●● 11 เรื่องควรรู้... ก่อนที่จะฟังศาลวินิจฉัยคดียุบพรรคอนาคตใหม่รับเงินกู้ธนาธร ●●
ดร.เวทิน ชาติกุล ผอ.สถาบันทิศทางไทย เผยแพร่ความเห็นเรื่อง
"11 เรื่องควรรู้ ก่อนที่จะฟังศาลวินิจฉัยคดียุบพรรคอนาคตใหม่รับเงินกู้ธนาธร"
ผ่านเฟซบุ๊กเพจสถาบันทิศทางไทย-Thai Move Institute โดยมีรายละเอียดดังนี้...
1. ศาลรธน.จะวินิจฉัยตามคำร้องของ กกต.
ศาลไม่ได้ตัดสินตามใจศาล แต่ตัดสินตามคำร้องของผู้ร้องซึ่งในที่นี้คือ กกต. โดยพิจารณาตามข้อเท็จจริง
และข้อกฎหมาย
2. คำร้องของ กกต. ร้องว่าอะไร?
(11 ธ.ค. 62) กกต.มีมติพรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินจากธนาธร 191,200,000 บาท เป็นการกระทำอันเป็น
การฝ่าฝืนมาตรา 72แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
จึงมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณายุบพรรคอนาคตใหม่
ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง พ.ศ. 2560
3. คำร้องของ กกต. แปลว่า?
3.1 พรรคอนาคตใหม่ กู้ยืมเงินจาก ธนาธร 191 ล้าน
3.2 ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิด ม.72 (ตาม พรป.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560)
3.3 กกต.จึงยื่นคำร้องให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ ตาม มาตรา 92 วรรค 1 (3) และ มาตรา 93
4. มาตรา 72 เขียนไว้ว่าอย่างไร
มาตรา 72
ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย
5. มาตรา 72 แปลว่า
5.1 บอกว่า พรรคการเมือง ห้ามรับ สิ่งต่อไปนี้ (ไม่ได้บอกว่าใครจะให้กู้ได้หรือไม่ได้)
5.2 สิ่งที่ห้ามรับ ก็คือ
5.2.1 เงินบริจาค
5.2.2 ทรัพย์สิน
5.2.3 ประโยชน์อื่นใด
5.3 โดยรู้ หรือ ควรรู้ ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกม. หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย
6. ข้อเท็จจริงคือ
6.1 พรรคอนาคตใหม่รับเงิน ธนาธร มาแล้ว (โดยระบุว่าเป็นเงินกู้) ซึ่งข้อเท็จจริงนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้ว
ศาลจึงไม่สั่งให้มีการไต่สวนเพิ่มเติม จึงเหลือเพียงการพิจารณาว่ามีความผิดตามข้อกฎหมายหรือไม่?
7. ข้อกฎหมายที่ศาลน่าจะวินิจฉัยคือ
7.1 เงิน ธนาธร ที่พรรครับมา เข้าข่ายสิ่งที่ห้ามรับหรือไม่ ตาม ม.72?
7.1.1 เงินที่พรรครับมาอยู่ในประเภทหนึ่งของรายได้พรรคการเมืองที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่
7.1.2 ตามมาตรา 62 นั้น เงินที่รับมานี้ไม่อยู่ในประเภทหนึ่งของรายได้พรรคการเมืองที่กฎหมายกำหนด
(และตามกฎหมายมหาชน ต้องตีความตามตัวบท สิ่งที่ทำได้คือสิ่งที่กำหนดไว้ เท่านั้น)
7.1.3 เงินที่ไม่อยู่ในประเภทหนึ่งประเภทใดของรายได้พรรคตามกฎหมายที่พรรคอนาคตใหม่รับมานี้ถือว่า
"ไม่ชอบด้วยกฎหมาย" ตามมาตรา 72 หรือไม่?
7.2 เงินที่พรรครับมา รู้ หรือ ควรรู้ ว่า ได้มาโดยไม่ชอบด้วย กม. หรือ มีที่มาโดยผิดกม.หรือไม่?
7.2.1 มาตรา 66 วรรคสอง "พรรคการเมืองจะรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่า
เกินวรรคหนึ่งมิได้" = ห้ามพรรคการเมืองรับเงินจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเกิน 10 ล้านบาท/ปี
7.2.2 เงินที่พรรคอนาคตใหม่รับมาจากธนาธร 191 ล้าน เกิน 10 ล้านบาท/ปี
7.2.3 เงินที่รับมานี้จะถือว่า"ไม่ชอบด้วยกฎหมาย" ตาม มาตรา 72 หรือไม่?
(แม้จะอ้างว่าไม่ใช่เงินที่มีที่มาผิดกฎหมายก็ตาม)
8. ถ้าวินิจฉัยว่า ผิด จะวินิจฉัยต่อว่า มีโทษยุบพรรคตามมาตรา 92 วรรค1 (3) หรือไม่
9. ความเป็นไปได้ ก็คือ
9.1 วินิจฉัยว่า ไม่ผิด และ ไม่ยุบพรรค
9.2 วินิจฉัยว่า ผิด และ ยุบพรรค
9.3 วินิจฉัยว่า ผิด แต่ ไม่ยุบพรรค แต่อาจตัดสิทธิ์กก.บห.ของพรรค
10. เอกสารหลุด ความเห็นทางกม.อื่นๆ ศาลจะฟังหรือไม่ฟังก็ได้
เพราะอำนาจการวินิจฉัยข้อกม.ของศาลอยู่ที่ศาลอยู่แล้ว
11. ประเด็นของรูปคดีนี้ไม่ใช่ ธนาธร "ให้พรรคกู้เงินได้" หรือไม่ได้? ผิดหรือไม่ผิด?
(นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องไปว่ากันอีกคดี)
แต่คือ พรรคอนาคตใหม่หรือกรรมการบริหารพรรค "รับเงิน" ของธนาธร (ไม่ว่าจะเรียกว่าเงินอะไรก็ตาม)
เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จะมีความผิดหรือไม่? และมีความผิดขนาดไหน?
(หมายเหตุ)
คดีนี้ใช้เวลาสืบเนื่องมายาวนานร่วม 9 เดือน ตั้งแต่ ศรีสุวรรณ ไปยื่น 21 พ.ค.2562
กกต.มีมติ 11 ธ.ค. 2562 ยื่นศาล 13 ธ.ค. 2562 และศาลนัดอ่านคำวินิจฉัย 21 ก.พ.2563
ที่พรรคอนาคตใหม่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปิยบุตร แสงกนกกุล บอกว่า "มีธง"
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงทำไมต้องปล่อยให้การพิจารณากินเวลายาวนานถึง 9 เดือน
ซึ่ง กกต.ถูกวิจารณ์ว่าพยายามดึงเรื่องถ่วงเวลาให้ล่าช้าด้วยซ้ำ
จนมีนักกฎหมายหลายคนต้องออกมากระทุ้งผ่านโซเซียลมีเดีย เรื่องจึงเดินต่อได้
●● 11 เรื่องควรรู้... ก่อนที่จะฟังศาลวินิจฉัยคดียุบพรรคอนาคตใหม่รับเงินกู้ธนาธร ●●
ดร.เวทิน ชาติกุล ผอ.สถาบันทิศทางไทย เผยแพร่ความเห็นเรื่อง
"11 เรื่องควรรู้ ก่อนที่จะฟังศาลวินิจฉัยคดียุบพรรคอนาคตใหม่รับเงินกู้ธนาธร"
ผ่านเฟซบุ๊กเพจสถาบันทิศทางไทย-Thai Move Institute โดยมีรายละเอียดดังนี้...
1. ศาลรธน.จะวินิจฉัยตามคำร้องของ กกต.
ศาลไม่ได้ตัดสินตามใจศาล แต่ตัดสินตามคำร้องของผู้ร้องซึ่งในที่นี้คือ กกต. โดยพิจารณาตามข้อเท็จจริง
และข้อกฎหมาย
2. คำร้องของ กกต. ร้องว่าอะไร?
(11 ธ.ค. 62) กกต.มีมติพรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินจากธนาธร 191,200,000 บาท เป็นการกระทำอันเป็น
การฝ่าฝืนมาตรา 72แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
จึงมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณายุบพรรคอนาคตใหม่
ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง พ.ศ. 2560
3. คำร้องของ กกต. แปลว่า?
3.1 พรรคอนาคตใหม่ กู้ยืมเงินจาก ธนาธร 191 ล้าน
3.2 ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิด ม.72 (ตาม พรป.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560)
3.3 กกต.จึงยื่นคำร้องให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ ตาม มาตรา 92 วรรค 1 (3) และ มาตรา 93
4. มาตรา 72 เขียนไว้ว่าอย่างไร
มาตรา 72
ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย
5. มาตรา 72 แปลว่า
5.1 บอกว่า พรรคการเมือง ห้ามรับ สิ่งต่อไปนี้ (ไม่ได้บอกว่าใครจะให้กู้ได้หรือไม่ได้)
5.2 สิ่งที่ห้ามรับ ก็คือ
5.2.1 เงินบริจาค
5.2.2 ทรัพย์สิน
5.2.3 ประโยชน์อื่นใด
5.3 โดยรู้ หรือ ควรรู้ ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกม. หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย
6. ข้อเท็จจริงคือ
6.1 พรรคอนาคตใหม่รับเงิน ธนาธร มาแล้ว (โดยระบุว่าเป็นเงินกู้) ซึ่งข้อเท็จจริงนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้ว
ศาลจึงไม่สั่งให้มีการไต่สวนเพิ่มเติม จึงเหลือเพียงการพิจารณาว่ามีความผิดตามข้อกฎหมายหรือไม่?
7. ข้อกฎหมายที่ศาลน่าจะวินิจฉัยคือ
7.1 เงิน ธนาธร ที่พรรครับมา เข้าข่ายสิ่งที่ห้ามรับหรือไม่ ตาม ม.72?
7.1.1 เงินที่พรรครับมาอยู่ในประเภทหนึ่งของรายได้พรรคการเมืองที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่
7.1.2 ตามมาตรา 62 นั้น เงินที่รับมานี้ไม่อยู่ในประเภทหนึ่งของรายได้พรรคการเมืองที่กฎหมายกำหนด
(และตามกฎหมายมหาชน ต้องตีความตามตัวบท สิ่งที่ทำได้คือสิ่งที่กำหนดไว้ เท่านั้น)
7.1.3 เงินที่ไม่อยู่ในประเภทหนึ่งประเภทใดของรายได้พรรคตามกฎหมายที่พรรคอนาคตใหม่รับมานี้ถือว่า
"ไม่ชอบด้วยกฎหมาย" ตามมาตรา 72 หรือไม่?
7.2 เงินที่พรรครับมา รู้ หรือ ควรรู้ ว่า ได้มาโดยไม่ชอบด้วย กม. หรือ มีที่มาโดยผิดกม.หรือไม่?
7.2.1 มาตรา 66 วรรคสอง "พรรคการเมืองจะรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่า
เกินวรรคหนึ่งมิได้" = ห้ามพรรคการเมืองรับเงินจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเกิน 10 ล้านบาท/ปี
7.2.2 เงินที่พรรคอนาคตใหม่รับมาจากธนาธร 191 ล้าน เกิน 10 ล้านบาท/ปี
7.2.3 เงินที่รับมานี้จะถือว่า"ไม่ชอบด้วยกฎหมาย" ตาม มาตรา 72 หรือไม่?
(แม้จะอ้างว่าไม่ใช่เงินที่มีที่มาผิดกฎหมายก็ตาม)
8. ถ้าวินิจฉัยว่า ผิด จะวินิจฉัยต่อว่า มีโทษยุบพรรคตามมาตรา 92 วรรค1 (3) หรือไม่
9. ความเป็นไปได้ ก็คือ
9.1 วินิจฉัยว่า ไม่ผิด และ ไม่ยุบพรรค
9.2 วินิจฉัยว่า ผิด และ ยุบพรรค
9.3 วินิจฉัยว่า ผิด แต่ ไม่ยุบพรรค แต่อาจตัดสิทธิ์กก.บห.ของพรรค
10. เอกสารหลุด ความเห็นทางกม.อื่นๆ ศาลจะฟังหรือไม่ฟังก็ได้
เพราะอำนาจการวินิจฉัยข้อกม.ของศาลอยู่ที่ศาลอยู่แล้ว
11. ประเด็นของรูปคดีนี้ไม่ใช่ ธนาธร "ให้พรรคกู้เงินได้" หรือไม่ได้? ผิดหรือไม่ผิด?
(นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องไปว่ากันอีกคดี)
แต่คือ พรรคอนาคตใหม่หรือกรรมการบริหารพรรค "รับเงิน" ของธนาธร (ไม่ว่าจะเรียกว่าเงินอะไรก็ตาม)
เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จะมีความผิดหรือไม่? และมีความผิดขนาดไหน?
(หมายเหตุ)
คดีนี้ใช้เวลาสืบเนื่องมายาวนานร่วม 9 เดือน ตั้งแต่ ศรีสุวรรณ ไปยื่น 21 พ.ค.2562
กกต.มีมติ 11 ธ.ค. 2562 ยื่นศาล 13 ธ.ค. 2562 และศาลนัดอ่านคำวินิจฉัย 21 ก.พ.2563
ที่พรรคอนาคตใหม่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปิยบุตร แสงกนกกุล บอกว่า "มีธง"
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงทำไมต้องปล่อยให้การพิจารณากินเวลายาวนานถึง 9 เดือน
ซึ่ง กกต.ถูกวิจารณ์ว่าพยายามดึงเรื่องถ่วงเวลาให้ล่าช้าด้วยซ้ำ
จนมีนักกฎหมายหลายคนต้องออกมากระทุ้งผ่านโซเซียลมีเดีย เรื่องจึงเดินต่อได้