JJNY : 5in1 พิธาถามรบ.│โรมชี้ม่ได้ป่วยจริง│ยกพลบุกทวงเบี้ยคนชรา│ไทยขาดดุล'บริการดิจิทัล'│กลุ่มต่อต้านโจมตีวิทยาลัยทหาร

พิธา ถามรัฐบาล เกิดอะไรขึ้น เครื่องบินเมียนมา ลงจอดแม่สอด หวั่นเกิดวิกฤตผู้ลี้ภัย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8178674
 
พิธา จี้ รัฐบาล ตอบคำถามประชาชน เปิดทาง เครื่องบินเมียนมา ลงจอดสนามบินแม่สอด ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจริงหรือไม่ หวั่นเกิดวิกฤตผู้ลี้ภัย
 
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2567 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กกรณีสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ซึ่งรัฐบาลเมียนมาขอเที่ยวบินพิเศษ ส่งเครื่องบินพาณิชย์มาลงจอดที่สนามบินแม่สอด จ.ตาก ระบุว่า “Developing story : ประชาชนกำลังรอคำตอบจากรัฐบาลอยู่ ว่าเกิดอะไรขึ้นที่สนามบินจังหวัดตาก?
 
นายพิธา ระบุต่อว่า รายละเอียด หลักการและคำถาม เบื้องต้น มีดังต่อไปนี้ครับ การช่วยเหลือรับรองผู้ลี้ภัยสงครามตามหลักมนุษยธรรม เป็นสิ่งต้องทำตามพันธะระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า non refoulement principle ซึ่งควรใช้หลักนี้อย่างเท่าเทียมไม่ว่าฝ่ายไหน
 
ประเด็นที่สำคัญ คือ รัฐบาลไทยต้องตอบให้ได้ว่านี่คือการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจริงหรือไม่ มีรายละเอียดอย่างไร เพราะถ้าเป็นการช่วยเคลื่อนย้ายทรัพยากร เงินตรา อาวุธ ฯลฯ ก็อาจจะถูกตีความว่าช่วยเหลือรัฐบาลทหารเมียนมา และโดยเฉพาะในพื้นที่ เท่าที่เช็ก มีความกังวลจากหลายฝ่ายว่า เมียวดีจะถูกโจมตีแบบปูพรมตามหลัง ก่อให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรม มีผู้ลี้ภัยสงครามมากกว่าเดิมอีก
 
ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลไทยครั้งนี้ ต้องระวังว่าอาจจะอ้างเรื่องมนุษยธรรมเป็นด่านแรก แต่ต่อไปจะกลายเป็นการสนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมาให้เกิดวิกฤตผู้ลี้ภัยมากกว่าเดิมหรือไม่ กรณีนี้คงไม่มีใครรู้รายละเอียดดีกว่ารัฐบาลไทย ที่ต้องออกมาชี้แจงรายละเอียดให้โปร่งใสโดยเร็วครับ
 
นายพิธา ระบุเพิ่มเติมว่า ได้ยินว่า กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กำลังจะแถลงอย่างเป็นทางการ รอฟังนะครับ ถ้าเป็นเรื่องของพลเมือง ตามหลัก international law กับ non refoulement ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรครับ
  
https://www.facebook.com/timpitaofficial/posts/pfbid02X9a5TKuLGAoTKe7Byi1D3PoCQiTj9FBRo3AyrC9FSKypReCCcPgC8JFVTsE4qr1Yl
 


โรม ชี้ ‘ทักษิณ’ ไม่ได้ป่วยจริงหลัง อิ๊ง โพสต์ภาพเล่นน้ำยกเวท ฉะราชทัณฑ์​ สร้างนักโทษชนชั้นนำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4516746

’โรม‘ ชี้ ‘ทักษิณ’ ไม่ได้ป่วยจริงหลัง ‘อุ๊งอิ๊ง’ โพสต์ภาพพ่อเล่นน้ำยกเวท งงผลอาการป่วยได้ 9 คะแนนทั้งที่ฟิตขนาดนั้น ฉะราชทัณฑ์​ สร้างนักโทษชนชั้นนำ หน่วยงานตรวจสอบนิ่งเฉย ทำยุติธรรม​สั่นคลอน​
 
เมื่อวันที่ 8 เมษายน นายรังสิมันต์​ โรม​ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์รูปภาพนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี​ ผ่านอินสตาแกรม ซึ่งเป็นภาพในขณะที่นายทักษิณได้รับการพักโทษจากกรมราชทัณฑ์ กำลังเล่นน้ำกับหลานพร้อมยกเวทไปด้วย โดยสังคมจับตามองประเด็นอาการป่วยของนายทักษิณ ว่า ประเด็นนี้ยิ่งตอกย้ำว่ากระบวนการที่ทำให้นายทักษิณ ได้รับพักโทษนั้นตกลงมาตรฐานอยู่ตรงไหน ถ้าจะบอกว่ามาตรฐานที่นายทักษิณ ได้รับมันจะถูกปรับใช้กับทุกคน เป็นมาตรฐานใหม่ที่ทุกคนจะได้รับตนก็โอเค แต่ปัญหาคือเราต่างก็รู้ดีว่า สิ่งที่คุณทักษิณ ได้รับมันอาจจะเป็นสิทธิพิเศษ ผ่านการใช้กลไกของรัฐ รวมถึงกลไกต่างๆผ่านกระบวนการยุติธรรม ยิ่งนายทักษิณ ออกกำลังกายได้ ก็ยิ่งสะท้อนว่านายทักษิณ ไม่ได้มีอาการป่วยแบบที่ผลของการประเมินอาการป่วยออกมาแย่ขนาดนั้น

การที่คุณทักษิณ ได้ผลประเมิน 9 คะแนน นั่นแปลว่ามันต้องแย่มาก เราดูแล้วมันไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่คุณทักษิณ จะได้รับผลการประเมินที่แย่ขนาดนั้นถ้าดูจากสภาพความฟิตความพร้อม” นายรังสิมันต์ กล่าว
 
เมื่อถามว่า ทางกรมราชทัณฑ์คุณจะต้องกลับมาคิดทบทวน เรื่องเกณฑ์การให้พักโทษหรือไม่หรือจะต้องมีความรับผิดชอบใดๆกับเรื่องนี้ นายรังสิมันต์  กล่าวว่า ถ้าสุดท้ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ก็จะมีกฎหมายที่รองรับอยู่แล้ว โดยการดำเนินการตามกฎหมายที่จะให้สู่จุดนั้น ตนมองว่าจะต้องพิจารณากันว่ามีการทุจริตในขั้นตอนไหน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนหมอ หรือเป็นขั้นตอนของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ หรือรัฐมนตรี หรือว่าจริงๆแล้วอาจจะเป็นขั้นตอนที่นายทักษิณ เอง ที่อาจจะหลอกหมอ ซึ่งตนไม่รู้ว่ามีการทุจริตกันในขั้นตอนไหนแน่
 
โดยสิ่งที่ตนจะตั้งคำถาม ต่อไปคือองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกำลังทำอะไรอยู่ โดยการที่จะตรวจสอบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)​ ไม่ต้องมีผู้ร้องก็ได้ บางอย่างถ้าเห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะดำเนินการได้ สำหรับพรรคการเมือง​ก้าวไกลเองเรายังไม่ได้คุยกันในเรื่องที่จะยื่นตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ว่าเบื้องต้นเราพยายามตั้งคำถามว่าขั้นตอนที่มีความผิดปกติอยู่ในขั้นตอนไหนกันแน่ ซึ่งจากที่ นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ​พรรคก้าวไกล ได้ตั้งคำถามไปกรณีนายทักษิณ เราก็ยังไม่ได้รับคำตอบใดๆที่ชัดเจน ดังนั้นตนมองว่าเรื่องนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ของกระบวนการยุติธรรมแน่นอน
 
ผู้มีอำนาจทั้งหลายต้องตระหนักถึงผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมแบบนี้ ยิ่งเราสร้างนักโทษชนชั้นนำแบบนี้ สุดท้ายไม่ได้ทำให้กระบวนการยุติธรรมมันเกิดความเท่าเทียมกัน ซึ่งความเท่าเทียมคือเรื่องที่สำคัญ ที่จะทำให้ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ที่ประชาชนเขารู้สึก ถูกทำลายลงไป ซึ่งไม่ได้ถูกทำลายลงแค่กรมราชทัณฑ์ แต่เป็นลูกโซ่ที่จะส่งผลกระทบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ไม่ทำอะไรในเรื่องนี้ ถูกทำลายทั้งหมด ซึ่งจะเกิดความเสียหายที่ฝังรากลึกลงในสังคมไทย
 


ผู้สูงวัย ยกพลบุกกระทรวง พม. 11 เม.ย. ทวงถามเบี้ยคนชรา 1,000 บาทถ้วนหน้า
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8178868

ผู้สูงวัย เตรียมยกพลบุก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 11 เม.ย. ทวงถาม เบี้ยคนชรา 1,000 บาทถ้วนหน้า
 
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ประสานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ได้ทำหนังสือถึงนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ เพื่อทวงถามถึงมติเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้า 1,000 บาท/คน/เดือน ที่ประกาศไปเมื่อวันที่ 21 ม.ค.2567
 
ทั้งนี้ หนังสือที่ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติเตรียมยื่นให้กับนายวราวุธระบุว่าขอให้ นายวราวุธ เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเดือนละ 1,000 บาทโดยทันที ตามมติคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 และในปี 2568 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 2,000 บาท ทั้งนี้ให้รัฐบาลมีมติเห็นชอบให้สภาผู้แทนราษฎรออก พ.ร.บ.ให้มีบำนาญประชาชน ต่อไป
 
น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ กล่าวว่า จริงๆแล้วได้ส่งหนังสือขอเข้าพบนายวราวุธตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. แต่ไม่ได้รับการประสานกลับมาจากทาง พม. จึงไม่ได้เดินทางไป
 
ดิมพวกเราทำจดหมาย 2-3 ฉบับ ฉบับแรกตั้งแต่วันสตรีสากล 8 มี.ค. แต่เขาไม่ตอบอะไรมา ยื่นหนังสือไปที่หน้าห้องแล้วก็เงียบกริบ เลยทำฉบับใหม่มีที่ปรึกษารัฐมนตรีซึ่งเมื่อก่อนทำงานคนไร้บ้านเขาบอกว่าเดี๋ยวจะประสานให้ ขอให้ทำฉบับใหม่นัดวันที่ 5 เม.ย. แต่ก็เงียบกริบเหมือนเดิม
 
“ดังนั้น ในวันที่ 11 เม.ย.นี้ พวกเราจะเดินทางไปหน้ากระทรวง พม.โดยไม่ต้องนัดหมาย เราอยากให้สื่อมวลชนทำข่าวเพราะเบี้ยผู้สูงอายุ มันเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องทบทวนปรับขึ้นได้แล้ว ตอนหาเสียงก็เอาเรื่องนี้พูดกันทุกพรรค แต่พอเป็นรัฐบาล 6-7 เดือนแล้วเงียบกริบ คุณวราวุธ เคยให้สัมภาษณ์ทำท่าแอคชั่นว่าจะเอาเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอคนละ 1,000 บาทถ้วนหน้า แต่จนถึงบัดนี้เรื่องก็ยังไม่เข้า ครม.” ประธานศูนย์ประสานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ กล่าว
 
น.ส.อรุณี กล่าวอีกว่า การทวงเบี้ยผู้สูงอายุครั้งนี้เพื่อไม่ให้ฝ่ายการเมืองลืมเรื่องเหล่านี้เพราะมีงบประมาณใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว แต่ไม่มีการพูดถึงเบี้ยผู้สูงอายุเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าทำ ตอนหาเสียงพูดกันทุกพรรคแต่พอได้เป็นฝ่ายบริหารแล้วไม่พูดถึงเลย
 
วันที่ 11 เม.ย.นี้ เราจะไปถึงหน้ากระทรวง พม. เวล 10.30 น. เอาคนแก่ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับเบี้ยยังชีพไปถือป้ายหน้ากระทรวง เขาจะรับเราหรือไม่รับเรา จะเรียกเข้าไปข้างในหรือเปล่าไม่รู้ เราต้องการแค่แสดงให้เห็นว่า เรามาถามเรื่องนี้ แล้วท่านจะขับเคลื่อนยังไงหรือไม่ตอบอะไรเลย ไปหนนี้เราจะไปแบบบวก ถ้าทำได้เราจะชมเชย นัดหมายผู้สูงอายุกัน 3 รถตู้ ราวๆ 30 คน” น.ส.อรุณี กล่าว



น่าห่วง! ไทยขาดดุล 'บริการดิจิทัล' สูงปีละ 2 แสนล้านบาท
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/394924

สถานการณ์การขาดดุลบริการดิจิทัลน่าห่วง สูงถึงปีละ 2 แสนล้านบาท เทียบเท่ากับการส่งออกข้าวไทยถึง 2 ปี

โดยเรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยจากนายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์ โซลูชั่น เปิดเผยถึงสถานการณ์ขาดดุลบริการดิจิทัลของประเทศไทย ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 15-20% สาเหตุมาจากผู้ให้บริการมีการปรับตัว

โดยเปลี่ยนจากที่เคยให้ผู้บริโภคซื้อสิทธิ์ในการใช้ซอฟท์แวร์ เป็นการสมัครสมาชิกจ่ายรายเดือนแทน ทำให้คนเข้าถึงการใช้งานได้มากขึ้น คาดว่าคนไทย จะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการดิจิทัลแบบสมัครสมาชิกเฉลี่ยคนละ 2-3 พันบาทต่อปี และประเมินว่า คนไทยที่ใช้บริการออนไลน์ทั่วไป ซึ่งมีอยู่กว่า 50 ล้านคน ในจำนวนนี้หากมีผู้จ่ายเงินสมัครสมาชิกซื้อบริการดิจิทัล ราว 10-20 ล้านคน จะเป็นเงินมหาศาล

แต่ปัญหาคือ เงินที่ผู้บริโภคจ่ายออกไปซื้อบริการดิจิทัลเหล่านี้ จะถูกส่งตรงไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ โดยที่ไทยไม่ได้รับประโยชน์ แม้กรมสรรพากร จะออกกฎหมายเรียกเก็บภาษีบริการดิจิทัล หรือ E-Service Tax สำหรับผู้ให้บริการที่มีรายได้ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ก็ตาม แต่เงินส่วนใหญ่ก็ยังถูกส่งไปต่างประเทศ เพราะภาษีที่เรียกเก็บจะถูกผลักภาระให้ผู้บริโภคจ่ายผ่านราคาบริการที่เพิ่มขึ้น
โดยข้อมูลในปี 2566 คนไทยจ่ายเงินซื้อบริการดิจิทัลจากผู้ให้บริการที่ขึ้นทะเบียน 177 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 96,000 ล้านบาท กรมสรรพากรจัดเก็บภาษี E-Service ได้เพียง 6,700 ล้านบาทเท่านั้น

ขณะที่ในสถานการณ์จริง ยังมีผู้ให้บริการดิจิทัลอีกเป็นพันราย ที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียน เมื่อประเมินมูลค่าการซื้อบริการดิจิทัลจากผู้ให้บริการ ทั้งที่ขึ้นทะเบียนและยังไม่ขึ้นทะเบียน จะไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนล้านบาท เทียบเท่ากับการส่งออกข้าวไทยถึง 2 ปี หรือ ใกล้เคียงกับเม็ดเงินที่ใช้ในการนำเข้าน้ำมันในแต่ละปี ที่น่าเป็นห่วง คือ เม็ดเงินจำนวน 2 แสนล้านบาทนี้ ยังไม่ถูกนำไปคำนวณการขาดดุลของประเทศ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่