ผมเห็น อาจารย์พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ท่านจั่วหัวในเฟส ว่า "คดีหุ้น itv จบแล้ว" ทำให้เกิดคำถามว่าท่านมีมุมมองเรื่องนี้อย่างไร
จริงๆ ค่อนข้างแปลกใจว่าเหตุใด อ.พิชาย ท่านถึงได้มั่นใจนั้นว่า กรณีคุณพิธาจะรอดแน่
แต่ก็ไม่ได้แปลกใจเพราะ อ.พิชาย ท่านอาจมองในแง่ของรัฐศาสตร์แต่ท่านอาจลืมไปว่า กรณีของคุณพิธา นั้นเป็นเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนแบบกติกา ที่แบบถ้าพบว่าฝืนก็ถูกจับฟาวล์
ดังนั้นผมเห็นว่าการพิเคราะห์เรื่องคุณสมบัติจึงต้องว่ากันตามกฎหมาย พ.ร.ป.ฯ ที่ปรากฏไว้อย่างตรงไปตรงมา
เห็นว่าน่าสนใจที่จะนำมาถกกันในสาระ จึงขออนุญาต ยกเหตุผลของท่าน และความเห็นที่ผมไม่เห็นด้วยมาตอบในนี้ (ยาวหน่อยครับ แต่อยากให้ลองคิดลองถกตามกันดู)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1 นายพิธา เป็นผู้จัดการมรดก หุ้น itv เป็นของกองมรดก ไม่ใช่ของนายพิธา แม้ว่านายพิธาเป็นหนึ่งในทายาท แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้แบ่งมรดกส่วนนี้ให้ใคร ก็หมายความว่ายังไม่มีทายาทคนใดเป็นเจ้าของหุ้นนี้ ดังนั้นที่ผ่านมาจะถือว่านายพิธาครอบครองหุ้นไม่ได้ (ปัจจุบันหุ้นส่วนนี้ได้โอนให้ทายาทคนอื่นไปแล้ว)
ความเห็นผมก็คือ หุ้น itv เป็นหุ้นที่คุณพิธาสวมหมวกสองใบในเวลาเดียวกัน คือหมวกแรกในฐานะผู้จัดการมรดก และอีกหมวกคือในฐานะทายาทมรดก ซึ่งกรณีนี้ต้องนำมาตรา ปพพ. มาตรา 1599
“เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท....” ดังนั้นจริงชัดเจนว่าคุณพิธาย่อมมีส่วนในทรัพย์มรดกนั้นนับแต่เจ้ามรดกตาย(ทันที)
ดังนั้น การตีความว่าคุณพิธาเป็นเพียงการถือครองแทนในฐานะผู้จัดการมรดก (ซึ่งเป็นการแต่งตั้งและทำหลังจากทรัพย์นั้นคุณพิธามีส่วนมาก่อนแล้ว) และคุณพิธามิได้มีการแจ้งสละสิทธิในส่วนมรดกของตน จึงทำให้ตนย่อมมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกนั้นโดยสมบูรณ์ อีกทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฎภายหลังว่าคุณพิธามีการโอนหุ้นของตนเองออกไปให้กับทายาทอื่นจึงเป็นการแย้งในข้อเท็จจริงที่ระบุว่าตนเองเป็นเพียงผู้จัดการมรดกจึงไม่น่าจะยกขึ้นมาต่อสู้ได้ และข้อสังเกตสำคัญที่ประกอบเอกสารที่ปรากฏในบัญชีผู้ถือหุ้นที่ระบุชื่อ คุณพิธา มิใช่ในฐานะผู้จัดการมรดก (ปรากฏตาม เวบไซด์ อิสราฯ) จึงยิ่งทำให้น้ำหนักการต่อสู้ในประเด็นนี้แทบไม่มี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้2 แม้อาจมีใครที่ ตีความว่านายพิธา ถือหุ้นสื่อ และส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็อาจยกคำร้องด้วยเหตุผลในข้อ 1
แต่ถ้ารับคำร้อง นายพิธาก็ยังคงมีโอกาสรอดสูง
เพราะบรรทัดฐานของคดีปกครองและคดีรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา มีความสอดคล้องกัน ดังนี้
“#การที่จะพิจารณาว่า บุคคลใดเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น #ในบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง หรือไม่ นั้น #จะต้องพิจารณาตรวจสอบตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏ ว่า บริษัทได้ประกอบกิจการจริงหรือไม่ #มิใช่พิจารณาเพียงวัตถุประสงค์ของบริษัท เท่านั้น”
ศาลรัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม 2563 ก็พิพากษากรณีถือหุ้นสื่อของน.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม. เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ ตามแนวนี้
และใน#คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 963/2565 (#ประชุมใหญ่) (ระบุชัดว่า
“การพิจารณาวัตถุประสงค์ของบริษัทตามที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแต่เพียงอย่างเดียว แล้วมีมติว่า #บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการโทรคมนาคม #กรณีจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
( เพจบรรทัดฐานคดีปกครองและคดีรัฐธรรมนูญ 7 มิถุนายน 2566)
ข้อนี้ผมเห็นว่า กรณีตัวอย่าง นำมาเทียบเคียงกรณีตรงๆ ยังไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงในคดีมีความแตกต่างกัน เช่นกรณีการยกข้อต่อสู้เรื่องการโอนหุ้นมรดกตาม ปพพ.แพ่ง ฯ เพื่อนำมาหักล้าง มาตรา 42(3) ตาม พ.ร.ป ว่าด้วยการเลือกตั้ง ที่ระบุคุณสมบัติไว้ชัดเจนแล้วว่า ห้ามถือหุ้น ซึ่งข้อสังเกตในมาตรานี้ ต่างหากที่ควรนำมาพิจารณาถึงเจตนารมณ์ตามกฎหมายประกอบฉบับนี้ (มิใช่เจตนารมณ์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ) ว่าเหตุใดจึงไม่กำหนดไว้ว่า การถือหุ้นแบบไหนอย่างไร หรือจำนวนเท่าไหร่จึงจะถือว่าต้องห้าม แต่กฎหมายกลับไม่ระบุ แต่เขียนชัดสั้น ๆ คือ
“ห้ามถือหุ้น”
เหตุผลในการที่กฎหมายห้ามมีหุ้น นั้น ไม่จำเป็นต้องพิเคราะห์ให้หลงประเด็นว่า จำนวนเท่าไหร่จึงจะเป็นข้อยกเว้น (มิฉะนั้นก็คงมีการระบุไว้กฏหมายแล้ว เช่น ห้ามมิให้ถือหุ้นสื่อ เว้นแต่หุ้นที่ถือนั้นมีจำนวนน้อยจนพิจารณาได้ว่าไม่สามารถครอบงำหรือชี้นำได้ฯลฯ)
ดังนั้นการไม่ระบุจำนวนหุ้นในมาตรานี้ จึงชัดทั้งในการถกชั้นกรรมาธิการ และผ่านสภาฯ จนตราออกมาเป็นกฎหมาย เพราะเห็นว่า แม้นจะมีหุ้นเพียง 0.000000001% นั่นไม่ใช้ประเด็น แต่ประเด็นคือ การครอบงำหรือชี้นำสื่อนั้น นักการเมืองสามารถย่อมใช้อิทธิพลอื่นใดได้อยู่แล้ว ดังนั้นการเขียนให้สั้นกระชับ และไ่ม่ให้ยกเรื่องนี้มาเป็นข้อต่อสู้จะสามารถบังคับใช้ในทางปฏิบัติได้ชัดเจนมากกว่า (อธิบายแบบชาวบ้านคือ ห้ามถือหุ้นก็ห้ามหมดเลย)
ส่วนประเด็นที่ว่า itv เป็นสื่อหรือไม่ นั้น ผมมองว่าศาลท่านอาจพิเคราะห์อย่างง่าย ๆ คือ เมื่อยังไม่ได้แจ้งจดยกเลิก และตลอดเวลากิจการนั้นมีการทำธุรกรรมที่ต้องบังคับตามกฎหมายมาตลอด อาทิการยื่นงบฯ การจัดประชุมผู้ถือหุ้น ฯลฯ จึงเป็นกิจกรรมที่ชัดเจนว่า itv ยังดำรงความเป็นสื่อตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ ส่วนจะออนแอร์หรือไม่นั้น หรือหยุดออนแอร์นานเพียงใดนั่นไม่ใช่ประเด็นจะต้องไปตีความให้มาตรานี้เสียงและอาจไปขัดค้อเจตนาเดิมในกฎหมายนี้(ที่ห้ามไม่ให้ถือเลย) เพราะหากศาลท่านตีความตามการนำสืบว่า ไม่ได้ประกอบกิจการในทางพฤตินัย แต่หากศาลท่านตัดสินแล้ว คุณพิธารอด ต่อมาเกิด itv ชนะคดีแล้วกลับมาออนแอร์ หรือเปลี่ยนจากออกแอร์มาเปลี่ยนเป็นเช่าช่องสถานีทำ หรือทำกิจการสื่อมวลชนอื่น ฯลฯ แล้วจะทำกันอย่างไร?
ท่านใดที่อ่านกฎหมายออก...วิเคราะห์ข้อเท็จจริงเป็น ก็น่าจะทราบดีครับ อย่าไปหลงประเด็นอื่น นั่นได้มีน้ำหนักหรือประเด็นที่ศาลจะใช้เป็นข้อพิจารณาหลัก
อย่าลืมว่า การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ท่านใช้วิธีการไต่สวน ดังนั้น การเรียกหาพยานหรือหลักฐานใด ๆ ไม่ได้ใช้การนำขึ้นสืบโดยผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องเท่านั้น แต่ท่านสามารถใช้อำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงของท่านเพิ่มได้ตลอดเวลาครับ.
คดีหุ้น itv จบแล้ว!!??
จริงๆ ค่อนข้างแปลกใจว่าเหตุใด อ.พิชาย ท่านถึงได้มั่นใจนั้นว่า กรณีคุณพิธาจะรอดแน่
แต่ก็ไม่ได้แปลกใจเพราะ อ.พิชาย ท่านอาจมองในแง่ของรัฐศาสตร์แต่ท่านอาจลืมไปว่า กรณีของคุณพิธา นั้นเป็นเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนแบบกติกา ที่แบบถ้าพบว่าฝืนก็ถูกจับฟาวล์
ดังนั้นผมเห็นว่าการพิเคราะห์เรื่องคุณสมบัติจึงต้องว่ากันตามกฎหมาย พ.ร.ป.ฯ ที่ปรากฏไว้อย่างตรงไปตรงมา
เห็นว่าน่าสนใจที่จะนำมาถกกันในสาระ จึงขออนุญาต ยกเหตุผลของท่าน และความเห็นที่ผมไม่เห็นด้วยมาตอบในนี้ (ยาวหน่อยครับ แต่อยากให้ลองคิดลองถกตามกันดู)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความเห็นผมก็คือ หุ้น itv เป็นหุ้นที่คุณพิธาสวมหมวกสองใบในเวลาเดียวกัน คือหมวกแรกในฐานะผู้จัดการมรดก และอีกหมวกคือในฐานะทายาทมรดก ซึ่งกรณีนี้ต้องนำมาตรา ปพพ. มาตรา 1599 “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท....” ดังนั้นจริงชัดเจนว่าคุณพิธาย่อมมีส่วนในทรัพย์มรดกนั้นนับแต่เจ้ามรดกตาย(ทันที)
ดังนั้น การตีความว่าคุณพิธาเป็นเพียงการถือครองแทนในฐานะผู้จัดการมรดก (ซึ่งเป็นการแต่งตั้งและทำหลังจากทรัพย์นั้นคุณพิธามีส่วนมาก่อนแล้ว) และคุณพิธามิได้มีการแจ้งสละสิทธิในส่วนมรดกของตน จึงทำให้ตนย่อมมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกนั้นโดยสมบูรณ์ อีกทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฎภายหลังว่าคุณพิธามีการโอนหุ้นของตนเองออกไปให้กับทายาทอื่นจึงเป็นการแย้งในข้อเท็จจริงที่ระบุว่าตนเองเป็นเพียงผู้จัดการมรดกจึงไม่น่าจะยกขึ้นมาต่อสู้ได้ และข้อสังเกตสำคัญที่ประกอบเอกสารที่ปรากฏในบัญชีผู้ถือหุ้นที่ระบุชื่อ คุณพิธา มิใช่ในฐานะผู้จัดการมรดก (ปรากฏตาม เวบไซด์ อิสราฯ) จึงยิ่งทำให้น้ำหนักการต่อสู้ในประเด็นนี้แทบไม่มี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อนี้ผมเห็นว่า กรณีตัวอย่าง นำมาเทียบเคียงกรณีตรงๆ ยังไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงในคดีมีความแตกต่างกัน เช่นกรณีการยกข้อต่อสู้เรื่องการโอนหุ้นมรดกตาม ปพพ.แพ่ง ฯ เพื่อนำมาหักล้าง มาตรา 42(3) ตาม พ.ร.ป ว่าด้วยการเลือกตั้ง ที่ระบุคุณสมบัติไว้ชัดเจนแล้วว่า ห้ามถือหุ้น ซึ่งข้อสังเกตในมาตรานี้ ต่างหากที่ควรนำมาพิจารณาถึงเจตนารมณ์ตามกฎหมายประกอบฉบับนี้ (มิใช่เจตนารมณ์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ) ว่าเหตุใดจึงไม่กำหนดไว้ว่า การถือหุ้นแบบไหนอย่างไร หรือจำนวนเท่าไหร่จึงจะถือว่าต้องห้าม แต่กฎหมายกลับไม่ระบุ แต่เขียนชัดสั้น ๆ คือ “ห้ามถือหุ้น”
เหตุผลในการที่กฎหมายห้ามมีหุ้น นั้น ไม่จำเป็นต้องพิเคราะห์ให้หลงประเด็นว่า จำนวนเท่าไหร่จึงจะเป็นข้อยกเว้น (มิฉะนั้นก็คงมีการระบุไว้กฏหมายแล้ว เช่น ห้ามมิให้ถือหุ้นสื่อ เว้นแต่หุ้นที่ถือนั้นมีจำนวนน้อยจนพิจารณาได้ว่าไม่สามารถครอบงำหรือชี้นำได้ฯลฯ)
ดังนั้นการไม่ระบุจำนวนหุ้นในมาตรานี้ จึงชัดทั้งในการถกชั้นกรรมาธิการ และผ่านสภาฯ จนตราออกมาเป็นกฎหมาย เพราะเห็นว่า แม้นจะมีหุ้นเพียง 0.000000001% นั่นไม่ใช้ประเด็น แต่ประเด็นคือ การครอบงำหรือชี้นำสื่อนั้น นักการเมืองสามารถย่อมใช้อิทธิพลอื่นใดได้อยู่แล้ว ดังนั้นการเขียนให้สั้นกระชับ และไ่ม่ให้ยกเรื่องนี้มาเป็นข้อต่อสู้จะสามารถบังคับใช้ในทางปฏิบัติได้ชัดเจนมากกว่า (อธิบายแบบชาวบ้านคือ ห้ามถือหุ้นก็ห้ามหมดเลย)
ส่วนประเด็นที่ว่า itv เป็นสื่อหรือไม่ นั้น ผมมองว่าศาลท่านอาจพิเคราะห์อย่างง่าย ๆ คือ เมื่อยังไม่ได้แจ้งจดยกเลิก และตลอดเวลากิจการนั้นมีการทำธุรกรรมที่ต้องบังคับตามกฎหมายมาตลอด อาทิการยื่นงบฯ การจัดประชุมผู้ถือหุ้น ฯลฯ จึงเป็นกิจกรรมที่ชัดเจนว่า itv ยังดำรงความเป็นสื่อตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ ส่วนจะออนแอร์หรือไม่นั้น หรือหยุดออนแอร์นานเพียงใดนั่นไม่ใช่ประเด็นจะต้องไปตีความให้มาตรานี้เสียงและอาจไปขัดค้อเจตนาเดิมในกฎหมายนี้(ที่ห้ามไม่ให้ถือเลย) เพราะหากศาลท่านตีความตามการนำสืบว่า ไม่ได้ประกอบกิจการในทางพฤตินัย แต่หากศาลท่านตัดสินแล้ว คุณพิธารอด ต่อมาเกิด itv ชนะคดีแล้วกลับมาออนแอร์ หรือเปลี่ยนจากออกแอร์มาเปลี่ยนเป็นเช่าช่องสถานีทำ หรือทำกิจการสื่อมวลชนอื่น ฯลฯ แล้วจะทำกันอย่างไร?
ท่านใดที่อ่านกฎหมายออก...วิเคราะห์ข้อเท็จจริงเป็น ก็น่าจะทราบดีครับ อย่าไปหลงประเด็นอื่น นั่นได้มีน้ำหนักหรือประเด็นที่ศาลจะใช้เป็นข้อพิจารณาหลัก