คลายข้อสงสัย หนี้ของพ่อแม่ที่เสียชีวิตไป ลูกต้องใช้หนี้แทนไหม?

เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1123424

ติดตามข่าวสารน่าสนใจมากมายได้ที่ 
https://www.bangkokbiznews.com

เป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยและข้อกังวลของพ่อแม่วัยชราบางคน ที่ยังมีภาระหนี้สินติดตัวอยู่ หากวันหนี่งเสียชีวิตไป ลูกจะต้องชดใช้หนี้แทนพ่อแม่ให้ทั้งหมดหรือไม่ มาเช็กคำตอบ ข้อกฎหมาย คลายข้อสงสัยได้เลย
 
พ่อแม่หลายคน โดยเฉพาะพ่อแม่วัยชรา ย่อมมีข้อสงสัยในใจว่า "หากวันหนี่งเสียชีวิตไป ลูกจะต้องชดใช้ภาระหนี้สินของพ่อแม่ที่มีอยู่แทนทั้งหมดหรือไม่"
หนี้ของพ่อแม่ที่เสียชีวิตไป ลูกต้องใช้หนี้แทนพ่อแม่ไหม?

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ป.พ.พ. มาตรา 1601 ระบุไว้ว่า
เมื่อพ่อแม่เสียชีวิตลง มรดกของพ่อแม่ ทั้งเงิน สินทรัพย์ และหนี้สิน จะตกมาสู่ทายาทโดยอัตโนมัติ หากพ่อแม่มีหนี้ ลูกก็ต้องใช้หนี้แทน แต่ต้องไม่เกินกว่ามรดกที่ลูกได้รับ แม้ว่าหนี้สินของผู้ตายจะถือเป็น “มรดก” ที่เจ้าหนี้สามารถทวงคืนจากทายาทได้ แต่หากทายาท ไม่ได้รับมรดกอื่นๆ เลย เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถบังคับให้ทายาทหาเงินเพื่อมาใช้หนี้แทนผู้ตายได้

กองมรดก ที่จะตกทอดแก่ทายาทนั้นได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมไปถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ และรวมไปถึงหนี้สินด้วย ในกรณีที่ลูกได้รับทรัพย์สินมรดกมาจากพ่อแม่ที่เสียชีวิต หากพ่อแม่มีหนี้ลูกก็จำเป็นจะต้องหักส่วนต่างในมรดกที่ได้มา นำไปใช้คืนให้กับเจ้าหนี้ 

ตัวอย่างเช่น ลูกได้รับมรดก 1 ล้านบาท พ่อแม่มีหนี้ 2 ล้านบาท ลูกมีหน้าที่รับผิดชอบไม่เกิน 2 ล้านเท่าที่ได้มรดกมา อีกทั้ง ถ้าผู้ที่เป็นลูกไม่ได้รับมรดกอะไรเลยจากพ่อแม่ที่เสียชีวิต ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับผิดนั่นเอง 

ที่สำคัญ “หนี้สิน” ที่ติดมากับ “มรดก” มีอายุความเพียงแค่ 1 ปี หลังจากที่พ่อแม่เสียชีวิตเท่านั้น หากเลยช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้ว เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถมาติดตามทวงหนี้จากทายาทได้เช่นกัน แต่ในที่นี้หมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสถานะตามกฎหมายรับรองเท่านั้น ไม่สามารถใช้ได้กับหนี้นอกระบบ

มรดกคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับ “หนี้มรดก”
“มรดก” คือทรัพย์สินทุกอย่างของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิต รวมถึงสิทธิผูกพันในสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ สิทธิและหน้าที่ในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ไปจนถึงความรับผิดชอบต่างๆ เช่น การผิดสัญญาและการละเมิด ทั้งหมดนี้เรียกรวมกันว่า “กองมรดกของผู้ตาย”

เมื่อผู้ตายเสียชีวิตลง ตามกฎหมายแล้วมรดกเหล่านั้นก็จะถูกตกทอดมายังทายาทโดยอัตโนมัติ โดย “ทายาท” ที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ

1. ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกตามที่ผู้ตายกำหนดไว้ในพินัยกรรม โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทหรือญาติที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยสายเลือด
2. ทายาทโดยธรรม คือ ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายแม้ว่าจะไม่มีการเขียนพินัยกรรมไว้ก่อน มีทั้งหมด 6 ลำดับ คือ ผู้สืบสันดาน (คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่และลูก) บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา ปู่ย่าตายาย และ ลุงป้านาอา ตามลำดับ

ดังนั้นเมื่อทายาทได้รับมรดกมาจากผู้ตาย นั่นหมายความว่าต้องรับภาระ “หนี้สิน” ของผู้ตายติดมาด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า “หนี้มรดก” ซึ่งทายาทที่ได้รับมรดกมา จำเป็นต้องตรวจสอบก่อนว่าได้รับหนี้สินตกทอดมาด้วยหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องดูว่าเป็นจำนวนเท่าไร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่