จุดเริ่มต้นของการล่มสลายของระบบสาธารณสุขไทยมาถึงแล้ว

จากกระทู้เก่าที่ผมได้เขียนไป “สาเหตุที่ทำให้ระบบสาธารณสุขไทย เป็นระบบที่รอวันล่มสลาย” https://ppantip.com/topic/42423100?sc=7nd8NH7
ผมว่าจุดเริ่มต้นของการล่มสลายมันเริ่มขึ้นแล้ว เริ่มมีกระแสการแห่ลาออกจากของแพทย์ใช้ทุน (หมอintern) ซึ่งมีมาสักพักแล้วแต่ยังหาทางแก้ไม่ได้ จนปัจจุบันหลายๆพื้นที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนหมอ อย่างโพสต่อไปนี้ซึ่งเป็นกระแสในสังคมแพทย์พอสมควร (เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาติเจ้าของโพสก่อนจึงแคปมาแบบไม่ติดชื่อนะครับ)
 

อธิบายเพิ่มเผื่อคนที่ยังไม่รู้จักระบบ คือโดยปกติแล้วแพทย์ที่อยู่รพช.(รพ.ประจำอำเภอ)ส่วนมากนั้นเป็นแพทย์ใช้ทุนที่เมื่อใช้ทุนครบ 3 ปีก็จะไป ไปเรียนต่อบ้าง ย้ายกลับบ้านบ้าง ลาออกบ้าง มีส่วนน้อยที่จะอยู่ยาวๆหลังใช้ทุนเสร็จ รพ.ไหนใหญ่หน่อยก็อาจจะมีตำแหน่งแพทย์เฉพาะทางให้อยู่ยาวๆได้ ที่นี่ขอนแก่นเป็นจังหวัดใหญ่ มีรพช.20รพ. 

แพทย์ 39 คน ตกไปรพ.ละ 2 คน ซึ่งไม่พอทดแทนแพทย์รุ่นพี่ที่ออกไปแน่ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ แพทย์ที่เหลืออยู่จะต้องแบกรับภาระงานที่หนักขึ้น จำนวนเวรเยอะมากขึ้น ทำให้คาดเดาได้ว่าอาจจะบางส่วนที่ลาออกเพิ่มขึ้นอีก

ในอีกด้านก็เริ่มมีกระแสการลาออกของแพทย์เฉพาะทางตามรพ.จังหวัด หรือในวงการเรียกกันว่าแพทย์ staff
โพสนี้จากเฟซบุ๊ค staff ท่านนึง (เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาติเจ้าของโพสก่อนจึงแคปมาแบบบางส่วนไม่ติดชื่อนะครับ)

ซึ่งเมื่อคนในระบบน้อยลง คนที่เหลือก็ย่อมรับภาระงานที่เยอะขึ้น ซึ่งก็คงเหมือนๆที่กล่าวด้านบน คงจะมีคนทยอยลาออกตามอีก

ส่วนสาเหตุที่ลาออกนั้นพูดกันตามตรง หมดยุคที่หมอเป็นเทวดา เป็นหมอต้องเสียสละแล้ว รายได้ของแพทย์รพ.รัฐนั้นไม่เพียงพอ ไม่คุ้มกับภาระงาน ไม่คุ้มกับความรับผิดชอบ ยิ่งแพทย์เฉพาะทางยิ่งไม่คุ้มกับการใช้เวลาเรียนที่ 10 ปี+ เมื่อก่อนอาจจะคุ้ม แต่ค่าตอบแทนของแพทย์ในรพ.รัฐถูกแช่แข็งมา 10 กว่าปีแล้ว มีขึ้นแค่ฐานเงินเดือน ซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้แค่ 20-30% เท่านั้น เงิตส่วนอื่นๆ 10 ปีก่อนได้เท่าไหร่ ตอนนี้ก็เท่าเดิม ขณะเงินเฟ้อขึ้นทุกปี


 


และตัวคนไข้เองก็เป้นส่วนนึงในการกระตุ้นให้ลาออก ลองติดตามเพจ "ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor " https://www.facebook.com/AggressiveNotDoctor จะพบปัญหาคนไข้และญาติสารพัดที่เรียกร้องเอาแต่ใจ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล ชอบอ้างภาษี และประโยคสุดคลาสสิค กินเงินภาษีถ้าไม่พอใจ ไม่อยากทำก็ลาออกไป ก็ยินดีด้วยครับ หอมจำนวนไม่น้อยลาออกตามท่านว่าไว้แล้ว จากประสบการณ์ส่วนตัวคนไข้รพ.เอกชนที่แม้จะเสียเงินเอง แต่น่าแปลกที่พูดเข้าใจง่าย และเรื่องมากน้อยกว่าคนไข้ที่ไม่เสียเงินสักบาท แต่ชอบอ้างภาษีในรพ.รัฐเสียอีก(ซึ่งเป็นส่วนน้อย แต่เจอทีก็ทำให้หมดพลังใจ)

แล้วทางฝั่งรัฐบาลทำอะไรบ้าง ให้ตอบตาทตรงก็คือจนถึงตอนนี้ยังไม่ทำอะไรเลย เน้นแต่ประชานิยม เอาใจคนไข้ เอาใจประชาชน
- 30 บาทรักษาทุกที่
- หมอหาคนไข้
- Home ward
- Telemedicine
- หมอประจำรพ.สต.
มีแต่งานเพิ่มขึ้น แต่คนในระบบเท่าเดิมหรืออาจจะน้อยลงด้วยซ้ำ อีกด้านก็เร่งผลิต แทนที่จะแก้ปัญหาการลาออก กลับเร่งผลิต แล้วรู้มั้ยครับใครเป็นคนสอนนักศึกษาแพทย์ละ ก็หมอตามรพ.ศูนย์ที่คนไข้ล้นมืออยู่แล้วก็ต้องมาสอนด้วย เพิ่มงานไปอีก

วิธีแก้ปัญหาคืออะไร?
การใช้งบประมาณเพิ่มเพื่อเพิ่มค่าตอบแทนไม่สามารถทำได้ เนื่องจากหากเพิ่มเงินก็ไม่สามารถเพิ่มให้เพียงแค่วืชาชีพเดียวในรพ. ต้องเพิ่มทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ดังนั้นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ซึ่งรัฐบาลเราไม่ได้มีเงินขนาดนั้น ดังนั้นผมเห็นว่าสิ่งที่ควรทำคือลดค่าใช้จ่ายของรพ.และลดภาระงานของบุคคลาการทางการแพทย์ลง ในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายนั้นต้องมีระบบ Co-pay ร่วมจ่ายในคนไทยที่พอจ่ายไหว โดยออกมาเป็นนโยบาย ไม่ใช่ให้คนหน้างานไปตีกับคนไข้เอง เพื่อให้มีเงินเหลือพอไปเพิ่มค่าตอบแทนให้กับบุคลากร ส่วนลดภาระงานก็จำกัดชั่วโมงการทำงาน ทำให้ ER เป็น Emergency room ไม่ใช่ Everything room อย่างในปัจจุบัน เลิกประชานิยมโดยใช้แรงงานของบุคลากรเป็นเครื่องมือ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่