแกงมะระกันอยู่แล้ว จะสามารถกินเจ้าเห็ดชนิดนี้ได้สบายและอร่อยเลยค่ะ (ถ้าเทียบรสขมของเขา เรารู้สึกว่าจะน้อยกว่าขี้เหล็กด้วยซ้ำนะคะ) แต่ก่อนจะนำมาทำอาหาร เราก็ต้องทำการต้มทิ้งน้ำก่อนไม่ต่างอะไรกับขี้เหล็กเลยค่ะ
ส่วนเห็ดชนิดนี้ เราค่อนข้างมั่นใจ เพราะรู้จักและคุ้นเคยกับมันมาหลายปี อีกทั้งที่ระยองนี้ จะมีเห็ดชนิดนี้ขายกันในท้องตลาดด้วยเหมือนกัน (แต่อาจจะไม่ได้แยะเท่าเห็ดเศรษฐกิจ)
เห็ดชนิดอื่น เราเดินเจอเหมือนกัน
แต่เพราะไม่รู้จัก และไม่รู้ว่ามันกินได้หรือไม่ได้ รวมถึงบางดอกเป็นเห็ดที่คุ้นตาก็จริง แต่เรารู้สึกไม่ชัวร์ไม่มั่นใจ ก็ไม่ขอเสี่ยง เลือกที่จะไม่แตะและไม่เก็บเลยจะดีที่สุดค่ะ
ครั้งนี้ ก็ไม่ได้เก็บเห็ดที่ไหนไกลค่ะ ป่าข้างบ้านเราเอง 😊😊
หรือจะใช้เป็นกุ้งแห้ง(แบบมีเนื้อ)ก็ได้เช่นกัน และถ้าจะนำน้ำพริกแกงนี้ ไปทำแกงขี้เหล็ก จะโขลกกระชายเพิ่มใส่ลงไปได้เหมือนกันค่ะ