ปริญญา ชี้ต้องมีความยุติธรรม ถึงสร้างสันติภาพชายแดนใต้ได้ มองคดีตากใบ แค่เงินเยียวยาไม่พอ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9467638
“ปริญญา” ชี้ต้องมีความยุติธรรม ถึงสร้างสันติภาพชายแดนใต้ได้ มองคดีตากใบ แค่เงินเยียวยาไม่พอ จี้ รัฐบาลต้องทำเต็มที่ นำตัวผู้ต้องหากลับมาดำเนินคดี เผย กม.มีปัญหา แม้ศาลรับฟ้อง แต่คดีขาดอายุความได้ แนะแก้ไขในระยะยาว
20 ต.ค. 67 – ที่ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ที่คดีตากใบที่ใกล้หมดอายุความ จะส่งผลต่อสถานการณ์ชายแดนใต้หรือไม่ ว่า
ความยุติธรรมกับสันติภาพเป็นของคู่กัน ถ้าต้องการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้ อย่าไปใช้ความรุนแรง ให้ใช้กระบวนการยุติธรรม และหากคดีตากใบในวันที่ 25 ตุลาคม นี้ ไม่มีจำเลยมาขึ้นศาลแม้แต่คนเดียว จะมีคำถามใหญ่มากถึงความยุติธรรม และความเชื่อมั่น เมื่อคนไม่เชื่อมั่น อาจจะไปใช้ทางอื่น ซึ่งต้องรอดูว่า รัฐบาลที่เหลืออยู่จะทำอย่างไร
รศ.ดร.
ปริญญา กล่าวถึงการที่รัฐบาลปล่อยเกียร์ว่างต่อคดีดังกล่าว จะส่งผลต่อการเจรจาสันติชายแดนใต้ว่า รัฐบาลไม่ถึงขั้นเกียร์ว่าง น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ให้สัมภาษณ์ว่า เร่งรัดในกระบวนการต่างๆ แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่จับกุมผู้ต้องหา และจำเลยตามหมายจับ ทางคดีที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว นำคนซ้อนกัน 4-5 ชั้น จำนวน 1,300 คน กับรถ 25 คัน โดยใช้ระยะทางกว่า 150 กิโลเมตร และใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง โดยขณะนั้น เป็นช่วงเดือนรอมฎอน ที่พวกเขาอดอาหาร ทำให้ขาดอากาศหายใจ ลำพังเพียงเงินเยียวยาอย่างเดียว ไม่ได้สร้างความยุติธรรมได้ ซึ่งศาลจังหวัดนราธิวาส รับฟ้อง และมีคำสั่งว่า มีการกระทำที่ถือว่าเจตนา เล็งเห็นผล แม้ตอนแรกจะไม่ตั้งใจฆ่าให้ตาย แต่การขนคนลักษณะแบบนี้ ซึ่งทันทีที่รถไปถึงก็รู้ว่ามีคนตาย แต่ยังไม่สั่งหยุด
“
จับได้หรือไม่เรื่องหนึ่ง แต่คุณต้องเห็นว่า รัฐบาลทำเต็มที่แล้ว เมื่อพ้นวันที่ 25 ตุลาคมไป คนถึงจะไม่มีวิจารณ์“ รศ.ดร.ปริญญา
รศ.ดร.
ปริญญา กล่าวอีกว่า หลังคดีอายุความแล้ว ในแง่ตัวกฎหมายเรื่องอายุความ เรามีปัญหา แม้ศาลจะรับฟ้องแล้วที่จังหวัดนราธิวาส แต่คดีก็ขาดอายุความได้ ทั้งที่รับฟ้องแล้ว เพราะเงื่อนไขที่จะไม่ขาดอายุความ คือยื่นฟ้องต่อศาล และนำจำเลยมาขึ้นศาล
ซึ่งปกติในประเทศอื่น ถ้าศาลประทับรับฟ้อง อายุความต้องสะดุดหยุดลง หรือหยุดอยู่ ไม่นับเวลาต่อ หรือนับเวลาใหม่ แต่ในประเทศไทยอายุความยังนับต่อไป ประเทศไทยจึงหนีจนขาดอายุความ ดังนั้น ในระยะยาว มีแบบนี้หลายคดีทำเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น ต้องแก้ในระยะยาว
รศ.ดร.
ปริญญา กล่าวว่า หากวันที่ 25 ต.ค. ไม่มีตัวจำเลยมาขึ้นศาลเลย ต้องรอฟังศาลในวันที่ 28 ตุลาคม ศาลจะมีคำสั่ง และหลังจากนั้น ผลที่ตามมารัฐบาลจะต้องมีเท่าที่ออกมาว่าจะทำอย่างไรต่อจึงต้องไปถามรัฐบาล
รศ.ดร.
ปริญญา กล่าวถึง กรณีที่ นาย
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า อย่านำคดีตากใบมาโยงกับเรื่องการเมือง ว่า พล.อ.
พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตสส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลาออกจากพรรคเพื่อไทยไปแล้ว ประเด็นที่พูดอยู่ตอนนี้คือเรื่องของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บัญชาการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งหากทำในสิ่งที่คุณเห็นว่าทำเต็มที่แล้ว ต่อให้จับใครไม่ได้มาขึ้นศาล ต่อให้อายุความขาดไป คนก็จะไม่โทษรัฐบาล แต่ถ้าในทางกลับกัน คนรู้สึกไม่เต็มที่ หรือมองว่า มีการช่วยกันหรือไม่ รัฐบาลก็จะลำบาก และถ้าอายุความขาดไปรัฐบาลจะทำอย่างไรต่อ
‘ปริญญา’ จับตากกต. ใช้เกณฑ์ยุบ ‘เพื่อไทย’ มาตรฐานเดียวยุบ ‘พรรคก้าวไกล’ หรือไม่
https://www.dailynews.co.th/news/3993060/
’ปริญญา นักวิชาการ‘ ยัน รอ กกต. ไต่สวน ปม ’ทักษิณครอบงำเพื่อไทย' ย้ำ หากเป็นจริงพรรคเพื่อไทยต้องชี้แจงได้
เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2567 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นาย
แสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้พิจารณา 6 คำร้องที่มีผู้ร้องขอให้ กกต. พิจารณาสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากเหตุนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคซึ่งได้กระทำการครอบงำ ชี้นำ และ 6 พรรคการเมืองโดยยินยอมให้นายทักษิณ ครอบงำ ชี้นำ โดยเห็นว่าคำร้องมีมูล และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน ว่า ข้อเท็จจริงคือภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นาย
เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งวันนั้นนาย
ทักษิณ ได้เรียกพรรคร่วมรัฐบาลประชุมกันที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เข้าใจว่าเพื่อให้รวดเร็ว เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่านายกฯ คนต่อไปจะเป็นใคร แต่ปัญหาคือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (พ.ร.ป.) พ.ศ. 2560 ในมาตรา 28 ไม่เคยมีมาก่อน
นาย
ปริญญา กล่าวอีกว่า คำถามคือการที่นายทักษิณเรียกประชุมนั้น จะถือเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำหรือไม่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับคำร้องแล้ว ข้อต่อไปต้องดูว่า กกต. จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแบบเดียวกับตอนที่ยื่นพรรคก้าวไกล หรือจะใช้มาตรา 93 ที่ต้องมีการไต่สวนและเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยได้ชี้แจงก่อน ว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้ถูกครอบงำ ควบคุม หรือชี้นำอย่างไร
นาย
ปริญญา กล่าวต่อว่า คำว่าควบคุม ครอบงำ อาจจะพิสูจน์ง่าย แต่การชี้นำนั้น มันกว้างมาก อยู่ที่ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะเห็นว่ากรณีนาย
ทักษิณ ที่เชิญพรรคร่วมรัฐบาลและพรรครัฐบาลมาประชุมนั้น เข้าข่ายเป็นการชี้นำหรือไม่ หากเข้าข่ายการเมืองก็ต้องดูต่อไปว่าถึงขนาดที่ทำให้พรรคการเมือง สมาชิกพรรค กับสมาชิกพรรคขาดอิสระเลยหรือไม่ หากใช่ก็จะกลายเป็นปัญหา ต้องรอฟังกันต่อไปว่า กกต. รับคำร้องแล้ว จะมีคำสั่งให้พรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ มาชี้แจงเมื่อไหร่
เมื่อถามว่าในส่วนที่มีการยื่นคำร้องขอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้นาย
ทักษิณ ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 49 หากมีการพิจารณาก่อนจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักในคดีที่ กกต.หรือไม่นั้น รศ.ดร.
ปริญญา กล่าวว่า การใช้กฎหมายคนละช่องทาง เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ที่ระบุแค่ว่า ให้หยุดการกระทำ ไม่ได้ขอให้ไปยุบพรรค ซึ่งคำร้องมุ่งไปที่นายทักษิณ และพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ส่วนคำร้องที่ กกต. ไม่ได้ร้องนายทักษิณ เพราะไม่ใช่สมาชิกพรรค ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะดำเนินการต่ออย่างไร หากวินิจฉัยว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองจริง ทาง กกต. จะต้องคำร้องใหม่ในการยุบพรรค ไม่สามารถทราบได้ว่าคำร้องไหนจะพิจารณาตัดสินก่อนและหลัง
“
หากเป็นเรื่องของการถูกร้องในเรื่องการล้มล้างระบบการปกครอง ต้องรอฟังว่าศาลจะกำหนดขั้นตอนในการไต่สวนอย่างไร และในส่วนของ กกต. ในชั้นคำร้องยุบพรรค ให้เราฟังก่อนว่า กกต. จะยื่นตรงหรือไต่สวนก่อน ส่วนตัวเชื่อว่าต้องไต่สวนก่อน เพื่อให้มีข้อเท็จจริงมากกว่านี้” รศ.ดร.
ปริญญา กล่าว.
ธนาธร-คณิศร เดินสายพบชาวอุดรฯ เปิดนโยบาย 8 เสาหลักพัฒนา สู้ศึกเลือกตั้งนายก อบจ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4855830
ธนาธร-คณิศร เดินสายพบชาวอุดรฯ เปิดนโยบาย 8 เสาหลักพัฒนา สู้ศึกเลือกตั้งนายก อบจ.
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ จ.อุดรธานี นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงของ นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครนายก อบจ.อุดรธานี พรรคประชาชน หมายเลข 1 ร่วมเดินสายพบปะประชาชนหลากหลายกลุ่ม เพื่อรณรงค์การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี แทนตำแหน่งที่ว่างลงจากการลาออก ซึ่งการเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 นี้
โดยในช่วงเช้าได้ร่วมกันเดินพบปะประชาชนที่ตลาดสด อ.กุมภวาปี โดยมีประชาชนตลอดจนพ่อค้าแม่ขายต้อนรับอย่างอบอุ่น จากนั้นจึงร่วมเปิดเวทีปราศรัยที่ตลาดสดเทศบาล ต.แสงสว่าง อ.หนองแสง โดยมีประชาชนร่วมให้ความสนใจเข้ารับฟังการปราศรัยจนแน่นขนัดไปทั้งบริเวณที่มีการจัดงาน
ในช่วงหนึ่งของการปราศรัย นายคณิศรได้แสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายว่า ที่ผ่านมาความเจริญและการพัฒนาของอุดรธานีหยุดอยู่กับที่ วันนี้ตนจึงขอนำเสนอนโยบายเพื่อเป็นทางเลือกให้ชาวอุดรธานี ประกอบด้วย
1. การทำให้ อบจ.อุดรธานีบริหารงานแบบมีประสิทธิภาพและทันสมัย งบประมาณ อบจ. ต้องเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปีหนึ่ง อบจ.อุดรธานีมีงบประมาณสูงถึง 1,100-1,200 ล้านบาท อบจ.อุดรธานีภายใต้การบริหารของตนจะนำงบประมาณ อบจ. มาเปิดเผยผ่านระบบออนไลน์ ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ และนายก อบจ. ต้องมาตอบคำถามจากประชาชนเองในทุกข้อสงสัย
2. จัดทำขนส่งสาธารณะ ให้ประชาชนเดินทางสะดวก เส้นทางหลักจากใจกลางเมืองอุดรธานี เชื่อมโยงสนามบิน สถานีขนส่ง สู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของแต่ละอำเภอ ลูกหลานและนักท่องเที่ยวได้ใช้งาน ประชาชนขายของได้ ถึงจุดหมายตรงเวลา ตรวจสอบการเดินรถได้ผ่านแอพพลิเคชั่น
3. ดูแลเอาใจใส่ประชาชนอย่างใกล้ชิด ด้วยนโยบาย รพ.สต. ก้าวหน้า อยู่ไหนก็ใกล้หมอ ดูแลสุขภาพของชาวอุดรธานีให้มีความเท่าเทียมผ่าน รพ.สต. โดยจะเปิดรับโอน รพ.สต. ที่พร้อมและสมัครใจมาสังกัด อบจ.อุดรธานี ให้มี รพ.สต. ที่พร้อมครบวงจรอย่างน้อยอำเภอละ 2 แห่ง ผ่านการสนับสนุนงบประมาณเข้าไป เพราะ รพ.สต. ปัจจุบันมีศักยภาพแต่ก็มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ถ้าโอนมาสังกัด อบจ. สนับสนุนงบประมาณเข้าไป ปรับปรุงอาคารสถานที่ จัดให้มีแผนกและคลินิกต่างๆ รพ.สต. จะรองรับความต้องการที่หลากหลาย รวมทั้งสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงให้มีทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีได้
4. น้ำประปาใสสะอาดดื่มได้ ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ซึ่งทั้งพรรคประชาชนและคณะก้าวหน้า มีทั้งบุคลากร องค์ความรู้ในวิธีการทำน้ำประปา โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และประสบการณ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำน้ำประปาดื่มได้สำเร็จมาหลายแห่งแล้ว ซึ่งตนจะนำองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ปรับปรุงระบบน้ำประปาทั่วทั้งอุดรธานี
5. พัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนทำมาค้าขายได้ง่ายขึ้น ผ่านการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์และกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา มาดึงดูดนักท่องเที่ยวและกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย
6. สร้างความเข้งแข็งร่วมกันด้านการศึกษาที่เท่าเทียม โรงเรียนในสังกัด อบจ. จะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพมากขึ้น และยังจะเปิดให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมและสมัครใจ ดำเนินการโอนย้ายมาอยู่ในสังกัด อบจ. เพื่อสามารถรับการสนับสนุนเพิ่มเติมให้การศึกษาของลูกหลานได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
7. ร่วมคิดร่วมทำเพื่อนำความเจริญสู่ท้องถิ่น รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนชาวอุดรธานีอย่างต่อเนื่อง
8. ถนนปลอดหลุม ชุมชนปลอดภัย ไฟสว่างทุกจุดเสี่ยง ต้องทำทันทีในปีแรก ที่ผ่านมาตนไปไหนก็ได้รับการร้องเรียนว่า ถนนชำรุดทรุดโทรมเป็นหลุมเป็นบ่อ หากได้รับการเลือกตั้ง สัปดาห์แรกจะเชิญเจ้าหน้าที่การช่างที่ดูแลลถนนในสังกัด อบจ. กว่า 800 สายมาหารือในทันที แบ่งถนนเป็น 3 กลุ่มเหมือนคนไข้ ทั้งกลุ่ม ICU ที่ต้องซ่อมแซมโดยด่วน กลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่วิกฤติ และกลุ่มผู้ป่วยใน โดยในเดือนแรกจะสำรวจและรักษากลุ่มที่ต้องซ่อมแซมโดยด่วนทันที และลำดับถัดไปภายในปีแรก
JJNY : 5in1 ปริญญาชี้แค่เงินเยียวยาไม่พอ│‘ปริญญา’จับตากกต.│ธนาธร-คณิศรเดินสาย│ขอรัฐเร่งรับมือโรฮิงญา│วิกฤติน้ำจ่อคุกคาม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9467638
“ปริญญา” ชี้ต้องมีความยุติธรรม ถึงสร้างสันติภาพชายแดนใต้ได้ มองคดีตากใบ แค่เงินเยียวยาไม่พอ จี้ รัฐบาลต้องทำเต็มที่ นำตัวผู้ต้องหากลับมาดำเนินคดี เผย กม.มีปัญหา แม้ศาลรับฟ้อง แต่คดีขาดอายุความได้ แนะแก้ไขในระยะยาว
20 ต.ค. 67 – ที่ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ที่คดีตากใบที่ใกล้หมดอายุความ จะส่งผลต่อสถานการณ์ชายแดนใต้หรือไม่ ว่า
ความยุติธรรมกับสันติภาพเป็นของคู่กัน ถ้าต้องการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้ อย่าไปใช้ความรุนแรง ให้ใช้กระบวนการยุติธรรม และหากคดีตากใบในวันที่ 25 ตุลาคม นี้ ไม่มีจำเลยมาขึ้นศาลแม้แต่คนเดียว จะมีคำถามใหญ่มากถึงความยุติธรรม และความเชื่อมั่น เมื่อคนไม่เชื่อมั่น อาจจะไปใช้ทางอื่น ซึ่งต้องรอดูว่า รัฐบาลที่เหลืออยู่จะทำอย่างไร
รศ.ดร.ปริญญา กล่าวถึงการที่รัฐบาลปล่อยเกียร์ว่างต่อคดีดังกล่าว จะส่งผลต่อการเจรจาสันติชายแดนใต้ว่า รัฐบาลไม่ถึงขั้นเกียร์ว่าง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ให้สัมภาษณ์ว่า เร่งรัดในกระบวนการต่างๆ แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่จับกุมผู้ต้องหา และจำเลยตามหมายจับ ทางคดีที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว นำคนซ้อนกัน 4-5 ชั้น จำนวน 1,300 คน กับรถ 25 คัน โดยใช้ระยะทางกว่า 150 กิโลเมตร และใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง โดยขณะนั้น เป็นช่วงเดือนรอมฎอน ที่พวกเขาอดอาหาร ทำให้ขาดอากาศหายใจ ลำพังเพียงเงินเยียวยาอย่างเดียว ไม่ได้สร้างความยุติธรรมได้ ซึ่งศาลจังหวัดนราธิวาส รับฟ้อง และมีคำสั่งว่า มีการกระทำที่ถือว่าเจตนา เล็งเห็นผล แม้ตอนแรกจะไม่ตั้งใจฆ่าให้ตาย แต่การขนคนลักษณะแบบนี้ ซึ่งทันทีที่รถไปถึงก็รู้ว่ามีคนตาย แต่ยังไม่สั่งหยุด
“จับได้หรือไม่เรื่องหนึ่ง แต่คุณต้องเห็นว่า รัฐบาลทำเต็มที่แล้ว เมื่อพ้นวันที่ 25 ตุลาคมไป คนถึงจะไม่มีวิจารณ์“ รศ.ดร.ปริญญา
รศ.ดร.ปริญญา กล่าวอีกว่า หลังคดีอายุความแล้ว ในแง่ตัวกฎหมายเรื่องอายุความ เรามีปัญหา แม้ศาลจะรับฟ้องแล้วที่จังหวัดนราธิวาส แต่คดีก็ขาดอายุความได้ ทั้งที่รับฟ้องแล้ว เพราะเงื่อนไขที่จะไม่ขาดอายุความ คือยื่นฟ้องต่อศาล และนำจำเลยมาขึ้นศาล
ซึ่งปกติในประเทศอื่น ถ้าศาลประทับรับฟ้อง อายุความต้องสะดุดหยุดลง หรือหยุดอยู่ ไม่นับเวลาต่อ หรือนับเวลาใหม่ แต่ในประเทศไทยอายุความยังนับต่อไป ประเทศไทยจึงหนีจนขาดอายุความ ดังนั้น ในระยะยาว มีแบบนี้หลายคดีทำเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น ต้องแก้ในระยะยาว
รศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า หากวันที่ 25 ต.ค. ไม่มีตัวจำเลยมาขึ้นศาลเลย ต้องรอฟังศาลในวันที่ 28 ตุลาคม ศาลจะมีคำสั่ง และหลังจากนั้น ผลที่ตามมารัฐบาลจะต้องมีเท่าที่ออกมาว่าจะทำอย่างไรต่อจึงต้องไปถามรัฐบาล
รศ.ดร.ปริญญา กล่าวถึง กรณีที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า อย่านำคดีตากใบมาโยงกับเรื่องการเมือง ว่า พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตสส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลาออกจากพรรคเพื่อไทยไปแล้ว ประเด็นที่พูดอยู่ตอนนี้คือเรื่องของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บัญชาการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งหากทำในสิ่งที่คุณเห็นว่าทำเต็มที่แล้ว ต่อให้จับใครไม่ได้มาขึ้นศาล ต่อให้อายุความขาดไป คนก็จะไม่โทษรัฐบาล แต่ถ้าในทางกลับกัน คนรู้สึกไม่เต็มที่ หรือมองว่า มีการช่วยกันหรือไม่ รัฐบาลก็จะลำบาก และถ้าอายุความขาดไปรัฐบาลจะทำอย่างไรต่อ
‘ปริญญา’ จับตากกต. ใช้เกณฑ์ยุบ ‘เพื่อไทย’ มาตรฐานเดียวยุบ ‘พรรคก้าวไกล’ หรือไม่
https://www.dailynews.co.th/news/3993060/
’ปริญญา นักวิชาการ‘ ยัน รอ กกต. ไต่สวน ปม ’ทักษิณครอบงำเพื่อไทย' ย้ำ หากเป็นจริงพรรคเพื่อไทยต้องชี้แจงได้
เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2567 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้พิจารณา 6 คำร้องที่มีผู้ร้องขอให้ กกต. พิจารณาสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากเหตุนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคซึ่งได้กระทำการครอบงำ ชี้นำ และ 6 พรรคการเมืองโดยยินยอมให้นายทักษิณ ครอบงำ ชี้นำ โดยเห็นว่าคำร้องมีมูล และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน ว่า ข้อเท็จจริงคือภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งวันนั้นนายทักษิณ ได้เรียกพรรคร่วมรัฐบาลประชุมกันที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เข้าใจว่าเพื่อให้รวดเร็ว เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่านายกฯ คนต่อไปจะเป็นใคร แต่ปัญหาคือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (พ.ร.ป.) พ.ศ. 2560 ในมาตรา 28 ไม่เคยมีมาก่อน
นายปริญญา กล่าวอีกว่า คำถามคือการที่นายทักษิณเรียกประชุมนั้น จะถือเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำหรือไม่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับคำร้องแล้ว ข้อต่อไปต้องดูว่า กกต. จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแบบเดียวกับตอนที่ยื่นพรรคก้าวไกล หรือจะใช้มาตรา 93 ที่ต้องมีการไต่สวนและเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยได้ชี้แจงก่อน ว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้ถูกครอบงำ ควบคุม หรือชี้นำอย่างไร
นายปริญญา กล่าวต่อว่า คำว่าควบคุม ครอบงำ อาจจะพิสูจน์ง่าย แต่การชี้นำนั้น มันกว้างมาก อยู่ที่ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะเห็นว่ากรณีนายทักษิณ ที่เชิญพรรคร่วมรัฐบาลและพรรครัฐบาลมาประชุมนั้น เข้าข่ายเป็นการชี้นำหรือไม่ หากเข้าข่ายการเมืองก็ต้องดูต่อไปว่าถึงขนาดที่ทำให้พรรคการเมือง สมาชิกพรรค กับสมาชิกพรรคขาดอิสระเลยหรือไม่ หากใช่ก็จะกลายเป็นปัญหา ต้องรอฟังกันต่อไปว่า กกต. รับคำร้องแล้ว จะมีคำสั่งให้พรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ มาชี้แจงเมื่อไหร่
เมื่อถามว่าในส่วนที่มีการยื่นคำร้องขอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้นายทักษิณ ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 49 หากมีการพิจารณาก่อนจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักในคดีที่ กกต.หรือไม่นั้น รศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า การใช้กฎหมายคนละช่องทาง เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ที่ระบุแค่ว่า ให้หยุดการกระทำ ไม่ได้ขอให้ไปยุบพรรค ซึ่งคำร้องมุ่งไปที่นายทักษิณ และพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ส่วนคำร้องที่ กกต. ไม่ได้ร้องนายทักษิณ เพราะไม่ใช่สมาชิกพรรค ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะดำเนินการต่ออย่างไร หากวินิจฉัยว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองจริง ทาง กกต. จะต้องคำร้องใหม่ในการยุบพรรค ไม่สามารถทราบได้ว่าคำร้องไหนจะพิจารณาตัดสินก่อนและหลัง
“หากเป็นเรื่องของการถูกร้องในเรื่องการล้มล้างระบบการปกครอง ต้องรอฟังว่าศาลจะกำหนดขั้นตอนในการไต่สวนอย่างไร และในส่วนของ กกต. ในชั้นคำร้องยุบพรรค ให้เราฟังก่อนว่า กกต. จะยื่นตรงหรือไต่สวนก่อน ส่วนตัวเชื่อว่าต้องไต่สวนก่อน เพื่อให้มีข้อเท็จจริงมากกว่านี้” รศ.ดร.ปริญญา กล่าว.
ธนาธร-คณิศร เดินสายพบชาวอุดรฯ เปิดนโยบาย 8 เสาหลักพัฒนา สู้ศึกเลือกตั้งนายก อบจ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4855830
ธนาธร-คณิศร เดินสายพบชาวอุดรฯ เปิดนโยบาย 8 เสาหลักพัฒนา สู้ศึกเลือกตั้งนายก อบจ.
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ จ.อุดรธานี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงของ นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครนายก อบจ.อุดรธานี พรรคประชาชน หมายเลข 1 ร่วมเดินสายพบปะประชาชนหลากหลายกลุ่ม เพื่อรณรงค์การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี แทนตำแหน่งที่ว่างลงจากการลาออก ซึ่งการเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 นี้
โดยในช่วงเช้าได้ร่วมกันเดินพบปะประชาชนที่ตลาดสด อ.กุมภวาปี โดยมีประชาชนตลอดจนพ่อค้าแม่ขายต้อนรับอย่างอบอุ่น จากนั้นจึงร่วมเปิดเวทีปราศรัยที่ตลาดสดเทศบาล ต.แสงสว่าง อ.หนองแสง โดยมีประชาชนร่วมให้ความสนใจเข้ารับฟังการปราศรัยจนแน่นขนัดไปทั้งบริเวณที่มีการจัดงาน
ในช่วงหนึ่งของการปราศรัย นายคณิศรได้แสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายว่า ที่ผ่านมาความเจริญและการพัฒนาของอุดรธานีหยุดอยู่กับที่ วันนี้ตนจึงขอนำเสนอนโยบายเพื่อเป็นทางเลือกให้ชาวอุดรธานี ประกอบด้วย
1. การทำให้ อบจ.อุดรธานีบริหารงานแบบมีประสิทธิภาพและทันสมัย งบประมาณ อบจ. ต้องเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปีหนึ่ง อบจ.อุดรธานีมีงบประมาณสูงถึง 1,100-1,200 ล้านบาท อบจ.อุดรธานีภายใต้การบริหารของตนจะนำงบประมาณ อบจ. มาเปิดเผยผ่านระบบออนไลน์ ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ และนายก อบจ. ต้องมาตอบคำถามจากประชาชนเองในทุกข้อสงสัย
2. จัดทำขนส่งสาธารณะ ให้ประชาชนเดินทางสะดวก เส้นทางหลักจากใจกลางเมืองอุดรธานี เชื่อมโยงสนามบิน สถานีขนส่ง สู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของแต่ละอำเภอ ลูกหลานและนักท่องเที่ยวได้ใช้งาน ประชาชนขายของได้ ถึงจุดหมายตรงเวลา ตรวจสอบการเดินรถได้ผ่านแอพพลิเคชั่น
3. ดูแลเอาใจใส่ประชาชนอย่างใกล้ชิด ด้วยนโยบาย รพ.สต. ก้าวหน้า อยู่ไหนก็ใกล้หมอ ดูแลสุขภาพของชาวอุดรธานีให้มีความเท่าเทียมผ่าน รพ.สต. โดยจะเปิดรับโอน รพ.สต. ที่พร้อมและสมัครใจมาสังกัด อบจ.อุดรธานี ให้มี รพ.สต. ที่พร้อมครบวงจรอย่างน้อยอำเภอละ 2 แห่ง ผ่านการสนับสนุนงบประมาณเข้าไป เพราะ รพ.สต. ปัจจุบันมีศักยภาพแต่ก็มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ถ้าโอนมาสังกัด อบจ. สนับสนุนงบประมาณเข้าไป ปรับปรุงอาคารสถานที่ จัดให้มีแผนกและคลินิกต่างๆ รพ.สต. จะรองรับความต้องการที่หลากหลาย รวมทั้งสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงให้มีทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีได้
4. น้ำประปาใสสะอาดดื่มได้ ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ซึ่งทั้งพรรคประชาชนและคณะก้าวหน้า มีทั้งบุคลากร องค์ความรู้ในวิธีการทำน้ำประปา โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และประสบการณ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำน้ำประปาดื่มได้สำเร็จมาหลายแห่งแล้ว ซึ่งตนจะนำองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ปรับปรุงระบบน้ำประปาทั่วทั้งอุดรธานี
5. พัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนทำมาค้าขายได้ง่ายขึ้น ผ่านการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์และกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา มาดึงดูดนักท่องเที่ยวและกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย
6. สร้างความเข้งแข็งร่วมกันด้านการศึกษาที่เท่าเทียม โรงเรียนในสังกัด อบจ. จะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพมากขึ้น และยังจะเปิดให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมและสมัครใจ ดำเนินการโอนย้ายมาอยู่ในสังกัด อบจ. เพื่อสามารถรับการสนับสนุนเพิ่มเติมให้การศึกษาของลูกหลานได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
7. ร่วมคิดร่วมทำเพื่อนำความเจริญสู่ท้องถิ่น รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนชาวอุดรธานีอย่างต่อเนื่อง
8. ถนนปลอดหลุม ชุมชนปลอดภัย ไฟสว่างทุกจุดเสี่ยง ต้องทำทันทีในปีแรก ที่ผ่านมาตนไปไหนก็ได้รับการร้องเรียนว่า ถนนชำรุดทรุดโทรมเป็นหลุมเป็นบ่อ หากได้รับการเลือกตั้ง สัปดาห์แรกจะเชิญเจ้าหน้าที่การช่างที่ดูแลลถนนในสังกัด อบจ. กว่า 800 สายมาหารือในทันที แบ่งถนนเป็น 3 กลุ่มเหมือนคนไข้ ทั้งกลุ่ม ICU ที่ต้องซ่อมแซมโดยด่วน กลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่วิกฤติ และกลุ่มผู้ป่วยใน โดยในเดือนแรกจะสำรวจและรักษากลุ่มที่ต้องซ่อมแซมโดยด่วนทันที และลำดับถัดไปภายในปีแรก