JJNY : หมอชลน่านโต้ ปรี๊ดแตก│“สมชัย”เห็นด้วย แถลงการณ์ 4 ข้อ│‘ทีทีบี’แนะตั้งศูนย์รวมหนี้│รัสเซียขู่ ตต. ปฏิเสธไม่เจรจา

หมอชลน่าน โต้ ปรี๊ดแตกกลางสภา ลุกโวยก้าวไกล ไม่เสนอชื่อ พิเชษฐ์ เปิดความจริง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7748820
 
 
หมอชลน่าน โต้ ปรี๊ดแตกกลางสภา ลุกขึ้นโวยก้าวไกล ไม่เสนอชื่อ พิเชษฐ์ ยันไม่ได้เอะอะโวยวายอะไร แค่เรื่องสื่อสารผิดพลาด พอได้รับคำชี้แจงแล้วก็จบ
 
หลังมีรายงานว่า นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย โมโหหนักกลางสภา ที่ นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ไม่ยอมเสนอชื่อ ‘นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน’ จากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 2 โดยโวยวายอยู่ที่พรรคของตัวเองก่อน จากนั้นเดินไปต่อว่า นายชัยธวัช ถึงโซนที่นั่งของพรรคก้าวไกล
 
โดย นพ.ชลน่าน เดินมาพูดกับ นายชัยธวัช ว่า “ทำไมไม่เป็นคนเสนอคนของเพื่อไทย เป็นอะไรเหรอเสนอไม่ได้ ไม่ให้เกียรติกันเลย
 
ทำให้ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ต้องเดินมาขอโทษ นายชัยธวัช พร้อมบอกว่าเกิดจากการเข้าใจผิด
ทั้งนี้ก่อนเข้าห้องประชุม มีการนัดหมายประชุมพรรค เพื่อนัดแนะในการโหวตเลือกประมุขฝ่ายนิติบัญญัติทั้ง 3 ตำแหน่ง โดยมีมติแล้วว่า หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะเสนอหัวหน้าพรรคประชาชาติเป็นประธานสภาฯ, เลขาธิการพรรคเพื่อไทยจะเสนอสมาชิกพรรคก้าวไกล เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 1 และเลขาธิการพรรคประชาชาติ จะเสนอสมาชิกพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 2
 
ล่าสุด วันที่ 5 ก.ค.2566 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ “กรรมกรข่าว คุยนอกจอ” 05/07/66 ผ่านยูทูบ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ตอนหนึ่งชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวว่า ไม่ได้ต่อว่าอะไร เพียงแค่สื่อสารผิดพลาด ที่พรรคก้าวไกลไม่เสนอ นายพิเชษฐ์ ยืนยันว่าไม่มีประเด็นอะไร ไม่อยากให้เรื่องเล็กน้อยเป็นประเด็น แล้วคนเอาไปขยายความ แค่ไปถามว่าเป็นยังไง เมื่อรู้ว่า มอบหมายให้พรรคประชาชาติก็จบไม่มีอะไร
 
ไม่ได้เอะอะโวยวายอะไร คนเขียนก็แล้วแต่คนตีความ ไม่อยากให้เป็นประเด็นอะไร ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง พอได้รับคำชี้แจงแล้วก็ไม่มีอะไร” นพ.ชลน่าน กล่าว
 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



“สมชัย” เห็นด้วย แถลงการณ์ 4 ข้อ ดัน “วันนอร์” นั่งประธานสภา ชี้ ทั้งก้าวไกล-เพื่อไทย ต้องทำให้สำเร็จ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4063739

“สมชัย” เห็นด้วย แถลงการณ์ 4 ข้อ ดัน “วันนอร์” นั่งประธานสภา ชี้ ทั้งก้าวไกล-เพื่อไทย ต้องช่วยผลักดันให้สำเร็จ
 
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับข้อเสนอ 4 ข้อในแถลงการณ์มีมติให้ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรค เป็นประธานสภา โดยมีใจความว่า
 
ข้อเสนอ 4 ข้อ ในแถลงการณ์มติให้ อ.วันนอร์ เป็นประธานสภา นั้นชอบด้วยเหตุผลและเปี่ยมด้วยความกล้าหาญแล้ว

1. ในยุคที่ผ่านมา และสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีการผู้แสดงออกทางการเมืองในการต่อต้านรัฐบาลที่ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมมากมาย หากเป็นคดีการเมือง ไม่ใช่คดีอาญา หรือเป็นคดีอาญาที่ไม่ร้ายแรงแต่สืบเนื่องจากคดีการเมือง การนิรโทษกรรม จะนำไปสู่การยุติสงครามสีและสร้างสังคมสมานฉันท์ขึ้นใหม่
 
2. กองทัพ เป็นแดนสนธยาและมีผลประโยชน์แอบแฝงมากมาย ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายที่รักษาอำนาจแก่กลุ่มพวก ปัญหาการจัดซื้ออาวุธ ปัญหาการใช้เงินทั้งในและนอกงบประมาณที่ขาดความโปร่งใส ไม่มีประสิทธิภาพ และเป็นช่องทางการทุจริตคอรัปชัน และ ยังแสดงบทบาทที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ที่ผ่านมากองทัพเป็นอาณาเขตที่ฝ่ายการเมืองไม่กล้าแตะต้อง การปฏิรูปกองทัพจึงเป็นความกล้าหาญที่จำเป็น

3. ประเด็นการประกาศกฎอัยการ ที่ผ่านมาเป็นอำนาจของ ผบ.เหล่าทัพ โดยในบางพื้นที่นำไปสู่การขยายสถานการณ์ปัญหาและเป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ในกรุงเทพมหานคร การประกาศกฎอัยการศึกนำไปสู่การรัฐประหาร เมื่อปี 2557 ดังนั้นการให้รัฐบาลพลเรือน เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจใช้กฎอัยการศึก จึงถูกต้องแล้ว
 
4. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เมื่อแรกก่อตั้งเป็นองค์กรชั่วคราว (Adhoc organization) เพื่อแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในประเทศ แต่เมื่อยิ่งอยู่ยิ่งมีอำนาจ มีงบประมาณลับมากมาย มีการยืมตัวบุคลากรแบบใช้เส้นสายแต่ไม่มีการทำงานจริง ได้อายุราชการสองเท่าและมีเบี้ยเลี้ยงพิเศษมากมาย เป็นอีกหนึ่งแดนสนธยาที่ต้องเข้าไปดู การปรับเปลี่ยนองค์กรดังกล่าว จึงสมควรดำเนินการ
 
เพื่อไทย ลงนาม กับก้าวไกลในแถลงการณ์แล้ว ควรช่วยกันผลักดันให้สำเร็จ เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid02AsSUj3Sg47orGjNFoWRdD1vJkwJe2EVcq4q5WurtS6ESCKrxvQdohqTboFGYn3Gbl
 


‘ทีทีบี’ แนะตั้งศูนย์รวมหนี้ แก้ ‘หนี้ครัวเรือน’ ชี้รัฐบาลใหม่-ทุกหน่วยงานต้องผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4063587

‘ทีทีบี’ แนะตั้งศูนย์รวมหนี้ แก้ ‘หนี้ครัวเรือน’ ชี้รัฐบาลใหม่-ทุกหน่วยงานต้องผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ
 
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม นายปิติ  ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวถึงปัญหาหนี้ครัวเรือน ว่า หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) เปิดเผยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ระดับ 90.6% หรือประมาณ 16 ล้านล้านบาท เนื่องจากได้ปรับสูตรนิยามการรวมหนี้ครัวเรือน โดยการเพิ่มกลุ่มหนี้อีก 4 กลุ่มเข้าสู่ระบบ อาทิ หนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้สหกรณ์ หนี้การเคหะแห่งชาติ และพิโกไฟแนนซ์ เข้าสู่ระบบหนี้ครัวเรือนไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ ธปท.นำชุดข้อมูลหนี้ที่มีอยู่จริงถูกนับเข้าสู่ระบบมากขึ้น เพราะการที่ทราบถึงต้นเหตุของหนี้จะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด อีกทั้งสถาบันการเงิน และไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) สามารถพิจารณาการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ได้มากขึ้นด้วยการพิจารณาตามความเสี่ยงของลูกหนี้ได้

หลังจากร่วมประชุมกับสมาคมธนาคารไทย และได้รับเป็นหัวหน้าทีมแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยได้เจรจากัน เนื่องจากจะเริ่มจากสิ่งแรก ซึ่งการรวมหนี้ทั้งหมดมารวมเป็นหนี้ครัวเรือน เพื่อดูว่าหนี้ทั้งหมดมีเท่าไหร่ และมาเก็บรายละเอียดว่าหนี้เป็นอย่างไร และจะมีการแก้ปัญหาหนี้ตามระบบที่ ธปท.ออกกฎเกณฑ์ตามมา”นายปิติ กล่าว 

แนะตั้งศูนย์รวมหนี้ใช้ ‘เครดิตสกอร์’ คำนวณความเสี่ยง

นายปิติ กล่าวว่า สำหรับปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงถึง 90.6% ทั้ง ธปท. สถาบันการเงิน และไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ยังเห็นไม่ชัดเจนว่าหนี้นั้นมีทั้งดีและไม่ดีอย่างไร และในส่วนของลูกหนี้มีภาระต้องชำระอย่างไร เช่น เป็นหนี้ดี หรือไม่ดี และมีหนี้อยู่กี่ก้อน เป็นต้น ดังนั้น การเริ่มต้นหนี้ครัวเรือนทั้งหมดที่ระดับดังกล่าวอาจมองว่าเป็นหนี้ที่ไม่ดี แต่ไม่ใช่ว่ามันไม่ดีไปทั้งหมด เนื่องจากจุดประสงค์การเป็นหนี้มีทั้งกู้เพื่อใช้ส่วนตัว และกูเพื่อประกอบธุรกิจ ซึ่งมันปนกันอยู่ จึงเริ่มต้นรวบทั้งหมด และเข้ามาจัดการด้วยกฎเกณฑ์ของ ธปท.
 
เบื้องต้น ธปท.จะนำกลไกล Risk-based pricing (RBP) เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ และช่วยให้ลูกหนี้จ่ายอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงและได้รับผลปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยหลักการสำคัญคือลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ควรได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลง และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสำหรับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง
 
อย่างไรก็ตาม การจะนำไปสู่กลไกดังกล่าวอาจต้องทำจุดเริ่มตั้งแต่เพิ่มข้อมูลของลูกหนี้ที่มีอยู่ในทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดให้รวมข้อมูลมาอยู่ในศูนย์เดียวกัน และใช้การคำนวณความเสี่ยงการปล่อยสินเชื่อลูกหนี้โดยใช้เครดิตสกอร์ริ่งเป็นตัวกำหนด ซึ่งสามารถทำได้ผ่าน บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) แต่ปัจจุบันมีแค่ข้อมูลลูกหนี้เสียเครดิต และกู้สินเชื่อไม่ผ่าน โดยที่ไม่มีข้อมูลตรงกลางของลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมการชำระคืนหนี้ที่ดี อีกทั้งไม่มีการให้คะแนนลูกหนี้ดี เพื่อนำข้อมูลไปขอสินเชื่อแก่สถาบันการเงินได้ ในขณะที่ในต่างประเทศหลายประเทศ หากไปถามคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) สามารถบอกคะแนนได้ทันที
 
ดังนั้น สิ่งที่ ธปท.ควรทำคือการเอากลุ่มสหกรณ์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ นอนแบงก์ หรือกลุ่มข้อมูลทั้งหมดส่งเข้าเครดิตบูโร แล้วคำนวณออกมาเป็นเครดิตลูกหนี้รายบุคคล ซึ่งวันนี้การให้สินเชื่อทำได้ยากในบางกลุ่ม เพราะสถาบันผู้ให้เงินกู้ต่างๆ มองไม่เห็นว่าภาระลูกหนี้เป็นอย่างไร จะมีเพียงเฉพาะที่กู้เงินสถาบันการเงิน ถึงจะรู้ข้อมูลการเงินได้ หากมีข้อมูลมากขึ้นจะเป็นเรื่องดีต่อการให้สินเชื่อ และการคิดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นธรรมที่สุด
 
กระดุมเม็ดแรกคือ individual credit score ต้องทำให้เกิดขึ้นในประเทศนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนถึงจะหาย” นายปิติ กล่าว
 
ขอการเมืองออกกม.เป็นวาระแห่งชาติ
 
นายปิติ กล่าวว่า การตั้งศูนย์รวมหนี้ สามารถทำได้โดยผ่าน บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ไม่จำเป็นต้องทำระบบใหม่ เพราะระบบเดิมมีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่สามารถบังคับให้นอนแบงก์ และอื่นๆ เข้ามาสู่ระบบได้ ก็ต้องถาม ธปท.ว่าจะร่วมมือกับรัฐบาลใหม่แก้ปัญหานี้อย่างไรเพื่อให้เกิดสิ่งนี้ อีกทั้ง ระบบนี้ต้องทำผ่านศูนย์เดียวเนื่องจากต้องคำนึงถึงมาตรเป็นกลางที่ออกโดยผู้กำกับดูแล และต้องใช้ข้อมูลในชุดเดียวกันเพื่อพิจารณา
 
นอกจากนี้ จะทำให้ระบบดีงามขึ้นไปอีก ควรนำข้อมูลบุคคลที่จ่ายค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ถ้ามีข้อมูลการชำระหนี้ดังกล่าวต่อเนื่องและตรงเวลา ก็จะมีคะแนนเครดิตดีและมีแต้มบุญ ถ้ายิ่งสามารถทำให้สกอร์ของคนดีขึ้น สังคมมันก็จะดีขึ้นได้ เพราะทุกคนรู้ถึงบทลงโทษ หากทำการผิดนัดชำระหนี้ต่างๆ กลับกัน มีพฤติกรรมจ่ายหนี้ตรงเวลาทุกอย่าง อีกทั้งหนี้ที่กู้มาเหมาะสมกับระดับรายได้ ลูกหนี้ที่ดีก็อยากเก็บคะแนนเครดิตนี้เอาไว้ เผื่อวันใดต้องการกู้สินเชื่อจะมีข้อมูลประกอบมากขึ้น
 
ซึ่งการที่จะนำพาระบบนี้ไปสู่ความสำเร็จได้จะทำได้เมื่อไหร่ก็ได้ หรือพรุ่งนี้ก็ได้ ถ้าเรามีมุมมองทางการเมือง (political views) เนื่องจากเครดิตบูโร มีระบบพร้อมอยู่แล้ว เรื่องข้อมูลการชำระเงินของประชาชน ปัจจุบันใช้จ่ายผ่านดิจิทัลเกือบทั้งหมด ทุกสิ่งอยากอยู่ตรงนั้นหมดแล้วก็ขอให้หยิบมาใส่ โดยการออกกฏหมายฉบับเดียว หนี้ครัวเรือนประเทศไทยจะเปลี่ยน และเรื่องนี้ควรจะเป็นวาระแห่งชาติ (national agenda)” นายปิติ กล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่