https://www.dhammahome.com/cd/topic/14/10
ถ. คำถามต่อเนื่อง คือหนูคิดว่าการที่หนูทำทานให้กับคนที่เขาตาบอด อาจจะทำให้ชาติหน้าภพหน้าหนูมีสายตาที่เป็นปกติ ไม่ทราบว่าเป็นอกุศลจิตหรือเปล่า
ส. ต้องแยกกัน ต้องรู้ว่าที่เราให้เขา เราหวังอะไรหรือเปล่า เวลาให้ เราหวังอะไรหรือเปล่า
ถ. มันก็ไม่เชิงหวัง เป็นแต่เพียงว่าเราคิดว่า เราอาจจะสายตาดีได้บ้าง
ส. คิดทีหลังให้ คิดก่อนให้ หรือว่าคิดกำลังให้
ถ. คิดก่อนให้
ส. คิดก่อนให้ เป็นเหตุที่ให้ ใช่ไหม
ถ. ไม่ใช่
ส. ก็คิดก่อนไง เพราะฉะนั้นถามว่า คิดอย่างนี้ ก่อนให้ หรือว่ากำลังให้ หรือว่าหลังจากที่ให้แล้ว
ถ. จะเป็นการคิดก่อนให้ แต่ไม่ได้หวังว่ามันจะเกิดจริงๆ เพียงแต่ว่าเป็นการคาดคะเน หรือว่าเหมือนกับเป็นสิ่งที่เราไม่อาจจะล่วงรู้ได้ แบบนั้น
ส. แล้วหวังบ้างไหม
ถ. จะเป็นการคิดก่อนให้ แต่ไม่ได้หวังว่ามันจะเกิดจริงๆ เพียงแต่ว่าเป็นการคาดคะเน หรือว่าเหมือนกับเป็นสิ่งที่เราไม่อาจจะล่วงรู้ได้ แบบนั้น
ส. แล้วหวังบ้างไหม
ถ. ไม่ได้หวัง เพียงแต่คิด
ส. คิดเฉยๆ แต่ไม่หวัง เข้าใจความคิดไหมว่า เพียงคิด คิดด้วยโลภะ ไม่ต้องอะไรเลย
พรุ่งนี้วันศุกร์ แค่คิดอย่างนี้ พรุ่งนี้วันศุกร์ จิตอะไรคิด เพราะว่าจิตใจแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ แยกอย่างนี้ก็ได้ กุศลกับอกุศล จิตที่เป็นกุศล คือจิตที่ดีงาม คิดไปในเรื่องทาน ในเรื่องศีล ในเรื่องการช่วยเหลือคนอื่น ในเรื่องการทำตนให้เป็นประโยชน์ ในเรื่องการอบรมเจริญปัญญา ขณะนั้นเป็นกุศลจิต
แต่นอกจากนั้นแล้ว เป็นอกุศล คือคิดด้วย
โลภะ หรือคิดได้
โทสะ คิดด้วยความติดข้อง
ถ้าไม่มีเรื่องในใจสักเรื่อง เราคงจะไม่คิดว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ หรือว่า
ถ้าเกิดคิดขึ้นมาว่า บางลำพู ก็คงจะมีอะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เราต้องคิด บางลำพู ใช่ไหม จะไปซื้อของที่นั่น หรือว่าจะไปธุระ หรือว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องเกี่ยวกับคำนั้น มิฉะนั้นแล้วคำนั้นก็คงจะไม่เกิด หรือว่าไม่มีจิตที่คิดถึงคำนั้น ให้ทราบว่า แม้ความคิดของทุกคน ไม่มีใครไปบังคับ ความคิดเกิดขึ้น และเราถึงได้รู้ว่า ขณะนั้นคิดเรื่องนี้ ใช่ไหม
แต่มีสภาพมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้ความคิดเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นขณะที่คิดในแต่ละวันที่ไม่เป็นไปในเรื่องทาน ไม่เป็นไปเรื่องศีล ไม่เป็นไปในเรื่องของการเจริญกุศลแล้วล่ะก็ ถ้าจิตใจไม่ขุ่นมัว ขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตที่คิด เป็นจิตที่ติดข้องจึงคิดเรื่องนั้น เวลาที่ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ คิดหรือเปล่า คิดไหม คิด นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ที่จะไม่คิดไม่มีเลย เวลาที่ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูโทรทัศน์ คิดหรือเปล่า ก็คิดอีก เพราะฉะนั้นความคิดของเราวันหนึ่งๆ เป็นอกุศลมาก ที่กล่าวว่าไม่หวัง ก็ลองดูกันว่า เพียงแค่คิดว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ ก็ยังคิดด้วยโลภะ จิตที่ติดข้อง เพราะฉะนั้นที่คิดแล้วบอกว่า ไม่หวัง นั้น จะเป็นจิตอะไรที่คิด ก็ต้องเป็นโลภะ เป็นความหวัง โลภะแนบเนียนมาก เราใช้เขาชื่อเดียวว่า โลภะ ความโลภ ความต้องการ ความติดข้อง แต่ลักษณะอาการของโลภะมีมากมาย เช่นคำว่า อาสา ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของโลภะ ภาษาบาลีหมายความถึง ความหวัง เย็นนี้หวังอะไรบ้าง เพียงแต่ว่า จะรับประทานอะไร เห็นไหม โลภะแล้ว หวังที่จะรับประทานสิ่งนั้น สิ่งที่กำลังคิดอยู่ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ลักษณะของโลภะนี้มีมากจนกระทั่งเราไม่รู้จัก เพราะว่าเขาอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด ก่อนจะหลับ จิตเป็นอะไร พรุ่งนี้จะทำอะไร หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ ก็ไม่พ้นจากโลภะ หลับไปกับโลภะคือเรื่องที่คิด ด้วยความติดข้องในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่าจิตเป็นอกุศล มีอกุศลที่ต่างกันที่สังเกตได้ คือถ้าใจสบาย ขณะนั้นเป็นโลภมูลจิต ถ้าใจไม่สบายขุ่นเคืองกังวลนิดหน่อย ขณะนั้นเป็นอกุศลอีกประเภทหนึ่งคือเป็นโทสมูลจิต เป็นจิตที่ประกอบด้วยโทสะความโกรธ เพราะฉะนั้นยากที่จะพ้น ที่จะกล่าวว่า ไม่หวัง ถ้าคิดจริงๆ แล้ว ก็เป็นความติดข้องซึ่งเราไม่รู้เองว่า ขณะนั้นเป็นความหวังชนิดหนึ่ง
ถ. โลภะที่ท่านอาจารย์ว่า มีเฉด คือเข้ม ไปจนกระทั่งถึงจางไหม
ส. ถูกต้อง ทุกอย่าง ไม่ว่าโทสะก็เหมือนกัน ตั้งแต่จางจนกระทั่งถึงเข้ม
ถ. ทีนี่อย่างที่ท่านอาจารย์ว่าเมื่อกี้นี้ว่า พรุ่งนี้วันศุกร์ พรุ่งนี้วันศุกร์หวังอะไรไหม อาจจะไม่ได้หวังวันศุกร์ แต่เลยไปถึงวันเสาร์ คือนึกถึงวันศุกร์ว่า เหลืออีกวันเดียว ที่จะได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์ ครึ่งชั่วโมง พอถึงวันเสาร์จะได้ฟังเต็มชั่วโมงละ อันนี้ก็คงจะเป็นโลภะใช่ไหม ใช่ไหม
ส. แล้วแต่ คือถ้าเป็นไปในเรื่องของกุศล และจิตใจเบาสบาย ไม่ติดข้อง ต้องไม่ติดข้องด้วย ถึงจะเป็นกุศล แต่ถ้าติดข้องแม้นิดหน่อย นั้นก็เป็นอกุศล แต่ว่าอกุศลที่เบาบางที่จาง อย่างโลภะ ท่านใช้คำว่า สมโลภะ คือธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวันระดับยังไม่สูงจนกระทั่งมองเห็น แต่ถ้าระดับที่ผิดจากปกติ ท่านใช้คำว่า วิสมโลภะ แสดงให้เห็นระดับที่เข้มขึ้น
ถ. ได้ฟังมาถึงตรงนี้ก็เลยข้องใจนิดหนึ่งที่อาจารย์อธิบายว่า ติดข้อง หรืออยากได้ แม้กระทั่งมาฟังอาจารย์บรรยาย อยากได้ปัญญา อันนี้ก็ยังถือว่า ติดข้อง กลายเป็นอกุศลจิต เรียน ธรรมเพื่อให้ได้ปัญญา ทำไมยังเป็นอกุศลจิต
ส. สิ่งที่อกุศลคือโลภะไม่สามารถที่จะติดข้องได้ หรือเป็นอารมณ์ได้ มีอยู่ ๙ อย่างเรียกว่านวโลกุตรธรรม คือ นิพพาน โลภะไม่สามารถที่จะต้องการนิพพานได้เลย ไม่มีโอกาสที่จะเฉียดใกล้นิพพานได้ เพราะเป็นลักษณะที่ตรงกันข้าม แล้วก็ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นพระอริยบุคคล คือโลกุตตรจิต ๘ ประเภท คือ โสตาปัตติมัคคจิต โสตาปัตติผลจิตของพระโสดาบัน สกทาคามิมัคคจิต สกทาคามิผลจิต ของพระสกทาคามีบุคคล อนาคามิมัคคจิต อนาคามิผลจิต เป็นจิตของพระอนาคามีบุคคล อรหัตตมัคคจิต อรหัตตผลจิต เป็นจิตของพระอรหันต์ นี่แสดงให้เห็นว่า แม้พระอริยบุคคลที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ก็ยังมีกุศลจิตและกุศลจิต แต่ขณะใดที่กำลังประจักษ์แจ้งนิพพาน ขณะนั้นเป็นโลกุตตรจิต เป็นจิตที่เหนือระดับของโลก เพราะว่าโลกนี้เกิดดับ แต่ว่านิพพานไม่เกิดดับ เพราะฉะนั้นจิตที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพาน เป็นจิตซึ่งพ้นสภาพที่รู้สิ่งที่เกิดดับ โลภะไม่มีโอกาสที่จะมีนวโลกุตตรธรรม ๙ เป็นอารมณ์ นอกจากนั้นแล้วทุกอย่างเป็นอารมณ์ของโลภะได้ เพราะว่าเกิดดับเร็วมาก ขณะที่คิดว่า อยากจะบวช บางคนก็คร่ำครวญเหลือเกินว่าอยากจะบวช กับขณะที่บวช ไม่เหมือนกัน หรือว่าขณะที่อยากจะให้ทานกัน ขณะที่ตั้งใจว่าพรุ่งนี้จะให้ทาน ก็ผิดกันแล้ว ใช่ไหม เรามีความตั้งใจ มีกุศลเจตนา พรุ่งนี้จะใส่บาตร ไม่ต้องมีความยากอะไรเลย พรุ่งนี้จะใส่บาตรเป็นความตั้งใจแล้ว ไม่ใช่ว่าอยากจะใส่บาตรซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไรจะใส่ เพียงแต่อยากอยู่นั่นแหละ ใช่ไหม บางคนบอกอยากจะใส่ๆ แต่ยังไม่มีเวลา แต่ก็อยากจะใส่ แต่คนที่พรุ่งนี้จะใส่ ไปจัดซื้อหามา ขณะนั้นเป็นกุศลจิต เพราะฉะนั้นอยากนิดเดียว เป็นความติดข้อง แล้วก็เป็นสภาพธรรมซึ่งนำมาซึ่งทุกข์ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ลักษณะของกุศลเป็นสภาพที่เบา ไม่มีทุกข์เลย เพราะฉะนั้น นี่เป็นลักษณะที่ต่างกันของโลภะซึ่งเป็นอกุศล กับสภาพที่เป็นกุศลจิต ใกล้ชิดกันมาก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอารมณ์ของโลภะได้ ขณะที่เรากำลังฟังธรรมและพิจารณาธรรม กำลังเป็นปัญญา ไม่ได้อยาก ขณะที่กำลังมีปัญญามีความเข้าใจ ไม่ได้อยากเลย แต่ว่าถ้าอยากจะมีปัญญา มาแล้ว ตัวอยาก ใช่ไหม แสดงให้เห็นว่า ทำไมไม่ฟังเลย ทำไมไม่พิจารณาเลย เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาเลย
คิดว่า "พรุ่งนี้วันศุกร์" แค่คิดอย่างนี้ จิตอะไรคิด? จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศล?
ถ. คำถามต่อเนื่อง คือหนูคิดว่าการที่หนูทำทานให้กับคนที่เขาตาบอด อาจจะทำให้ชาติหน้าภพหน้าหนูมีสายตาที่เป็นปกติ ไม่ทราบว่าเป็นอกุศลจิตหรือเปล่า
ส. ต้องแยกกัน ต้องรู้ว่าที่เราให้เขา เราหวังอะไรหรือเปล่า เวลาให้ เราหวังอะไรหรือเปล่า
ถ. มันก็ไม่เชิงหวัง เป็นแต่เพียงว่าเราคิดว่า เราอาจจะสายตาดีได้บ้าง
ส. คิดทีหลังให้ คิดก่อนให้ หรือว่าคิดกำลังให้
ถ. คิดก่อนให้
ส. คิดก่อนให้ เป็นเหตุที่ให้ ใช่ไหม
ถ. ไม่ใช่
ส. ก็คิดก่อนไง เพราะฉะนั้นถามว่า คิดอย่างนี้ ก่อนให้ หรือว่ากำลังให้ หรือว่าหลังจากที่ให้แล้ว
ถ. จะเป็นการคิดก่อนให้ แต่ไม่ได้หวังว่ามันจะเกิดจริงๆ เพียงแต่ว่าเป็นการคาดคะเน หรือว่าเหมือนกับเป็นสิ่งที่เราไม่อาจจะล่วงรู้ได้ แบบนั้น
ส. แล้วหวังบ้างไหม
ถ. จะเป็นการคิดก่อนให้ แต่ไม่ได้หวังว่ามันจะเกิดจริงๆ เพียงแต่ว่าเป็นการคาดคะเน หรือว่าเหมือนกับเป็นสิ่งที่เราไม่อาจจะล่วงรู้ได้ แบบนั้น
ส. แล้วหวังบ้างไหม
ถ. ไม่ได้หวัง เพียงแต่คิด
ส. คิดเฉยๆ แต่ไม่หวัง เข้าใจความคิดไหมว่า เพียงคิด คิดด้วยโลภะ ไม่ต้องอะไรเลย พรุ่งนี้วันศุกร์ แค่คิดอย่างนี้ พรุ่งนี้วันศุกร์ จิตอะไรคิด เพราะว่าจิตใจแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ แยกอย่างนี้ก็ได้ กุศลกับอกุศล จิตที่เป็นกุศล คือจิตที่ดีงาม คิดไปในเรื่องทาน ในเรื่องศีล ในเรื่องการช่วยเหลือคนอื่น ในเรื่องการทำตนให้เป็นประโยชน์ ในเรื่องการอบรมเจริญปัญญา ขณะนั้นเป็นกุศลจิต แต่นอกจากนั้นแล้ว เป็นอกุศล คือคิดด้วยโลภะ หรือคิดได้โทสะ คิดด้วยความติดข้อง ถ้าไม่มีเรื่องในใจสักเรื่อง เราคงจะไม่คิดว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ หรือว่า ถ้าเกิดคิดขึ้นมาว่า บางลำพู ก็คงจะมีอะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เราต้องคิด บางลำพู ใช่ไหม จะไปซื้อของที่นั่น หรือว่าจะไปธุระ หรือว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องเกี่ยวกับคำนั้น มิฉะนั้นแล้วคำนั้นก็คงจะไม่เกิด หรือว่าไม่มีจิตที่คิดถึงคำนั้น ให้ทราบว่า แม้ความคิดของทุกคน ไม่มีใครไปบังคับ ความคิดเกิดขึ้น และเราถึงได้รู้ว่า ขณะนั้นคิดเรื่องนี้ ใช่ไหม แต่มีสภาพมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้ความคิดเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นขณะที่คิดในแต่ละวันที่ไม่เป็นไปในเรื่องทาน ไม่เป็นไปเรื่องศีล ไม่เป็นไปในเรื่องของการเจริญกุศลแล้วล่ะก็ ถ้าจิตใจไม่ขุ่นมัว ขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตที่คิด เป็นจิตที่ติดข้องจึงคิดเรื่องนั้น เวลาที่ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ คิดหรือเปล่า คิดไหม คิด นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ที่จะไม่คิดไม่มีเลย เวลาที่ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูโทรทัศน์ คิดหรือเปล่า ก็คิดอีก เพราะฉะนั้นความคิดของเราวันหนึ่งๆ เป็นอกุศลมาก ที่กล่าวว่าไม่หวัง ก็ลองดูกันว่า เพียงแค่คิดว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ ก็ยังคิดด้วยโลภะ จิตที่ติดข้อง เพราะฉะนั้นที่คิดแล้วบอกว่า ไม่หวัง นั้น จะเป็นจิตอะไรที่คิด ก็ต้องเป็นโลภะ เป็นความหวัง โลภะแนบเนียนมาก เราใช้เขาชื่อเดียวว่า โลภะ ความโลภ ความต้องการ ความติดข้อง แต่ลักษณะอาการของโลภะมีมากมาย เช่นคำว่า อาสา ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของโลภะ ภาษาบาลีหมายความถึง ความหวัง เย็นนี้หวังอะไรบ้าง เพียงแต่ว่า จะรับประทานอะไร เห็นไหม โลภะแล้ว หวังที่จะรับประทานสิ่งนั้น สิ่งที่กำลังคิดอยู่ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ลักษณะของโลภะนี้มีมากจนกระทั่งเราไม่รู้จัก เพราะว่าเขาอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด ก่อนจะหลับ จิตเป็นอะไร พรุ่งนี้จะทำอะไร หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ ก็ไม่พ้นจากโลภะ หลับไปกับโลภะคือเรื่องที่คิด ด้วยความติดข้องในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่าจิตเป็นอกุศล มีอกุศลที่ต่างกันที่สังเกตได้ คือถ้าใจสบาย ขณะนั้นเป็นโลภมูลจิต ถ้าใจไม่สบายขุ่นเคืองกังวลนิดหน่อย ขณะนั้นเป็นอกุศลอีกประเภทหนึ่งคือเป็นโทสมูลจิต เป็นจิตที่ประกอบด้วยโทสะความโกรธ เพราะฉะนั้นยากที่จะพ้น ที่จะกล่าวว่า ไม่หวัง ถ้าคิดจริงๆ แล้ว ก็เป็นความติดข้องซึ่งเราไม่รู้เองว่า ขณะนั้นเป็นความหวังชนิดหนึ่ง
ถ. โลภะที่ท่านอาจารย์ว่า มีเฉด คือเข้ม ไปจนกระทั่งถึงจางไหม
ส. ถูกต้อง ทุกอย่าง ไม่ว่าโทสะก็เหมือนกัน ตั้งแต่จางจนกระทั่งถึงเข้ม
ถ. ทีนี่อย่างที่ท่านอาจารย์ว่าเมื่อกี้นี้ว่า พรุ่งนี้วันศุกร์ พรุ่งนี้วันศุกร์หวังอะไรไหม อาจจะไม่ได้หวังวันศุกร์ แต่เลยไปถึงวันเสาร์ คือนึกถึงวันศุกร์ว่า เหลืออีกวันเดียว ที่จะได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์ ครึ่งชั่วโมง พอถึงวันเสาร์จะได้ฟังเต็มชั่วโมงละ อันนี้ก็คงจะเป็นโลภะใช่ไหม ใช่ไหม
ส. แล้วแต่ คือถ้าเป็นไปในเรื่องของกุศล และจิตใจเบาสบาย ไม่ติดข้อง ต้องไม่ติดข้องด้วย ถึงจะเป็นกุศล แต่ถ้าติดข้องแม้นิดหน่อย นั้นก็เป็นอกุศล แต่ว่าอกุศลที่เบาบางที่จาง อย่างโลภะ ท่านใช้คำว่า สมโลภะ คือธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวันระดับยังไม่สูงจนกระทั่งมองเห็น แต่ถ้าระดับที่ผิดจากปกติ ท่านใช้คำว่า วิสมโลภะ แสดงให้เห็นระดับที่เข้มขึ้น
ถ. ได้ฟังมาถึงตรงนี้ก็เลยข้องใจนิดหนึ่งที่อาจารย์อธิบายว่า ติดข้อง หรืออยากได้ แม้กระทั่งมาฟังอาจารย์บรรยาย อยากได้ปัญญา อันนี้ก็ยังถือว่า ติดข้อง กลายเป็นอกุศลจิต เรียน ธรรมเพื่อให้ได้ปัญญา ทำไมยังเป็นอกุศลจิต
ส. สิ่งที่อกุศลคือโลภะไม่สามารถที่จะติดข้องได้ หรือเป็นอารมณ์ได้ มีอยู่ ๙ อย่างเรียกว่านวโลกุตรธรรม คือ นิพพาน โลภะไม่สามารถที่จะต้องการนิพพานได้เลย ไม่มีโอกาสที่จะเฉียดใกล้นิพพานได้ เพราะเป็นลักษณะที่ตรงกันข้าม แล้วก็ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นพระอริยบุคคล คือโลกุตตรจิต ๘ ประเภท คือ โสตาปัตติมัคคจิต โสตาปัตติผลจิตของพระโสดาบัน สกทาคามิมัคคจิต สกทาคามิผลจิต ของพระสกทาคามีบุคคล อนาคามิมัคคจิต อนาคามิผลจิต เป็นจิตของพระอนาคามีบุคคล อรหัตตมัคคจิต อรหัตตผลจิต เป็นจิตของพระอรหันต์ นี่แสดงให้เห็นว่า แม้พระอริยบุคคลที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ก็ยังมีกุศลจิตและกุศลจิต แต่ขณะใดที่กำลังประจักษ์แจ้งนิพพาน ขณะนั้นเป็นโลกุตตรจิต เป็นจิตที่เหนือระดับของโลก เพราะว่าโลกนี้เกิดดับ แต่ว่านิพพานไม่เกิดดับ เพราะฉะนั้นจิตที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพาน เป็นจิตซึ่งพ้นสภาพที่รู้สิ่งที่เกิดดับ โลภะไม่มีโอกาสที่จะมีนวโลกุตตรธรรม ๙ เป็นอารมณ์ นอกจากนั้นแล้วทุกอย่างเป็นอารมณ์ของโลภะได้ เพราะว่าเกิดดับเร็วมาก ขณะที่คิดว่า อยากจะบวช บางคนก็คร่ำครวญเหลือเกินว่าอยากจะบวช กับขณะที่บวช ไม่เหมือนกัน หรือว่าขณะที่อยากจะให้ทานกัน ขณะที่ตั้งใจว่าพรุ่งนี้จะให้ทาน ก็ผิดกันแล้ว ใช่ไหม เรามีความตั้งใจ มีกุศลเจตนา พรุ่งนี้จะใส่บาตร ไม่ต้องมีความยากอะไรเลย พรุ่งนี้จะใส่บาตรเป็นความตั้งใจแล้ว ไม่ใช่ว่าอยากจะใส่บาตรซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไรจะใส่ เพียงแต่อยากอยู่นั่นแหละ ใช่ไหม บางคนบอกอยากจะใส่ๆ แต่ยังไม่มีเวลา แต่ก็อยากจะใส่ แต่คนที่พรุ่งนี้จะใส่ ไปจัดซื้อหามา ขณะนั้นเป็นกุศลจิต เพราะฉะนั้นอยากนิดเดียว เป็นความติดข้อง แล้วก็เป็นสภาพธรรมซึ่งนำมาซึ่งทุกข์ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ลักษณะของกุศลเป็นสภาพที่เบา ไม่มีทุกข์เลย เพราะฉะนั้น นี่เป็นลักษณะที่ต่างกันของโลภะซึ่งเป็นอกุศล กับสภาพที่เป็นกุศลจิต ใกล้ชิดกันมาก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอารมณ์ของโลภะได้ ขณะที่เรากำลังฟังธรรมและพิจารณาธรรม กำลังเป็นปัญญา ไม่ได้อยาก ขณะที่กำลังมีปัญญามีความเข้าใจ ไม่ได้อยากเลย แต่ว่าถ้าอยากจะมีปัญญา มาแล้ว ตัวอยาก ใช่ไหม แสดงให้เห็นว่า ทำไมไม่ฟังเลย ทำไมไม่พิจารณาเลย เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาเลย