แนวร่วมมธ. ส่องไฟหน้า ‘เพื่อไทย’ ให้ทางปชต. เสื้อแดงถอดเสื้อเผา ครวญยิ่งรักยิ่งเจ็บ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4125001
แนวร่วมมธ. พรึบหน้าเพื่อไทย ชวนส่องไฟให้ทางปชต. เสื้อแดงถอดเสื้อเผา ซัดเหมือนโดนหักหลัง
เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 11 สิงหาคม ที่บริเวณฟุตบาท ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้านหน้าพรรคเพื่อไทย(พท.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ชุมนุมจากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ทยอยเดินทางมาร่วมทำกิจกรรม เปิดแคมเปญ “
ส่องไฟให้ทางประชาธิปไตย” ร่วมกันส่องแสงสว่างนี้ให้ถึงหัวใจของสมาชิกพรรคเพื่อไทย เพื่อเรียกขานมโนธรรม ความยึดมั่นในจิตวิญญาณประชาธิปไตย และคำสัญญาที่ให้ไว้แก่ประชาชน
โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงทยอยเดินทางเข้าร่วมชุมนุมด้วย ซึ่งผู้ชุมนุมบางส่วนถือป้ายเขียนข้อความคัดค้านกับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพท. ที่เริ่มมีความชัดว่าจะเปิดรับพรรค 2 ลุง คือ พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) และพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) เข้ามาร่วมรัฐบาลด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพรรคพท. นำแผงเหล็กมากั้นบริเวณทางเข้า-ออก อาคารที่ทำการพรรค พร้อมกับกระจายกำลังดูแลความปลอดภัยโดยรอบ โดยขอความร่วมมือไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามายังที่ทำการพรรคพท.
ขณะที่เวลา 18.40 น. สตรีเสื้อสีแดงรายหนึ่ง กล่าวว่า เหมือนโดนหักหลัง ยิ่งรักยิ่งเจ็บ
ต่อมาเวลา 18.50 น. กลุ่มผู้ชุมนุม ถอดเสื้อแดง ยกเว้นหมวกที่มีลายเซ็นของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อความผิดหวังต่อพรรคพท. ในการจัดตั้งรัฐบาล โดยได้นำเสื้อแดงมากองรวมกันและจุดไฟเผา บริเวณฟุตบาทด้านหน้าพรรคพท.
สัมภาษณ์พิเศษ : “ใบตองแห้ง” วิเคราะห์การเมืองหลัง“พลังประชารัฐ” พร้อมโหวตนายก “เพื่อไทย”
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4124726
สัมภาษณ์พิเศษ :
“ใบตองแห้ง” อธึกกิต แสวงสุข คอลัมน์นิสต์ทางการเมืองชื่อดังวิเคราะห์การเมืองการจัดตั้งรัฐบาลของเพื่อไทย โดยยึดหลักสลายขั้ว ชมคลิป
เกษตรกรกำลังเรียกร้องอะไรกัน? ชวนฟังเสียงจากชาวนา-เกษตรกรที่กลับมาชุมนุมอีกครั้ง
https://thematter.co/brief/210489/210489
“
เขาเดือดร้อน เขาไม่อยากมาหรอกครับ แต่วันนี้เขาจำเป็นต้องมา เพราะมันเป็นการต่อสู้เฮือกสุดท้ายของเขาแล้วที่จะรักษาที่ดินของเขาไว้ได้ มันไม่มีทางอื่นแล้ว” นี่คือเสียงส่วนหนึ่งจากเกษตรกรที่เดินทางมาเพื่อชุมนุมเรียกร้องในครั้งนี้
‘
ม็อบเกษตรกร’ หรือที่หลายคนคุ้นชินในชื่อ ‘
ม็อบชาวนา’ กลับมาอีกครั้ง โดยในครั้งนี้เริ่มจากการชุมนุมที่บริเวณกระทรวงการคลังราวๆ 1 เดือน ก่อนจะย้ายไปบริเวณวัดเสมียนนารีราว 4-5 วัน และล่าสุด ในวันนี้ (11 สิงหาคม) ก็มีกลุ่มเกษตรกรบางส่วนเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานใหญ่อีกเช่นกัน
แล้วเกิดอะไรขึ้นกลับกลุ่มเกษตรกร ทำไมจึงมีการชุมนุมกัน? ในวันนี้ The MATTER จึงได้ต่อสายหา
ศักดา ดวงดารา ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย ซึ่งก็คือกลุ่มเกษตรกรที่กำลังชุมนุมกันอยู่ เพื่อพูดคุยถึงสาเหตุที่หลายคนเดินทางมาชุมนุม รวมไปถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรในครั้งนี้
ก่อนอื่น ต้องขอท้าวความกลับไปก่อนว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ครม.มีมติเห็นชอบให้ช่วยเหลือเกษตรกรและชาวนากว่า 50,000 รายที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) โดยมีมติให้พักหนี้ 50% แรกไว้ ส่วนอีก 50% ที่เหลือให้เกษตรกรเจรจากับเจ้าหนี้แต่ละธนาคาร ซึ่งประกอบด้วย ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารสงเคราะห์ และ SME เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป
ศักดาอธิบายว่า เมื่อมติ ครม.ออกมา ทางฝั่งเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือธนาคาร ต้องมาทำสัญญากับลูกหนี้ เพื่อให้เกษตรกรชำระหนี้ครึ่งหนึ่งของเงินต้น แล้วรัฐจึงจะมาชำระในส่วนของเงินต้นที่เหลือกับดอกเบี้ยคงค้างทั้งหมดให้ ซึ่งตรงนี้ก็มีงบประมาณออกมาแล้วจะดำเนินการได้ในปี 2568 ตามข้อแนะนำของกระทรวงการคลัง
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือ ธ.ก.ส.ไม่ทำสัญญาตามมติของ ครม.ดังกล่าว ทำให้กลุ่มเกษตรกรต้องออกมาเรียกร้องหาข้อตกลงตามมติ ครม.
นอกจากทาง ธ.ก.ส.จะไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.แล้ว ก็ยังมีการฟ้องร้องดำเนินคดี นำทรัพย์สินของเกษตรกรตามรายชื่อนั้นขึ้นขายทอดตลาด จนนำมาสู่การชุมนุมเพื่อ “
ขอความเป็นธรรม ขอให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการตามมติ ครม.” ศักดากล่าว
แล้วทำไม ธ.ก.ส.ถึงไม่ทำสัญญากับเกษตรกร?
ศักดาระบุว่า ทาง ธ.ก.ส.หยิบประเด็นเรื่องอายุความขึ้นมา แต่เขาก็คุยกับเลขาธิการ ครม.ในที่ประชุมเมื่อวานนี้ (10 สิงหาคม) ทางเลขาธิกาก็ชี้ว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร “
อายุความมันขาด คุณไปทำสัญญาใหม่ ก็เริ่มต้นสัญญาใหม่ มันอยู่ที่เจ้าหนี้กับลูกหนี้ยินยอมร่วมกัน” ซึ่งแน่นอนว่าทางลูกหนี้ [เกษตรกร] ยินยอมอยู่แล้ว แต่คนที่ไม่ยินยอมก็คือเจ้าหนี้ [ธ.ก.ส.]
ศักดาก็มองว่า ธ.ก.ส.ก็ไม่น่ามีเหตุผลที่จะไม่ยินยอม เพราะเกษตรกรก็จะชำระเงินให้ และทางรัฐบาลก็มีเป็นมติ ครม.ออกมาแล้วว่าจะชำระส่วนที่เหลือให้เช่นกัน ทั้งเขายังยกตัวอย่างอีกว่าธนาคารออมสิน ก็ทำสัญญากับเกษตรกรไปแล้ว จึงเกิดเป็นข้อเปรียบเทียบว่าแล้วทำไมออมสินทำได้ ทั้งๆ ที่ก็เป็นธนาคารของรัฐเเช่นเดียวกับ ธ.ก.ส.
ศักดาตั้งข้อสังเกตไว้ว่า อาจเป็นเพราะ ธ.ก.ส.จะเสียผลประโยชน์หรือเปล่า เพราะถ้าทำสัญญาดังกล่าวแล้ว ทางธนาคารก็อาจจะได้เงินช้าเกินไป “
วิธีการฟ้องร้องก็จึงเป็นวิธีการที่จะได้เงินเร็ว บังคับคดีเอากับพี่น้องเกษตรกร ถ้าเกษตรกรไม่มีสตังค์จะใช้ ก็บังคับเอากับทรัพย์ที่ค้ำประกันไว้ไปขาย เอาเงินมาใช้หนี้ ซึ่งราคาที่ดินวันนี้ไม่มีลดลง มีแต่เพิ่มขึ้นทุกวันๆ”
“
แต่นั่นคือที่ทำกินของเกษตรกรเขา เอาไปขายแล้วเขาจะอยู่กันอย่างไร เขาก็หมดความหวังที่จะอยู่ เขาก็ไม่ได้เรียนหนังสืออะไร อาชีพของเขาก็คือเกษตรกร เพราะฉะนั้นมันมีทางเดียวที่ทำได้ ก็คือทำแบบนี้ เรียกร้องขอความเป็นธรรมแค่นั้นเอง”
ศักดากล่าว
เมื่อถามต่อว่าแล้วตอนนี้มีการบังคับขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกรไปแล้วหรือยัง? ศักดาก็ระบุว่า มีแล้ว สิ่งที่ถูกขายทอดตลาดไป ก็มีทั้งทรัพย์สิน อุปกรณ์ในการหาเลี้ยงชีพ รวมไปถึงที่ดินในการเพาะปลูก เช่นวันนี้ก็มีที่ดินในราชบุรีที่เอาไปขายแล้วก็มีคนซื้อแล้ว และยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะในฉะเชิงเทราก็มีที่ดินของเกษตรกรอีก 2 รายที่กำลังเอาขึ้นขาย แต่ยังไม่มีคนซื้อ
ศักดากล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามักจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลจากฝั่งของเจ้าหน้าฝ่ายเดียว ทำให้ภาพของเกษตรกรเหมือนคนที่จ้องจะเบี้ยวหนี้ ซึ่งเรื่องจริงๆ มันไม่ใช่อย่างนั้น เพราะวันนี้เกษตรกรบางคนกู้มาเพียง 2-3 แสน แต่ดอกเบี้ยก็สะสมมาเรื่อยๆ จนวันนี้หลายคนมีหนี้หลักล้านแล้ว
“
เขาไม่ไหวหรอกครับ เขาทำกินไม่ไหว…ดูอายุคนที่มาชุมนุมสิครับ ลูกหนี้ทั้งหลาย [อายุเฉลี่ย] 60-70 ปีขึ้นทั้งนั้น มันน่าจะเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของเขาแล้ว จะไปจะอยู่ก็ครั้งนี้แหละครับ” ศักดากล่าวทิ้งท้าย
อ้างอิงจาก
thematter.co(2)
ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยพัทลุง เข้าขั้นโคม่า ขาดทุนหนัก ยอมขายแม่พันธุ์-ลูกหมูออก
https://www.thairath.co.th/agriculture/agricultural-product-prices/2716569
คนเลี้ยงหมูรายย่อยพัทลุง เผยเวลานี้ "อาการโคม่า" ประสบภาวะขาดทุนหนัก ต้องแห่ขายออก แม่พันธุ์ กก.ละ 30 บาท เพราะหากเลี้ยงแม่พันธุ์เอาไว้ลูกสุกรก็ไม่มีที่จะขาย จึงต้องลดภาระ ขณะที่ลูกสุกรขนาด 16 กก. ก็ขายในราคาตัวละ 700-1,000 บาท
นาย
ภักดี ชูขาว เจ้าของภักดีฟาร์ม อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ สถานการณ์การเลี้ยงสุกรในพื้นที่ จ.พัทลุง ต่างประสบกับภาวะขาดทุนจนต้องวางกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอด โดยย่นระยะให้อยู่ต่อได้ในระยะ 4-5 เดือนข้างหน้า พร้อมมีการตัดวงจรเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น มีการคัดแม่พันธุ์สุกรออกขาย โดยแม่พันธุ์สุกรก่อนที่จะปลดระวางบางราย 3 ท้อง และ 5 ท้อง ก่อนที่จะปลดระวางต้อง 8 ท้อง ซึ่งจะนำออกขายราคา 25 บาท/กก. จากราคาแม่พันธุ์ที่เคยปรับตัวมาอยู่ที่ 30 บาท/กก. และเคยปรับขึ้นมา 50-60 บาท/กก. ส่วนลูกหมูขุนก็เช่นกัน แต่เดิมขนาดน้ำหนักตัวละ 16 กก. ราคาที่ปรับตัวอยู่ที่ 2,600-2,700 บาท/ตัว แต่ในขณะนี้ราคาขายออกประมาณตัวละ 700-1,000 บาท
นายภักดี กล่าวอีกว่า ในขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีความมั่นใจสูงว่าหากเลี้ยงแม่พันธุ์เอาไว้ลูกสุกรก็ไม่มีที่จะขาย จึงต้องลดภาระต่อต้นทุนในการนำลูกสุกรออกขายในราคาที่ต่ำ ส่วนผู้ซื้อลูกสุกรขุนก็เช่นกันพอเลี้ยงขุนเติบโตได้ขนาด ถึงแม้ว่าจะขายขาดทุนก็ต้องขาย ในขณะเดียวกันผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ก็ต่างชะลอการขายสุกรมีชีวิต หันมาทำสุกรผ่าซีกออกขายในราคา 83 บาท/กก. ในขณะที่สุกรมีชีวิตมีราคาการซื้อขาย 70 บาท/กก. ทำให้สุกรผ่าซีกกับสุกรมีชีวิตมีราคาการซื้อขายที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสุกรผ่าซีกที่วางขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้นได้ส่งผลกระทบต่อสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรกร เนื่องจากก่อนหน้านี้ในงานบุญงานกุศล งานศพ จะนิยมซื้อสุกร มีชีวิตไปชำแหละ แต่ตอนนี้สุกรมีชีวิตจะขายยากขึ้นเพราะผู้บริโภคจะหันไปซื้อหมูผ่าซีกตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากเป็นเนื้อหมูสวยงามและมีขายทุกส่วน ในขณะที่การตลาดโบรกกเกอร์ได้เข้ามาซื้อสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มราคาที่ 60-63 บาท/กก.เท่านั้น
JJNY : 5in1 ส่องไฟหน้า‘เพื่อไทย’│วิเคราะห์การเมือง│ฟังเสียงชาวนา│ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเข้าขั้นโคม่า│ไบเดนของบช่วยยูเครน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4125001
แนวร่วมมธ. พรึบหน้าเพื่อไทย ชวนส่องไฟให้ทางปชต. เสื้อแดงถอดเสื้อเผา ซัดเหมือนโดนหักหลัง
เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 11 สิงหาคม ที่บริเวณฟุตบาท ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้านหน้าพรรคเพื่อไทย(พท.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ชุมนุมจากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ทยอยเดินทางมาร่วมทำกิจกรรม เปิดแคมเปญ “ส่องไฟให้ทางประชาธิปไตย” ร่วมกันส่องแสงสว่างนี้ให้ถึงหัวใจของสมาชิกพรรคเพื่อไทย เพื่อเรียกขานมโนธรรม ความยึดมั่นในจิตวิญญาณประชาธิปไตย และคำสัญญาที่ให้ไว้แก่ประชาชน
โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงทยอยเดินทางเข้าร่วมชุมนุมด้วย ซึ่งผู้ชุมนุมบางส่วนถือป้ายเขียนข้อความคัดค้านกับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพท. ที่เริ่มมีความชัดว่าจะเปิดรับพรรค 2 ลุง คือ พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) และพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) เข้ามาร่วมรัฐบาลด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพรรคพท. นำแผงเหล็กมากั้นบริเวณทางเข้า-ออก อาคารที่ทำการพรรค พร้อมกับกระจายกำลังดูแลความปลอดภัยโดยรอบ โดยขอความร่วมมือไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามายังที่ทำการพรรคพท.
ขณะที่เวลา 18.40 น. สตรีเสื้อสีแดงรายหนึ่ง กล่าวว่า เหมือนโดนหักหลัง ยิ่งรักยิ่งเจ็บ
ต่อมาเวลา 18.50 น. กลุ่มผู้ชุมนุม ถอดเสื้อแดง ยกเว้นหมวกที่มีลายเซ็นของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อความผิดหวังต่อพรรคพท. ในการจัดตั้งรัฐบาล โดยได้นำเสื้อแดงมากองรวมกันและจุดไฟเผา บริเวณฟุตบาทด้านหน้าพรรคพท.
สัมภาษณ์พิเศษ : “ใบตองแห้ง” วิเคราะห์การเมืองหลัง“พลังประชารัฐ” พร้อมโหวตนายก “เพื่อไทย”
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4124726
สัมภาษณ์พิเศษ : “ใบตองแห้ง” อธึกกิต แสวงสุข คอลัมน์นิสต์ทางการเมืองชื่อดังวิเคราะห์การเมืองการจัดตั้งรัฐบาลของเพื่อไทย โดยยึดหลักสลายขั้ว ชมคลิป
เกษตรกรกำลังเรียกร้องอะไรกัน? ชวนฟังเสียงจากชาวนา-เกษตรกรที่กลับมาชุมนุมอีกครั้ง
https://thematter.co/brief/210489/210489
“เขาเดือดร้อน เขาไม่อยากมาหรอกครับ แต่วันนี้เขาจำเป็นต้องมา เพราะมันเป็นการต่อสู้เฮือกสุดท้ายของเขาแล้วที่จะรักษาที่ดินของเขาไว้ได้ มันไม่มีทางอื่นแล้ว” นี่คือเสียงส่วนหนึ่งจากเกษตรกรที่เดินทางมาเพื่อชุมนุมเรียกร้องในครั้งนี้
‘ม็อบเกษตรกร’ หรือที่หลายคนคุ้นชินในชื่อ ‘ม็อบชาวนา’ กลับมาอีกครั้ง โดยในครั้งนี้เริ่มจากการชุมนุมที่บริเวณกระทรวงการคลังราวๆ 1 เดือน ก่อนจะย้ายไปบริเวณวัดเสมียนนารีราว 4-5 วัน และล่าสุด ในวันนี้ (11 สิงหาคม) ก็มีกลุ่มเกษตรกรบางส่วนเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานใหญ่อีกเช่นกัน
แล้วเกิดอะไรขึ้นกลับกลุ่มเกษตรกร ทำไมจึงมีการชุมนุมกัน? ในวันนี้ The MATTER จึงได้ต่อสายหา ศักดา ดวงดารา ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย ซึ่งก็คือกลุ่มเกษตรกรที่กำลังชุมนุมกันอยู่ เพื่อพูดคุยถึงสาเหตุที่หลายคนเดินทางมาชุมนุม รวมไปถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรในครั้งนี้
ก่อนอื่น ต้องขอท้าวความกลับไปก่อนว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ครม.มีมติเห็นชอบให้ช่วยเหลือเกษตรกรและชาวนากว่า 50,000 รายที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) โดยมีมติให้พักหนี้ 50% แรกไว้ ส่วนอีก 50% ที่เหลือให้เกษตรกรเจรจากับเจ้าหนี้แต่ละธนาคาร ซึ่งประกอบด้วย ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารสงเคราะห์ และ SME เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป
ศักดาอธิบายว่า เมื่อมติ ครม.ออกมา ทางฝั่งเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือธนาคาร ต้องมาทำสัญญากับลูกหนี้ เพื่อให้เกษตรกรชำระหนี้ครึ่งหนึ่งของเงินต้น แล้วรัฐจึงจะมาชำระในส่วนของเงินต้นที่เหลือกับดอกเบี้ยคงค้างทั้งหมดให้ ซึ่งตรงนี้ก็มีงบประมาณออกมาแล้วจะดำเนินการได้ในปี 2568 ตามข้อแนะนำของกระทรวงการคลัง
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือ ธ.ก.ส.ไม่ทำสัญญาตามมติของ ครม.ดังกล่าว ทำให้กลุ่มเกษตรกรต้องออกมาเรียกร้องหาข้อตกลงตามมติ ครม.
นอกจากทาง ธ.ก.ส.จะไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.แล้ว ก็ยังมีการฟ้องร้องดำเนินคดี นำทรัพย์สินของเกษตรกรตามรายชื่อนั้นขึ้นขายทอดตลาด จนนำมาสู่การชุมนุมเพื่อ “ขอความเป็นธรรม ขอให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการตามมติ ครม.” ศักดากล่าว
แล้วทำไม ธ.ก.ส.ถึงไม่ทำสัญญากับเกษตรกร? ศักดาระบุว่า ทาง ธ.ก.ส.หยิบประเด็นเรื่องอายุความขึ้นมา แต่เขาก็คุยกับเลขาธิการ ครม.ในที่ประชุมเมื่อวานนี้ (10 สิงหาคม) ทางเลขาธิกาก็ชี้ว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร “อายุความมันขาด คุณไปทำสัญญาใหม่ ก็เริ่มต้นสัญญาใหม่ มันอยู่ที่เจ้าหนี้กับลูกหนี้ยินยอมร่วมกัน” ซึ่งแน่นอนว่าทางลูกหนี้ [เกษตรกร] ยินยอมอยู่แล้ว แต่คนที่ไม่ยินยอมก็คือเจ้าหนี้ [ธ.ก.ส.]
ศักดาก็มองว่า ธ.ก.ส.ก็ไม่น่ามีเหตุผลที่จะไม่ยินยอม เพราะเกษตรกรก็จะชำระเงินให้ และทางรัฐบาลก็มีเป็นมติ ครม.ออกมาแล้วว่าจะชำระส่วนที่เหลือให้เช่นกัน ทั้งเขายังยกตัวอย่างอีกว่าธนาคารออมสิน ก็ทำสัญญากับเกษตรกรไปแล้ว จึงเกิดเป็นข้อเปรียบเทียบว่าแล้วทำไมออมสินทำได้ ทั้งๆ ที่ก็เป็นธนาคารของรัฐเเช่นเดียวกับ ธ.ก.ส.
ศักดาตั้งข้อสังเกตไว้ว่า อาจเป็นเพราะ ธ.ก.ส.จะเสียผลประโยชน์หรือเปล่า เพราะถ้าทำสัญญาดังกล่าวแล้ว ทางธนาคารก็อาจจะได้เงินช้าเกินไป “วิธีการฟ้องร้องก็จึงเป็นวิธีการที่จะได้เงินเร็ว บังคับคดีเอากับพี่น้องเกษตรกร ถ้าเกษตรกรไม่มีสตังค์จะใช้ ก็บังคับเอากับทรัพย์ที่ค้ำประกันไว้ไปขาย เอาเงินมาใช้หนี้ ซึ่งราคาที่ดินวันนี้ไม่มีลดลง มีแต่เพิ่มขึ้นทุกวันๆ”
“แต่นั่นคือที่ทำกินของเกษตรกรเขา เอาไปขายแล้วเขาจะอยู่กันอย่างไร เขาก็หมดความหวังที่จะอยู่ เขาก็ไม่ได้เรียนหนังสืออะไร อาชีพของเขาก็คือเกษตรกร เพราะฉะนั้นมันมีทางเดียวที่ทำได้ ก็คือทำแบบนี้ เรียกร้องขอความเป็นธรรมแค่นั้นเอง” ศักดากล่าว
เมื่อถามต่อว่าแล้วตอนนี้มีการบังคับขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกรไปแล้วหรือยัง? ศักดาก็ระบุว่า มีแล้ว สิ่งที่ถูกขายทอดตลาดไป ก็มีทั้งทรัพย์สิน อุปกรณ์ในการหาเลี้ยงชีพ รวมไปถึงที่ดินในการเพาะปลูก เช่นวันนี้ก็มีที่ดินในราชบุรีที่เอาไปขายแล้วก็มีคนซื้อแล้ว และยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะในฉะเชิงเทราก็มีที่ดินของเกษตรกรอีก 2 รายที่กำลังเอาขึ้นขาย แต่ยังไม่มีคนซื้อ
ศักดากล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามักจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลจากฝั่งของเจ้าหน้าฝ่ายเดียว ทำให้ภาพของเกษตรกรเหมือนคนที่จ้องจะเบี้ยวหนี้ ซึ่งเรื่องจริงๆ มันไม่ใช่อย่างนั้น เพราะวันนี้เกษตรกรบางคนกู้มาเพียง 2-3 แสน แต่ดอกเบี้ยก็สะสมมาเรื่อยๆ จนวันนี้หลายคนมีหนี้หลักล้านแล้ว
“เขาไม่ไหวหรอกครับ เขาทำกินไม่ไหว…ดูอายุคนที่มาชุมนุมสิครับ ลูกหนี้ทั้งหลาย [อายุเฉลี่ย] 60-70 ปีขึ้นทั้งนั้น มันน่าจะเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของเขาแล้ว จะไปจะอยู่ก็ครั้งนี้แหละครับ” ศักดากล่าวทิ้งท้าย
อ้างอิงจาก
thematter.co(2)
ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยพัทลุง เข้าขั้นโคม่า ขาดทุนหนัก ยอมขายแม่พันธุ์-ลูกหมูออก
https://www.thairath.co.th/agriculture/agricultural-product-prices/2716569
คนเลี้ยงหมูรายย่อยพัทลุง เผยเวลานี้ "อาการโคม่า" ประสบภาวะขาดทุนหนัก ต้องแห่ขายออก แม่พันธุ์ กก.ละ 30 บาท เพราะหากเลี้ยงแม่พันธุ์เอาไว้ลูกสุกรก็ไม่มีที่จะขาย จึงต้องลดภาระ ขณะที่ลูกสุกรขนาด 16 กก. ก็ขายในราคาตัวละ 700-1,000 บาท
นายภักดี ชูขาว เจ้าของภักดีฟาร์ม อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ สถานการณ์การเลี้ยงสุกรในพื้นที่ จ.พัทลุง ต่างประสบกับภาวะขาดทุนจนต้องวางกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอด โดยย่นระยะให้อยู่ต่อได้ในระยะ 4-5 เดือนข้างหน้า พร้อมมีการตัดวงจรเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น มีการคัดแม่พันธุ์สุกรออกขาย โดยแม่พันธุ์สุกรก่อนที่จะปลดระวางบางราย 3 ท้อง และ 5 ท้อง ก่อนที่จะปลดระวางต้อง 8 ท้อง ซึ่งจะนำออกขายราคา 25 บาท/กก. จากราคาแม่พันธุ์ที่เคยปรับตัวมาอยู่ที่ 30 บาท/กก. และเคยปรับขึ้นมา 50-60 บาท/กก. ส่วนลูกหมูขุนก็เช่นกัน แต่เดิมขนาดน้ำหนักตัวละ 16 กก. ราคาที่ปรับตัวอยู่ที่ 2,600-2,700 บาท/ตัว แต่ในขณะนี้ราคาขายออกประมาณตัวละ 700-1,000 บาท
นายภักดี กล่าวอีกว่า ในขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีความมั่นใจสูงว่าหากเลี้ยงแม่พันธุ์เอาไว้ลูกสุกรก็ไม่มีที่จะขาย จึงต้องลดภาระต่อต้นทุนในการนำลูกสุกรออกขายในราคาที่ต่ำ ส่วนผู้ซื้อลูกสุกรขุนก็เช่นกันพอเลี้ยงขุนเติบโตได้ขนาด ถึงแม้ว่าจะขายขาดทุนก็ต้องขาย ในขณะเดียวกันผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ก็ต่างชะลอการขายสุกรมีชีวิต หันมาทำสุกรผ่าซีกออกขายในราคา 83 บาท/กก. ในขณะที่สุกรมีชีวิตมีราคาการซื้อขาย 70 บาท/กก. ทำให้สุกรผ่าซีกกับสุกรมีชีวิตมีราคาการซื้อขายที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสุกรผ่าซีกที่วางขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้นได้ส่งผลกระทบต่อสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรกร เนื่องจากก่อนหน้านี้ในงานบุญงานกุศล งานศพ จะนิยมซื้อสุกร มีชีวิตไปชำแหละ แต่ตอนนี้สุกรมีชีวิตจะขายยากขึ้นเพราะผู้บริโภคจะหันไปซื้อหมูผ่าซีกตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากเป็นเนื้อหมูสวยงามและมีขายทุกส่วน ในขณะที่การตลาดโบรกกเกอร์ได้เข้ามาซื้อสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มราคาที่ 60-63 บาท/กก.เท่านั้น