เศรษฐกิจไทยซมไม่ฟื้น ยอดขายห้างภูมิภาคฟ้อง คนรายได้น้อย-กำลังซื้อต่ำทั่วแผ่นดิน
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1357216
แม้ว่าปัจจัยที่เคยทำร้ายเศรษฐกิจไทยก่อนหน้านี้ได้ผ่อนคลายบางเบาลงแล้ว ทั้งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่คลี่คลาย การท่องเที่ยวเริ่มฟื้น และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำมาก ๆ แล้ว แต่เศรษฐกิจไทยยังคงเหมือนซมพิษไข้
ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของคนไทยไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศยังมีเงินในมือน้อย ส่งผลให้กำลังซื้อต่ำ สะท้อนให้เห็นผ่านสถานการณ์ยอดขายของห้างภูมิภาค ทั้งห้างค้าปลีกและค้าส่ง ที่ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้สำรวจมา ซึ่งทุกเจ้าประสานเสียงบอกว่า ยอดขายช่วงไตรมาส 2 นี้นิ่งมาก ยอดขายไม่ดีอย่างที่คาดหวังไว้
ภาพรวมค้าปลีกครึ่งปีแรก ตลาดกลาง-ล่างยังแย่
นาย
ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่า การเติบโตของภาคค้าปลีกในขณะนี้ยังเป็นในลักษณะของการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากัน หรือ K-shaped recovery โดยกลุ่มตลาดระดับกลางไปถึงบนจะยังเติบโตได้ เนื่องจากเป็นกลุ่มไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ขณะที่กลุ่มระดับกลางลงล่างอาจจะยังมีปัญหาอยู่บ้าง จากค่าครองชีพหลาย ๆ อย่างที่เพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มที่ยังต้องการการอัดฉีดเงินเข้าช่วย
“
อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการค้าปลีกในต่างจังหวัดก็พบว่า ตัวเลขเดือนกรกฎาคมนี้เทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา แนวโน้มเริ่มดีขึ้นบ้าง”
แหล่งข่าวจากวงการเสื้อผ้าแฟชั่น-เครื่องสำอางรายหนึ่งกล่าวในเรื่องกำลังซื้อว่า จากสถานการณ์โควิดที่คลี่คลายลง ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ และการเปิดประเทศ ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมเริ่มกลับมาคึกคักและมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ ทำให้อารมณ์การจับจ่ายและตัวเลขยอดขายค่อย ๆ ฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.)
แต่หลังจากนั้นมา ในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมากลับพบว่า พฤติกรรมการจับจ่ายเริ่มชะลอตัวลง ทั้งนี้อาจจะเป็นผลมาจากค่าสาธารณูปโภคหลาย ๆ อย่างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ค่าไฟแพง ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบในเชิงจิตวิทยาที่ทำให้ผู้บริโภคเริ่มชะลอการจับจ่าย ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นผลกระทบในช่วงสั้น ๆ แต่ปัจจัยทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยเฉพาะการตั้งรัฐบาลที่ล่าช้าอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่ลดลง พฤติกรรมการจับจ่ายก็อาจจะชะลอตามลงไปด้วย
นาย
วีรธรรม เสถียรธรรมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเจ มอร์ จำกัด ซึ่งมีร้านค้าปลีกกว่า 1,000 สาขาใน 42 จังหวัดทั่วประเทศ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังนี้มีหลายปัจจัยที่จะทำให้กำลังซื้อลดลง ทั้งฤดูฝนที่เป็นโลว์ซีซั่นแล้ว ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญต่อภาคการเกษตรทำให้กำลังซื้อของเกษตรกรลดลง และสถานการณ์ทางการเมืองซึ่งทำให้ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน และการลงทุนของภาครัฐล่าช้า
“
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจจับจ่ายโดยให้น้ำหนักกับความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการค้าปลีกที่จะต้องรับมือ”
พัทยา เศรษฐกิจชะลอตัว การใช้จ่ายลด 40%
นาย
จักรรัตน์ เรืองรัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด จ.ชลบุรี ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และเจ้าของตลาดกลางรัตนากรค้าส่ง-ค้าปลีกกว่า 11 แห่งใน จ.ชลบุรี และระยอง กล่าวว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของพัทยาช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-เม.ย.) ถือว่าดี แต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 ยอดขายชะลอลงมาก เป็นช่วงโลว์ซีซั่น ไม่มีต่างชาติเข้ามา และคนไทยเป็นช่วงเปิดเทอม
ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2566 ถึงปัจจุบัน เริ่มมีต่างชาติเข้ามา แต่ส่วนใหญ่เป็นทัวร์เอเชีย มาเลเซีย เวียดนาม จีน ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก แต่ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อคนน้อย หากเทียบกับช่วงไฮซีซั่นที่นักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นชาติตะวันตก ยุโรป สแกนดิเนเวียน รัสเซีย มีกำลังซื้อต่อหัวสูง
“
ดังนั้น ช่วงนี้ถือว่าเศรษฐกิจของพัทยาชะลอลง เห็นได้ชัดเจนจากยอดขายในตลาดรัตนากร การใช้จ่ายต่อหัวลดลง สมมุติช่วง 4 เดือนแรกของปี การใช้จ่ายประมาณ 100 บาทต่อหัวต่อคน ตอนนี้เหลือจ่ายเพียงประมาณ 60 บาทต่อหัวต่อคน หายไป 40 บาท”
นาย
จักรรัตน์บอกอีกว่า หากพิจารณาการใช้จ่ายทั้งภาคตะวันออก แบ่งกำลังซื้อเป็น 2 ส่วน คือ ภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งภาคอุตสาหกรรมการส่งออกปีนี้ติดลบมาเป็นเดือนที่ 6 และทั้งปีอาจจะติดลบ หรือศูนย์ ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมลดการผลิตเหลือ 50% เพราะมีออร์เดอร์น้อย ทำให้แต่ละโรงงานลดการจ่ายค่าล่วงเวลา (OT) และเลิกจ้างคนงาน โดยเริ่มส่งผลกระทบหนักช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2566 ทำให้กำลังซื้อตามนิคมอุตสาหกรรมค่อนข้างเงียบ เชื่อว่าดร็อปลงไปไม่ต่ำกว่า 25-30% จากที่แย่อยู่แล้ว และหนักกว่าภาคการท่องเที่ยวมาก
K&K ภาคใต้ยอดขายลดลง
นาย
กวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ เคแอนด์เค จังหวัดสงขลา ผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ในภาคใต้ เปิดเผยว่า ยอดขายของบริษัท เคแอนด์เคฯ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมียอดขายเพียง 420 ล้านบาท จากปกติครึ่งปีมีรายได้ประมาณ 500 ล้านบาท
นาย
กวิศพงษ์แสดงความเห็นถึงผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองด้วยว่า การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าส่งผลกระทบต่อปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณปี 2567 ล่าช้า เพราะรัฐบาลรักษาการไม่สามารถอนุมัติเงินงบประมาณมาใช้ได้ รัฐบาลรักษาการจะจ่ายได้เฉพาะแผนงานที่ใช้งบประมาณต่อเนื่อง แต่ค่าใช้จ่ายตามแผนงานใหม่ ๆ ไม่สามารถอนุมัติการจ่ายได้ ทำให้เงินที่จะหมุนเวียนเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจในระบบหายไป ทำให้เสียโอกาสในการลงทุน
นอกจากนี้ ด้านภาคการเกษตรซึ่งโดยปกติเมื่อราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ รัฐบาลจะมีนโยบายมาช่วยพยุงราคา ตอนนี้ก็ไม่สามารถทำได้ ทำให้รายได้ของประชาชนหายไป ส่งผลให้กำลังซื้อในจังหวัดสงขลาชะลอตัวลงไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2566) หากเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตอนนี้กำลังซื้อลดลงไปประมาณ 15% แล้ว
ยงสงวน อุบลฯ ยอดขายไม่ดีขึ้นอย่างที่คาด
ด้านนาย
ประกอบ ไชยสงคราม ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง บริษัท ยงสงวนกรุ๊ป จำกัด จ.อุบลราชธานี ให้สัมภาษณ์ว่า กำลังซื้อของลูกค้าบริษัทยงสงวนในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยอดขายดีเพราะเป็นช่วงเปิดภาคเรียน และก่อนหน้านี้คาดว่ายอดขายจะดีขึ้นเป็นลำดับ
“
แต่มาถึงตอนนี้ยอดขายกลับทรงตัวและไม่ดีเลย สาเหตุมาจากปัญหาเดิม คือ รายได้ของผู้บริโภคไม่มาก ทำให้ไม่มีกำลังซื้อมากพอ ทั้งที่ปกติคนในภาคอีสานจำนวนมากที่ไปทำงานต่างถิ่น มักส่งเงินกลับมาให้คนที่บ้านใช้”
นาย
ประกอบบอกอีกว่า อีกเรื่องหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ประเด็นเรื่องการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องการเมือง ทำให้นักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นจนส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และช่วงนี้อยู่ในภาวะสุญญากาศ ทำให้กำลังซื้อหดตัวลงอย่างแน่นอน
“
ทุกวันนี้รายได้คนไม่ขยับขึ้นเลย แต่สินค้าทุกชนิดปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง เงิน 10,000 บาทที่เคยซื้อสินค้าได้เต็มจำนวน ปัจจุบันซื้อสินค้าได้ปริมาณเพียง 7,000 บาท ผมไม่รู้ว่าผู้บริโภคมีหนี้สินไฟแนนซ์เท่าไหร่ด้วย แต่ภาพที่เห็นตอนนี้เจ้าของกิจการก็ลำบาก โดยเฉพาะกิจการร้านอาหาร วัตถุดิบต่าง ๆ ซื้อเข้าครัว 2-3 วันขายไม่หมดต้องทิ้งและขาดทุน” นาย
ประกอบกล่าว
แม้ยอดขายจะอยู่ในภาวะทรงตัว แต่ยงสงวนยังมีโอกาสทางการค้าอยู่ เพราะสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นาน และเดือนสิงหาคมนี้จะเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยเปิดเทอม จึงยังมีความหวังว่ากำลังซื้อจะกลับมา พร้อมกับธุรกิจอื่น ๆ ที่มีลูกค้าเป็นนักศึกษา แต่ไม่แน่ใจว่าจะกระตุ้นการจับจ่ายได้มากน้อยเพียงใด
ค้าส่งเชียงรายได้รับผลกระทบมาก
ด้านนาง
อมร พุฒิพิริยะ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน) หรือ TNP จังหวัดเชียงราย ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ภาพรวมกำลังซื้อในภาคเหนือนั้น “
ไม่ดีเท่าไหร่” สังเกตได้ว่าสินค้าประเภทของใช้จำเป็นยอดขายยังทรงตัวอยู่ ส่วนของใช้ฟุ่มเฟือยผู้บริโภคซื้อปริมาณลดลง ยกตัวอย่าง เครื่องสำอาง จากที่ลูกค้าเคยซื้อแบบกระปุกก็เริ่มหันมาใช้แบบซองมากขึ้น
นาง
อมรเผยว่า ตอนนี้ยอดขายในส่วนธุรกิจค้าส่งได้รับผลกระทบมาก สวนทางกับกำลังซื้อในส่วนของธุรกิจค้าปลีก ซึ่งทาง “ธนพิริยะ” มีการค้าปลีกเป็นหลักกว่า 90% ซึ่งกำลังซื้อลูกค้าในกลุ่มตลาดแมสหรือสินค้าปลีกค่อนข้างดี ประกอบกับขยายสาขาเพิ่มจากปี 2565 รวมถึงเพิ่มการโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ตัวเลขการค้าจึงบวกขึ้น
“
เราฟื้นจากโควิด-19 มาแล้ว ถือว่าไม่ได้แย่ แต่ภาพรวมตอนนี้การค้าไม่ค่อยดี เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองแบบนี้ทำให้ทุกอย่างนิ่ง และอยู่ในช่วงโลว์ซีซั่น ซึ่งนักท่องเที่ยวลดน้อยลง เห็นความคึกคักอยู่เพียงจังหวัดเชียงใหม่ที่มีนักท่องเที่ยวจีนค่อนข้างเยอะ คาดหวังว่าช่วงไตรมาสที่ 4 ปลายปีสถานการณ์จะดีขึ้น จากภาวะทางการเมืองที่น่าจะดีขึ้น เพราะเศรษฐกิจยังไม่สามารถดีขึ้นด้วยตัวมันเอง ต้องอาศัยเงินกระตุ้นจากภาครัฐเข้ามาช่วย”
กนกกาญจน์ จ.กาญฯ ยอดขายลด 3 เดือนติด
นางสาว
ณัฐสินี กนกวรกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ ห้างกนกกาญจน์ จ.กาญจนบุรี ห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ย่านใจกลางเมืองกาญจนบุรี ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 48 ปี กล่าวว่า ยอดขายของห้างกนกกาญจน์มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วง 3 เดือนต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน-กรกฎาคม 2566 จากที่คาดการณ์ว่า สินค้าทุกแผนกควรมียอดขายเติบโตมากกว่า 10% ส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะเป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยน ใช้จ่ายอย่างประหยัด ระมัดระวังมากขึ้น
สินค้าหลายแผนกของห้างยอดขายเติบโตขึ้น หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยังมีสถานการณ์โควิด-19 แต่ปี 2566 สถานการณ์โควิดคลี่คลายไปแล้ว ทางห้างคาดการณ์ว่า ยอดขายสินค้าหลายแผนกน่าจะเติบโตขึ้นได้มากกว่า 10% แต่ปรากฏว่าไม่ได้เป็นไปตามคาดการณ์ เช่น แผนกซูเปอร์มาร์เก็ตเติบโตขึ้น 10% แผนกเสื้อผ้าเติบโต 2-3%
“
หากเทียบกับช่วงก่อนเลือกตั้งเงินสะพัดมาก แผนกซูเปอร์มาร์เก็ตขายดีมาก แต่หลังเลือกตั้งปรากฏว่าคนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลดลง ทำให้ยอดขายลดลง ส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะเป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าบางอย่างราคาเดิม แต่ขนาดของบรรจุภัณฑ์เล็กลง ซึ่งตอนนี้สินค้าหลายตัวยังมีการปรับราคาและปรับขนาดบรรจุภัณฑ์อยู่เรื่อย ๆ นอกจากนี้อีกปัจจัยอาจมาจากการเมืองขาดเสถียรภาพ”
บก.ลายจุด โต้ สว.เสรี บอก ก้าวไกล จัดม็อบ ถามที่ด่า ให้ตอบมาว่าไม่จริง ท้าดีเบตออกทีวี
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7788210
บก.ลายจุด โต้ สว.เสรี บอก ก้าวไกล จัดม็อบ ถามที่ด่า ให้ตอบมาว่าไม่จริง ถามเมื่อไหร่ รับปากดีเบต ออกทีวี จะได้ไม่ต้องจัดม็อบด่า
หลัง นาย
เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ให้สัมภาษณ์ ในรายการ คนดังนั่งเคลียร์ ตอนหนึ่ง ระบุว่า เป็นเวรกรรมของพรรคก้าวไกล เพราะวันหนึ่งสิ่งที่เขาด่า ส.ว. ว่า ส.ว.ไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ วันนี้กลับเป็นว่าต้องมาขอให้ ส.ว.ลงคะแนน อีกทั้งยังไปปลุกระดมม็อบ ให้เด็กมาแสดงพฤติกรรมสร้างความเดือดร้อน
JJNY : เศรษฐกิจไทยซมไม่ฟื้น│บก.ลายจุดโต้สว.เสรี ถามที่ด่า│ไทยสร้างไทยหนุนตั้งกมธ.วิสามัญ│โลกรุมประณามรัฐประหารไนเจอร์
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1357216
แม้ว่าปัจจัยที่เคยทำร้ายเศรษฐกิจไทยก่อนหน้านี้ได้ผ่อนคลายบางเบาลงแล้ว ทั้งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่คลี่คลาย การท่องเที่ยวเริ่มฟื้น และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำมาก ๆ แล้ว แต่เศรษฐกิจไทยยังคงเหมือนซมพิษไข้
ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของคนไทยไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศยังมีเงินในมือน้อย ส่งผลให้กำลังซื้อต่ำ สะท้อนให้เห็นผ่านสถานการณ์ยอดขายของห้างภูมิภาค ทั้งห้างค้าปลีกและค้าส่ง ที่ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้สำรวจมา ซึ่งทุกเจ้าประสานเสียงบอกว่า ยอดขายช่วงไตรมาส 2 นี้นิ่งมาก ยอดขายไม่ดีอย่างที่คาดหวังไว้
ภาพรวมค้าปลีกครึ่งปีแรก ตลาดกลาง-ล่างยังแย่
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่า การเติบโตของภาคค้าปลีกในขณะนี้ยังเป็นในลักษณะของการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากัน หรือ K-shaped recovery โดยกลุ่มตลาดระดับกลางไปถึงบนจะยังเติบโตได้ เนื่องจากเป็นกลุ่มไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ขณะที่กลุ่มระดับกลางลงล่างอาจจะยังมีปัญหาอยู่บ้าง จากค่าครองชีพหลาย ๆ อย่างที่เพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มที่ยังต้องการการอัดฉีดเงินเข้าช่วย
“อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการค้าปลีกในต่างจังหวัดก็พบว่า ตัวเลขเดือนกรกฎาคมนี้เทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา แนวโน้มเริ่มดีขึ้นบ้าง”
แหล่งข่าวจากวงการเสื้อผ้าแฟชั่น-เครื่องสำอางรายหนึ่งกล่าวในเรื่องกำลังซื้อว่า จากสถานการณ์โควิดที่คลี่คลายลง ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ และการเปิดประเทศ ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมเริ่มกลับมาคึกคักและมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ ทำให้อารมณ์การจับจ่ายและตัวเลขยอดขายค่อย ๆ ฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.)
แต่หลังจากนั้นมา ในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมากลับพบว่า พฤติกรรมการจับจ่ายเริ่มชะลอตัวลง ทั้งนี้อาจจะเป็นผลมาจากค่าสาธารณูปโภคหลาย ๆ อย่างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ค่าไฟแพง ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบในเชิงจิตวิทยาที่ทำให้ผู้บริโภคเริ่มชะลอการจับจ่าย ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นผลกระทบในช่วงสั้น ๆ แต่ปัจจัยทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยเฉพาะการตั้งรัฐบาลที่ล่าช้าอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่ลดลง พฤติกรรมการจับจ่ายก็อาจจะชะลอตามลงไปด้วย
นายวีรธรรม เสถียรธรรมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเจ มอร์ จำกัด ซึ่งมีร้านค้าปลีกกว่า 1,000 สาขาใน 42 จังหวัดทั่วประเทศ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังนี้มีหลายปัจจัยที่จะทำให้กำลังซื้อลดลง ทั้งฤดูฝนที่เป็นโลว์ซีซั่นแล้ว ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญต่อภาคการเกษตรทำให้กำลังซื้อของเกษตรกรลดลง และสถานการณ์ทางการเมืองซึ่งทำให้ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน และการลงทุนของภาครัฐล่าช้า
“ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจจับจ่ายโดยให้น้ำหนักกับความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการค้าปลีกที่จะต้องรับมือ”
พัทยา เศรษฐกิจชะลอตัว การใช้จ่ายลด 40%
นายจักรรัตน์ เรืองรัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด จ.ชลบุรี ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และเจ้าของตลาดกลางรัตนากรค้าส่ง-ค้าปลีกกว่า 11 แห่งใน จ.ชลบุรี และระยอง กล่าวว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของพัทยาช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-เม.ย.) ถือว่าดี แต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 ยอดขายชะลอลงมาก เป็นช่วงโลว์ซีซั่น ไม่มีต่างชาติเข้ามา และคนไทยเป็นช่วงเปิดเทอม
ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2566 ถึงปัจจุบัน เริ่มมีต่างชาติเข้ามา แต่ส่วนใหญ่เป็นทัวร์เอเชีย มาเลเซีย เวียดนาม จีน ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก แต่ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อคนน้อย หากเทียบกับช่วงไฮซีซั่นที่นักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นชาติตะวันตก ยุโรป สแกนดิเนเวียน รัสเซีย มีกำลังซื้อต่อหัวสูง
“ดังนั้น ช่วงนี้ถือว่าเศรษฐกิจของพัทยาชะลอลง เห็นได้ชัดเจนจากยอดขายในตลาดรัตนากร การใช้จ่ายต่อหัวลดลง สมมุติช่วง 4 เดือนแรกของปี การใช้จ่ายประมาณ 100 บาทต่อหัวต่อคน ตอนนี้เหลือจ่ายเพียงประมาณ 60 บาทต่อหัวต่อคน หายไป 40 บาท”
นายจักรรัตน์บอกอีกว่า หากพิจารณาการใช้จ่ายทั้งภาคตะวันออก แบ่งกำลังซื้อเป็น 2 ส่วน คือ ภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งภาคอุตสาหกรรมการส่งออกปีนี้ติดลบมาเป็นเดือนที่ 6 และทั้งปีอาจจะติดลบ หรือศูนย์ ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมลดการผลิตเหลือ 50% เพราะมีออร์เดอร์น้อย ทำให้แต่ละโรงงานลดการจ่ายค่าล่วงเวลา (OT) และเลิกจ้างคนงาน โดยเริ่มส่งผลกระทบหนักช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2566 ทำให้กำลังซื้อตามนิคมอุตสาหกรรมค่อนข้างเงียบ เชื่อว่าดร็อปลงไปไม่ต่ำกว่า 25-30% จากที่แย่อยู่แล้ว และหนักกว่าภาคการท่องเที่ยวมาก
K&K ภาคใต้ยอดขายลดลง
นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ เคแอนด์เค จังหวัดสงขลา ผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ในภาคใต้ เปิดเผยว่า ยอดขายของบริษัท เคแอนด์เคฯ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมียอดขายเพียง 420 ล้านบาท จากปกติครึ่งปีมีรายได้ประมาณ 500 ล้านบาท
นายกวิศพงษ์แสดงความเห็นถึงผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองด้วยว่า การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าส่งผลกระทบต่อปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณปี 2567 ล่าช้า เพราะรัฐบาลรักษาการไม่สามารถอนุมัติเงินงบประมาณมาใช้ได้ รัฐบาลรักษาการจะจ่ายได้เฉพาะแผนงานที่ใช้งบประมาณต่อเนื่อง แต่ค่าใช้จ่ายตามแผนงานใหม่ ๆ ไม่สามารถอนุมัติการจ่ายได้ ทำให้เงินที่จะหมุนเวียนเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจในระบบหายไป ทำให้เสียโอกาสในการลงทุน
นอกจากนี้ ด้านภาคการเกษตรซึ่งโดยปกติเมื่อราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ รัฐบาลจะมีนโยบายมาช่วยพยุงราคา ตอนนี้ก็ไม่สามารถทำได้ ทำให้รายได้ของประชาชนหายไป ส่งผลให้กำลังซื้อในจังหวัดสงขลาชะลอตัวลงไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2566) หากเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตอนนี้กำลังซื้อลดลงไปประมาณ 15% แล้ว
ยงสงวน อุบลฯ ยอดขายไม่ดีขึ้นอย่างที่คาด
ด้านนายประกอบ ไชยสงคราม ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง บริษัท ยงสงวนกรุ๊ป จำกัด จ.อุบลราชธานี ให้สัมภาษณ์ว่า กำลังซื้อของลูกค้าบริษัทยงสงวนในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยอดขายดีเพราะเป็นช่วงเปิดภาคเรียน และก่อนหน้านี้คาดว่ายอดขายจะดีขึ้นเป็นลำดับ
“แต่มาถึงตอนนี้ยอดขายกลับทรงตัวและไม่ดีเลย สาเหตุมาจากปัญหาเดิม คือ รายได้ของผู้บริโภคไม่มาก ทำให้ไม่มีกำลังซื้อมากพอ ทั้งที่ปกติคนในภาคอีสานจำนวนมากที่ไปทำงานต่างถิ่น มักส่งเงินกลับมาให้คนที่บ้านใช้”
นายประกอบบอกอีกว่า อีกเรื่องหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ประเด็นเรื่องการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องการเมือง ทำให้นักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นจนส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และช่วงนี้อยู่ในภาวะสุญญากาศ ทำให้กำลังซื้อหดตัวลงอย่างแน่นอน
“ทุกวันนี้รายได้คนไม่ขยับขึ้นเลย แต่สินค้าทุกชนิดปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง เงิน 10,000 บาทที่เคยซื้อสินค้าได้เต็มจำนวน ปัจจุบันซื้อสินค้าได้ปริมาณเพียง 7,000 บาท ผมไม่รู้ว่าผู้บริโภคมีหนี้สินไฟแนนซ์เท่าไหร่ด้วย แต่ภาพที่เห็นตอนนี้เจ้าของกิจการก็ลำบาก โดยเฉพาะกิจการร้านอาหาร วัตถุดิบต่าง ๆ ซื้อเข้าครัว 2-3 วันขายไม่หมดต้องทิ้งและขาดทุน” นายประกอบกล่าว
แม้ยอดขายจะอยู่ในภาวะทรงตัว แต่ยงสงวนยังมีโอกาสทางการค้าอยู่ เพราะสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นาน และเดือนสิงหาคมนี้จะเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยเปิดเทอม จึงยังมีความหวังว่ากำลังซื้อจะกลับมา พร้อมกับธุรกิจอื่น ๆ ที่มีลูกค้าเป็นนักศึกษา แต่ไม่แน่ใจว่าจะกระตุ้นการจับจ่ายได้มากน้อยเพียงใด
ค้าส่งเชียงรายได้รับผลกระทบมาก
ด้านนางอมร พุฒิพิริยะ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน) หรือ TNP จังหวัดเชียงราย ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ภาพรวมกำลังซื้อในภาคเหนือนั้น “ไม่ดีเท่าไหร่” สังเกตได้ว่าสินค้าประเภทของใช้จำเป็นยอดขายยังทรงตัวอยู่ ส่วนของใช้ฟุ่มเฟือยผู้บริโภคซื้อปริมาณลดลง ยกตัวอย่าง เครื่องสำอาง จากที่ลูกค้าเคยซื้อแบบกระปุกก็เริ่มหันมาใช้แบบซองมากขึ้น
นางอมรเผยว่า ตอนนี้ยอดขายในส่วนธุรกิจค้าส่งได้รับผลกระทบมาก สวนทางกับกำลังซื้อในส่วนของธุรกิจค้าปลีก ซึ่งทาง “ธนพิริยะ” มีการค้าปลีกเป็นหลักกว่า 90% ซึ่งกำลังซื้อลูกค้าในกลุ่มตลาดแมสหรือสินค้าปลีกค่อนข้างดี ประกอบกับขยายสาขาเพิ่มจากปี 2565 รวมถึงเพิ่มการโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ตัวเลขการค้าจึงบวกขึ้น
“เราฟื้นจากโควิด-19 มาแล้ว ถือว่าไม่ได้แย่ แต่ภาพรวมตอนนี้การค้าไม่ค่อยดี เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองแบบนี้ทำให้ทุกอย่างนิ่ง และอยู่ในช่วงโลว์ซีซั่น ซึ่งนักท่องเที่ยวลดน้อยลง เห็นความคึกคักอยู่เพียงจังหวัดเชียงใหม่ที่มีนักท่องเที่ยวจีนค่อนข้างเยอะ คาดหวังว่าช่วงไตรมาสที่ 4 ปลายปีสถานการณ์จะดีขึ้น จากภาวะทางการเมืองที่น่าจะดีขึ้น เพราะเศรษฐกิจยังไม่สามารถดีขึ้นด้วยตัวมันเอง ต้องอาศัยเงินกระตุ้นจากภาครัฐเข้ามาช่วย”
กนกกาญจน์ จ.กาญฯ ยอดขายลด 3 เดือนติด
นางสาวณัฐสินี กนกวรกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ ห้างกนกกาญจน์ จ.กาญจนบุรี ห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ย่านใจกลางเมืองกาญจนบุรี ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 48 ปี กล่าวว่า ยอดขายของห้างกนกกาญจน์มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วง 3 เดือนต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน-กรกฎาคม 2566 จากที่คาดการณ์ว่า สินค้าทุกแผนกควรมียอดขายเติบโตมากกว่า 10% ส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะเป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยน ใช้จ่ายอย่างประหยัด ระมัดระวังมากขึ้น
สินค้าหลายแผนกของห้างยอดขายเติบโตขึ้น หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยังมีสถานการณ์โควิด-19 แต่ปี 2566 สถานการณ์โควิดคลี่คลายไปแล้ว ทางห้างคาดการณ์ว่า ยอดขายสินค้าหลายแผนกน่าจะเติบโตขึ้นได้มากกว่า 10% แต่ปรากฏว่าไม่ได้เป็นไปตามคาดการณ์ เช่น แผนกซูเปอร์มาร์เก็ตเติบโตขึ้น 10% แผนกเสื้อผ้าเติบโต 2-3%
“หากเทียบกับช่วงก่อนเลือกตั้งเงินสะพัดมาก แผนกซูเปอร์มาร์เก็ตขายดีมาก แต่หลังเลือกตั้งปรากฏว่าคนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลดลง ทำให้ยอดขายลดลง ส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะเป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าบางอย่างราคาเดิม แต่ขนาดของบรรจุภัณฑ์เล็กลง ซึ่งตอนนี้สินค้าหลายตัวยังมีการปรับราคาและปรับขนาดบรรจุภัณฑ์อยู่เรื่อย ๆ นอกจากนี้อีกปัจจัยอาจมาจากการเมืองขาดเสถียรภาพ”
บก.ลายจุด โต้ สว.เสรี บอก ก้าวไกล จัดม็อบ ถามที่ด่า ให้ตอบมาว่าไม่จริง ท้าดีเบตออกทีวี
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7788210
บก.ลายจุด โต้ สว.เสรี บอก ก้าวไกล จัดม็อบ ถามที่ด่า ให้ตอบมาว่าไม่จริง ถามเมื่อไหร่ รับปากดีเบต ออกทีวี จะได้ไม่ต้องจัดม็อบด่า
หลัง นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ให้สัมภาษณ์ ในรายการ คนดังนั่งเคลียร์ ตอนหนึ่ง ระบุว่า เป็นเวรกรรมของพรรคก้าวไกล เพราะวันหนึ่งสิ่งที่เขาด่า ส.ว. ว่า ส.ว.ไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ วันนี้กลับเป็นว่าต้องมาขอให้ ส.ว.ลงคะแนน อีกทั้งยังไปปลุกระดมม็อบ ให้เด็กมาแสดงพฤติกรรมสร้างความเดือดร้อน