พบฟอสซิลปลาอายุ 180 ล้านปีตายเพราะสำลักอาหาร

.

.
พบเปลือกหอยโบราณที่สูญพันธ์ไปแล้ว
ติดอยู่ภายในสายพันธุ์ปลาทูนา
Pachycormus macropterus
นักวิจัยพบว่านั่นคือ สาเหตุการตายของปลา
© Samuel Cooper
.
.
.

อาการแบบเดียวกับการกลืนอาหาร
แล้วติดค้างอยู่ที่ลำคอ/อาหารไม่ย่อย
พบฟอสซิลปลาอายุ 180 ล้านปีตาย
เพราะสำลักอาหาร/อาหารค้างในลำตัว

ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกซ่อนอยู่ในลิ้นชัก
ของพิพิธภัณฑ์มานานหลายทศวรรษ
ก่อนที่นักวิจัยจะทำการตรวจสอบอีกครั้ง
ได้เปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต
และความตายในยุคก่อนประวัติศาสตร์

นักวิจัยพบว่า เปลือกหอยโบราณที่สูญพันธุ์แล้ว
ติดอยู่ภายในสายพันธุ์ปลาทูนา
Pachycormus macropterus ยุคไดโนเสาร์
นักวิจัยเชื่อว่านั่นคือ
สาเหตุการตายของปลาเพราะหาจก(ตะกละ)
ตาใหญ่เกินท้อง/กินหอยยักษ์เข้าไป
จากนั้นปลาอาจสำลักจนตาย
หรือเปลือกหอยทำให้ท้องปลาฉีกขาด
ในช่วงขณะปลากลืนหอยเข้าไป
.
.
.

.
.

.
.

.
.

.
.
.


นักวิทยาศาสตร์ในเยอรมนี
พบหอยยุคไดโนเสาร์มีเปลือก Ammonite
ซึ่งเป็นกลุ่มหอยทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ติดค้างอยู่ภายในฟอสซิลปลาทะเล

นี่เป็นครั้งแรก ที่ปลาฟอสซิลถูกค้นพบ
โดยมีหอยแอมโมไนต์ขนาดใหญ่
และยังไม่บุบสลายอยู่ภายในตัวปลา
Samuel Cooper นักศึกษาระดับปริญญาเอก
State Museum of Natural History Stuttgart
ใน Germany ให้สัมภาษณ์กับ Live Science

ในปี 1977
ฟอสซิลชิ้นนี้ถูกขุดขึ้นมาจากเมือง Stuttgart
แล้วเก็บรักษาไว้ในลิ้นชักของพิพิธภัณฑ์
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้
นักวิจัยจึงได้ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
และปะติดปะต่อเรื่องราวได้ว่า
ปลายุคก่อนประวัติศาสตร์นี้ตายได้อย่างไร
.
.

“ หากคุณต้องการค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นจริง ๆ
ในวิชาซากดึกดำบรรพ์ ไม่จำเป็นต้องไปที่
เหมืองหินหรือหน้าผาหรือไปล่าฟอสซิลเสมอไป
สิ่งที่ต้องทำก็แค่ไปที่พิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่น
แล้วขอเปิดลิ้นชักเก็บซากฟอสซิล "
Samuel Cooper และเพื่อนร่วมงาน
เผยแพร่คำอธิบายของฟอสซิลดังกล่าว
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2023 ในวารสาร
Geological Magazine
.
.
.

.
.
.

ช่วง 180 ล้านปีก่อน ในช่วง ยุคจูราสสิค
(201 ล้านถึง 145 ล้านปีก่อน)
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี
ถูกปกคลุมด้วยน้ำทะเลตื้นที่อบอุ่น
ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำขนาดยักษ์
เช่น Ichthyosaurs และ Plesiosaurs
.
.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.
.

แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ในบรรดาสัตว์ยักษ์มหึมานั้น
คือ สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลขนาดเล็กจำนวนมาก
รวมถึง Pachycormus macropterus
ซึ่งเป็นปลาที่มีรูปร่างเพรียวบาง
คล้ายปลาทูน่ายาวประมาณ 3 ฟุต (0.9 เมตร)
นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า
ปลา Pachycormus macropterus
กินอาหารที่อ่อนนุ่ม เช่น ปลาหมึก  ปลาตัวเล็ก
แต่อยู่มาวันหนึ่ง ปลาตัวหนึ่งตัดสินใจเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ที่เคยกินมาก่อน

ซากดึกดำบรรพ์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
มีรอยของเปลือกแอมโมไนต์ก้นหอย
ขนาดกว้าง 4 นิ้ว (10 เซนติเมตร)
ติดอยู่ที่กระดูกสันหลังของปลาตัวนี้
และหอยนี้น่าจะใหญ่เกินกว่าปลาจะกลืนได้

“ ผมคิดว่า มันเทียบเท่ากับพวกเรา
ที่จะพยายามกลืนอาหารลงไป
คาดเดาว่า ปลาอาจสับสนว่า
เปลือกเป็นอาหารที่กินได้
หรือเผลอกลืนเปลือกหอยเข้าไป
ขณะกินอาหารอื่น ๆ รอบ ๆ ตัวปลา "
Samuel Cooper แสดงความเห็น
.
.
.

.
ภาพแสดงสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นกับ
ปลายุคจูราสสิคที่ตายจากการกินหอย
© Samuel Cooper
.
.
.

ก่อนหน้านี้นักวิจัยรู้ว่าในพิพิธภัณฑ์
มีซากดึกดำบรรพ์ปลากับหอยแอมโมไนต์
แต่คิดว่าการจับคู่นี้น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญ
ตัวอย่างเช่น บางทีปลากับหอยแอมโมไนต์
อาจตายตกลงมาในจุดเดียวกัน
และเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ใกล้กัน

แต่จากการตรวจสอบตัวอย่างอย่างใกล้ชิด
Samuel Cooper  ค้นพบว่า
ส่วนต่างๆ ของฟอสซิลปลาอยู่ด้านบน
ของฟอสซิลหอยแอมโมไนต์
และส่วนอื่น ๆ อยู่ด้านล่าง นั่นแสดงว่า
เปลือกหอยอยู่ในตัวปลาตอนที่มันตาย

นอกจากนี้ Aragonite บางส่วน
ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ประกอบขึ้นเป็น
เปลือกส่วนใหญ่ของหอยแอมโมไนต์
ยังคงสภาพไว้เป็นอย่างดีอย่างน่าทึ่ง

Aragonite มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเป็นฟอสซิล
ยิ่งทำให้เป็นฟอสซิลหาได้ยากยิ่งขึ้น
แต่ในกรณีนี้ ท้องของปลาอาจเป็นเกราะป้องกัน
ให้กับกระดองหอย และป้องกันการเสื่อมสภาพ
ของ Aragonite ที่สร้างเปลือกหอยแอมโมไนต์

เมื่อรวบรวมเงื่อนงำและค้นหาว่า
สิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วเหล่านี้
มีชีวิตและตายอย่างไร 
เริ่มพบว่า ระบบนิเวศทางทะเล
ในยุคจูราสสิคนี้ กลับมามีชีวิตอีกครั้งได้

" สำหรับผม
มันได้สร้างภาพที่น่าสนใจจริง ๆ
ก้ับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอดีต "
Samuel Cooper กล่าวสรุป
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://tinyurl.com/mvx693yh
.
.
.


.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.
 
.
.

ฝูงลูกปลา 259 ตัวกลายเป็นฟอสซิลอายุ 50 ล้านปีก่อน
.

.
.

.
.

ฟอสซิลแมลงน้ำยุคจูราสิคแบกไข่อ่อนไว้ที่ขาข้างหนึ่ง
.

.
.

Patagotitan Mayorum ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Meet the Titanosaur
.
.

ปลาวาฬยุคโบราณเดินได้ว่ายน้ำได้
.

.
.

ฟอสซิลคล้ายตุ่นปากเป็ดเปิดโลกประวัติศาสตร์
.

.
.

Fishapod คิดถึงบ้านเก่าจึงละทิ้งแผ่นดินกลับผืนน้ำ
.

.
.
.

หมายเหตุ

© ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย

มีหลากหลายเกือบทุกประเภท ได้แก่ 
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น 
ปะการัง หอย ไทรโลไบต์
สัตว์มีกระดูกสันหลัง 
เช่น เต่า ไดโนเสาร์ ปลา จระเข้ 
และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ส่วนซากพืชพบหลายชนิด
มีทั้งส่วนของลำต้น ใบ และละอองเรณู
นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของสัตว์ดึกดำบรรพ์
เช่น รอยเท้า และรอยทางเดินของไดโนเสาร์
รูและรอยชอนไชของหนอน

ซากดึกดำบรรพ์เก่าแก่ที่สุดที่พบในไทย คือ
ซากไทรโลไบต์ มีอายุราว 500 ล้านปี
พบที่เกาะตะรุเตา

ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุใหม่ ได้แก่
ซากหอยนางรมยักษ์
ที่พบจากชุดดินกรุงเทพฯ มีอายุเพียง 5,500 ปี

© รู้จัก 21 แหล่งซากดึกดำบรรพ์ของไทย
.
.

เมื่อราว ๆ 195-140 ล้านปีก่อนยุคจูราสสิค
แผ่นดินแถบนี้มีน้ำทะเลท่วม เป็นแบบทะเลตื้น
ความลึกน่าจะไม่เกิน 200 เมตร
ไล่แนวมาตั้งแต่แม่ฮ่องสอน ผ่านแม่สอดอุ้มผาง
ลงไปถึงกาญจนบุรี และเรื่อยไปจนถึงบางแห่ง
ของภาคใต้ เช่น กระบี่ สตูล สงขลา
ในขณะที่เวลานั้นทางภาค อีศาน
ได้ขยับยกตัวเป็นแผ่นดินแล้ว
(เกลือสินเธาว์ที่น่าน/อีศานมาจากทะเลโบราณ)

หลักฐานที่สำคัญที่สุด คือ
การเจอหอยฟอสซิลหอยทะเลสองฝา
ซึ่งฝังตัวอยู่ในหินแถวนี้
ฟอสซิลบางชนิดจะเกิดยุคใดยุคหนึ่งเท่านั้น
แล้วก็สูญพันธุ์หายไปตลอดกาล
อายุหินจึงใช้ฟอสซิลเป็นหลักในการดู
(ก้อนหินและทราย ไม่เคยโกหกเรื่องอายุ)
© ก้อนหินรำพัน (รชฏ มีตุวงศ์)
นักธรณีวิทยา  กรมทรัพยากรธรณี
คำค้น กัอนหินรำพัน แต่ www.geothai.net
อากู๋บอกเสี่ยง จะกลับสู่ Safe หรือ Advance
ถ้ารู้ว่าเสี่ยงยังต้องขอลอง ก็กดเข้าไปได้
(web= geothai.net/singing-rocks/)
.
.
.

.
.


เรื่องเล่าไร้สาระ


ที่ควนหอย เขาวังชิง หมู่ที่ 7 บ้านเขาวังชิง 
อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
มีซากหอยที่อยู่ในก้อนหินแข็งขนาดใหญ่
บางส่วนโผล่ออกมาจากหินกะเทาะออกมาได้
คาดว่าน่าจะเป็นหอยทะเล ช่วงรอยเลื่อนหิมาลัย

ที่เขาคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
มหาจรูญ เจ้าอาวาสวัดบ้านในไร่(เพื่อนซี้จขกท)
ท่านบอกเคยเจอเปลือกหอยบนเขาสมัยวัยรุ่น
ช่วงปลีกวิเวกบนเขาคอหงส์เพียงรูปเดียว
คาดว่าน่าจะมาจากยุคเดียวกับเขาวังชิง
.
.
.

.
.

ค้อนธรณีวิทยา หรือ ค้อนล่าฟอสซิล
จขกท.ซื้อมาด้ามหนึ่งหลังจากอ่านก้อนหินรำพัน
เวลาว่าง ๆ หรือไปสถานที่ต่างจังหวัด
เจอก้อนหินรูปร่างแปลก ๆ หรือดูร่องหิน
จะนำมาทุบก้อนหินเล่น เพื่อดูเนื้อหินด้านใน
ก็สนุกดีแก้เครียด แก้เซ็งได้ดี ฆ่าเวลาได้ดี
แต่ต้องระมัดระวังเศษหินปลิวใส่ตัวด้วย
เวลาทุบหินกับค้อนธรณีวิทยา
เพราะทุบมัน ทุบเพลิน ไม่สะท้านมือมาก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่