ฟาดแรง ศิริกัญญา ขยี้นโยบาย มาตรฐานต่ำกว่ายุค‘ตู่-ปู’ ข้องใจแหล่งที่มาเงินดิจิทัล
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7860188
ศิริกัญญา อัด นโยบายรัฐบาลเหมือนคำอธิษฐานไม่กำหนดเป้าหมาย มาตรฐานต่ำกว่ายุค ‘ประยุทธ์-ยิ่งลักษณ์’ หวังใช้แนวทางบริหารสมัยคุมเอกชนมาปรับใช้บางเรื่อง ถามแหล่งที่มาของเงินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต หวั่นประเดิมใช้วิธีกู้เงินทลายกรอบวินัยการเงินการคลัง
เมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 11 ก.ย. 2566 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายว่า คำแถลงนโยบายที่ดีต้องเหมือนจีพีเอส ที่จะบอกว่าเป้าหมาย ตลอด 4 ปี คืออะไร รัฐบาลจะเดินไปเส้นทางไหน เหมือนหรือต่างกับผู้ร่วมทางตอนหาเสียงหรือไม่ จะไปถึงเป้าหมายเมื่อไหร่
แต่เมื่อนั่งฟังนโยบายรัฐบาลจนจบ พบว่าไม่มีอะไรแตกต่างจากเอกสารที่ออกมาก่อนหน้านี้ ถ้าเปรียบเป็นจีพีเอสเหมือนประเทศกำลังหลงทาง ขาดความชัดเจน และหากเปรียบเทียบกับรัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา และน.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนมากกว่า ซึ่งทั้งเป้าหมาย วิธีการ และการกำหนดกรอบเวลา ถือว่ามีความสำคัญเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ว่าท่านได้ทำตามสัญญาหรือไม่
สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องบรรจุนโยบายที่หาเสียงไว้ เพราะเป็นสัญญาที่เอาไว้แลกกับคะแนนเสียง หากพรรคไหนคิดกลับคำตระบัดสัตย์ไม่บรรจุนโยบายที่หาเสียงไว้ในนโยบายรัฐบาล คงถือว่าพรรคนั้นทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน
น.ส.
ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า หากตัดเกรดคำแถลงนโยบายของนาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตนให้อยู่เกรดเดียวกับพล.อ.
ประยุทธ์ และคิดว่าพล.อ.
ประยุทธ์ แถลงได้ดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะแถลงยาวกว่า และยังถือว่าพรรคเพื่อไทยมาตรฐานตก เพราะไม่สามารถรักษามาตรฐานได้จากสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่แถลงนโยบายได้อย่างชัดเจน มีนโยบายที่หาเสียงทั้งหมด และมีการกำหนดกรอบเวลา
“
การแถลงนโยบายไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม เขียนแบบพูดอีกก็ถูกอีกเหมือนพูดว่าน้ำเป็นของเหลว จึงเท่ากับว่ารัฐบาลนี้ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการอธิบายรายละเอียดของนโยบาย การเขียนนโยบายต้องไม่ใช่เขียนนโยบายเหมือนเป็นแค่คำอธิษฐาน นโยบายที่หาเสียงไว้ก็หาแทบไม่เจอ แม้จะมีนโยบายของพรรคเพื่อไทยอยู่บ้าง แต่ของพรรคร่วมแทบไม่เห็น” น.ส.
ศิริกัญญา กล่าว
น.ส.
ศิริกัญญา กล่าวว่า นายกฯปัจจุบันมาจากภาคเอกชน เราหวังว่าจะเอาแนวทางบริหารแบบเอกชนมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินในบางเรื่อง การแถลงนโยบายครั้งนี้ถ้าท่านคือซีอีโอใหม่ที่กำลังแสดงวิสัยทัศน์กับบอร์ด อยากถามว่าเป็นท่านจะฟังต่อหรือลุกเดินหนี ตอนอยู่เอกชนท่านมีเป้าหมายชัดเจน มีตัวเลขชี้วัด นั่นคือตัวอย่างที่ดี
แต่น่าเสียดายที่ท่านยังไม่นำมาใช้ในการแถลงนโยบายครั้งนี้ คำแถลงขาดความทะเยอทะยานที่จะทำให้สังคมก้าวหน้า สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับประเทศ เหมือนท่านหลับตาข้างหนึ่งแล้วก้าวข้ามความขัดแย้งทำเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งทาง 3 จังหวัดภาคใต้ การลดความเหลื่อมล้ำ ไม่มีการพูดถึง เหมือนท่านไม่กล้าแตะเรื่องยากๆ
ตอนหาเสียงท่านกล้าหาญกว่านี้มาก ตนคิดว่าน่าจะมาจากการที่รัฐบาลกลัวการผูกมัดกลัวทำไม่ได้แบบที่สัญญาเลยไม่กล้าผูกมัดอะไรกับประชาชนเลย แต่ท่านก็ไม่ควรหลอกประชาชนช่วงเลือกตั้งด้วยการหาเสียงแต่แรก และการเป็นรัฐบาลผสมข้ามขั้วเป็นรัฐบาลคนละขั้วหาข้อตกลงกันไม่ได้ จึงต้องเขียนให้ลอยและกว้างเอาไว้ มีความเกรงใจกลุ่มอำนาจเก่า จึงไม่กล้าทำเรื่องยากๆที่จะต้องปะทะกับใครเลย
น.ส.
ศิริกัญญา กล่าวอีกว่า กรอบระยะสั้นหลายเรื่องที่ควรเป็นนโยบายเร่งด่วนกลับไม่มี ส่วนกรอบระยะกลาง ระยะยาว หากพิจารณาดูจะพบว่าหายไปหลายเรื่อง เช่น ลดรายจ่าย และลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่ถูกลดทอนเหลือแค่เหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ตนเชื่อว่านายกฯ สมัยยังไม่เข้าวงการการเมืองเต็มตัว ท่านเคยแสดงความเห็นเรื่องนี้โดยเห็นว่าความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้อยากถามว่าท่านยังคิดแบบเดิมหรือไม่หรือเปลี่ยนความคิดไปแล้ว
วันนี้ไม่ใช่แค่นาย
เศรษฐา ที่เปลี่ยนไป แต่พรรคเพื่อไทยก็เปลี่ยนด้วย เพราะคำแถลงของรัฐบาลน.ส.
ยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญเรื่องลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้อย่างมาก วันนี้อุดมการณ์จุดยืนของพรรคเพื่อไทยยังคงเดิมหรือเปลี่ยนไปแล้ว หรือท่านไม่เห็นว่าสำคัญอีกต่อไปเพราะบริบทเปลี่ยนไปแล้ว
น.ส.
ศิริกัญญา อภิปรายถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่จะใช้งบประมาณ 5.6 แสนล้านบาท แหล่งที่มาของงบประมาณจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าใช้งบประมาณต้องพิจารณาว่างบพอหรือไม่ หรือมีเงินสดพอหรือไม่ หรือหากใช้เงินนอกงบประมาณ จะมี 3 วิธีการคือ กู้ยืมเงินจากธนาคารรัฐ กู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนหรือไม่ และขายกองทุนวายุภักษ์
หากเลือกใช้งบ 67 คงไม่เพียงพออย่างแน่นอน เพราะงบที่เหลือจริงๆ ที่ท่านจะใช้ได้คือ 4 แสนล้านบาท ท่านได้ถามพรรคร่วมรัฐบาลอื่นหรือยังที่จะเอางบที่เหลือมาลงกับดิจิทัลวอลเล็ต แต่หากเลือกใช้เงินนอกงบประมาณก็ไม่สามารถทำได้หากไม่แก้กรอบวินัยการเงินการคลัง ซึ่งนายกฯบอกว่าเคร่งครัดเรื่องวินัยการเงินการคลัง แต่งานแรกจะเริ่มต้นด้วยการทลายกรอบวินัยการเงินการคลังเลยหรือ
“
ดิจิทัลวอลเล็ตกระตุ้นเศรษฐกิจได้แน่นอน แต่ขอให้ท่านจัดลำดับความสำคัญให้ดี การบริหารราชการแผ่นดินไม่ใช่การพนัน จะเทหมดหน้าตักแล้วไปหวังน้ำบ่อหน้าไม่ได้ ข้อดีของการแถลงนโยบายแบบกว้างๆ คือท่านทำอะไรได้มากว่านั้น ท่านยังมีโอกาสอีกครั้งในการแถลงงบประมาณ ถ้าคำแถลงนโยบายคือคำสัญญา 4 ปี คำแถลงงบประมาณก็จะเป็นคำสัญญา 1 ปี ซึ่งดิฉันยังเฝ้ารอในโอกาสหน้า” น.ส.
ศิริกัญญา กล่าว
พีมูฟ จี้ แก้รธน.ทั้งฉบับ ยื่น9ข้อบรรจุนโยบายรัฐบาล ชี้ เปลี่ยนสปก.เป็นโฉนดเอื้อประโยชน์กลุ่มทุน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4174600
“พีมูฟ” ยื่น 9 ข้อเสนอ จี้ “รัฐบาล-สภา” เร่ง “แก้รธน.ทั้งฉบับ” เหตุหลายนโยบายไม่สอดคล้องข้อเสนอภาคปชช. อาจสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 11 กันยายน ที่อาคารรัฐสภา กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ P-Move ยื่นหนังสือถึงที่ประชุมรัฐสภา โดยมี นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่ 1 นาย
ซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะลา พรรคประชาชาติ นาย
กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ โฆษกพรรคประชาชาติ นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคก้าวไกล ร.อ.
ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับ
โดยเรียกร้องเชิงนโยบาย 9 ด้าน ครอบคลุมถึงประเด็นด้านสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย, การกระจายอำนาจ, ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม, นโยบายที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, การป้องกันภัยพิบัติ, การคุ้มครองชาติพันธุ์และสิทธิความเป็นมนุษย์, สิทธิของคนไร้สถานะ และ รัฐสวัสดิการ
โดยนาย
จำนงค์ หนูพันธ์ ประธานกลุ่ม P-Move กล่าวว่า จากกการติดตามคำแถลงนโยบายรัฐบาลซึ่งนำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน และพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ พบว่า มีหลายนโยบายที่ไม่สอดคล้องข้อเสนอของภาคประชาชน และอาจสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มีบางนโยบายเอื้อประโยชนต่อกลุ่มทุนและชนชั้นนำ อาทิ นโยบายการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 ให้เป็นโฉนด อันอาจจะขัดต่อหลักเจตนารมณ์การปฏิรูปที่ดินที่เกิดจากการต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย และอาจเกิดผลกระทบทำให้การกระจุกตัวของที่ดินอยู่ที่มือนายทุนอย่างหนัก รวมถึงนโยบายการฟอกเขียวทุนอุตสาหกรรมม โดยการสนับสนุนคาร์บอนเครดิต และสานต่อนโยบายเศรษฐกิจชีวิตภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ที่ไม่ได้ช่วยแก้โลกร้อน และรวมถึงนโยบายด้านรัฐสวัสดิการที่อาจไม่เป็นไปอย่างถ้วนหน้าตามที่ภาคประชาชนเรียกร้อง
“
เรายังข้อกังวลต่อท่าทีของคณะรัฐบาลชุดนี้ที่ยังไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของภาคประชาสังคมที่ต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ทุกหมวด ทุกมาตรา โดย สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด” จำนงค์ กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่ม P-Move จึงเรียกร้องข้อเสนอเชิงโยบาย 9 ด้าน เพื่อประกอบการบริหารราชแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ดังต่อไปนี้
1. ด้านสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย โดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่มีบทบัญญัติผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ในด้านต่างๆ เช่น นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส., ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน, ที่มาของประธานศาลฎีกาต้องยึดโยงกับประชาชนตามกลไกของระบบรัฐสภา
2. ด้านการกระจายอำนาจ โดยให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เพื่อปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม
3. นโยบายการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยยกเลิกคดีความที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง โดยให้มีการแต่งตั้งกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อพิจารณากลั่นกรองคดีที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิชุมชน, สิทธิมนุษยชน หรือคดีกลั่นแกล้ง และคดีฟ้องปิดปากประชาชน โดยเบื้องต้นให้เร่งออก “กฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมแก่ราษฎร ซึ่งได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ พ.ศ. …”
4. นโยบายที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดยผลักดัน พ.ร.บ.ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า(เก็บตามมูลค่าและขนาดการถือครองอย่างแท้จริง), พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน,พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร,พ.ร.บ.คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อป้องกันมิให้ที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรถูกนำไปดำเนินการใช้ประโยชน์และเปลี่ยนแปลงผิดประเภท
5. นโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดย ยุติ หรือยกเลิกนโยบายและกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
6. นโยบายด้านการป้องกันภัยพิบัติ โดยจัดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงของประชาชน ในการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ การช่วยเหลือระหว่างเกิดเหตุและการฟื้นฟูเยียวยาหลังเกิดเหตุ
7. นโยบายการคุ้มครองชาติพันธุ์และสิทธิความเป็นมนุษย์ โดยให้มีคณะกรรมการอำนวยการด้านแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง ชาวเล ตามที่มีมติ ครม.รับรอง สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์ประกอบจากภาคประชาสังคมและชุมชนมากกว่ากึ่งหนึ่ง ให้มีหน้าที่ในการร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหา นโยบายต่อคณะกรรมการระดับชาติในการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์
8. นโยบายสิทธิของคนไร้สถานะ โดยแก้ปัญหาด้านสถานะและสิทธิบุคคล ของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธ์ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องมายาวนานเป็นการเร่งด่วนภายใน 3 ปี
9. ด้านนโยบายรัฐสวัสดิการ โดยนำชุดข้อเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ไปปรับใช้เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการ
สภาอุตฯอีสาน จี้ นายกฯ เร่งลดค่าพลังงาน-ต้นทุน ดึงนักลงทุน-นักท่องเที่ยวเข้าไทยด่วน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7860264
นครราชสีมา เลขาสภาอุตสาหกรรมภาคอีสาน จี้ นายกฯ เศรษฐา เร่งลดค่าพลังงาน ลดต้นทุน ดึงนักลงทุนและนักท่องเที่ยวเข้าไทยด่วน ประชาชนคาดหวัง เพื่อไทยหาเสียงเอาไว้
11 ก.ย. 66 – นาย
หัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ว่า
นโยบายเร่งด่วน Quick win (ควิก วิน) ควรเป็นเรื่องลดราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน มาเป็นอันดับแรก เพราะถือเป็นหนึ่งโครงสร้างสำคัญทางเศรษฐกิจที่ยังบิดเบี้ยวอยู่ในขณะนี้
JJNY : ศิริกัญญาขยี้นโยบาย มาตรฐานต่ำกว่ายุค‘ตู่-ปู’│พีมูฟจี้แก้รธน.ทั้งฉบับ│สภาอุตฯอีสานจี้นายกฯ│คณะรปห.กาบองเล็ง ลต.
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7860188
ศิริกัญญา อัด นโยบายรัฐบาลเหมือนคำอธิษฐานไม่กำหนดเป้าหมาย มาตรฐานต่ำกว่ายุค ‘ประยุทธ์-ยิ่งลักษณ์’ หวังใช้แนวทางบริหารสมัยคุมเอกชนมาปรับใช้บางเรื่อง ถามแหล่งที่มาของเงินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต หวั่นประเดิมใช้วิธีกู้เงินทลายกรอบวินัยการเงินการคลัง
เมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 11 ก.ย. 2566 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายว่า คำแถลงนโยบายที่ดีต้องเหมือนจีพีเอส ที่จะบอกว่าเป้าหมาย ตลอด 4 ปี คืออะไร รัฐบาลจะเดินไปเส้นทางไหน เหมือนหรือต่างกับผู้ร่วมทางตอนหาเสียงหรือไม่ จะไปถึงเป้าหมายเมื่อไหร่
แต่เมื่อนั่งฟังนโยบายรัฐบาลจนจบ พบว่าไม่มีอะไรแตกต่างจากเอกสารที่ออกมาก่อนหน้านี้ ถ้าเปรียบเป็นจีพีเอสเหมือนประเทศกำลังหลงทาง ขาดความชัดเจน และหากเปรียบเทียบกับรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนมากกว่า ซึ่งทั้งเป้าหมาย วิธีการ และการกำหนดกรอบเวลา ถือว่ามีความสำคัญเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ว่าท่านได้ทำตามสัญญาหรือไม่
สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องบรรจุนโยบายที่หาเสียงไว้ เพราะเป็นสัญญาที่เอาไว้แลกกับคะแนนเสียง หากพรรคไหนคิดกลับคำตระบัดสัตย์ไม่บรรจุนโยบายที่หาเสียงไว้ในนโยบายรัฐบาล คงถือว่าพรรคนั้นทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า หากตัดเกรดคำแถลงนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตนให้อยู่เกรดเดียวกับพล.อ.ประยุทธ์ และคิดว่าพล.อ.ประยุทธ์ แถลงได้ดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะแถลงยาวกว่า และยังถือว่าพรรคเพื่อไทยมาตรฐานตก เพราะไม่สามารถรักษามาตรฐานได้จากสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่แถลงนโยบายได้อย่างชัดเจน มีนโยบายที่หาเสียงทั้งหมด และมีการกำหนดกรอบเวลา
“การแถลงนโยบายไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม เขียนแบบพูดอีกก็ถูกอีกเหมือนพูดว่าน้ำเป็นของเหลว จึงเท่ากับว่ารัฐบาลนี้ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการอธิบายรายละเอียดของนโยบาย การเขียนนโยบายต้องไม่ใช่เขียนนโยบายเหมือนเป็นแค่คำอธิษฐาน นโยบายที่หาเสียงไว้ก็หาแทบไม่เจอ แม้จะมีนโยบายของพรรคเพื่อไทยอยู่บ้าง แต่ของพรรคร่วมแทบไม่เห็น” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า นายกฯปัจจุบันมาจากภาคเอกชน เราหวังว่าจะเอาแนวทางบริหารแบบเอกชนมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินในบางเรื่อง การแถลงนโยบายครั้งนี้ถ้าท่านคือซีอีโอใหม่ที่กำลังแสดงวิสัยทัศน์กับบอร์ด อยากถามว่าเป็นท่านจะฟังต่อหรือลุกเดินหนี ตอนอยู่เอกชนท่านมีเป้าหมายชัดเจน มีตัวเลขชี้วัด นั่นคือตัวอย่างที่ดี
แต่น่าเสียดายที่ท่านยังไม่นำมาใช้ในการแถลงนโยบายครั้งนี้ คำแถลงขาดความทะเยอทะยานที่จะทำให้สังคมก้าวหน้า สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับประเทศ เหมือนท่านหลับตาข้างหนึ่งแล้วก้าวข้ามความขัดแย้งทำเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งทาง 3 จังหวัดภาคใต้ การลดความเหลื่อมล้ำ ไม่มีการพูดถึง เหมือนท่านไม่กล้าแตะเรื่องยากๆ
ตอนหาเสียงท่านกล้าหาญกว่านี้มาก ตนคิดว่าน่าจะมาจากการที่รัฐบาลกลัวการผูกมัดกลัวทำไม่ได้แบบที่สัญญาเลยไม่กล้าผูกมัดอะไรกับประชาชนเลย แต่ท่านก็ไม่ควรหลอกประชาชนช่วงเลือกตั้งด้วยการหาเสียงแต่แรก และการเป็นรัฐบาลผสมข้ามขั้วเป็นรัฐบาลคนละขั้วหาข้อตกลงกันไม่ได้ จึงต้องเขียนให้ลอยและกว้างเอาไว้ มีความเกรงใจกลุ่มอำนาจเก่า จึงไม่กล้าทำเรื่องยากๆที่จะต้องปะทะกับใครเลย
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวอีกว่า กรอบระยะสั้นหลายเรื่องที่ควรเป็นนโยบายเร่งด่วนกลับไม่มี ส่วนกรอบระยะกลาง ระยะยาว หากพิจารณาดูจะพบว่าหายไปหลายเรื่อง เช่น ลดรายจ่าย และลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่ถูกลดทอนเหลือแค่เหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ตนเชื่อว่านายกฯ สมัยยังไม่เข้าวงการการเมืองเต็มตัว ท่านเคยแสดงความเห็นเรื่องนี้โดยเห็นว่าความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้อยากถามว่าท่านยังคิดแบบเดิมหรือไม่หรือเปลี่ยนความคิดไปแล้ว
วันนี้ไม่ใช่แค่นายเศรษฐา ที่เปลี่ยนไป แต่พรรคเพื่อไทยก็เปลี่ยนด้วย เพราะคำแถลงของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญเรื่องลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้อย่างมาก วันนี้อุดมการณ์จุดยืนของพรรคเพื่อไทยยังคงเดิมหรือเปลี่ยนไปแล้ว หรือท่านไม่เห็นว่าสำคัญอีกต่อไปเพราะบริบทเปลี่ยนไปแล้ว
น.ส.ศิริกัญญา อภิปรายถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่จะใช้งบประมาณ 5.6 แสนล้านบาท แหล่งที่มาของงบประมาณจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าใช้งบประมาณต้องพิจารณาว่างบพอหรือไม่ หรือมีเงินสดพอหรือไม่ หรือหากใช้เงินนอกงบประมาณ จะมี 3 วิธีการคือ กู้ยืมเงินจากธนาคารรัฐ กู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนหรือไม่ และขายกองทุนวายุภักษ์
หากเลือกใช้งบ 67 คงไม่เพียงพออย่างแน่นอน เพราะงบที่เหลือจริงๆ ที่ท่านจะใช้ได้คือ 4 แสนล้านบาท ท่านได้ถามพรรคร่วมรัฐบาลอื่นหรือยังที่จะเอางบที่เหลือมาลงกับดิจิทัลวอลเล็ต แต่หากเลือกใช้เงินนอกงบประมาณก็ไม่สามารถทำได้หากไม่แก้กรอบวินัยการเงินการคลัง ซึ่งนายกฯบอกว่าเคร่งครัดเรื่องวินัยการเงินการคลัง แต่งานแรกจะเริ่มต้นด้วยการทลายกรอบวินัยการเงินการคลังเลยหรือ
“ดิจิทัลวอลเล็ตกระตุ้นเศรษฐกิจได้แน่นอน แต่ขอให้ท่านจัดลำดับความสำคัญให้ดี การบริหารราชการแผ่นดินไม่ใช่การพนัน จะเทหมดหน้าตักแล้วไปหวังน้ำบ่อหน้าไม่ได้ ข้อดีของการแถลงนโยบายแบบกว้างๆ คือท่านทำอะไรได้มากว่านั้น ท่านยังมีโอกาสอีกครั้งในการแถลงงบประมาณ ถ้าคำแถลงนโยบายคือคำสัญญา 4 ปี คำแถลงงบประมาณก็จะเป็นคำสัญญา 1 ปี ซึ่งดิฉันยังเฝ้ารอในโอกาสหน้า” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว
พีมูฟ จี้ แก้รธน.ทั้งฉบับ ยื่น9ข้อบรรจุนโยบายรัฐบาล ชี้ เปลี่ยนสปก.เป็นโฉนดเอื้อประโยชน์กลุ่มทุน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4174600
“พีมูฟ” ยื่น 9 ข้อเสนอ จี้ “รัฐบาล-สภา” เร่ง “แก้รธน.ทั้งฉบับ” เหตุหลายนโยบายไม่สอดคล้องข้อเสนอภาคปชช. อาจสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 11 กันยายน ที่อาคารรัฐสภา กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ P-Move ยื่นหนังสือถึงที่ประชุมรัฐสภา โดยมี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่ 1 นายซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะลา พรรคประชาชาติ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ โฆษกพรรคประชาชาติ นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคก้าวไกล ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับ
โดยเรียกร้องเชิงนโยบาย 9 ด้าน ครอบคลุมถึงประเด็นด้านสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย, การกระจายอำนาจ, ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม, นโยบายที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, การป้องกันภัยพิบัติ, การคุ้มครองชาติพันธุ์และสิทธิความเป็นมนุษย์, สิทธิของคนไร้สถานะ และ รัฐสวัสดิการ
โดยนายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานกลุ่ม P-Move กล่าวว่า จากกการติดตามคำแถลงนโยบายรัฐบาลซึ่งนำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน และพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ พบว่า มีหลายนโยบายที่ไม่สอดคล้องข้อเสนอของภาคประชาชน และอาจสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มีบางนโยบายเอื้อประโยชนต่อกลุ่มทุนและชนชั้นนำ อาทิ นโยบายการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 ให้เป็นโฉนด อันอาจจะขัดต่อหลักเจตนารมณ์การปฏิรูปที่ดินที่เกิดจากการต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย และอาจเกิดผลกระทบทำให้การกระจุกตัวของที่ดินอยู่ที่มือนายทุนอย่างหนัก รวมถึงนโยบายการฟอกเขียวทุนอุตสาหกรรมม โดยการสนับสนุนคาร์บอนเครดิต และสานต่อนโยบายเศรษฐกิจชีวิตภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ที่ไม่ได้ช่วยแก้โลกร้อน และรวมถึงนโยบายด้านรัฐสวัสดิการที่อาจไม่เป็นไปอย่างถ้วนหน้าตามที่ภาคประชาชนเรียกร้อง
“เรายังข้อกังวลต่อท่าทีของคณะรัฐบาลชุดนี้ที่ยังไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของภาคประชาสังคมที่ต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ทุกหมวด ทุกมาตรา โดย สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด” จำนงค์ กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่ม P-Move จึงเรียกร้องข้อเสนอเชิงโยบาย 9 ด้าน เพื่อประกอบการบริหารราชแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ดังต่อไปนี้
1. ด้านสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย โดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่มีบทบัญญัติผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ในด้านต่างๆ เช่น นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส., ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน, ที่มาของประธานศาลฎีกาต้องยึดโยงกับประชาชนตามกลไกของระบบรัฐสภา
2. ด้านการกระจายอำนาจ โดยให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เพื่อปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม
3. นโยบายการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยยกเลิกคดีความที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง โดยให้มีการแต่งตั้งกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อพิจารณากลั่นกรองคดีที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิชุมชน, สิทธิมนุษยชน หรือคดีกลั่นแกล้ง และคดีฟ้องปิดปากประชาชน โดยเบื้องต้นให้เร่งออก “กฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมแก่ราษฎร ซึ่งได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ พ.ศ. …”
4. นโยบายที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดยผลักดัน พ.ร.บ.ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า(เก็บตามมูลค่าและขนาดการถือครองอย่างแท้จริง), พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน,พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร,พ.ร.บ.คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อป้องกันมิให้ที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรถูกนำไปดำเนินการใช้ประโยชน์และเปลี่ยนแปลงผิดประเภท
5. นโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดย ยุติ หรือยกเลิกนโยบายและกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
6. นโยบายด้านการป้องกันภัยพิบัติ โดยจัดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงของประชาชน ในการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ การช่วยเหลือระหว่างเกิดเหตุและการฟื้นฟูเยียวยาหลังเกิดเหตุ
7. นโยบายการคุ้มครองชาติพันธุ์และสิทธิความเป็นมนุษย์ โดยให้มีคณะกรรมการอำนวยการด้านแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง ชาวเล ตามที่มีมติ ครม.รับรอง สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์ประกอบจากภาคประชาสังคมและชุมชนมากกว่ากึ่งหนึ่ง ให้มีหน้าที่ในการร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหา นโยบายต่อคณะกรรมการระดับชาติในการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์
8. นโยบายสิทธิของคนไร้สถานะ โดยแก้ปัญหาด้านสถานะและสิทธิบุคคล ของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธ์ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องมายาวนานเป็นการเร่งด่วนภายใน 3 ปี
9. ด้านนโยบายรัฐสวัสดิการ โดยนำชุดข้อเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ไปปรับใช้เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการ
สภาอุตฯอีสาน จี้ นายกฯ เร่งลดค่าพลังงาน-ต้นทุน ดึงนักลงทุน-นักท่องเที่ยวเข้าไทยด่วน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7860264
นครราชสีมา เลขาสภาอุตสาหกรรมภาคอีสาน จี้ นายกฯ เศรษฐา เร่งลดค่าพลังงาน ลดต้นทุน ดึงนักลงทุนและนักท่องเที่ยวเข้าไทยด่วน ประชาชนคาดหวัง เพื่อไทยหาเสียงเอาไว้
11 ก.ย. 66 – นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ว่า
นโยบายเร่งด่วน Quick win (ควิก วิน) ควรเป็นเรื่องลดราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน มาเป็นอันดับแรก เพราะถือเป็นหนึ่งโครงสร้างสำคัญทางเศรษฐกิจที่ยังบิดเบี้ยวอยู่ในขณะนี้