JJNY : โพล Gen Z เทใจต้องการ ‘พิธา’เป็นนายกฯ│ประมงพื้นบ้านจ่อบุกกรุงฯ│อีคอนไทยวอนรัฐ│“จี77”เรียกร้องยุติผูกขาดระเบียบโลก

‘ธำรงศักดิ์’ เผยผลโพล Gen Z เทใจต้องการ ‘พิธา’ เป็นนายกฯ ‘แพรทองธาร’ อันดับ 2
https://www.matichon.co.th/politics/news_4184298
  
‘ธำรงศักดิ์’ เผยผลโพล Gen Z เทใจต้องการ ‘พิธา’ เป็นนายกฯ ‘แพรทองธาร’ อันดับ 2
 
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กเผยผลการวิจัย “อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล” จากการเก็บข้อมูล คน Gen Z ที่กำลังศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย 500 คน พบว่า ต้องการให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี 83.4 เปอร์เซ็นต์ แจงมาจากคะเเนนเสียงของประชาชน รวมทั้งเก่ง ฉลาด มีความเป็นผู้นำ เข้าใจคนรุ่นใหม่ ขณะที่รองลงมาเป็น นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร 8  เปอร์เซ็นต์  ตามด้วย นายเศรษฐา ทวีสิน 2 เปอร์เซ็นต์ และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล 0.4 เปอร์เซ็นต์

รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ โพสต์เฟซุบ๊กส่วนตัว ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ระบุว่า 

คน Gen Z ยังปรารถนาให้ ‘พิธา’ เป็นนายกรัฐมนตรี มากที่สุดกว่าร้อยละ 80 : ‘อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล’
 
งานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุ 18-26 ปี) ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย จำนวน 500 คน เกี่ยวกับทัศนคติทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เก็บแบบสอบถามระหว่าง 13-15 กันยายน 2566
 
ข้อคำถามว่า “ในวันนี้ ท่านปรารถนาให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีไทยมากที่สุด” ผลการวิจัยพบว่า
 
1.คน Gen Z ปรารถนาให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี มากที่สุดร้อยละ 83.4 (417 คน) โดยนางสาวแพรทองธาร ชินวัตรได้ความนิยมร้อยละ 8.0 (40 คน) ลำดับถัดมาเป็นนายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 2 (10 คน) นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 0.4 (2 คน)
 
สำหรับบุคคลที่มีรายชื่อในแบบสอบถามได้คะแนนนิยมเป็น 0 ได้แก่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ส่วนที่ปรารถนาให้คนอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏในรายชื่อแบบสอบถามนี้เป็นนายกรัฐมนตรีมีร้อยละ 2.8 (14 คน) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 3.4 (17 คน)
 
2. ข้อสังเกต คน Gen Z ที่ตอบแบบสอบถามนี้ส่วนใหญ่อายุ 18-19 ปี รวมร้อยละ 83 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยต่างเพิ่งจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเพิ่งได้ร่วมใช้สิทธิในการเลือกตั้ง สส. เป็นครั้งแรกที่บ้านเกิดของตนเอง
 
3. คำอธิบายของผู้นิยมในนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เช่น ประชาชนเลือกเข้ามา, มาจากคะเเนนเสียงของประชาชนอย่างถูกต้อง, เก่งแล้วก็มีความสามารถ, ฉลาด, มีนโยบายที่ดี, มีความเป็นผู้นำ, ทัศนคติดี, สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีมากๆๆๆ, มีวุฒิภาวะ, เป็นผู้สื่อสารทางคำพูดได้ยอดเยี่ยม, มีเสน่ห์, มีวาจาไพเราะ, มีรอยยิ้มที่อ่อนหวานตลอดเวลา, มีคุณสมบัติการเป็นผู้นำที่เหมาะกับยุคสมัยมากที่สุด, วิสัยทัศน์ก้าวไกล, นโยบายของพรรคก้าวไกลไม่ทำขึ้นเพียงแค่โฆษณาหาเสียงอย่างแน่นอน, เข้าใจปัญหาในยุคปัจจุบัน,
 
พร้อมอธิบายวิธีแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้เข้าใจ, มีความคิดที่เข้าใจคนรุ่นใหม่, มีเเนวคิดเเบบสมัยใหม่, มีความทันสมัยมากที่สุด, ไม่ผิดคำพูดที่ให้ไว้กับประชาชน, ซื่อสัตย์ต่อประชาชน, ซื่อตรงต่อประชาชาชน, มีความจริงใจ, เข้าถึงได้ง่าย, เข้าใจคนสมัยใหม่, มีวิธีจัดการปัญหาแบบใหม่ๆ และแก้ปัญหาได้ตรงจุด, มีวิสัยทัศน์ชัดเจน, เป็นคนรุ่นใหม่มีนโยบายที่มองทะลุมองข้ามมิติ, อยากเห็นความเจริญของประเทศ, เพราะการยึดมั่นในประชาธิปไตย และต่อต้านการรัฐประหาร, ไม่ทิ้งอุดมการณ์, เป็นผู้ที่อยู่ฝั่งประชาชนอยู่ฝั่งประชาธิปไตยมาโดยตลอด, มีความโปร่งใส, เเสดงความน่าเชื่อถือให้เเก่ประชาชน,
 
ทัศนคติของความเป็นผู้นำที่ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในพรรคก้าวไกลที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศที่ไม่เหมือนเดิม, เพราะอยากให้ประเทศพัฒนาขึ้น, มีคุณภาพ มีคุณสมบัติต่างๆ เพียบพร้อมเป็นผู้บริหารได้ดีเพื่อการพัฒนาและการจัดการบริหารประเทศ, เพราะอยากให้ประเทศเปลี่ยนเเปลงในทางที่ดีขึ้น, เป็นคนตรงไปตรงมาอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน, เพราะอยากเห็นบ้านเมืองเปลี่ยนแปลง, เอาคนยุคใหม่หัวไวมาพัฒนาบ้านเมือง, บ้านเมืองจะได้ไม่ล้าหลัง ไม่จมอยู่กับชีวิตแบบเดิมๆ, มีความคิดที่กว้างไกลและพยายามจะแก้ปัญหาที่ต้นตออย่างแท้จริง
 
คำอธิบายของผู้นิยมในนางสาวแพรทองธาร ชินวัตร เช่น อยากให้ผู้หญิงได้เป็นผู้นำประเทศ, มีพ่อคือทักษิณ
คำอธิบายของผู้นิยมในนายเศรษฐา ทวีสิน เช่น เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
 
ข้อมูลพื้นฐาน
งานวิจัยทัศนคติของคน Gen Z ต่อ 11 ประเด็นคำถามเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2566 (เมื่อวันที่ 11-12 กันยายน รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน แถลงนโยบายต่อรัฐสภา บ่ายวันศุกร์ที่ 15 กันยายน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประกาศผ่านเฟซเพจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล) โดยเก็บแบบสอบถามรวม 500 คน เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 298 คน (59.6%) ชาย 150 คน (30.0%) เพศหลากหลาย 52 คน (10.4%)
 
โรงเรียนที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากเขตภูมิภาคใด : กรุงเทพฯ 128 คน (25.6%) ภาคกลาง 178 คน (35.6%) ภาคเหนือ 41 คน (8.2%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 80 คน (16.0%) ภาคใต้ 73 คน (14.6%)
 
อายุของผู้ตอบ

 แบบสอบถาม อายุ 18 ปี 232 คน (46.4%) อายุ 19 ปี 184 คน (36.8%) อายุ 20 ปี 54 คน (10.8%) อายุ 21 ปี 20 คน (4.0%) อายุ 22 ปี 8 คน (1.6%) อายุ 23 ปี 1 คน (0.2%) อายุ 24 ปี 1 คน (0.2%) อายุ 25 ปี 0 คน (0%) อายุ 26 ปี 0 คน (0%)
มีผู้ตอบคำถามข้อนี้ทั้ง 500 คน
 
หมายเหตุ :
  
1. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยส่วนบุคคล ทัศนะจากงานวิจัยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น และขอบคุณเพื่อนอาจารย์และนักศึกษาทุกสถาบันเป็นอย่างสูงที่ช่วยเหลือในการวิจัยครั้งนี้
 
2. สื่อสามารถนำทั้งหมดหรือบางส่วนไปเผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งนี้ขอระบุที่มาว่า “อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล”
  
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0QAPz4GZZKneBfUtwbWNkLDKctSdhiCZp386EnKfZEM9UPWV1uJ5qpHEPKY74L1W8l&id=100050549886530
 


ประมงพื้นบ้าน 22 จว. จ่อบุกกรุงฯ ร้อง นายกฯ ผิดหวังนโยบายรัฐบาล เอื้อประมงพานิชย์
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7870168

สงขลา เครือข่ายประมงพื้นบ้าน 22 จังหวัด บุกกรุงเทพฯ ต้น ต.ค.นี้ ร้อง นายกฯ – รมว.เกษตรฯ ผิดหวังนโยบายรัฐบาล เอื้อประมงพานิชย์ ไร้แนวฟื้นฟูทรัพยากรในทะเลไทยอย่างยั่งยืน
 
17 ก.ย. 66 – สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านภาคใต้ เตรียมเดินทางเข้า กทม.ในวันที่ 3-5 ตุลาคมนี้ มุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อที่จะบอกกับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า
 
ถ้านโยบายเป็นอย่างนี้ จะกระทบกับอาชีพประมงชายฝั่งใน 22 จังหวัด อย่างไรบ้าง พร้อมนำสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ถูกจับโดยเรือปั่นไฟ เรืออวนลากไปให้ผู้นำประเทศได้เห็น หลังการแถลงนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านพ้นไป
 
รวมถึงภาพการพบปะของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พบปะกับผู้ประกอบการประมงพานิชย์ สร้างความกังวลให้กับชาวประมงพื้นบ้านอย่างมาก เนื่องจากไม่มีการพูดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนแต่อย่างใด
 
นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า เท่าที่รับฟังมาพบว่า นโยบาย ข้อเสนอ ในด้านการประมง ล้วนแล้วแต่หนุนประมงพานิชย์ที่มีผู้ประกอบการเพียงร้อยละ 15 ที่เหลืออีกร้อยละ 85 เป็นกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านทั้ง 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล เน้นแต่เรื่องจีดีพี พูดถึงแต่การส่งออก
 
โดยไม่พูดถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ให้ยั่งยืน เพื่อตอบสนองในการเป็นอาชีพของประมงพื้นบ้าน นอกจากยังจะแก้ พรบ.ประมง ที่ทำให้เราหลุดใบแดงจาก EU ทำให้เชื่อว่า ในอนาคต ถ้ามีการปล่อยให้มีการทำประมงแบบไม่ปรับปรุงเครื่องมือ ยกเลิก VMS หรือระบบติดตามเรือประมง ใบแดงจะกลับมาอีกครั้ง
 
เพราะฉะนั้นการที่ นายกรัฐมนตรี พูดถึงรายได้จากการประมง 3 แสนกว่าล้านที่ส่งออกไป EU ทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีควรจะไปดูในรายละเอียด ว่า 3 แสนกว่าล้านนั้น มาจาก ทูน่ากระป๋อง กุ้งจากเกษตรกรไทย อาหารสุนัข อาหารแมว 4 ชนิดนี้เป็นหลัก
 
แต่ประมงอวนลากที่ทำอยู่ในบ้านเราส่วนใหญ่ร้อยละ 67 นำไปทำปลาป่น ซึ่งไม่เกี่ยวกับการส่งออกไป EU เลย เพราะฉะนั้นการที่ไม่มีนโยบายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในทะเลไทยให้ยั่งยืน ส่งผลกระทบต่ออาชีพประมงชายฝั่งใน 22 จังหวัด ทำให้รู้สึกผิดหวังกับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี
 
โดยมองว่า ควรจะมีแนวทางในการส่งเสริมการทำประมงพื้นบ้าน ประมงชายฝั่ง ด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรในทะเลไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นรักษาแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญเอาไว้ ส่งต่อสู่รุ่นลูกหลาน
 


อีคอนไทยวอนรัฐทบทวนค่าแรง 400 บาท ชี้ฟรีวีซ่าดันจีนไม่ขึ้นเหตุเศรษฐกิจซบเซา
https://www.matichon.co.th/economy/news_4183840

อีคอนไทยวอนรัฐทบทวนค่าแรง 400 บาท ชี้ฟรีวีซ่าดันจีนไม่ขึ้นเหตุศก.ซบเซา แนะผุดมาตรการช่วยกลุ่มเปราะบาง
 
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเริ่มต้น 400 บาทต่อวัน ว่า เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มต้น 400 บาทต่อวัน จากเป้าหมาย 600 บาทต่อวันในปี 2570 นั้น อยากให้รัฐบาลทบทวนอีกครั้งว่าสมควรหรือไม่ เพราะปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล อยู่ที่ 353 บาทต่อคน หากในปี 2567 มีการปรับค่าจ้างจำนวนดังกล่าว จะส่งผลให้นายจ้างมีภาระเพิ่มขึ้น 47 บาทต่อคน หากบางบริษัทจ้างงาน 100 อัตรา  จะส่งผลให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 1.8-2 ล้านบาทต่อปี
 
สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ในจุดที่จะปรับค่าจ้างสูงๆ เพราะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง โดยเฉพาะเรื่องการส่งออกที่ตอนนี้รัฐบาลยังไม่มีนโยบายแน่ชัดว่าจะจัดการกับภาคการส่งออกอย่างไร นโยบายรัฐที่ออกมาส่วนใหญ่เป็นรัฐสวัสดิการ ไม่ได้พูดถึงการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน จึงอยากให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญเรื่องการอัพสกิล รีสกิล ให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง เพิ่มขึ้น จะดีกว่าการออกนโยบายเช่นนี้” นายธนิตกล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่