'ปิยบุตร' ชี้ 6 ปัญหา เรื่อง 'รัฐธรรมนูญฉบับใหม่' ทำประชามติห้ามแพ้ ไม่งั้นแก้ยาก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7819986
‘ปิยบุตร’ ชี้ 6 ปัญหา เรื่อง ‘รัฐธรรมนูญฉบับใหม่’ ทำประชามติห้ามแพ้ ไม่งั้นแก้ยาก แจงชัด ไม่มีการล้มล้าง แนะเขียนคำถามให้ชัด ป้องกันสับสน
วันที่ 17 ส.ค.2566
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านทางสังคมออนไลน์ แสดงความคิดเห็นในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ความว่า
ปัญหา 6 ประการเรื่องการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
1. ถ้าจะทำประชามติว่าสมควรทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่ฉบับ 60 หรือไม่ ต้องมั่นใจว่าไม่แพ้ หากแพ้ รัฐธรรมนูญ 2560 จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงทำใหม่ได้ยากแล้ว เพราะชนะประชามติสองรอบ
2. เขียนคำถามประชามติให้ชัด ป้องกันความสับสนซับซ้อน ไม่เช่นนั้นจะเหมือนประชามติปี 2559
3. เลือกตั้ง สสร. โดยใช้ระบบสัดส่วนและประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง
4. ไม่ต้องกังวลเรื่องการล้มล้างฯ เพราะติดล็อกรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่แล้วว่าห้ามเปลี่ยนรูปของรัฐและระบอบการปกครอง
5. นักการเมือง สส. และ ผู้สมัคร สสร. ต้องรณรงค์เสนอว่าร่างฉบับใหม่ด้วยว่ามีเนื้อหาอย่างไร
6. หากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ จะจัดออกเสียงประชามติ ก็ต้องวางกรอบระยะเวลาให้ประชาชนเห็นชัดเจน ว่าจะใช้เวลาเท่าไรในการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/videos/812271620389629/
ม็อบฮือบุก ‘คลัง-พม.-มท.’ ต้านหั่นเบี้ยชรา ก้าวไกลแถลงค้าน จ่อชง กม.บำนาญถ้วนหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4134456
ม็อบฮือบุก ‘คลัง-พม.-มท.’ ต้านหั่นเบี้ยชรา ก้าวไกลแถลงค้าน จ่อชง กม.บำนาญถ้วนหน้า ปธ.บอร์ดผู้สูงอายุลั่นนโยบายมีแต่เพิ่มไม่ลด
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประชุมไบเทคบางนา นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีการที่มีแนวคิดปรับ เบี้ยผู้สูงอายุ ว่า เรื่องดังกล่าวหน่วยงานกำหนดนโยบายคือคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งมีตนเป็นประธาน ถือว่าเป็นหน่วยกำหนดนโยบาย ส่วนกระทรวงมหาดไทยหรือหน่วยปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยปฏิบัติ คือหน่วยที่จะจ่ายเงินตามนโยบายที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นผู้กำหนด ซึ่งจนถึงขณะนี้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติยังไม่เคยมีนโยบายที่จะไปลดเบี้ยยังชีพให้น้อยลงหรือไปลดปริมาณผู้สูงอายุหรือจำนวนผู้สูงอายุที่จะได้รับเบี้ยยังชีพให้น้อยลงหรือเลือกจ่ายเฉพาะใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่อย่างใดทั้งสิ้น นโยบายยังคงเดิม นั่นคือจ่ายตามระบบ 600,700,800 และ 1,000 บาท ตามขั้นอายุ ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว
“
ในฐานะประธานคณะกรรมการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยืนยันว่า ยังไม่เคยมีนโยบายให้ไปเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่สั่งการให้ศึกษาแนวทางต่างๆ ว่าจะเพิ่มเบี้ยยังชีพให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสอดคล้องกับภาวะค่าของชีพ ภาวะเศรษฐกิจ หรือกำลังเงินงบประมาณของแผ่นดินให้มากขึ้นได้อย่างไร” นาย
จุรินทร์กล่าว
ที่รัฐสภา นาย
เซีย จำปาทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวว่า ขอแถลงคัดค้านการออกระเบียบมหาดไทย ลดบำนาญประชาชนว่า พรรค ก.ก.เห็นว่าประกาศดังกล่าวเป็นการหมุนกงล้อระบบสวัสดิการย้อนกลับจากที่ไทยควร ก้าวไปสู่การมีระบบสวัสดิการถ้วนหน้ากลับไปสู่ระบบสงเคราะห์ ที่ต้องพิสูจน์ความจนเพื่อได้รับการช่วยเหลือ เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างไม่น่าให้อภัย และไม่น่าเกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ให้คุณค่ากับสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม
นาย
เซียกล่าวต่อว่า ปัญหาที่พรรค ก.ก.กังวลว่าจะมีเพิ่มตามมาคือเรื่องกฎเกณฑ์ที่จะต้องออกหลังประกาศฉบับนี้ หากมีการใช้ฐานข้อมูลจากบัตรคนจน ก็มีการประเมินกันว่าจะมีผู้สูงอายุที่หลุดออกจากระบบ ไม่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุประมาณอีก 6 ล้านคน นอกจากนี้ ฐานข้อมูลของบัตรคนจนก็มีความไม่เที่ยงตรงพอสมควร เพราะมีการสำรวจว่ามีคนจนประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้บัตร แปลว่าข้อมูลตกหล่นจากฐานข้อมูลไปเยอะมาก ฉะนั้น พรรค ก.ก.เห็นว่าจึงต้องมีการให้สวัสดิการแบบถ้วนหน้า เพื่อไม่ต้องมาเสียเวลาพิสูจน์ความจน เพื่อจะรับเงิน 600 บาท หรือแค่ ประมาณ 20 บาทต่อวัน
“
พรรค ก.ก.ขอคัดค้านการออกระเบียบดังกล่าวตามเหตุผลที่กล่าวมาและขอยืนยันในสิ่งที่ได้หาเสียงไว้ คือการสร้างสวัสดิการถ้วนหน้า ได้มีการพิสูจน์มาแล้วหลายที่ในโลกว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ พรรคก.ก.เชื่อว่าสวัสดิการถ้วนหน้าไม่ได้มีราคาแพง ไม่เป็นภาระด้านงบประมาณ เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้โดยตรง เพราะเชื่อว่าสวัสดิการถ้วนหน้า คือสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ” นาย
เซียกล่าว และว่า เตรียมยื่น ร่าง พ.ร.บ.บำนาญถ้วนหน้า เพื่อเป็นก้าวแรกที่จะทำให้ระบบสวัสดิการของเราก้าวไปข้างหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีกลุ่มเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) และเครือข่ายสลัมสี่ภาค ประมาณ 60-70 คน ได้เดินทางมาหน้าบริเวณกระทรวงการคลัง เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องคัดค้านการตัดสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 โดย นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ไม่ได้ออกมาตามคำเรียกร้อง ทางผู้ชุมนุมจึงใช้วิธีพับหนังสือเรียกร้องเป็นจรวด แล้วร่อนผ่านรั้วกระทรวงคลังแทน
จากนั้นผู้ชุมนุมตั้งขบวนเคลื่อนไปยังที่หมายถัดไปคือกระทรวงมหาดไทย ต่อด้วยช่วงบ่ายไปที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและสวัสดิการมนุษย์ (พม.) เป็นลำดับสุดท้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื้อหาในหนังสือเรียกร้อง ระบุว่า
1. ขอให้กระทรวงมหาดไทย ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 แล้วกลับไปใช้ระเบียบเดิม
2. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ต้องออกมาปกป้องสิทธิของผู้สูงอายุทุกคน
3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยกระดับการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญถ้วนหน้า
4. กระทรวงการคลัง ตัดงบรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหาแหล่งรายได้ใหม่ๆเข้ารัฐ
และ 5. รัฐบาลใหม่ ต้องผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเรื่องรัฐสวัสดิการเป็นสิทธิแบบถ้วนหน้าบรรจุในกฎหมายให้ชัดเจน
กัณวีร์ ย้ำ ‘ไม่เอาทุกลุง’ ไม่ร่วม รบ.ที่มีพรรคสืบทอดอำนาจเผด็จการ ไม่ยอมให้ ปชต.บิดเบี้ยว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4134407
กัณวีร์ ย้ำคำเดิม ‘ไม่เอาทุกลุง’ ไม่ร่วมรัฐบาลที่มีพรรคสืบทอดอำนาจเผด็จการ ยืนฝั่ง ปชต. ไม่ยอมให้บิดเบี้ยว
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ระบุภายหลัง พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ประกาศร่วมรัฐบาลตามที่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ชวนไว้ว่า มาแล้ว 1 ลุง พี่นลคิดยังไง!! นักข่าวถามกันมาเยอะ เลยต้องมาย้ำอีกครั้ง จะ 1 ลุง 2 ลุง ก็ไม่เอาทุกลุง ถ้าเป็นไม้พะยุงให้เผด็จการ
การตอกย้ำทางอุดมการณ์ของผมจะเข้มข้นขึ้นทุกวัน จากการตอบรับการเข้าร่วมของ รทสช.ที่จะยืนยัน 1 เสียงศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องประชาชนจะยืนข้างฝั่งประชาธิปไตย เพื่อจะสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองที่ต้องมีความตรงไปตรงมา และทำให้ระบอบประชาธิปไตยไม่บิดเบี้ยว
ถึงแม้เสียงนี้เสียงเดียวคงไม่สามารถคัดง้างความปรารถนาของการรีบจัดตั้งรัฐบาลที่เพื่อไทยจะเป็นผู้นำในสภาได้ แต่จะขอยืนยันการไม่เข้าร่วมรัฐบาลที่มีพรรคการเมืองที่จะสืบทอดอำนาจเผด็จการอย่างแน่นอน
เสียงนี้จะยืนยันต่อประชาชนว่าเราต้องการการเมืองตามกฎ กติกาที่เป็นธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางครับ
JJNY : 'ปิยบุตร' ชี้ 6 ปัญหา│ม็อบฮือบุก‘คลัง-พม.-มท.’ต้านหั่นเบี้ยชรา│กัณวีร์ย้ำ‘ไม่เอาทุกลุง’│นายพลรัสเซียเสียชีวิตแล้ว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7819986
‘ปิยบุตร’ ชี้ 6 ปัญหา เรื่อง ‘รัฐธรรมนูญฉบับใหม่’ ทำประชามติห้ามแพ้ ไม่งั้นแก้ยาก แจงชัด ไม่มีการล้มล้าง แนะเขียนคำถามให้ชัด ป้องกันสับสน
วันที่ 17 ส.ค.2566 นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านทางสังคมออนไลน์ แสดงความคิดเห็นในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ความว่า
ปัญหา 6 ประการเรื่องการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
1. ถ้าจะทำประชามติว่าสมควรทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่ฉบับ 60 หรือไม่ ต้องมั่นใจว่าไม่แพ้ หากแพ้ รัฐธรรมนูญ 2560 จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงทำใหม่ได้ยากแล้ว เพราะชนะประชามติสองรอบ
2. เขียนคำถามประชามติให้ชัด ป้องกันความสับสนซับซ้อน ไม่เช่นนั้นจะเหมือนประชามติปี 2559
3. เลือกตั้ง สสร. โดยใช้ระบบสัดส่วนและประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง
4. ไม่ต้องกังวลเรื่องการล้มล้างฯ เพราะติดล็อกรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่แล้วว่าห้ามเปลี่ยนรูปของรัฐและระบอบการปกครอง
5. นักการเมือง สส. และ ผู้สมัคร สสร. ต้องรณรงค์เสนอว่าร่างฉบับใหม่ด้วยว่ามีเนื้อหาอย่างไร
6. หากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ จะจัดออกเสียงประชามติ ก็ต้องวางกรอบระยะเวลาให้ประชาชนเห็นชัดเจน ว่าจะใช้เวลาเท่าไรในการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/videos/812271620389629/
ม็อบฮือบุก ‘คลัง-พม.-มท.’ ต้านหั่นเบี้ยชรา ก้าวไกลแถลงค้าน จ่อชง กม.บำนาญถ้วนหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4134456
ม็อบฮือบุก ‘คลัง-พม.-มท.’ ต้านหั่นเบี้ยชรา ก้าวไกลแถลงค้าน จ่อชง กม.บำนาญถ้วนหน้า ปธ.บอร์ดผู้สูงอายุลั่นนโยบายมีแต่เพิ่มไม่ลด
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประชุมไบเทคบางนา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีการที่มีแนวคิดปรับ เบี้ยผู้สูงอายุ ว่า เรื่องดังกล่าวหน่วยงานกำหนดนโยบายคือคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งมีตนเป็นประธาน ถือว่าเป็นหน่วยกำหนดนโยบาย ส่วนกระทรวงมหาดไทยหรือหน่วยปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยปฏิบัติ คือหน่วยที่จะจ่ายเงินตามนโยบายที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นผู้กำหนด ซึ่งจนถึงขณะนี้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติยังไม่เคยมีนโยบายที่จะไปลดเบี้ยยังชีพให้น้อยลงหรือไปลดปริมาณผู้สูงอายุหรือจำนวนผู้สูงอายุที่จะได้รับเบี้ยยังชีพให้น้อยลงหรือเลือกจ่ายเฉพาะใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่อย่างใดทั้งสิ้น นโยบายยังคงเดิม นั่นคือจ่ายตามระบบ 600,700,800 และ 1,000 บาท ตามขั้นอายุ ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว
“ในฐานะประธานคณะกรรมการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยืนยันว่า ยังไม่เคยมีนโยบายให้ไปเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่สั่งการให้ศึกษาแนวทางต่างๆ ว่าจะเพิ่มเบี้ยยังชีพให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสอดคล้องกับภาวะค่าของชีพ ภาวะเศรษฐกิจ หรือกำลังเงินงบประมาณของแผ่นดินให้มากขึ้นได้อย่างไร” นายจุรินทร์กล่าว
ที่รัฐสภา นายเซีย จำปาทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวว่า ขอแถลงคัดค้านการออกระเบียบมหาดไทย ลดบำนาญประชาชนว่า พรรค ก.ก.เห็นว่าประกาศดังกล่าวเป็นการหมุนกงล้อระบบสวัสดิการย้อนกลับจากที่ไทยควร ก้าวไปสู่การมีระบบสวัสดิการถ้วนหน้ากลับไปสู่ระบบสงเคราะห์ ที่ต้องพิสูจน์ความจนเพื่อได้รับการช่วยเหลือ เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างไม่น่าให้อภัย และไม่น่าเกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ให้คุณค่ากับสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม
นายเซียกล่าวต่อว่า ปัญหาที่พรรค ก.ก.กังวลว่าจะมีเพิ่มตามมาคือเรื่องกฎเกณฑ์ที่จะต้องออกหลังประกาศฉบับนี้ หากมีการใช้ฐานข้อมูลจากบัตรคนจน ก็มีการประเมินกันว่าจะมีผู้สูงอายุที่หลุดออกจากระบบ ไม่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุประมาณอีก 6 ล้านคน นอกจากนี้ ฐานข้อมูลของบัตรคนจนก็มีความไม่เที่ยงตรงพอสมควร เพราะมีการสำรวจว่ามีคนจนประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้บัตร แปลว่าข้อมูลตกหล่นจากฐานข้อมูลไปเยอะมาก ฉะนั้น พรรค ก.ก.เห็นว่าจึงต้องมีการให้สวัสดิการแบบถ้วนหน้า เพื่อไม่ต้องมาเสียเวลาพิสูจน์ความจน เพื่อจะรับเงิน 600 บาท หรือแค่ ประมาณ 20 บาทต่อวัน
“พรรค ก.ก.ขอคัดค้านการออกระเบียบดังกล่าวตามเหตุผลที่กล่าวมาและขอยืนยันในสิ่งที่ได้หาเสียงไว้ คือการสร้างสวัสดิการถ้วนหน้า ได้มีการพิสูจน์มาแล้วหลายที่ในโลกว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ พรรคก.ก.เชื่อว่าสวัสดิการถ้วนหน้าไม่ได้มีราคาแพง ไม่เป็นภาระด้านงบประมาณ เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้โดยตรง เพราะเชื่อว่าสวัสดิการถ้วนหน้า คือสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ” นายเซียกล่าว และว่า เตรียมยื่น ร่าง พ.ร.บ.บำนาญถ้วนหน้า เพื่อเป็นก้าวแรกที่จะทำให้ระบบสวัสดิการของเราก้าวไปข้างหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีกลุ่มเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) และเครือข่ายสลัมสี่ภาค ประมาณ 60-70 คน ได้เดินทางมาหน้าบริเวณกระทรวงการคลัง เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องคัดค้านการตัดสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 โดย นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ไม่ได้ออกมาตามคำเรียกร้อง ทางผู้ชุมนุมจึงใช้วิธีพับหนังสือเรียกร้องเป็นจรวด แล้วร่อนผ่านรั้วกระทรวงคลังแทน
จากนั้นผู้ชุมนุมตั้งขบวนเคลื่อนไปยังที่หมายถัดไปคือกระทรวงมหาดไทย ต่อด้วยช่วงบ่ายไปที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและสวัสดิการมนุษย์ (พม.) เป็นลำดับสุดท้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื้อหาในหนังสือเรียกร้อง ระบุว่า
1. ขอให้กระทรวงมหาดไทย ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 แล้วกลับไปใช้ระเบียบเดิม
2. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ต้องออกมาปกป้องสิทธิของผู้สูงอายุทุกคน
3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยกระดับการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญถ้วนหน้า
4. กระทรวงการคลัง ตัดงบรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหาแหล่งรายได้ใหม่ๆเข้ารัฐ
และ 5. รัฐบาลใหม่ ต้องผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเรื่องรัฐสวัสดิการเป็นสิทธิแบบถ้วนหน้าบรรจุในกฎหมายให้ชัดเจน
กัณวีร์ ย้ำ ‘ไม่เอาทุกลุง’ ไม่ร่วม รบ.ที่มีพรรคสืบทอดอำนาจเผด็จการ ไม่ยอมให้ ปชต.บิดเบี้ยว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4134407
กัณวีร์ ย้ำคำเดิม ‘ไม่เอาทุกลุง’ ไม่ร่วมรัฐบาลที่มีพรรคสืบทอดอำนาจเผด็จการ ยืนฝั่ง ปชต. ไม่ยอมให้บิดเบี้ยว
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ระบุภายหลัง พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ประกาศร่วมรัฐบาลตามที่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ชวนไว้ว่า มาแล้ว 1 ลุง พี่นลคิดยังไง!! นักข่าวถามกันมาเยอะ เลยต้องมาย้ำอีกครั้ง จะ 1 ลุง 2 ลุง ก็ไม่เอาทุกลุง ถ้าเป็นไม้พะยุงให้เผด็จการ
การตอกย้ำทางอุดมการณ์ของผมจะเข้มข้นขึ้นทุกวัน จากการตอบรับการเข้าร่วมของ รทสช.ที่จะยืนยัน 1 เสียงศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องประชาชนจะยืนข้างฝั่งประชาธิปไตย เพื่อจะสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองที่ต้องมีความตรงไปตรงมา และทำให้ระบอบประชาธิปไตยไม่บิดเบี้ยว
ถึงแม้เสียงนี้เสียงเดียวคงไม่สามารถคัดง้างความปรารถนาของการรีบจัดตั้งรัฐบาลที่เพื่อไทยจะเป็นผู้นำในสภาได้ แต่จะขอยืนยันการไม่เข้าร่วมรัฐบาลที่มีพรรคการเมืองที่จะสืบทอดอำนาจเผด็จการอย่างแน่นอน
เสียงนี้จะยืนยันต่อประชาชนว่าเราต้องการการเมืองตามกฎ กติกาที่เป็นธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางครับ