ไม่ชอบ สภาวะ อย่างนี้เลย...

เมื่อต้องเผชิญกับ ความไม่สบายใจ
เช่น ความกังวลใจ ความตื่นกลัวผู้คน

ก็รู้สึก ไม่ชอบ สภาวะ อย่างนั้นเลย
ไม่อยากมีไม่อยากเป็น แบบนี้เลย
อยากมีอยากเป็น สภาวะตรงข้ามกัน
อยากหายจากความทุกข์เหล่านี้

ความรู้สึกไม่สบายใจ อย่างนี้ เป็นเหตุให้เกิด ความอยาก ( เวทนา เป็นเหตุให้เกิด ตัณหา ) - เพราะมี อวิชชา
ความอยาก และ ไม่อยาก เหล่านั้นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ( ตัณหา เป็นเหตุให้เกิด อุปาทาน ) - ปัญจูปาทานขันธ์ คือ ทุกข์
เวทนา ดับ เมื่อผัสสะดับ ปิดตาหูจมูกลิ้นกายใจ ก็ปิดโอกาสให้เกิดความยินดี ยินร้าย ไปตาม สังขาร ตามเวทนา

บัณฑิต เป็นผู้กล้าหาญประจันหน้ากับ ทุกข์
โดยไม่กลายเป็น ทุกข์ ไม่เข้าไปยึด ทุกข์ นั้น
เป็น อิสรภาพ อย่างแท้จริง จาก ขันธ์ เพราะไม่มีอุปาทานในขันธ์

แต่ก่อนเข้าใจว่า ความดับทุกข์ คือ ต้องไม่มีทุกข์ปรากฎเลย มีทุกข์เมื่อไหร่ต้องรีบไปดับเมื่อนั้น
แต่ความเป็นจริง ในขั้นต้น ความดับทุกข์ คือ เมื่อความอยากให้อะไรเป็นไปเหล่านั้น มันกระเด็นออกไปจากจิตต่างหาก
เมื่อใจ เห็น ทุกข์ ที่ปรากฎ จนค่อยๆยอมรับความจริงได้ว่า ความวิตกกังวลก็ดี ความตื่นกลัวเหล่านี้ เกิดแล้วก็ดับ
เพราะอาศัยการเจริญสติปัฏฐาน อยู่เนืองๆ เห็นสิ่งที่มีอยู่จริงๆ ( ปรมัตถ์ ) มันเกิดแล้วก็ดับ ไม่ว่าจะอยากให้มันดับ หรืออยากให้อะไรเป็นอะไร
มันก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับการดับ การเกิด ของสภาวะทั้งหลายทั้งปวง ( อนัตตา ) การจะเกิด ดับ ของสภาวะเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มาจาก เหตุปัจจัย
ในปฏิจจสมุปปบาท นั่นแหละ ที่เมื่อมีผัสสะ ก็ย่อมมี เวทนา มี ตัณหา อุปาทาน โดยมี อวิชชา เป็นหัวหน้าใหญ่ที่พาให้เรา มัวเมา โดนซ้อมอยู่เรื่อย

จนกว่าจะ กลับด้าน ปฏิจจสมุปบาท ด้วยการรู้ทุกข์ให้แจ่มแจ้ง ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 ให้มากแล้ว
ใจเห็นความจริงเหล่านั้น เห็นสภาวะที่มันเกิด-ดับ ก็เกิด ปีติ ปราโมทย์ ขึ้นในใจ ความยินดียินร้ายในอารมณ์ค่อยๆเบาลง กายเบา จิตเบา
ความอยากแทรกแซงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ มันค่อยๆ ลดลงไป จนเราสามารถภาวนาได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น สมาธิจะสั้นลง แค่ชั่วลัดนิ้วมือ
แต่รู้สึกสงบ ตั้งมั่น ได้ โดยที่ยังรู้สึกถึง วิตก วิจาร สภาวะทั้งหลาย เกิดขึ้นให้เห็น ดับไปให้เห็นได้ เพียงชั่วเวลาที่เกิด สมาธิ อยู่

เมื่อเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป
ก็จะ ละ ความเห็นที่มีเราเข้าไปบังคับควบคุมสภาวะทั้งหลายได้
กลายเป็น ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแต่เหตุปัจจัย หาสาระที่เป็น สัตว์ ไม่ได้

ชีวิตที่เหลือ ก็อยู่อย่างไม่ลำบาก เพราะจิตไม่สืบต่อ วิบาก ที่เข้ามาให้ผล
แค่กำหนดรู้ มีวิตก แต่ไม่มีวิจาร อยู่
ทุกข์ ตามวิบาก ยังมี และ มากน้อย ตาม กรรมของตนเอง
แต่ ความอยากจะให้ทุกข์ที่มีดับไป มันไม่มี
มีแต่ รู้อย่างที่มันเป็น...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่