แนวร่วม มธ.นัดคาร์ม็อบ 2 ส.ค. แยกอโศก แห่มาลัยวิวาห์ ยื่นรายชื่อ ปชช.คล้องใจ 8 พรรค
https://www.matichon.co.th/politics/news_4106296
แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯนัดคาร์ม็อบ 2 ส.ค. แยกอโศก แห่มาลัยวิวาห์ ยื่นรายชื่อประชาชนคล้องใจ 8 พรรค ไม่ข้ามขั้ว
แม้ว่า พรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ขณะนี้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลยังไม่เคาะกำหนดประชุม 8 พรรคร่วม เพื่อแจ้งความคืบหน้าการหารือกับ ส.ส. ส.ว.ให้ทราบ ทว่ากลุ่มนักกิจกรรมทางการเมืองได้จัดกิจกรรมคู่ขนานต่อเนื่อง เพื่อให้ 8 พรรคร่วมยังคงมัดกันแน่นเหมือนข้าวต้มมัด
ที่ผ่านมา
แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เชิญชวนประชาชนร่วมลงชื่อสนับสนุน 8 พรรคร่วมฝ่ายประชาธิปไตยจับมือกันอย่างมั่นคง จน ส.ว.หมดอำนาจเลือกนายกฯ กระทั่ง 2 สิงหาคมนี้ ได้เวลา “คาร์ม็อบ” ยื่นรายชื่อแก่ 8 พรรคการเมือง
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมนัดหมายทำกิจกรรม CAR MOB วันที่ 2 สิงหาคม เวลา 12.00 น. ที่แยกอโศกมนตรีระบุว่า
เตรียมพร้อม CAR MOB แห่มาลัยวิวาห์ ยื่นรายชื่อประชาชน คล้องใจ 8 พรรคการเมือง
รถพร้อม น้ำมันเครื่องพร้อม คนพร้อม ขันหมากพร้อม ขบวนยื่นรายชื่อประชาชนพร้อม สนับสนุน 8 พรรคร่วมจับมือแน่น สามัคคี ไม่แตกขั้ว-ข้ามขั้ว จน ส.ว.หมดวาระ
พบกัน แยกอโศกมนตรี
วันที่ 2 สิงหาคม 2566 เวลา 12.00 น.
https://www.facebook.com/ThammasatUFTD/posts/606231891694968?ref=embed_post
‘เพื่อไทย’ รับ หนักใจ สกรีนพรรคร่วมรัฐบาล ชี้ แต่ต้องแยกระหว่างเสียงโหวตกับร่วม รบ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4106200
‘เพื่อไทย’ รับ หนักใจ สกรีนพรรคร่วมรัฐบาล ชี้ แต่ต้องแยกระหว่างเสียงโหวตกับร่วม รบ.
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม นาย
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ว่า พรรค พท.จะส่งชื่อนาย
เศรษฐา ทวีสิน เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรค พท. ต่อที่ประชุมรัฐสภา เพื่อลงมติพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ แต่ดูแนวโน้มแล้ว ทิศทางเป็นบวกที่จะได้เสียงเกินครึ่ง และจะลงมติจบในวันเดียว ไม่ยืดเยื้ออีก เท่าที่ฟังเสียงจากภาคธุรกิจก็อยากให้มีรัฐบาลมาแก้ปัญหาประเทศโดยเร็วที่สุด จะให้รอไปโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีอีก 10 เดือน คงรอไม่ไหว
นาย
วิสุทธิ์กล่าวต่อว่า ส่วนเสียงโหวตจะได้เพิ่มจากฝ่ายใดบ้างในวันที่ 4 สิงหาคมนั้น ไม่สามารถตอบได้ เพราะตนไม่ได้อยู่ร่วมทีมเจรจา แต่เท่าที่ฟังจากผู้ใหญ่ในพรรคก็บอกว่า มีทิศทางไปในทางที่ดี ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนโหวตนายกรัฐมนตรีก็ต้องมาดูเรื่องการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจะต้องมาพิจารณาว่า พรรคที่จะมาร่วมรัฐบาลมีเคมีตรงกันหรือไปด้วยกันได้หรือไม่ หากเอาพรรคที่มีเคมีหรืออุดมการณ์ไม่ตรงกันมาร่วมงานก็คงจะถูกประชาชนด่า ปัจจัยเหล่านี้ต้องนำมาพิจารณาในการตั้งรัฐบาล
“
ทั้งนี้ ยอมรับว่า เราก็มีความหนักใจอยู่ และคงจำเป็นต้องแยกแยะกันระหว่างเสียงที่โหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีกับพรรคที่จะมาเป็นรัฐบาลร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ต้องให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่พิจารณาด้วยว่าจะทำงานร่วมกับฝ่ายใดบ้าง” นาย
วิสุทธิ์กล่าว
‘รังสิมันต์’ มั่นใจ 8 พรรคจับมือแน่น ไม่เกิดรบ.เสียงข้างน้อย ชี้ ‘ภท.’ แกนนำตั้งรบ.ยาก เว้นเหตุพิสดาร
https://www.matichon.co.th/politics/news_4106011
‘รังสิมันต์’ มั่นใจ 8 พรรคร่วม จับมือแน่น ไม่เกิด รบ.เสียงข้างน้อย ชี้ต้องดับความหวังฝ่ายตรงข้ามยุให้แตกคอ มอง ‘ภูมิใจไทย’ ขึ้นเป็นแกนนำตั้ง รบ.ยาก เว้นแต่เกิดเหตุพิสดาร
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมืองที่บีบเรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะ ส.ว.ที่ไม่เอาพรรค ก.ก. ท้ายที่สุดสูตรการเมืองของพรรครัฐบาลที่ไม่มีพรรค ก.ก. มีความเป็นไปได้หรือไม่ ว่า ตนคิดว่าสูตรนี้ไม่ได้อยู่ที่ ส.ว. ไม่ได้อยู่ที่พรรคขั้วรัฐบาลเดิม แต่อยู่ที่ 8 พรรคร่วมรัฐบาลที่จับมือด้วยกัน 312 เสียง ซึ่งตัวแปรสำคัญจะอยู่ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ด้วย เพราะพรรค พท.เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในตอนนี้ ซึ่งหากเราทั้ง 8 พรรคร่วม จับมือกันแน่น ตัวแปรไม่ได้อยู่ที่คนอื่น แต่อยู่ที่เราที่จะสามารถกำหนดเอง
นาย
รังสิมันต์กล่าวต่อว่า หากทั้ง 8 พรรคร่วม จับมือกันแน่น การจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะจะถูกสอยโดยกลไกสภาแน่นอน ซึ่งดำเนินต่อไม่ได้เพราะขัดต่อเจตจำนงของประชาชน ดังนั้น เหตุการณ์ในวันนี้จะไม่ยากถ้าหาก 8 พรรคร่วมมือกันอย่างหนักแน่น สิ่งที่เราต้องประกาศให้ชัด คือเราต้องไม่ให้ความหวังกับพรรคการเมืองอื่นที่อยู่นอกเหนือ 8 พรรค รวมถึง ส.ว. ถ้าฝ่ายตรงข้ามยังมีความหวังว่าสามารถทำให้ 8 พรรคร่วมแตกคอกันได้ เราก็จะไม่สามารถตั้งรัฐบาลที่เป็นไปตามเจตจำนงของประชาชนได้ง่าย
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกับกระแสข่าวลือว่าจะให้พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แล้วพรรค พท.รวมถึงพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จะไปร่วมรัฐบาล โดยไม่มีพรรค ก.ก. นาย
รังสิมันต์กล่าวว่า ภท.ไม่ได้อยู่ในกลุ่มพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงส่วนใหญ่ในสภา ในแง่ความชอบธรรม การที่ ภท.จะเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจะต้องเป็นภาคพิสดารจริงๆ ที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นได้ ซึ่งในระบบปกติ ภท.ไม่สามารถเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ รวมถึงการเข้ามาเป็น 1 ในพรรคร่วมยังยาก
“
อยู่ที่ว่า เราจะคุยการเมืองแบบปกติหรือไม่ ถ้าเราคุยการเมืองอย่างที่ควรจะเป็น ตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของประชาชน ภท.จะเข้ามาไม่ได้เลย แต่ถ้าเราคุยกันในแง่ความเชื่อว่ามีกระบวนการบางอย่างที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่อยู่เหนือสิ่งที่ผมจะคาดคะเนได้ เพราะไม่ได้เล่นไปตามกลไกปกติ” นาย
รังสิมันต์กล่าว
4 ปัจจัยลบที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย ปีนี้อาจโตไม่ถึงฝัน
https://www.prachachat.net/economy/news-1358863
ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 3% กว่า ๆ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่สูง แต่ก็เป็นอัตราที่มากกว่าปีที่แล้วที่เติบโต 2.6%
ตัวเลขจริงเมื่อสิ้นสุดปีจะโตได้ตามคาดหรือไม่ ? ตอนนี้ผ่านเดือนที่ 7 แล้ว เริ่มเห็นหลายสถาบันอัพเดตว่า “คง” และ “ปรับลด” ตัวเลขคาดการณ์
กระทรวงการคลังเองเพิ่งปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ลงเล็กน้อย จากก่อนหน้านี้คาดว่าจะโต 3.6% ลดลงเหลือโต 3.5% (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 ถึง 4.0) ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไทยได้แรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อลดลงก็ตาม
ด้วยหลายปัจจัยที่ยังต้องเฝ้าติดตาม ทำให้กระทรวงการคลังปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยลง ซึ่งเป็นปัจจัยเดียวกันที่สถาบันอื่น ๆ กำลังเฝ้าติดตามเช่นกัน ทั้งความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว สถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่ยังมีความไม่แน่นอน และสถานการณ์การเมืองไทยเอง
เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจจีนกระทบส่งออก
นับถึงเดือน มิ.ย. 2566 การส่งออกของไทยหดตัวติดต่อกันมา 9 เดือน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์บอกสาเหตุว่า เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังคงซบเซาจากแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้การผลิตและการบริโภคยังคงตึงตัว ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดจีนช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้ คู่ค้าส่วนใหญ่ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากผลกระทบของการหดตัวทางด้านอุปสงค์ ส่งผลให้คำสั่งซื้อและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง
ในช่วงครึ่งปีหลัง แนวโน้มการส่งออกยังจะไม่ดีขึ้นนัก เนื่องจากปัจจัยลบเหล่านี้ยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักตลาดเดียวที่ถูกประเมินว่ามีโอกาสที่การส่งออกของไทยจะโตในปีนี้ แต่ปรากฏว่าเศรษฐกิจจีนก็ไม่ดีอย่างที่คาด การนำเข้าและส่งออกของจีนก็หดตัวติดต่อกันหลายเดือน
มูลค่าการส่งออกในเดือน มิ.ย. 66 ของจีนลดลง 12.4% (YOY) เป็นการหดตัวรายเดือนที่มากที่สุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 ส่วนการนำเข้าลดลง 6.8% แนวโน้มการค้าของจีนครึ่งปีหลังยังคงเผชิญกับแรงกดดันค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาเงินเฟ้อสูงในประเทศที่พัฒนาแล้ว และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
เนื่องจากจีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย จีนทั้งนำเข้าสินค้าจากไทยเพื่อบริโภคภายในประเทศ และเพื่อเป็นวัสดุ-วัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าส่งออก ดังนั้น การนำเข้าและส่งออกของจีนจึงมีส่วนกำหนดอนาคตการส่งออกของไทยค่อนข้างมาก
กระทรวงการคลังของไทยคาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2566 ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐจะหดตัวที่ร้อยละ -0.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.3 ถึง -0.3) เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรป ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทย
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะยังคงถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ และยูโรโซนในเดือนกรกฎาคม และของจีนในเดือนมิถุนายนที่ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งนับเป็นความท้าทายสำคัญของการส่งออกไทย
อย่างไรก็ตาม ฝั่งกระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่ายังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ตลาดคาด
คนจีนไม่ออกเที่ยวนอก กระทบท่องเที่ยวไทย
เนื่องจากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ทำให้ชาวจีนระมัดระวังมากขึ้นที่จะใช้จ่ายเงินไปกับการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้า 5 ประเทศในอาเซียน ยังไม่มีประเทศไหนถึง 50% ของระดับก่อนโควิด-19
โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนสะสม 5 เดือนแรกแต่ละประเทศ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ อินโดนีเซีย 38.8%, ไทย 35.9%, เวียดนาม 34.3%, สิงคโปร์ 25.2% และฟิลิปปินส์ 13.8%
กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของจีนเผยว่า ไตรมาสแรกปีนี้ มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเพียง 1.6% เท่านั้นที่เดินทางแบบกรุ๊ปทัวร์ออกต่างประเทศ ซึ่งยังน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 มีสัดส่วน 30%
ส่วนแนวโน้มในครึ่งปีหลังก็น่าจะยังไม่ดีขึ้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลจากพนักงานบริษัททัวร์ในมณฑลกว่างโจว ที่เปิดเผยว่า การจองทัวร์ท่องเที่ยวของชาวจีนมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงฤดูร้อน (มิ.ย.-ก.ย.) ปีนี้ ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากช่วงครึ่งปีแรก
แม้แต่จุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด เช่น สิงคโปร์และมาเลเซียก็ยังมีดีมานด์คิดเป็นเพียง 30% ของระดับก่อนเกิดโควิด ขณะที่ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ มีดีมานด์อยู่ที่ 10% ของระดับก่อนโควิดเท่านั้น
ประเทศไทยตั้งเป้านักท่องเที่ยวจีนทั้งปี 5 ล้านคน แต่ตอนนี้ต้องลุ้นว่าจะถึงหรือไม่
ชูวิทย์ ศิริเวชกุล ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บอกว่า ความท้าทายของตลาดการท่องเที่ยวจีนในครึ่งปีหลัง คือ ประเด็นด้านเศรษฐกิจของจีนเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันเห็นจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางถึงล่างได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการทัวร์
JJNY : 5in1 นัดคาร์ม็อบ 2 ส.ค.│‘เพื่อไทย’รับหนักใจ│‘รังสิมันต์’มั่นใจ 8 พรรค│4 ปัจจัยลบ│โปแลนด์กังวลหนัก แวกเนอร์แทรกซึม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4106296
แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯนัดคาร์ม็อบ 2 ส.ค. แยกอโศก แห่มาลัยวิวาห์ ยื่นรายชื่อประชาชนคล้องใจ 8 พรรค ไม่ข้ามขั้ว
แม้ว่า พรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ขณะนี้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลยังไม่เคาะกำหนดประชุม 8 พรรคร่วม เพื่อแจ้งความคืบหน้าการหารือกับ ส.ส. ส.ว.ให้ทราบ ทว่ากลุ่มนักกิจกรรมทางการเมืองได้จัดกิจกรรมคู่ขนานต่อเนื่อง เพื่อให้ 8 พรรคร่วมยังคงมัดกันแน่นเหมือนข้าวต้มมัด
ที่ผ่านมา แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เชิญชวนประชาชนร่วมลงชื่อสนับสนุน 8 พรรคร่วมฝ่ายประชาธิปไตยจับมือกันอย่างมั่นคง จน ส.ว.หมดอำนาจเลือกนายกฯ กระทั่ง 2 สิงหาคมนี้ ได้เวลา “คาร์ม็อบ” ยื่นรายชื่อแก่ 8 พรรคการเมือง
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมนัดหมายทำกิจกรรม CAR MOB วันที่ 2 สิงหาคม เวลา 12.00 น. ที่แยกอโศกมนตรีระบุว่า
เตรียมพร้อม CAR MOB แห่มาลัยวิวาห์ ยื่นรายชื่อประชาชน คล้องใจ 8 พรรคการเมือง
รถพร้อม น้ำมันเครื่องพร้อม คนพร้อม ขันหมากพร้อม ขบวนยื่นรายชื่อประชาชนพร้อม สนับสนุน 8 พรรคร่วมจับมือแน่น สามัคคี ไม่แตกขั้ว-ข้ามขั้ว จน ส.ว.หมดวาระ
พบกัน แยกอโศกมนตรี
วันที่ 2 สิงหาคม 2566 เวลา 12.00 น.
https://www.facebook.com/ThammasatUFTD/posts/606231891694968?ref=embed_post
‘เพื่อไทย’ รับ หนักใจ สกรีนพรรคร่วมรัฐบาล ชี้ แต่ต้องแยกระหว่างเสียงโหวตกับร่วม รบ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4106200
‘เพื่อไทย’ รับ หนักใจ สกรีนพรรคร่วมรัฐบาล ชี้ แต่ต้องแยกระหว่างเสียงโหวตกับร่วม รบ.
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ว่า พรรค พท.จะส่งชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรค พท. ต่อที่ประชุมรัฐสภา เพื่อลงมติพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ แต่ดูแนวโน้มแล้ว ทิศทางเป็นบวกที่จะได้เสียงเกินครึ่ง และจะลงมติจบในวันเดียว ไม่ยืดเยื้ออีก เท่าที่ฟังเสียงจากภาคธุรกิจก็อยากให้มีรัฐบาลมาแก้ปัญหาประเทศโดยเร็วที่สุด จะให้รอไปโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีอีก 10 เดือน คงรอไม่ไหว
นายวิสุทธิ์กล่าวต่อว่า ส่วนเสียงโหวตจะได้เพิ่มจากฝ่ายใดบ้างในวันที่ 4 สิงหาคมนั้น ไม่สามารถตอบได้ เพราะตนไม่ได้อยู่ร่วมทีมเจรจา แต่เท่าที่ฟังจากผู้ใหญ่ในพรรคก็บอกว่า มีทิศทางไปในทางที่ดี ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนโหวตนายกรัฐมนตรีก็ต้องมาดูเรื่องการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจะต้องมาพิจารณาว่า พรรคที่จะมาร่วมรัฐบาลมีเคมีตรงกันหรือไปด้วยกันได้หรือไม่ หากเอาพรรคที่มีเคมีหรืออุดมการณ์ไม่ตรงกันมาร่วมงานก็คงจะถูกประชาชนด่า ปัจจัยเหล่านี้ต้องนำมาพิจารณาในการตั้งรัฐบาล
“ทั้งนี้ ยอมรับว่า เราก็มีความหนักใจอยู่ และคงจำเป็นต้องแยกแยะกันระหว่างเสียงที่โหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีกับพรรคที่จะมาเป็นรัฐบาลร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ต้องให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่พิจารณาด้วยว่าจะทำงานร่วมกับฝ่ายใดบ้าง” นายวิสุทธิ์กล่าว
‘รังสิมันต์’ มั่นใจ 8 พรรคจับมือแน่น ไม่เกิดรบ.เสียงข้างน้อย ชี้ ‘ภท.’ แกนนำตั้งรบ.ยาก เว้นเหตุพิสดาร
https://www.matichon.co.th/politics/news_4106011
‘รังสิมันต์’ มั่นใจ 8 พรรคร่วม จับมือแน่น ไม่เกิด รบ.เสียงข้างน้อย ชี้ต้องดับความหวังฝ่ายตรงข้ามยุให้แตกคอ มอง ‘ภูมิใจไทย’ ขึ้นเป็นแกนนำตั้ง รบ.ยาก เว้นแต่เกิดเหตุพิสดาร
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมืองที่บีบเรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะ ส.ว.ที่ไม่เอาพรรค ก.ก. ท้ายที่สุดสูตรการเมืองของพรรครัฐบาลที่ไม่มีพรรค ก.ก. มีความเป็นไปได้หรือไม่ ว่า ตนคิดว่าสูตรนี้ไม่ได้อยู่ที่ ส.ว. ไม่ได้อยู่ที่พรรคขั้วรัฐบาลเดิม แต่อยู่ที่ 8 พรรคร่วมรัฐบาลที่จับมือด้วยกัน 312 เสียง ซึ่งตัวแปรสำคัญจะอยู่ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ด้วย เพราะพรรค พท.เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในตอนนี้ ซึ่งหากเราทั้ง 8 พรรคร่วม จับมือกันแน่น ตัวแปรไม่ได้อยู่ที่คนอื่น แต่อยู่ที่เราที่จะสามารถกำหนดเอง
นายรังสิมันต์กล่าวต่อว่า หากทั้ง 8 พรรคร่วม จับมือกันแน่น การจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะจะถูกสอยโดยกลไกสภาแน่นอน ซึ่งดำเนินต่อไม่ได้เพราะขัดต่อเจตจำนงของประชาชน ดังนั้น เหตุการณ์ในวันนี้จะไม่ยากถ้าหาก 8 พรรคร่วมมือกันอย่างหนักแน่น สิ่งที่เราต้องประกาศให้ชัด คือเราต้องไม่ให้ความหวังกับพรรคการเมืองอื่นที่อยู่นอกเหนือ 8 พรรค รวมถึง ส.ว. ถ้าฝ่ายตรงข้ามยังมีความหวังว่าสามารถทำให้ 8 พรรคร่วมแตกคอกันได้ เราก็จะไม่สามารถตั้งรัฐบาลที่เป็นไปตามเจตจำนงของประชาชนได้ง่าย
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกับกระแสข่าวลือว่าจะให้พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แล้วพรรค พท.รวมถึงพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จะไปร่วมรัฐบาล โดยไม่มีพรรค ก.ก. นายรังสิมันต์กล่าวว่า ภท.ไม่ได้อยู่ในกลุ่มพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงส่วนใหญ่ในสภา ในแง่ความชอบธรรม การที่ ภท.จะเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจะต้องเป็นภาคพิสดารจริงๆ ที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นได้ ซึ่งในระบบปกติ ภท.ไม่สามารถเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ รวมถึงการเข้ามาเป็น 1 ในพรรคร่วมยังยาก
“อยู่ที่ว่า เราจะคุยการเมืองแบบปกติหรือไม่ ถ้าเราคุยการเมืองอย่างที่ควรจะเป็น ตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของประชาชน ภท.จะเข้ามาไม่ได้เลย แต่ถ้าเราคุยกันในแง่ความเชื่อว่ามีกระบวนการบางอย่างที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่อยู่เหนือสิ่งที่ผมจะคาดคะเนได้ เพราะไม่ได้เล่นไปตามกลไกปกติ” นายรังสิมันต์กล่าว
4 ปัจจัยลบที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย ปีนี้อาจโตไม่ถึงฝัน
https://www.prachachat.net/economy/news-1358863
ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 3% กว่า ๆ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่สูง แต่ก็เป็นอัตราที่มากกว่าปีที่แล้วที่เติบโต 2.6%
ตัวเลขจริงเมื่อสิ้นสุดปีจะโตได้ตามคาดหรือไม่ ? ตอนนี้ผ่านเดือนที่ 7 แล้ว เริ่มเห็นหลายสถาบันอัพเดตว่า “คง” และ “ปรับลด” ตัวเลขคาดการณ์
กระทรวงการคลังเองเพิ่งปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ลงเล็กน้อย จากก่อนหน้านี้คาดว่าจะโต 3.6% ลดลงเหลือโต 3.5% (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 ถึง 4.0) ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไทยได้แรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อลดลงก็ตาม
ด้วยหลายปัจจัยที่ยังต้องเฝ้าติดตาม ทำให้กระทรวงการคลังปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยลง ซึ่งเป็นปัจจัยเดียวกันที่สถาบันอื่น ๆ กำลังเฝ้าติดตามเช่นกัน ทั้งความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว สถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่ยังมีความไม่แน่นอน และสถานการณ์การเมืองไทยเอง
เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจจีนกระทบส่งออก
นับถึงเดือน มิ.ย. 2566 การส่งออกของไทยหดตัวติดต่อกันมา 9 เดือน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์บอกสาเหตุว่า เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังคงซบเซาจากแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้การผลิตและการบริโภคยังคงตึงตัว ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดจีนช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้ คู่ค้าส่วนใหญ่ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากผลกระทบของการหดตัวทางด้านอุปสงค์ ส่งผลให้คำสั่งซื้อและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง
ในช่วงครึ่งปีหลัง แนวโน้มการส่งออกยังจะไม่ดีขึ้นนัก เนื่องจากปัจจัยลบเหล่านี้ยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักตลาดเดียวที่ถูกประเมินว่ามีโอกาสที่การส่งออกของไทยจะโตในปีนี้ แต่ปรากฏว่าเศรษฐกิจจีนก็ไม่ดีอย่างที่คาด การนำเข้าและส่งออกของจีนก็หดตัวติดต่อกันหลายเดือน
มูลค่าการส่งออกในเดือน มิ.ย. 66 ของจีนลดลง 12.4% (YOY) เป็นการหดตัวรายเดือนที่มากที่สุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 ส่วนการนำเข้าลดลง 6.8% แนวโน้มการค้าของจีนครึ่งปีหลังยังคงเผชิญกับแรงกดดันค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาเงินเฟ้อสูงในประเทศที่พัฒนาแล้ว และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
เนื่องจากจีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย จีนทั้งนำเข้าสินค้าจากไทยเพื่อบริโภคภายในประเทศ และเพื่อเป็นวัสดุ-วัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าส่งออก ดังนั้น การนำเข้าและส่งออกของจีนจึงมีส่วนกำหนดอนาคตการส่งออกของไทยค่อนข้างมาก
กระทรวงการคลังของไทยคาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2566 ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐจะหดตัวที่ร้อยละ -0.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.3 ถึง -0.3) เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรป ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทย
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะยังคงถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ และยูโรโซนในเดือนกรกฎาคม และของจีนในเดือนมิถุนายนที่ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งนับเป็นความท้าทายสำคัญของการส่งออกไทย
อย่างไรก็ตาม ฝั่งกระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่ายังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ตลาดคาด
คนจีนไม่ออกเที่ยวนอก กระทบท่องเที่ยวไทย
เนื่องจากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ทำให้ชาวจีนระมัดระวังมากขึ้นที่จะใช้จ่ายเงินไปกับการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้า 5 ประเทศในอาเซียน ยังไม่มีประเทศไหนถึง 50% ของระดับก่อนโควิด-19
โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนสะสม 5 เดือนแรกแต่ละประเทศ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ อินโดนีเซีย 38.8%, ไทย 35.9%, เวียดนาม 34.3%, สิงคโปร์ 25.2% และฟิลิปปินส์ 13.8%
กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของจีนเผยว่า ไตรมาสแรกปีนี้ มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเพียง 1.6% เท่านั้นที่เดินทางแบบกรุ๊ปทัวร์ออกต่างประเทศ ซึ่งยังน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 มีสัดส่วน 30%
ส่วนแนวโน้มในครึ่งปีหลังก็น่าจะยังไม่ดีขึ้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลจากพนักงานบริษัททัวร์ในมณฑลกว่างโจว ที่เปิดเผยว่า การจองทัวร์ท่องเที่ยวของชาวจีนมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงฤดูร้อน (มิ.ย.-ก.ย.) ปีนี้ ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากช่วงครึ่งปีแรก
แม้แต่จุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด เช่น สิงคโปร์และมาเลเซียก็ยังมีดีมานด์คิดเป็นเพียง 30% ของระดับก่อนเกิดโควิด ขณะที่ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ มีดีมานด์อยู่ที่ 10% ของระดับก่อนโควิดเท่านั้น
ประเทศไทยตั้งเป้านักท่องเที่ยวจีนทั้งปี 5 ล้านคน แต่ตอนนี้ต้องลุ้นว่าจะถึงหรือไม่
ชูวิทย์ ศิริเวชกุล ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บอกว่า ความท้าทายของตลาดการท่องเที่ยวจีนในครึ่งปีหลัง คือ ประเด็นด้านเศรษฐกิจของจีนเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันเห็นจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางถึงล่างได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการทัวร์