แคนดิเดตนายกเพื่อไทยถือหุ้นบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด มูลค่าหลายพันล้านบาท?

ย้อนรอย
สนามกอล์ฟที่ธรณีสงฆ์ ?

นายทักษิณตกเป็นข่าวอื้อฉาวเนื่องจากพบว่าคนใช้ยามคนรถเข้าไปถือหุ้นในบริษัท

ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลชินวัตรจํานวนหลายร้อยล้านบาทหลายบริษัท

รวมถึงสนามกอล์ฟอัลไพน์ที่บริษัทเอสซีแอสเสทจํากัดของครอบครัวชินวัตรซื้อมาจากนายเสนาะเทียนทองในราคาราว1,500,000,000 บาท 

โดยเมื่อครั้งที่นายเสนาะดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบมีคําสั่งไม่อนุญาตให้วัดธรรมิการามวรวิหารได้มาซึ่งที่ดินตามพินัยกรรมของนางเนื่อมโฉนดที่ดินเลขที่20 และเลขที่1446 อําเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี

และได้มีการนําที่ดินไปขายให้กับ

บริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตทจํากัด
และบริษัทอัลไพน์กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับจํากัด

ที่มีนายเสนาะและนายวิทยาเทียนทองเป็นหุ้นส่วน

ในครั้งนั้นผู้ฟ้องคดีในฐานะอธิบดีกรมที่ดินได้ตรวจสอบและมีหนังสือกรมที่ดินที่มท0701.3/38734 ลงวันที่12 ธันวาคม2543 

ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย(นายชนะศักดิ์ยุวบูรณ์) 

สรุปว่าการรับโอนที่ดินของบริษัทอัลไพน์กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับจํากัดได้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและเป็นการดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว

ในขณะเดียวกันกรมการศาสนาได้มีหนังสือลับด่วนที่สุดที่ศธ0301/178 ลงวันที่25 ธันวาคม2543 ถึงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

ขอหารือประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการยกที่ดินมรดกตามพินัยกรรมให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา(ที่ประชุมใหญ่) มีความเห็นตามบันทึกเรื่องเสร็จที่73/2544 

ว่านางเนื่อมได้ทําพินัยกรรมโดยระบุว่าต้องการยกกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเนื้อที่รวมกันประมาณ924 ไร่ให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหาร

ต่อมานางเนื่อมได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่22 พฤษภาคม2515 

วัดธรรมิการามวรวิหารจึงได้ครอบครองหาประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวตลอดมา

โดยการให้เช่าทํานาจนกระทั่งได้โอนให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในฐานะผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่21 สิงหาคม2533

กรณีนี้จึงพิจารณาได้ว่าที่ดินมรดกตามพินัยกรรมของนางเนื่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดธรรมิการามวรวิหาร

ซึ่งเป็นทายาทตามพินัยกรรมนับตั้งแต่นางเนื่อมถึงแก่กรรม โดยไม่จําต้องทําการรับมรดกหรือเข้าครอบครองที่พิพาท

ทั้งนี้ตามมาตรา1599 ประกอบกับมาตรา1603 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อนึ่งตามมาตรา1599 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นทายาทอาจเสียสิทธิในมรดกได้โดยประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นซึ่งการเสียสิทธิในมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประการหนึ่งคือการทําหนังสือเจตนาสละมรดกตามมาตรา1612

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านับตั้งแต่นางเนื่อมถึงแก่กรรมวัดธรรมิการามวรวิหารได้เก็บผลประโยชน์จากที่ดินมรดกตามพินัยกรรมโดยเก็บค่าเช่าทํานามาโดยตลอด

และไม่ปรากฏว่าวัดธรรมิการามวรวิหารได้ทําหนังสือแสดงเจตนาสละมรดกที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด

ดังนั้นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ดินตามพินัยกรรมของนางเนื่อมจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดธรรมิการามวรวิหารแล้วตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม

และบทบัญญัติมาตรา84 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไม่เป็นเงื่อนไขการได้มาซึ่งที่ดินของวัดแต่อย่างใดแต่เป็นเงื่อนไขในการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อไปเท่านั้น

ดังนั้นวัดธรรมิการามวรวิหารจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกตามพินัยกรรมของนางเนื่อมทันทีที่นางเนื่อมถึงแก่กรรม

และมาตรา84 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไม่ใช่บทบัญญัติยกเว้นการได้มาดังกล่าว

เมื่อผลทางกฎหมายที่ดินมรดกของนางเนื่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดธรรมิการามวรวิหารแล้วที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ธรณีสงฆ์

ซึ่งการโอนที่ธรณีสงฆ์ต้องทําโดยพระราชบัญญัติตามมาตรา34 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 และมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเนื่อมต้องโอนที่ดินมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุให้ตกแก่วัดให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารเท่านั้นจะโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้

เครดิตข่าว
https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/105845-inves09-3.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่