JJNY : 5in1 ไอลอว์บี้พท.│หวั่นซ้ำรอยพฤษภาทมิฬ!│‘ปิยบุตร’แนะวิธีพา‘ทักษิณ’│ชี้ตั้งรบ.ต้องเร็ว-ไม่ขี้เหร่│จีนเผชิญโคลนถล่ม

ไอลอว์ บี้เพื่อไทย ประชามติ-แก้รธน.ต้องชัด ห่วงตั้งรบ.ผสม ลักไก่คืนอำนาจขั้วเดิม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4126048


 
ไอลอว์ บี้เพื่อไทย ประชามติ-แก้รธน.ต้องชัด ห่วงตั้งรบ.ผสม ลักไก่คืนอำนาจขั้วเดิม

ที่สำนักงาน iLaw โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ได้จัดแถลงข้อกังวลต่อแถลงการณ์การจัดตั้งรัฐบาล และเร่งทำประชามติรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา โดย นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการ iLaw กล่าวตอนหนึ่งว่า ต้องยอมรับว่ากระบวนการเข้าสู่รัฐธรรมนูญใหม่นั้นซับซ้อนและกินเวลามาก แม้ว่าทำให้เร็วสุด ทุกฝ่ายเห็นพ้องนับตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ก็กินเวลาประมาณ 2 ปี ฉะนั้น แถลงการณ์ในการจัดตั้งรัฐบาลระบุว่า ต้องการเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ได้แปลว่ามันจะเกิดขึ้นเร็ว แม้ว่าจะเร่งมันก็จะเร็วไม่ได้
       
อย่างในแถลงการณ์จัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยมีระบุด้วยว่า เมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จก็จะคืนอำนาจประชาชน ถ้าดูตามกระบวนการพูดง่ายๆ เลยว่าไม่ได้คืนเร็วๆ แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะประกาศเร่งทำประชามติตั้งแต่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งแรก แต่ความจริงประชามติจะไม่ได้มีครั้งเดียวแล้วได้รัฐธรรมนูญใหม่เลย คืนอำนาจเลย มันจะมีประชามติอย่างน้อย 3 ครั้ง และก็มีแนวโน้มว่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ปี
 
“สิ่งที่รู้สึกเมื่อเห็นแถลงการณ์ร่วมรัฐบาล เราคิดว่าเป็นเรื่องดีที่ประกาศจะทำรัฐธรรมนูญใหม่ และเร่งทำประชามติแต่แรก แต่มีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ถ้าพรรคร่วมจะเอาแบบนี้ ขอให้ประชาชนทราบว่า มันแปลว่าเราต้องมีประชามติ 3 ครั้ง ในรอบ 2 ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ฉะนั้น เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่อธิบายกระบวนการเหล่านี้ให้ประชาชนรับทราบด้วย” นายยิ่งชีพกล่าว
 
นายยิ่งชีพกล่าวต่อว่า นอกจากกระบวนการทำรัฐธรรมนูญแล้ว คำถามประชามติก็ควรชัดเจน ให้ประชาชนเห็นว่าเป็นคำถามที่ดีหรือไม่ และได้มีส่วนร่วมกับการตั้งคำถาม เพราะขณะนี้มีแนวโน้มสูงว่าจะมีพรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคภูมิใจไทย มาร่วมรัฐบาล ทำให้เราเกิดความกังวลใจ เพราะ 4 ปีที่ผ่านมาพรรคดังกล่าวไม่ได้สนับสนุนให้มีการทำประชามติเลย

ฉะนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้จะต้องไม่เป็นเครื่องมือฟอกตัวของขั้วอำนาจเดิม หรือการผสมข้ามขั้วอำนาจ โดยประชาชนควรได้เห็นกระบวนการทั้งหมดก่อนเริ่มต้นขึ้น ไม่เช่นนั้นคงไม่อาจไว้ใจได้ว่าจะมีคำถามประชามติแบบลักไก่หรือไม่ รวมไปถึงมีการเปิดโอกาสให้ขั้วรัฐบาลเดิมกลับมามีอำนาจหรือไม่ รวมไปถึงข้อใส่ใจสำคัญคือที่มาของ ส.ส.ร.จะเป็นอย่างไร ประชาชนมีส่วนร่วมหรือไม่ และจะมีการยกเว้นไม่ให้เขียนเนื้อหาใดขึ้นมาใหม่หรือไม่ เช่น บทบาทของ ส.ว. องค์กรอิสระต่างๆ
 
อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นว่าต้องมีรัฐธรรมนูญใหม่แล้วจึงยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนอย่างที่แถลงการณ์ระบุ เพราะอย่างที่บอกไปว่าใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ที่สำคัญคือต้องจัดตั้ง ส.ส.ร.ให้สำเร็จ หากจัดตั้ง ส.ส.ร.แล้วก็สามารถยุบสภาเลือกตั้งใหม่ก็ได้เลย โดยไม่ต้องรอให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อน” นายยิ่งชีพระบุ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ iLaw และภาคประชาชน จะเตรียมเปิดตัวแคมเปญ ‘เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%’ ตั้งโต๊ะให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอทำประชามติ โดยกำหนดคำถามเอง ที่หอศิลป์ กรุงเทพฯ เวลา 15.00 น.



หวั่นซ้ำรอยพฤษภาทมิฬ! ‘โอฬาร’ สะกิด ‘เพื่อไทย’ คิดให้ดี ก่อนจับมือพรรคลุง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4126590

ซ้ำรอยพฤษภาทมิฬ! ‘โอฬาร’ สะกิด ‘เพื่อไทย’ คิดให้ดี ก่อนจับมือพรรคลุง
 
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สัมภาษณ์ถึงผลลัพธ์ทางการเมือง กรณีที่เพื่อไทยเลือกจับมือกับพลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติ ตั้งรัฐบาลว่า 
 
อย่าลืม พรรคเพื่อไทยเคยตั้งธงสื่อสาร ไม่เอาพรรครัฐบาลเดิม พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ ไม่เอา แต่วันนี้กลับจะมาดึงทุกพรรคที่เคยปฏิเสธเขา มาเข้าร่วมรัฐบาล สังคมมีสิทธิถามนะ ว่าพรรคเพื่อไทยทำเพื่อใคร เพื่อชาติ หรือเพื่อพาคุณทักษิณกลับบ้าน ถ้าฝืนทำ ความเสียหายกับพรรคเพื่อไทยเกิดแน่นอน
 
อาจถึงขั้นมีประชาชนมาลงถนน เพราะนี่มันจะใกล้เคียงกับเงื่อนไขยุคพฤษภาทมิฬ ที่พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็ตระบัดสัตย์แบบที่พรรคเพื่อไทยทำ พรรคเพื่อไทยต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ ถ้าปล่อยให้คลุมเครือ พรรคเพื่อไทยได้เจอพลังมวลชนครั้งใหญ่ ในระหว่างที่เป็นรัฐบาลนี่เอง ทีนี้ การบริหารประเทศจะยุ่งยากแล้ว แผนที่เลือกปั่นตัวเลขเศรษฐกิจ กลบความล้มเหลวด้านอุดมการณ์ รับรองพังเละเทะ เพราะถ้ามีม็อบ เศรษฐกิจมันก็ฟุบ ไหนจะการเลือกตั้งครั้งหน้า ที่การตัดสินใจวันนี้ หากไปจับมือกับพรรคลุง อาจทำให้พรรคกลายเป็นพรรคที่ได้เสียงน้อยกว่าเดิม ถึงขั้นที่ไม่ใช่พรรคหลักร้อย
ทุกการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทย มีค่าใช้จ่ายราคาแพงรออยู่ ขึ้นกับว่าพรรคเพื่อไทยจะบริหารความเสี่ยงอย่างไร ซึ่งทุกวันนี้พรรคเพื่อไทยก็ยังไม่เด็ดขาดว่าจะเอาอย่างไรกับอนาคต เพราะไปจับมือกับฝ่ายรัฐบาลเดิม แต่ก็ยังไปคุยกับพรรคก้าวไกลด้วย แบบนี้ใครจะไว้ใจได้ สุดท้ายเกมแบบนี้จะพาเพื่อไทยสะดุดขาตัวเองล้ม พังทั้งกระดาน
 

 
‘ปิยบุตร’ แนะวิธีพา ‘ทักษิณ’ กลับบ้านที่ถูกโดยไม่ต้องติดคุก!
https://www.matichon.co.th/politics/news_4126359

‘ปิยบุตร’ แนะวิธีพา ‘ทักษิณ’ กลับบ้านที่ถูกโดยไม่ต้องติดคุก
 
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล ถึงกรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางกลับประเทศไทย ความว่า 

วิธีการพาคุณทักษิณกลับบ้านที่ถูกต้อง

การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม ผ่านมาเกือบสามเดือนแล้ว จนถึงวันนี้ การจัดตั้งรัฐบาลก็ยังคงไม่แล้วเสร็จ แน่นอน ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากความวิปริตของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้วุฒิสภามีอำนาจลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อีกประเด็นที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาจัดตั้งรัฐบาล ก็คือ กรณีที่ คุณทักษิณ ชินวัตร ประกาศยืนยันว่าจะเดินทางกลับประเทศไทยในเร็วๆนี้
 
กรณีนี้ส่งผลให้เหล่าบรรดาพรรคการเมืองและวุฒิสภานำมาใช้เป็น “เครื่องมือต่อรอง” กำหนดตัวนายกรัฐมนตรีและกำหนดองค์ประกอบพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลได้ จนทำให้ความฝันความหวังของประชาชนเกือบ 25 ล้านเสียงที่แสดงเจตจำนงผ่านการเลือกตั้งอยากเห็น “รัฐบาล 8 พรรค/312 เสียง” ต้องดับสิ้นลง
 
ประเด็นปัญหา “กลับบ้าน” ของคุณทักษิณอยู่ในสังคมไทยมาเกือบสองทศวรรษ เมื่อไรที่มีการเลือกตั้ง เมื่อไรได้รัฐบาลใหม่จากขั้วเพื่อไทย ก็จะมีผู้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเสมอ
 
หากใครได้ติดตามการแสดงความเห็นของผมตั้งแต่ปี 2548/49 คงจำได้ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เรียกร้อง “นายกฯพระราชทาน มาตรา 7” ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
 
ผมและเพื่อนอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. รวม 5 คน ในเวลานั้นได้ออกแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ในเวลาต่อมา พวกเรายังได้แถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยและวิจารณ์การดำเนินคดีคุณทักษิณในหลายกรณี รวมทั้งคำพิพากษากรณียึดทรัพย์ด้วย หลังเหตุการณ์การสลายการชุมนุมปี 53 พวกเราได้รวมตัวก่อตั้ง “คณะนิติราษฎร์”
 
18 กันยายน 2554 คณะนิติราษฏร์ เสนอข้อเสนอ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” ดังนี้
 
หนึ่ง ให้รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และการกระทำของ คปค. ตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 ถึง 30 กันยายน 2549 เป็นโมฆะ
สอง ให้รัฐธรรมนูญ 49 มาตรา 36 (ซึ่งรับรองให้การกระทำทั้งหลายของคณะรัฐประหารชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย) ตกเป็นโมฆะ ทำให้การกระทำทั้งหลายของคณะรัฐประหารถูกโต้แย้งได้ว่าขัดรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
 
สาม ให้รัฐธรรมนูญ 49 มาตรา 37 (ซึ่งนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร) ตกเป็นโมฆะ ทำให้ การนิรโทษกรรมรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นโมฆะ สิ้นผลไป เหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
 
เมื่อไม่มีการนิรโทษกรรมการรัฐประหาร ทำให้การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ยังคงมีความผิดฐานกบฏในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมย่อมสามารถดำเนินคดีเอาคณะรัฐประหารมาลงโทษได้
สี่ ให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ตกเป็นโมฆะ
 
ห้า ให้เรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณา ที่เกิดจากการริเริ่มของ คตส. ยุติลง
 
ข้อเสนอทั้งหมดนี้ ต้องทำโดยผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากข้อเสนอเหล่านี้สำเร็จ ผลที่ตามมา คือ ดำเนินคณะรัฐประหารได้ทันที
ส่วนคดีความของคุณทักษิณและนักการเมืองอีกหลายคน ที่สืบเนื่องจากรัฐประหาร 49 ก็ไม่ได้นิรโทษหรืออภัยโทษแต่อย่างใด เพียงแต่ลบล้างคำพิพากษาเหล่านั้นทิ้ง และสามารถดำเนินคดีต่อไปตามกระบวนการปกติ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาและจำเลย

 
วันนี้ ประเด็น “ทักษิณกลับบ้าน” กำลังถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง
 
ผมยังคงยืนยันตามเดิมว่า การดำเนินคดีคุณทักษิณ โดยใช้องค์กรและกระบวนการที่เริ่มต้นจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่เป็นธรรมต่อคุณทักษิณ
การใช้อำนาจคณะรัฐประหารตั้งบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์กับคุณทักษิณมาทำหน้าที่สอบสวน ทำสำนวนสั่งฟ้อง ไม่เป็นธรรมต่อคุณทักษิณ
ยิ่งไปกว่านั้น ภายหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ คสช.ตั้งขึ้น ก็ยังร่วมกันตรา พรป.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 25 มาตรา 27 และมาตรา 28 กำหนดว่า
“มาตรา 25 ในการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เมื่อได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้อายุความสะดุดหยุดลง
ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีไปในระหว่างถูกดำเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาคดีของศาล มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ
 
ในกรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลย ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 98 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ”
 
“มาตรา 27 ในการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ให้อัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามาศาลในวันฟ้องคดี ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาศาล และอัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่าได้เคยมีการออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหาแล้วแต่ยังไม่ได้ตัวมา หรือเหตุที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาศาลเกิดจากการประวิงคดี หรือไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุแก้ตัวอันควร ให้ศาลประทับรับฟ้องไว้พิจารณาได้ แม้จะไม่ปรากฏผู้ถูกกล่าวหาต่อหน้าศาล”
 
“มาตรา 28 ในกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้ตามมาตรา 27 และศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ให้ศาลออกหมายจับจำเลย และให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการติดตามหรือจับกุมจำเลยรายงานผลการติดตามจับกุมเป็นระยะตามที่ศาลกำหนด
ในกรณีที่ได้ออกหมายจับจำเลยและได้มีการดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ไม่สามารถจับจำเลยได้ภายในสามเดือนนับแต่ออกหมายจับ ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะตั้งทนายความมาดำเนินการแทนตนได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่