เรื่องของวงเวียนจราจร สั้นๆ

วงเวียน คือทางแยกประเภทหนึ่งที่การจราจรบนถนนเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวรอบเกาะกลาง และให้ความสำคัญกับกระแสการไหลเวียนเป็นหลัก
เนื่องจากการจราจรที่เข้าสู่วงเวียนต้องใช้ความเร็วต่ำ จึงได้รับการออกแบบทางกายภาพให้ชะลอการจราจรที่เข้าสู่ทางแยกเพื่อความปลอดภัย

วงเวียนสมัยใหม่ หมายถึง ทางแยกที่ติดตั้งหลังปี 1960 ซึ่งมีการการออกแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เมื่อเปรียบเทียบกับป้ายหยุด สัญญาณไฟจราจร และวงเวียนรูปแบบก่อนหน้านี้ วงเวียนสมัยใหม่ลดโอกาสและความรุนแรงของการชนกันอย่างมาก 

ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ ลดความสับสนของผู้ขับขี่ที่เกี่ยวข้องกับทางแยกตั้งฉาก และลดการเข้าคิวที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณไฟจราจร





การใช้วงเวียนสมัยใหม่อย่างแพร่หลายเริ่มขึ้นเมื่อสหราชอาณาจักรได้ปรับปรุงและสร้างมาตรฐานทางแยกวงกลมในช่วงทศวรรษ 1960
ในปี 1966 (2523) สหราชอาณาจักรได้ออกกฎที่ทางแยกวงกลมทุกแห่งซึ่งกำหนดให้ต้องเข้าสู่การจราจร ให้ทางแก่การจราจรในวงเวียนไปก่อน

การออกแบบนี้กลายเป็นข้อบังคับในสหราชอาณาจักรสำหรับวงเวียนใหม่ทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน 1966

ในทศวรรษ 1970 ฝรั่งเศสและนอร์เวย์ได้นำวงเวียนสมัยใหม่มาใช้

ในปี 1980 สวิตเซอร์แลนด์มีวงเวียน 19 แห่ง

ในปี 1987 สวิตเซอร์แลนด์ได้นำกฎ ให้รถในวงเวียนไปก่อน ตั้งแต่นั้นมาวงเวียนก็เพิ่มขึ้นจาก 19 แห่งในปี 1980 เป็น 220 แห่งในต้นปี 1992 ขณะที่อีก 500 แห่งอยู่ระหว่างการพิจารณา

วงเวียนสมัยใหม่แห่งแรกที่สร้างขึ้นในสหรัฐอเมริกาถูกสร้างในปี 1990 ที่ Summerlin เนวาดา

จำนวนวงเวียนสมัยใหม่ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นจากประมาณ 150 แห่งในช่วงปลายทศวรรษ 1990 เป็นมากกว่า 9,000 แห่งในปัจจุบัน

ในปี 1999 แคนาดาได้สร้างวงเวียนสมัยใหม่แห่งแรกขึ้น

ในปี 2017 ฝรั่งเศสมีวงเวียนมากกว่า 63,000 แห่ง

สเปนมีวงเวียน 36,000 แห่ง 

ณ ปี 2015 ประเทศอังกฤษมีวงเวียนประมาณ 25,000 แห่ง

รู้ไหมว่า เมืองคาร์เมลที่แทบไม่เป็นที่รู้จักในรัฐอินเดียนา (สหรัฐอเมริกา) เป็นเมืองที่ได้รับการจัดอันดับว่า 1 ในทุกๆ 17 ทางแยกของถนนจะเป็นวงเวียนจราจร เรียนกได้ว่าเป็นเมืองหลวงวงเวียนของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย (ดูได้ใน clip youtube ท้ายนี้)

ส่วนเมืองอื่นๆ 


ในประเทศไทย(จากจดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ของกรมศิลปากร) ระบุว่ามีการก่อสร้างวงเวียน(ไม่ใช่วงเวียนสมัยใหม่)ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ.1917)  และได้ใช้พื้นที่วงเวียนเพื่อก่อสร้างเป็นหอนาฬิกาหรืออนุสาวรีย์ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทุกจังหวัดอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง รวมถึง กทม. ที่มีวงเวียนขนาดกลางและใหญ่หลายแห่ง 

หลังจากปี พ.ศ. 2510 วงเวียนในไทยก็เปลี่ยนเป็นทางแยกใช้สัญญาณไฟเนื่องจากปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกินความจุที่จะรองรับได้ จำนวนวงเวียนจึงลดลง ซึ่งตรงข้ามกับในหลายๆประเทศ

การออกแบบวงเวียนต้องออกแบบให้เกิดความสมดุลระหว่างความปลอดภัยและการรองรับสภาพการจราจรในวงเวียน สภาพพื้นที่ ปริมาณจราจร ปริมาณบรรทุก คนเดินเท้า ทางจักรยาน มีการคำนวณระยะหยุดปลอดภัย กำหนดเขตทางที่เหมาะสมสามารถมองเห็นสภาพการจราจรได้ทั่วถึงชัดเจน มีป้ายบอกที่เห็นชัด เข้าใจง่าย ซึ่งมีรายละเอียดการออกแบบที่มากมาย

สำหรับวงเวียนขนาดเล็ก(เส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกน้อยกว่า 23 เมตร 2 ช่องจราจร) ปริมาณความจุในวงเวียนจะมากกว่าทางแยกที่ติดตั้งสัญญาณไฟ ซึ่งตรงข้ามกับวงเวียนขนาดใหญ่กว่า 23 เมตร (3ช่องจราจร) ที่ปริมาณความจุในวงเวียนจะน้อยกว่าทางแยกที่ติดตั้งสัญญาณไฟ
อ่านทั้งหมด --- > ประวัติและความเป็นมาของการใช้วงเวียน
 
การจะทำวงเวียนก็ต้องขึ้นกับหลายๆปัจจัย ที่แต่ละพื้นที่จะเลือกมาใช้ 

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ที่มา
Roundabout - Wikipedia
Modern roundabouts boost traffic safety
Europe: The champion of roundabouts.

ลองมาแชร์กันว่าทำไมวงเวียนในไทยถึงไม่ค่อยได้ผลในการระบายจราจร(หรือเปล่า)
หรือมีวงเวียนไหนในประเทศไทย จังหวัดใด ที่ใช้ได้ผลบ้างครับ 
วันๆขับแต่ใน กทม. ไม่ค่อยผ่านวงเวียนมากนักครับ

ขอขอบคุณ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่