คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การอุปสมบท ย่อมวิบัติด้วยเหตุ ๔ อย่าง
1 วัตถุวิบัติ หมายถึงคุณสมบัติของตัวผู้บวชเอง
2 ปริสวิบัติ คือ การอุปสมบท ชุมนุมภิกษุไม่ครบองค์กำหนดตามที่กล่าวแล้วข้างต้นในปริสสมบัตินั้น (ส่วนใหญ่จะนิมนต์พระลำดับเป็นจำนวนมากไว้ก่อน อย่างต่างจังหวัดที่เห็นก็จะเกิน 10 รูปที
3 สีมาวิบัติ คือ การอุปสมบทไม่สันนิบาตกันในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมาหรือสันนิบาตกันในเขตสีมาที่เล็กนัก และสีมาที่ใหญ่นักเป็นต้น
4. กรรมวาจาวิบัติ คือ กรรมวาจาไม่สวดประกาศชื่อ คุณสมบัติผู้ อุปสมบท ไม่ออกชื่อบุคคล คืออุปัชฌายะไม่ออกชื่อสงฆ์ผู้เป็นเจ้าการ ไม่สวดกรรมวาจา สวดแต่ญัตติ ๔ หน หรือสวดผิดระเบียบ หรือทำตกหล่น ไม่ตั้งญัตติเสียก่อนแล้วสวดอนุสาวนา เหล่านี้เรียกว่า "กรรมวาจาวิบัติ"
- อย่างที่ยกมาในกรณีที่ 2 ไม่เข้าลักษณะที่ทำให้การอุปสมบทล่ม เพราะคนปาราชิก นั้นปาราชิกโดยการกระทำที่ครบองค์ประกอบ ไม่ต้องรอตัดสิน พิสูจน์พยาน ออกคำพิพากษา อันเป็นพิธีกรรมทางวินัย ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยว่ามีปาราชิกโดยการกระทำแล้วกี่คน เขาจึงนิมนต์พระลำดับเผื่อจำนวนไว้ เผื่อมีผู้หน้าด้านไม่สะทกสะท้าน หรือผู้ปลอมบวชปะปนอยู่ในคณะสงฆ์
-
1 วัตถุวิบัติ หมายถึงคุณสมบัติของตัวผู้บวชเอง
2 ปริสวิบัติ คือ การอุปสมบท ชุมนุมภิกษุไม่ครบองค์กำหนดตามที่กล่าวแล้วข้างต้นในปริสสมบัตินั้น (ส่วนใหญ่จะนิมนต์พระลำดับเป็นจำนวนมากไว้ก่อน อย่างต่างจังหวัดที่เห็นก็จะเกิน 10 รูปที
3 สีมาวิบัติ คือ การอุปสมบทไม่สันนิบาตกันในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมาหรือสันนิบาตกันในเขตสีมาที่เล็กนัก และสีมาที่ใหญ่นักเป็นต้น
4. กรรมวาจาวิบัติ คือ กรรมวาจาไม่สวดประกาศชื่อ คุณสมบัติผู้ อุปสมบท ไม่ออกชื่อบุคคล คืออุปัชฌายะไม่ออกชื่อสงฆ์ผู้เป็นเจ้าการ ไม่สวดกรรมวาจา สวดแต่ญัตติ ๔ หน หรือสวดผิดระเบียบ หรือทำตกหล่น ไม่ตั้งญัตติเสียก่อนแล้วสวดอนุสาวนา เหล่านี้เรียกว่า "กรรมวาจาวิบัติ"
- อย่างที่ยกมาในกรณีที่ 2 ไม่เข้าลักษณะที่ทำให้การอุปสมบทล่ม เพราะคนปาราชิก นั้นปาราชิกโดยการกระทำที่ครบองค์ประกอบ ไม่ต้องรอตัดสิน พิสูจน์พยาน ออกคำพิพากษา อันเป็นพิธีกรรมทางวินัย ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยว่ามีปาราชิกโดยการกระทำแล้วกี่คน เขาจึงนิมนต์พระลำดับเผื่อจำนวนไว้ เผื่อมีผู้หน้าด้านไม่สะทกสะท้าน หรือผู้ปลอมบวชปะปนอยู่ในคณะสงฆ์
-
แสดงความคิดเห็น
ถ้ามีภิกษุที่ปาราชิกแอบร่วมในพิธีอุปสมบท ผู้ที่อุปสมบทจะเป็นภิกษุได้ตามพระวินัยไหม
ผมไปเจอคำถามประมาณนี้ แล้วเหมือนเสียงแตกเป็น2ฝ่าย
ฝ่ายที่1
ถือว่าเป็นภิกษุโดยสมบูรณ์ โดยให้เหตุผลว่าถึงแม้จะมีภิกษุที่ปาราชิก แต่ถ้าหากภิกษุที่เหลือยังไม่ปาราชิกอย่างน้อย5รูป ก็ยังคงเป็นภิกษุได้
ฝ่ายที่2
ถือว่าเป็นภิกษุโดยไม่สมบูรณ์ โดยให้เหตุผลว่า การทำสังฆกรรมที่สมบูรณ์(การอุปสมบทคือ1ในนั้น) จะต้องปราศจากผู้ที่มิใช่ภิกษุ(อนุปสัมบัน)ในระยะหัตถบาต แต่ภิกษุที่ปาราชิกแล้ว ถือเป็นฆราวาส หากมีภิกษุที่ปาราชิกแล้ว ยังเข้าร่วมพิธีอุปสมบท ก็ถือว่าภิกษุอุปสมบทใหม่นั้น มิได้เป็นภิกษุโดยสมบูรณ์ ถึงแม้จะมีภิกษุที่ยังบริสุทธ์มากกว่า5รูปก็ตาม
ส่วนตัวตัดสินใจเชื่อไม่ถูกเลย มันมีเหตุผลทั้ง2ฝ่าย เลยอยากทราบว่าในอดีตเคยมีการตัดสินประเด็นนี้บ้างใหมครับ ถ้ามีประวัติที่พระพุทธองค์ตัดสินเองจะดีมาก