เห็นข่าวแพทย์ลาออกกันมากช่วงนี้ และเห็นว่า ปัจจุบันแพทย์กระจุกตัวแต่ในกรุงเทพและเมืองใหญ่ แถมไหลออกไปอยู่เอกชนจำนวนมาก อยากให้มีการแก้ไขเรื่องหมอไหลออกดังนี้
1. โครงการแพทย์ชนบทแบบจริงจัง ที่มียังไม่เพียงพอและครอบคลุม อยากให้มหาลัยตามภาคต่างๆ จัดโครงการ 1 จังหวัด 1 นักเรียนแพทย์ ในจังหวัดใกล้เคียง เช่น มช รับผิดชอบจังหวัดในภาคเหนือ, มข รับผิดชอบจังหวัดในภาคอีสาน, มอ รับผิดชอบจังหวัดภาคใต้, ให้โควต้า เด็กที่สนใจสมัครแพทย์ในอำเภอเมือง 1คน และต่างอำเภอ 1 คน วนเวียนไปตามอำเภอต่างๆ เน้นรับเด็กที่อาศัยในพื้นที่ โดยการดูคะแนน ความสนใจ และสัมภาษณ์เด็กและพ่อแม่ เน้นที่อำเภอที่ขาดแคลนเป็นหลัก เราอาจต้องการเด็กที่เรียนพอใช้ ไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด แต่โรงเรียนแพทย์ อาจารย์แพทย์ และรุ่นพี่ต้องช่วยเคี่ยวกรำเด็กกลุ่มนี้ให้เรียนให้ทันเด็กที่รับแบบปกติ โดยจัดติวเป็นพิเศษให้ในมหาลัย หลังรับเข้าไป
นี่จะเป็นการช่วยยกระดับเด็กจากครอบครัวยากจน ถ้าเรียนดี ต้องมีทุนให้ เพิ่มโอกาสให้เด็กในอำเภอหรือจังหวัดห่างไกล ให้ได้เรียนแพทย์ กลับไปรักษาคนในพื้นที่ของตัวเอง แน่นอนว่าต้องใช้ทุนยาวนานกว่าปกติ เรียนแพทย์ 6 ปี ใช้ทุน 3 ปี กลับมาเรียนเฉพาะทางอีก 3 ปี ให้ไปใช้ทุนอีก 10 ปี และให้กลับไปโรงพยาบาลประจำอำเภอของตัวเองเท่านั้น หลังอายุประมาณ 40 ปี แพทย์กลุ่มนี้จะย้ายไปไหนได้ตามอิสระ แต่ช่วง 30-40 ยังสามารถทำคลินิก หลังเลิกงานหรือ ส อา เพื่อเพิ่มรายได้ หากรัฐจัดสรรเงินเดือนและสวัสดิการที่สมเหตุผล แพทย์กลุ่มนี้จะพออยู่ได้ เพราะมีครอบครัวอยู่ในพื้นที่นั้นๆอยู่แล้ว โอกาสไหลออกจะน้อย
2. ผลิตแพทย์ตามสาขาที่ขาดแคลน
เราควรเลิกผลิตหมอผิวหนังจำนวนมาก ควรผลิตแต่เพียงเล็กน้อย แต่หันมาผลิตแพทย์อายุรกรรมมากขึ้น
3. โรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ เช่น จุฬา มหิดล รามา ธรรมศาสตร์ ควรให้โควต้าจากจังหวัดต่างๆ ครอบคลุมทุกอำเภอ วนไปในแต่ละปี อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของนักเรียนแพทย์เข้าใหม่ในทุกๆปี
เด็กต่างจังหวัดจะได้มีโอกาสเรียนแพทย์มากขึ้น เพราะไม่มีทางสู้เด็กในกรุงเทพที่มีครูและโรงเรียนติวอย่างดีได้
อาจารย์แพทย์ต้องยอมไปคัดเลือกเด็กที่ดูมีแวว พอใช้ได้ เอามาฝึกฝนให้เรียนแพทย์และจบโดยได้มาตรฐาน
* เราไม่จำเป็นต้องมีแพทย์ที่เรียนเก่งที่สุด เราต้องการแพทย์ที่ทำงานได้ โดยเฉพาะยอมไปประจำที่โรงพยาบาลห่างไกลในชนบทแบบถาวร
4. หาเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลในชนบทด้วยการ เปิดบริจาค โดยให้ลดหย่อนภาษี 3-4 เท่า กรมสรรพากรต้องยอมเก็บภาษีได้ลดลง แต่คุณภาพชีวิตคนในชนบทจะดีขึ้น ขึ้นหน้าบัญชีโรงพยาบาลที่ขาดแคลนในเวปไซต์ต่างๆ และประชาสัมพันธ์ให้บริษัท ห้างร้านและมนุษย์เงินเดือนได้ทราบก่อนช่วงยื่นภาษี
เพราะเด็กเก่งจะเรียนแพทย์ เด็กจากจังหวีดชายแดนภาคใต้ไม่มีทางจะเรียนเก่งเท่า แต่เราหาแพทย์ไปประจำในจังหวัดชายแดนยากยิ่ง ไปใช้ทุนแค่ชั่วคราว สุดท้ายอยู่ไม่ได้ ถ้าเราได้เด็กในพื้นที่ เมื่อมาเป็นแพทย์ ทำให้เข้าใจบริบทวัฒนธรรมของพื้นที่นั่นๆ เข้าใจโรคระบาดในท้องถิ่นและช่วงเวลาเป็นอย่างดี เมื่อซักประวัติคนไข้ ถ้าเป็นคนในพื้นที่จะเข้าใจและมีโอกาสทำได้ดี
แอบฝันหวานประมาณนี้ และหวังว่าสักวัน ชีวิตคนในชนบทจะมีค่า ไม่ต้องคอยเหมารถ พาคนป่วยมาโรงพยาบาลใหญ่ในเมืองอยู่ตลอด เจ็บไข้ไม่มาก ผ่าตัดเล็กน้อย ทำกันง่ายดาย มีแพทย์เฉพาะทางประจำทุกอำเภอ
ทำอย่างไรไม่ให้แพทย์ไหลออกไปจำนวนมากในแต่ละปี
1. โครงการแพทย์ชนบทแบบจริงจัง ที่มียังไม่เพียงพอและครอบคลุม อยากให้มหาลัยตามภาคต่างๆ จัดโครงการ 1 จังหวัด 1 นักเรียนแพทย์ ในจังหวัดใกล้เคียง เช่น มช รับผิดชอบจังหวัดในภาคเหนือ, มข รับผิดชอบจังหวัดในภาคอีสาน, มอ รับผิดชอบจังหวัดภาคใต้, ให้โควต้า เด็กที่สนใจสมัครแพทย์ในอำเภอเมือง 1คน และต่างอำเภอ 1 คน วนเวียนไปตามอำเภอต่างๆ เน้นรับเด็กที่อาศัยในพื้นที่ โดยการดูคะแนน ความสนใจ และสัมภาษณ์เด็กและพ่อแม่ เน้นที่อำเภอที่ขาดแคลนเป็นหลัก เราอาจต้องการเด็กที่เรียนพอใช้ ไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด แต่โรงเรียนแพทย์ อาจารย์แพทย์ และรุ่นพี่ต้องช่วยเคี่ยวกรำเด็กกลุ่มนี้ให้เรียนให้ทันเด็กที่รับแบบปกติ โดยจัดติวเป็นพิเศษให้ในมหาลัย หลังรับเข้าไป
นี่จะเป็นการช่วยยกระดับเด็กจากครอบครัวยากจน ถ้าเรียนดี ต้องมีทุนให้ เพิ่มโอกาสให้เด็กในอำเภอหรือจังหวัดห่างไกล ให้ได้เรียนแพทย์ กลับไปรักษาคนในพื้นที่ของตัวเอง แน่นอนว่าต้องใช้ทุนยาวนานกว่าปกติ เรียนแพทย์ 6 ปี ใช้ทุน 3 ปี กลับมาเรียนเฉพาะทางอีก 3 ปี ให้ไปใช้ทุนอีก 10 ปี และให้กลับไปโรงพยาบาลประจำอำเภอของตัวเองเท่านั้น หลังอายุประมาณ 40 ปี แพทย์กลุ่มนี้จะย้ายไปไหนได้ตามอิสระ แต่ช่วง 30-40 ยังสามารถทำคลินิก หลังเลิกงานหรือ ส อา เพื่อเพิ่มรายได้ หากรัฐจัดสรรเงินเดือนและสวัสดิการที่สมเหตุผล แพทย์กลุ่มนี้จะพออยู่ได้ เพราะมีครอบครัวอยู่ในพื้นที่นั้นๆอยู่แล้ว โอกาสไหลออกจะน้อย
2. ผลิตแพทย์ตามสาขาที่ขาดแคลน
เราควรเลิกผลิตหมอผิวหนังจำนวนมาก ควรผลิตแต่เพียงเล็กน้อย แต่หันมาผลิตแพทย์อายุรกรรมมากขึ้น
3. โรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ เช่น จุฬา มหิดล รามา ธรรมศาสตร์ ควรให้โควต้าจากจังหวัดต่างๆ ครอบคลุมทุกอำเภอ วนไปในแต่ละปี อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของนักเรียนแพทย์เข้าใหม่ในทุกๆปี
เด็กต่างจังหวัดจะได้มีโอกาสเรียนแพทย์มากขึ้น เพราะไม่มีทางสู้เด็กในกรุงเทพที่มีครูและโรงเรียนติวอย่างดีได้
อาจารย์แพทย์ต้องยอมไปคัดเลือกเด็กที่ดูมีแวว พอใช้ได้ เอามาฝึกฝนให้เรียนแพทย์และจบโดยได้มาตรฐาน
* เราไม่จำเป็นต้องมีแพทย์ที่เรียนเก่งที่สุด เราต้องการแพทย์ที่ทำงานได้ โดยเฉพาะยอมไปประจำที่โรงพยาบาลห่างไกลในชนบทแบบถาวร
4. หาเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลในชนบทด้วยการ เปิดบริจาค โดยให้ลดหย่อนภาษี 3-4 เท่า กรมสรรพากรต้องยอมเก็บภาษีได้ลดลง แต่คุณภาพชีวิตคนในชนบทจะดีขึ้น ขึ้นหน้าบัญชีโรงพยาบาลที่ขาดแคลนในเวปไซต์ต่างๆ และประชาสัมพันธ์ให้บริษัท ห้างร้านและมนุษย์เงินเดือนได้ทราบก่อนช่วงยื่นภาษี
เพราะเด็กเก่งจะเรียนแพทย์ เด็กจากจังหวีดชายแดนภาคใต้ไม่มีทางจะเรียนเก่งเท่า แต่เราหาแพทย์ไปประจำในจังหวัดชายแดนยากยิ่ง ไปใช้ทุนแค่ชั่วคราว สุดท้ายอยู่ไม่ได้ ถ้าเราได้เด็กในพื้นที่ เมื่อมาเป็นแพทย์ ทำให้เข้าใจบริบทวัฒนธรรมของพื้นที่นั่นๆ เข้าใจโรคระบาดในท้องถิ่นและช่วงเวลาเป็นอย่างดี เมื่อซักประวัติคนไข้ ถ้าเป็นคนในพื้นที่จะเข้าใจและมีโอกาสทำได้ดี
แอบฝันหวานประมาณนี้ และหวังว่าสักวัน ชีวิตคนในชนบทจะมีค่า ไม่ต้องคอยเหมารถ พาคนป่วยมาโรงพยาบาลใหญ่ในเมืองอยู่ตลอด เจ็บไข้ไม่มาก ผ่าตัดเล็กน้อย ทำกันง่ายดาย มีแพทย์เฉพาะทางประจำทุกอำเภอ