JJNY : 5in1 ‘สู้ไม่ไหว’สินค้าจีน│“ศิริกัญญา”อภิปราย│พิธายันไม่ยื่นศาลแล้ว│แนะวิธีลดดื้อ‘ทหารพม่า’│คาดปีหน้าร้อนทุบสถิติ

เอกชนยอมรับ ‘สู้ไม่ไหว’ สินค้าจีนทะลักตีตลาดไทยทุกทิศ เปรียบเหมือน “ภัยพิบัติ” หวังรัฐเร่งปกป้องบ้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4131947

เอกชนยอมรับ ‘สู้ไม่ไหว’ สินค้าจีนทะลักตีตลาดไทยทุกทิศ เปรียบเหมือน “ภัยพิบัติ” หวังรัฐเร่งปกป้องบ้าน
 
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีอุตสาหกรรม 20 กลุ่มสินค้าจากทั้งหมด 45 กลุ่ม ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดในไทยเป็นจำนวนมากขึ้นจากเดิมมีเพียง 5-6 กลุ่มอุตสาหกรรมนั้น เบื้องต้นในส่วนของผู้ประกอบการต้องบอกว่าหาทางรับมือกับสถานการณ์หรือผลกระทบที่เกิดขึ้น เรียกว่าสู้ไม่ไหว เพราะเกิดขึ้นเร็วมาก เปรียบเทียบเหมือนภัยพิบัติ อาทิ น้ำท่วม ไฟไหม้ป่า ทั้งที่ทุกคนเตรียมการณ์ไว้แต่ไม่ทัน สินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาแบบพายุ ระยะสั้นไม่สามารถรับมือได้ จึงมีทางเดียวคือ ต้องปิดบ้านให้ดี ทำระบบป้องกันไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศตีหน้าต่างหรือประตูเข้ามาได้ง่ายเหมือนในปัจจุบัน โดยภาครัฐจะต้องหามาตรการรับมือเพื่อควบคุมไม่ให้สินค้าจีนที่ต้นทุนต่ำกว่า ทะลักเข้ามาตีตลาดในไทย อาทิ การป้องกันทางค้าชายแดน โดยถือเป็นเรื่องที่มีซีเรียสสูงมากด้วย
 
เมื่อการส่งออกในทั่วโลกไม่ดี ทำให้จีน ที่เป็นประเทศใหญ่ ถูกแทรกแซงจากสหรัฐด้วย ทำให้จีนที่เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ของโลก สินค้าของจีนเมื่อไปในตลาดสหรัฐหรือยุโรปได้น้อยลง ก็ทะลักเข้ามาในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะอาเซียน จะเห็นว่ารวมการส่งออกในอาเซียนของไทยอยู่ประมาณ 25% ตอนนี้สินค้าจีนเข้าไปส่งออกในอาเซียนมากขัน แข่งขันกับสินค้าส่งออกไทย เพราะจีนต้นทุนต่ำกว่า ทำให้การส่งออกไปอาเซียนของไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการทะลักออกไปแข่งขันนอกประเทศยังไม่เท่าไหร่ แต่การทะลักเข้ามาแข่งขันกับสินค้าในประเทศ มีผลกระทบทำให้กำลังซื้อตลาดในประเทศที่อ่อนแออยู่แล้ว กระทบกับเอสเอ็มอีสูงมาก โดยเฉพาะตอนนี้ที่การขนส่งเข้ามาได้ง่ายมาก อาทิ สั่งออนไลน์แบบ 1-2 ชิ้น ก็เข้ามาส่งได้อย่างสะดวกแล้ว” นายเกรียงไกร กล่าว
 
นายเกรียงไกร กล่าวว่า ความห่วงใยในด้านหากมีการเอาจริงเอาจังกับการสกัดสินค้าจากจีน ที่ถือเป็นคู่ค้าหลักของไทยจะส่งผลกระทบต่อข้อตกลงทางการค้า (เอฟทีเอ) หรือไม่ อันนี้มองว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกัน ขึ้นอยู่กับความเอาจริงเอาจังของภาครัฐในการดำเนินการมากกว่า ส่วนจะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภาวะที่มีความเปราะบางแง่ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์หรือไม่นั้น ส่วนนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ต้องทำงานเพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจ และอธิบายให้คู่ค้ารับรู้ถึงความจำเป็นที่เกิดขึ้น เพราะทุกประเทศก็มีหน้าที่จะต้องปกป้องคนในประเทศนั้นๆ รวมถึงรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตัวเองเป็นหลักอยู่แล้ว
 
นายเกรียงไกร กล่าวว่า เปรียบเทียบกับอินเดีย ที่ไม่เข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ซึ่งถือเป็นทั้งความเคี่ยวและชาญฉลาด เนื่องจากรัฐบาลอินเดียประเมินแนวโน้มไว้แล้วว่า หากเปิดเศรษฐกินร่วมด้วยจะเสียเปรียบ เพราะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของอินเดียยังไม่ได้เข้มแข็งมากเท่าที่ควร หากเปิดแล้วจะถูกประเทศที่เข้มแข็งกว่าเข้ามาเป็นคู่แข่ง โดยเฉพาะจีน เนื่องจากอินเดียเป็นตลาดใหญ่ มีจำนวนประชากรสูงมาก รัฐบาลอินเดียจึงต้องการซื้อเวลาเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีในประเทศให้เข้มแข็งก่อน เหมือนประเทศไทยในตอนนี้การป้องกันระยะสั้น หรือการปรับตัวของผู้ประกอบการทำได้ลำบาก เพราะสินค้าทุนจีนไหลเข้ามาทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โหมเข้ามาทุกทิศทุกทาง ทำให้รัฐบาลจะต้องหามาตรการป้องกันเพื่อเซฟชีวิตให้ผู้ประกอบการปลอดภัย เตรียมหลุมหลบภัยไว้ให้ สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล จึงอยากให้มีการจัดตั้งรัฐบาลเร็วที่สุด เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาในส่วนนี้



“ศิริกัญญา” อภิปรายกลางสภา ซักถามเรื่องการเงินแผ่นดิน
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4132531

ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายซักถามในการประชุมสภาวาระรับทราบ รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปี 2565 ติดตามชมรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

 
พิธา ยันไม่ยื่นศาลแล้ว ชี้ปมร้อน เสนอชื่อนายกซ้ำสอง เป็นปัญหาที่สภา ต้องแก้ที่สภา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4132552

พิธา ยันเอง ไม่ยื่นศาลแล้ว ชี้ปมร้อน ห้ามชงชื่อนายกซ้ำสอง เป็นปัญหาที่สภา ต้องแก้ที่สภา  
 
เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 16 สิงหาคม นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้วินิจฉัยมติที่ประชุมรัฐสภาห้ามเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีซ้ำในสมัยประชุมเดียวกันว่า ตนคิดว่าเป็นปัญหาของสภา ดังนั้น ควรแก้กันอยู่ที่สภา
 
อย่างที่ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล ได้ยื่นญัตติหารือต่อที่ประชุมไปแล้ว ตนไม่ได้คิดว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสิ้นสุด หรือการเสนอชื่อนายกฯ ถ้าประธานสภา บอกว่า มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป ก็คงไปต่อได้ และคิดว่า ปัญหาที่สภาก็ควรแก้ที่สภา
 
เมื่อถามว่า จะยื่นเองหรือไม่ เพราะมติที่ตีตก เนื่องจากผู้ที่มาร้องไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง นายพิธา กล่าวว่า ไม่ได้ยื่น อย่างที่บอกว่าเป็นเรื่องของนิติบัญญัติก็อยู่ที่นิติบัญญัติ
 
ส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้ขยายเวลาการชี้แจงคำร้อง เรื่องการหาเสียงแก้ไขมาตรา 112 เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ จะเป็นผลดีกับพรรคก้าวไกลหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า ตามปกติก็มีโอกาสได้ขยายว่ามันไม่ได้เป็นการล้มล้างอย่างที่ถูกกล่าวหา
 
นายพิธา ยืนยันว่า ในช่วงวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์นี้ จะลงพื้นที่ช่วยผู้สมัคร สส.เขต 3 ระยอง หาเสียงในการเลือกตั้งซ่อมเช่นเดิม


  
‘ดุลยภาค’ แนะวิธีลดความดื้อ ‘ทหารพม่า’ ใช้ศิลปะการทูตกดดัน แก้เกมโรคระแวงต่างชาติ-รังแกปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4132476

‘ดุลยภาค’ แนะวิธีลดความดื้อ ‘ทหารพม่า’ ใช้ศิลปะการทูตกดดัน แก้เกมโรคหวาดระแวงต่างชาติ – รังแกปชช.
 
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 สิงหาคม ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เนื่องในวาระ 78 ปี วันสันติภาพไทย สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดกิจกรรม PRIDI Talks #22 เสวนา “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา”
 
บรรยากาศภายในงาน มีการเสวนาในหัวข้อ “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา” โดยมีนักการเมือง นักวิชาการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ได้แก่ นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม, รศ.ดร.ม.ล.พินิตพันธุ์ บริพัตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษา Human Rights Watch ประจำประเทศไทย และนางอังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ และกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์
 
รศ.ดร.ดุลยภาคกล่าวว่า ตนขอปูพื้นความรู้โครงสร้างการเมืองการปกครองของพม่า ข้อสังเกตของตนคือ พม่าเต็มไปด้วยสีสันความหลากหลายของชาติพันธุ์หลายกลุ่ม แต่ก็เต็มไปด้วยรอยร้าวและเหลี่ยมคม เหมือนการแตกกระจายของกระจกสี เพราะแต่ละกลุ่มมีความขัดแย้งกัน ชนกลุ่มน้อย-ใหญ่ รัฐบาลพม่ากับฝายต่อต้าน สถานการณ์ค่อนข้างสลับซับซ้อนและแตกต่างจากไทยมาก เต็มไปด้วยความขัดแย้งที่ยากจะแก้ถอน แต่น่าสนใจยิ่งเมื่อย่อนไปราว 12 ปีที่แล้ว มีความก้าวหน้าในกระบวนการสันติภาพ เมื่อพม่าปฏิรูปการเมืองขนานใหญ่ ในสมัยประธานาธิดีเต็ง เส่ง และตามมาด้วยรัฐบาล NLD ที่นำโดยอองซาน ซู จี 10 ปีโดยประมาณ

ผมเห็นว่ารัฐพม่ามีกระบวนการสร้างสันติภาพและทำให้กระบวนการนั้นมีความเป็นสถาบันมากขึ้น รัฐบาลพม่าตั้งทีมงานสันติภาพ ตั้งคณะเจรจาขึ้นมา มีตัวแทนจากภายนอก องค์การระหว่างประเทศเข้ามาให้ทุนช่วยเหลือในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสันติภาพ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์เองจากที่แตกกระจายออกไป ก็มีการรวมกลุ่มกันเป็นแนวร่วมเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองทหารพม่า
 
จุดหักเหในประวัติศาสตร์คือตุลาคม 2015 ซึ่งช่วงนั้นมีการเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศ ที่น่าสนใจยิ่งคือมีกองกำลังชาติพันธุ์ 8 กลุ่มเข้าร่วมลงนามสันติภาพ และตอนหลังก็มี 2-3 กลุ่มตามมาอีกที ทางฝ่ายรัฐบาลน่าสนใจ เพราะในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ 2015 เขาเอารัฐบาลพม่ากับกองทัพพม่า และรัฐสภา มารวมเป็นฝ่ายเดียว เรียกว่าฝ่ายรัฐบาล อีกฝั่งคือกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ ดังนั้นตัวแสดงมี 2 กลุ่ม” รศ.ดร.ดุลยภาคกล่าว

เมื่อถามว่ารัฐบาลไทยควรทำอะไรอย่างเร่งด่วน เพื่อเมียนมาและอาเซียน ?
 
รศ.ดร.ดุลยภาค ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพม่า เกิดจากระบบคิดและความชินชาในการทำสงครามสังหารประชาชนของทหารพม่า
 
แล้วทหารพม่าเป็นตัวแสดงที่ดื้อมาก การที่จะทำให้คณะนายพลดูเชื่อง น่ารักขึ้น มันต้องอาศัยศิลปะทางการทูตอย่างมากทีเดียว ผมมองว่าทหารพม่าเป็นโรคหวาดระแวงต่างชาติ เขากลัวการแทรกแซงกิจการภายใน กลัวแม้กระทั่งมหาอำนาจยกทัพทางชายหาดตามแนวชายฝั่งทะเล แล้วบุกรุกเข้ามา เห็นได้ชัดตอนที่นายพลตาน ฉ่วย ขึ้นบริหารประเทศ แล้วจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐอเมริกา บอกพม่าในทำนองว่า เป็นรัฐนอกคอก เป็นด่านหน้าแห่งทรราช
เขาแก้เกมโดยการไปตั้งศูนย์บัญชาการลับที่เนปิดอว์ มีการขุดอุโมงค์ใต้ดิน มีการเชิญช่างเทคนิคเกาหลีเหนือมาช่วยวางโครงข่ายป้องกันทางอากาศ มีการตั้งกองพันนิวเคลียร์ขึ้นมา แล้วส่งนายทหารไปที่รัสเซีย เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นพอควร
 
หลังรัฐประหาร กลายเป็นว่าทหารพม่าดูหลังจะชนฝามากขึ้น เนื่องจากใครๆ ก็ไม่เอาทหารพม่า มีการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ว่าเมื่อใดก็ตามที่ประเทศวุ่นวาย จะต้องใช้ยุทธ์ศาสตร์สงครามประชาชนเข้ามา แม้ว่าจะมีการบุกรุกจากต่างประเทศ ด่านสุดท้ายเขาจะเอาประชาชนเป็นแนวร่วม แต่คำถามปัจจุบันคือ จะไปเอาประชาชนมาร่วมรบได้อย่างไร ในเมื่อประชาชนองก็ไม่เอาเผด็จการ ประกาศทำสงครามปฏิวัติเพื่อสร้างสาธารณรัฐประชาธิปไตย สิ่งนี้ทำให้ทหารพม่ารู้สึกหลังชนฝามากขึ้นเรื่อยๆ และมีแรงกดดันว่าจะถูกแทรกแซง ล้มระบบทหารขึ้นเรื่อยๆ ทางแก้ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่น่ากลัวทีเดียว

“ทางแก้นั้นคือ ให้กองทัพพม่าเป็นรัฐแสนยานุภาพ สั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซีย ดองกับเกาหลีเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ของพม่า ทำให้เขาเล่นเกมนี้ได้ และประสบความสำเร็จแบบสม่ำเสมอ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีแรงกดดันจากตะวันตก จากอาเซียน เขาก็จะสไลด์เข้าหารัสเซีย จีน หรือแม้กระทั่งอินเดีย ผมคิดว่าทหารพม่ามีออฟชั่น มีทางเลือก ถ้าอาเซียนข่มขู่รุนแรงหรือขับพม่าออกจากการเป็นสมาชิกอาเซียน ผมทำนายได้เลยว่าเขาก็เข้าหารัสเซีย เกาหลีเหนือ แนวร่วมอื่นๆ และไม่ง้ออาเซียนมากขึ้นด้วยซ้ำ
 
แล้วอย่างนี้ เราจะแก้เกมอย่างไรกับผู้นำทหารที่เป็นโรคหวาดระแวงต่างชาติ ผมว่าการแก้เกมคือ กดดันได้ แต่กดดันแบบทีละขั้นตอน ผ่อนสั้นผ่อนยาว เช่น ตอนนี้พม่ามีลักษณะเหมือนรัฐล้มเหลว ธรรมชาติอย่างหนึ่งคือตัวรัฐบาลไม่สามารถส่งมอบบริการสาธาณะให้กับประชาชนได้ เพราะรัฐเอาทำสงครามและเป็นศัตรูกับประชาชน” รศ.ดร.ดุลยภาคกล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่