การนั่งสมาธิแบบนี้ถูกมั้ยคะ แล้วจะได้สมาธิหรือฌานมั้ย?

คือออกตัวก่อนเลยว่าเป็นคนไม่ค่อยมีประสบการณ์หรือพื้นฐานอะไรมากค่ะ แต่เราเคยไปค่ายปฏิบัติธรรมของเยาวชนมาบ้าง (ตอนนี้จขกท 19 ค่ะ) ตอนที่ไปเข้าค่าย เขาฝึกแบบที่ให้กำหนดรู้ทุกอย่างที่เข้ามากระทบค่ะ เช่น ถ้าหนาวก็กำหนดหนาวหนอ ถ้าจิตมันคิดก็คิดหนอ
แล้วทีนี้พอเอากลับมาทำที่บ้านต่อ เราก็ทำตามเลยค่ะ แต่ติดตรงที่ ที่ปฏิบัติธรรมเขาให้กำหนดดูลมหายใจเข้าออกตอนจิตสงบ ไม่มีอะไรมากระทบ แต่จขกทไม่สามารถทำได้ค่ะ เพราะชอบไปเพ่งหรือบังคับการหายใจของตัวเอง
ฉะนั้นตอนกลับมาทำสมาธิที่บ้าน จขกทเลยทำการจินตนาการภาพของท้องที่ยุบหรือพองอ่ะค่ะแล้วกำหนดดูตามให้ทันอาการที่ท้องเป็น

รู้สึกว่าช่วงนั้นที่นั่งแบบนี้ จิตมันไวต่อทุกๆอย่างมากค่ะ แล้วไม่ค่อยสะดุ้งกับเสียงหรือภาพเลย พอเห็นหรือคิดก็กำหนดตามได้ทันทีเลย

ตอนนี้จขกทอยากกลับมานั่งสมาธิแบบเดิมแล้วค่ะ ไม่ทราบว่าแบบที่เคยนั่ง จะสามารถทำให้เราเข้าถึงสมาธิหรือฌานมั้ยคะ ถ้าไม่ได้ ช่วยแนะนำแบบที่ทำแล้วได้ได้มั้ยคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

ปล. ไม่รู้ว่าติดแท๊กอะไรดีค่ะ 🙏🏻
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ขออนุโมทาครับ

ที่คุณฝึกสมาธิที่รับรู้ทุกอย่างที่เข้ามากระทบ เช่น เสียงหนอ ปวดหนอ คิดหนอ อันนี้เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ผลที่ได้ คือ สัมมาสมาธิ เป็นองค์ของมรรค ถามว่า เป็นฌานไหม? ก็เป็นฌาน เเต่ไม่ใช่ฌานชนิดที่เพ่งจนเเข็งทื่อเเบบนั้น คุณต้องเข้าใจว่า สมาธิที่เราฝึกๆกัน มันมีสองเเนวทาง

1.) ที่ปฏิบัติธรรมเขาให้กำหนดดูลมหายใจเข้าออกตอนจิตสงบ : นี่เรียกว่าการเจริญสมถกรรมฐาน หรือ อารัมณุปชนิชฌาน ผลที่ได้ คือ ความสงบ เเต่ไม่มีปัญญา ไม่มีญาณ เป็นสมษธิที่มีมาเเต่ก่อนพุทธศาสนา ประโยช์ของการทำความสงบ คือ ทำให้ข่มนิวรณ์ได้ ตามกำลังของฌาน ในเเต่ละขั้น เเต่ไม่ใช่จุดมุ่งหมายในพุทธศาสนา การทำความสงบ ได้สูงสุดเเค่อรูปฌาน 4 เท่านั้น
2.)การกำหนดทุกอย่างที่กระทบ เป็นสมาธิอีกประเภท จะเรียกวิปัสสนาสมาธิก็ได้ เเต่มันมีชื่อเรียกว่า "ลักขณูปนิชฌาน" สมาธิตัวนี้ทำมากๆเเล้วได้ผล คือ อริยมรรค อริยผล บรรลุเป็นพระอริยสาวกขั้นใดขั้นหนึ่ง ตามกำลังของอินทรีย์

ดังนั้นคุณทำลักขณูปนิชฌานให้มากๆ เป็นสิ่งที่ตรงเเละถูกต้องเเล้ว หาครูบาอาจารย์ที่ภาวนาในสายพอง-ยุบ โดยเฉพาะสายวัดมหาธาตุ ลองดูครับ ไปฝึกกับท่าน สอบอารมณ์ต่างๆ เเล้วความสงสัยจะหายไป


https://www.youtube.com/watch?v=POsJHXyOIt4
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่