ปริญญา ขอ ‘อย่าแตกกัน’ หวั่นประชาชนผิดหวัง แนะ 3 ทางออกปม ‘ปธ.สภา’ ชี้เป้า ‘วันนอร์’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3997416
‘ปริญญา’ แนะ 3 ทางเลือก ก้าวไกล-เพื่อไทย ต้องเข้าใจกัน หรือยกตำแหน่งให้พรรครอง ชี้ประชาชนจะผิดหวัง หากแตกกันเพราะตำแหน่ง
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 25 พฤษภาคม ผศ.ดร.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ประเด็นการจัดตั้งรัฐบาล หลังจบเสวนางานวิชาการ “
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.เลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายทรมาน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มีผลอย่างไร และใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบ” ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ห้องศาลจำลอง
ผศ.ดร.
ปริญญาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในตอนหนึ่งว่า ทางเลือกมีหลายทาง
1. คือเพื่อไทยยอมก้าวไกล
2. ก้าวไกลยอมเพื่อไทย บนเงื่อนไขว่า เป็นรัฐบาลด้วยกันและเป็นฝ่ายค้านด้วยกัน
หรือ 3. ให้พรรคอันดับอื่นไปก็เป็นอีกทางหนึ่ง ถ้าอันที่ 1 และ 2 ไม่ได้ก็มี 3 เป็นอีกทางเลือก
“
ผมยกตัวอย่างเช่น พรรคประชาชาติมาอันดับ 3 คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งได้ เรียนว่าใน 3 ทางนี้ เป็นทางไหนก็ได้ ขอให้รัฐบาลเดินหน้าไปตามวิถีทางที่ประชาชนได้เลือก เสียงข้างมากได้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นการชนะขาดระหว่างฝ่ายที่เป็นฝ่ายค้านเดิม 313 เสียงกับรัฐบาลเดิม 2 พรรครวมกัน 76 เสียง มันชนะขาด
ส่วนนี้คือเจตจำนงของประชาชน ถ้าหากว่ารัฐบาลจะไม่เกิดขึ้นมา เพราะตกลงเรื่องตำแหน่งประธานสภาไม่ได้ นี่เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดแบบนั้น” ผศ.ดร.ปริญญาแนะ
ผศ.ดร.
ปริญญากล่าวสรุปว่า ย้ำว่ามันมี 3 ทาง
1. เพื่อไทยยอมก้าวไกล จะแบ่งหน้าที่อื่นประการใดมาชดเชยก็ตกลงกัน
2. ก้าวไกลยอมเพื่อไทย แต่ถ้าเป็นสูตรหลังมันต้องมีคำมั่นสัญญาว่าจะเป็นฝ่ายค้านไปด้วยกัน เป็นรัฐบาลด้วยกัน ต้องเข้าใจว่าก้าวไกลเขาก็ฟังข่าวแบบที่เราฟังกัน
“
อย่าลืมว่าในพลังประชารัฐมี ส.ส.เก่าของเพื่อไทยตั้งเยอะ ก็ต้องเข้าใจเขา หรือ 3.เป็นอีกทางหนึ่งคือให้ประชาชาติเขาไปเลยไหม นี่เป็นแค่ตัวอย่าง สรุปคือทางไหนก็ได้ อย่ามาแตกกันเพราะตำแหน่งประธานสภา เพราะประชาชนเขาผิดหวัง” ผศ.ดร.ปริญญาทิ้งท้าย
“เศรษฐา”ยันอยู่เพื่อไทย ตอบคำถามถ้าเป็นนายกฯ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดย ส.ส.ร.ภายใน 18 เดือน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3997309
‘เศรษฐา’ ยันอยู่เพื่อไทย ตอบคำถามถ้าเป็นนายกฯ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ร่างรัฐธรรมนูญ ใหม่ โดย ส.ส.ร.ภายใน 18 เดือน
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่ำวันที่ 24 พฤษภาคม หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ จัดงาน “
JOURNEY TO TRANSFORM” ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 47 “
ประชาชาติธุรกิจ” ที่ห้องอินฟินิตี้ 1-2 โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ รางน้ำ โดยเชิญ นาย
อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) และนาย
เศรษฐา ทวีสิน อดีต ceo บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย เป็นวิทยากร
สำหรับนาย
เศรษฐาได้ขึ้นเวทีโดยมีนาย
สรกล อดุลยานนท์ เป็นผู้สัมภาษณ์ โดยสอบถามถึงประสบการณ์ทางการเมืองหลังจากการหาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยนาย
เศรษฐากล่าวว่า ได้รับบทเรียนมากมาย โดยเรื่องการพูดนั้นต้องระมัดระวัง และการประชุมพรรคเพื่อไทยวันที่ 24 พฤษภาคมก็ได้สารภาพว่าเข้ามาช้าไป อาจทำให้มีผลต่อการเลือกตั้ง เพราะก่อนหน้านั้นยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ โดยคนที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ คือ นาย
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย
นาย
เศรษฐายืนยันว่า จะอยู่กับพรรคเพื่อไทย และยังมีความหวังทางการเมือง โดยล่าสุดได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปรับปรุงพัฒนาพรรคเพื่อไทย หลังจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาพลาดจากเป้าหมายไปมาก
ในช่วงสุดท้ายนาย
สรกลได้มอบให้นาย
อาทิตย์เป็นผู้สอบถาม โดยนาย
อาทิตย์สอบถามว่า ถ้าได้เป็นนายกรัฐมนตรี นาย
เศรษฐาจะทำอะไรก่อน นาย
เศรษฐาตอบว่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง คาดว่าจะใช้เวลา 18 เดือน ระหว่างนั้นก็จะดำเนินการอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนการเกณฑ์ทหารมาเป็นการสมัครใจ ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ รวมถึงการแก้ปัญหาประมงจากกฎไอยูยู
อดีตเลขากมธ.กฎหมาย ยัน ‘พิธาไม่ผิด’ แนะสู้คดีหุ้นITV เตือนคนร้อง ระวังโดนฟ้อง ‘แจ้งข้อมูลเท็จ’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3996843
อดีตเลขา กมธ.ฯ ยกข้อกฎหมาย ยัน ‘พิธาไม่ผิด’ แนะสู้คดีถือหุ้น ITV เตือนคนร้องระวังโดนฟ้อง ‘แจ้งข้อมูลเท็จ’
สืบเนื่องจากกรณีที่ นาย
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ร้องเรียนไปยัง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถึงประเด็นที่ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถือหุ้นของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV) จำนวน 42,000 หุ้น โดยมีการร้องเรียนว่า ผิดกฎหมายการเลือกตั้ง และให้ กกต.ตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) นั้น
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย
ณพลเดช มณีลังกา อดีตเลขานุการกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้สัมภาษณ์กับ ‘
มติชนทีวี’ ว่า หากย้อนไปเมื่อปี 2562 จะเห็นว่าได้มีการฟ้องร้องนักการเมืองในกรณีถือหุ้นสื่อ และมีการตัดสินให้มีความผิด ถูกปลดจากตำแหน่ง ส.ส.หลายคน แต่ในปัจจุบันมีคำวินิจฉัยที่เปลี่ยนไปจากในอดีตตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณี คือการถือหุ้นนั้นหากไม่มากพอที่จะสามารถกำหนดทิศทางสื่อได้ ให้ถือว่า ไม่มีความผิด และบริษัทไม่ได้มีการดำเนินการสื่อ ถือว่าไม่ผิดเช่นกัน
นาย
ณพลเดชชี้ว่า คดีความดังกล่าวนั้น นายพิธามีสัดส่วนของหุ้นเป็นจำนวนที่น้อยมาก ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีความสามารถ หรือมีอำนาจสั่งการให้สื่อเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตีความตามบทบัญญัติกฎหมาย การมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเหตุเป็นผู้ถือหุ้น ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงถือว่าไม่มีความผิด
นอกจากนี้ มีการตรวจสอบไปถึงงบการเงินของบริษัท พบว่าบริษัทไม่ได้ประกอบกิจการ และมีรายได้ อีกทั้งยังได้ตรวจสอบถึง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่า บริษัทไม่ได้ยื่นต่ออายุหลังจากมีการยกฟ้อง
นาย
ณพลเดชกล่าวต่อว่า การถือหุ้นสื่อ ที่มิอาจทำให้สื่อช่วยเหลือ หรือประชาสัมพันธ์ในการเลือกตั้งได้ ย่อมไม่ผิด และยังได้มีการลงรายละเอียดถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในกรณีถือหุ้นสื่อ หรือการมุ่งประสงค์ร้ายของผู้ที่มาร้องเรียน จุดประสงค์เพื่อให้นายพิธา พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ซึ่งการร้องเรียนนี้อาจจะส่งผลไปถึงตำแหน่งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจจะผิดตามกฎหมายตามมาตรา 173 ที่ว่าด้วยผู้ใดมิได้ทำความผิดเกิดขึ้น และมีการแจ้งหรือร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานสอบสวน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และหาก กกต. ร้องต่อศาล ก็อาจจะมีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 175 คือผู้ใดนำความเป็นเท็จ ฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำผิดกฎหมายอาญาแรงกว่าความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ นาย
ณพลเดชยังชี้ให้นาย
พิธา ต่อสู้ใน 2 ประเด็นข้างต้น
“
หากจะสู้คดี ให้สู้ใน 2 ประเด็นดังกล่าว และฟ้องกลับคนร้องเรียนด้วย” นาย
ณพลเดชกล่าว
เครือข่ายแพทย์หนุนMOU เรื่องกัญชาเป็นยาเสพติด
https://www.innnews.co.th/news/criminal/news_556501/
เครือข่ายแพทย์ฯ ต้านยาเสพติด ทำจดหมายเปิดผนึกถึง 8 พรรคร่วม หนุน MOU นำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด
เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด ทำจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 8 ถึง พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค เรื่อง ข้อเท็จจริงและแนวคิดการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยมีเนื้อหา ระบุว่า
สืบเนื่องจากการแถลง MOU ของ 8 ว่าที่พรรคร่วมรัฐบาล โดยในข้อที่ 16 กำหนดให้ “นำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดให้โทษผ่านการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา” ซึ่งต่อมามีข่าวการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อนโยบายการนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดนี้ ของกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ทางเครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด ขอเสนอข้อเท็จจริงและแนวคิดการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพื่อสนับสนุนการดาเนินการตาม MOU ข้อที่ 16 มาดังนี้
1. “ตัวกัญชา ไม่เท่ากับ นโยบายกัญชา” กัญชามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ควรนำมาใช้อย่างถูกต้องด้วยนโยบายกัญชาทางการแพทย์ที่เหมาะสม และ “นโยบายกัญชาเสรี ไม่เท่ากับ นโยบายกัญชาทางการแพทย์” ประเทศไทยควรใช้นโยบายกัญชาทางการแพทย์ ไม่ใช่นโยบายกัญชาเสรี
2. นโยบายการปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลที่แล้ว โดยไม่รอให้มีกฎหมายกัญชาออกมาบังคับใช้ก่อน เป็น “ความผิดพลาดทางนโยบายอย่างร้ายแรง” เพราะทำให้เกิดกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ ดังนั้นการนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดในระหว่างรอการทำกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชาจึงเป็นแนวนโยบายที่ถูกต้องอย่างยิ่ง
กัญชามีทั้งประโยชน์และโทษ เปรียบเสมือนทะเล ที่มีประโยชน์ คือ ทำให้เด็กสามารถเล่นน้ำได้อย่างสนุกสนาน แต่ก็มีโทษ คือ ทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ กฎหมายกัญชาที่เหมาะสมเปรียบเสมือนห่วงยางที่จะช่วยให้เด็กเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย การปลดกัญชาเสรีด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยไม่รอกฎหมายกัญชา เปรียบเสมือนการโยนเด็กลงไปในทะเลโดยยังไม่มีห่วงยางให้ใช้ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง การนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดดังเดิม ในขณะที่กำลังดำเนินการทำกฎหมายกัญชาที่เหมาะสม คือ
การนำเด็กขึ้นจากน้ำทะเลทันทีในขณะที่กำลังทำห่วงยางที่ดีให้เสร็จ แล้วจึงค่อยให้เด็กลงไปในทะเลอีกครั้งพร้อมห่วงยางที่ดี นโยบาย MOU ข้อ
3. การกล่าวอ้างว่านโยบาย MOU ข้อที่ 16 นี้ จะทาให้ผู้ประกอบการกัญชาเสียหายมาก และข่มขู่ว่าจะมีม็อบกัญชามาขัดขวาง มีข้อโต้แย้งต่อการกล่าวอ้างนี้อยู่ 3 ประการ คือ
1) การคงอยู่ของนโยบายกัญชาเสรีก็ทำให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้นำศาสนา เสียหายเช่นกัน และมีจานวนมากกว่ากันหลายเท่าตัว การปล่อยนโยบายกัญชาเสรีไว้ก็จะถูกต่อต้านเช่นกัน โดยมีตัวเลขที่สะท้อนว่ามีประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายกัญชาเสรีมากกว่าผู้ที่เห็นด้วยหลายเท่าตัว ดังนี้ พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมที่คัดค้านนโยบายกัญชาเสรีอย่างชัดเจนจำนวน 4 พรรค ได้รับเสียงเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อรวมกันสูงถึง 26.7 ล้านเสียง ขณะที่พรรคที่ผลักดันนโยบายกัญชาเสรีได้รับเสียงเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเพียง 1.1 ล้านเสียง ห่างกันถึง กว่า 24 เท่าตัว โดยคะแนนเสียงในลักษณะนี้มีความเห็นต่อนโยบายกัญชาเสรีรวมอยู่ด้วยในระดับหนึ่ง
2) ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องรับผิดชอบกับความเสี่ยงในการทาธุรกิจของตนเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งด้านกำไรและขาดทุน
JJNY : 5in1 ปริญญาแนะ3ทางออก│“เศรษฐา”ยันอยู่เพื่อไทย│ยัน‘พิธาไม่ผิด’แนะสู้คดี│หนุนMOU กัญชา│ฟิทช์เตือนความไม่แน่นอน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3997416
‘ปริญญา’ แนะ 3 ทางเลือก ก้าวไกล-เพื่อไทย ต้องเข้าใจกัน หรือยกตำแหน่งให้พรรครอง ชี้ประชาชนจะผิดหวัง หากแตกกันเพราะตำแหน่ง
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 25 พฤษภาคม ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ประเด็นการจัดตั้งรัฐบาล หลังจบเสวนางานวิชาการ “ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.เลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายทรมาน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มีผลอย่างไร และใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบ” ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ห้องศาลจำลอง
ผศ.ดร.ปริญญาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในตอนหนึ่งว่า ทางเลือกมีหลายทาง
1. คือเพื่อไทยยอมก้าวไกล
2. ก้าวไกลยอมเพื่อไทย บนเงื่อนไขว่า เป็นรัฐบาลด้วยกันและเป็นฝ่ายค้านด้วยกัน
หรือ 3. ให้พรรคอันดับอื่นไปก็เป็นอีกทางหนึ่ง ถ้าอันที่ 1 และ 2 ไม่ได้ก็มี 3 เป็นอีกทางเลือก
“ผมยกตัวอย่างเช่น พรรคประชาชาติมาอันดับ 3 คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งได้ เรียนว่าใน 3 ทางนี้ เป็นทางไหนก็ได้ ขอให้รัฐบาลเดินหน้าไปตามวิถีทางที่ประชาชนได้เลือก เสียงข้างมากได้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นการชนะขาดระหว่างฝ่ายที่เป็นฝ่ายค้านเดิม 313 เสียงกับรัฐบาลเดิม 2 พรรครวมกัน 76 เสียง มันชนะขาด
ส่วนนี้คือเจตจำนงของประชาชน ถ้าหากว่ารัฐบาลจะไม่เกิดขึ้นมา เพราะตกลงเรื่องตำแหน่งประธานสภาไม่ได้ นี่เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดแบบนั้น” ผศ.ดร.ปริญญาแนะ
ผศ.ดร.ปริญญากล่าวสรุปว่า ย้ำว่ามันมี 3 ทาง
1. เพื่อไทยยอมก้าวไกล จะแบ่งหน้าที่อื่นประการใดมาชดเชยก็ตกลงกัน
2. ก้าวไกลยอมเพื่อไทย แต่ถ้าเป็นสูตรหลังมันต้องมีคำมั่นสัญญาว่าจะเป็นฝ่ายค้านไปด้วยกัน เป็นรัฐบาลด้วยกัน ต้องเข้าใจว่าก้าวไกลเขาก็ฟังข่าวแบบที่เราฟังกัน
“อย่าลืมว่าในพลังประชารัฐมี ส.ส.เก่าของเพื่อไทยตั้งเยอะ ก็ต้องเข้าใจเขา หรือ 3.เป็นอีกทางหนึ่งคือให้ประชาชาติเขาไปเลยไหม นี่เป็นแค่ตัวอย่าง สรุปคือทางไหนก็ได้ อย่ามาแตกกันเพราะตำแหน่งประธานสภา เพราะประชาชนเขาผิดหวัง” ผศ.ดร.ปริญญาทิ้งท้าย
“เศรษฐา”ยันอยู่เพื่อไทย ตอบคำถามถ้าเป็นนายกฯ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดย ส.ส.ร.ภายใน 18 เดือน
https://www.matichon.co.th/politics/news_3997309
‘เศรษฐา’ ยันอยู่เพื่อไทย ตอบคำถามถ้าเป็นนายกฯ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ร่างรัฐธรรมนูญ ใหม่ โดย ส.ส.ร.ภายใน 18 เดือน
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่ำวันที่ 24 พฤษภาคม หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ จัดงาน “JOURNEY TO TRANSFORM” ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 47 “ประชาชาติธุรกิจ” ที่ห้องอินฟินิตี้ 1-2 โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ รางน้ำ โดยเชิญ นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) และนายเศรษฐา ทวีสิน อดีต ceo บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย เป็นวิทยากร
สำหรับนายเศรษฐาได้ขึ้นเวทีโดยมีนายสรกล อดุลยานนท์ เป็นผู้สัมภาษณ์ โดยสอบถามถึงประสบการณ์ทางการเมืองหลังจากการหาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยนายเศรษฐากล่าวว่า ได้รับบทเรียนมากมาย โดยเรื่องการพูดนั้นต้องระมัดระวัง และการประชุมพรรคเพื่อไทยวันที่ 24 พฤษภาคมก็ได้สารภาพว่าเข้ามาช้าไป อาจทำให้มีผลต่อการเลือกตั้ง เพราะก่อนหน้านั้นยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ โดยคนที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ คือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย
นายเศรษฐายืนยันว่า จะอยู่กับพรรคเพื่อไทย และยังมีความหวังทางการเมือง โดยล่าสุดได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปรับปรุงพัฒนาพรรคเพื่อไทย หลังจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาพลาดจากเป้าหมายไปมาก
ในช่วงสุดท้ายนายสรกลได้มอบให้นายอาทิตย์เป็นผู้สอบถาม โดยนายอาทิตย์สอบถามว่า ถ้าได้เป็นนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐาจะทำอะไรก่อน นายเศรษฐาตอบว่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง คาดว่าจะใช้เวลา 18 เดือน ระหว่างนั้นก็จะดำเนินการอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนการเกณฑ์ทหารมาเป็นการสมัครใจ ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ รวมถึงการแก้ปัญหาประมงจากกฎไอยูยู
อดีตเลขากมธ.กฎหมาย ยัน ‘พิธาไม่ผิด’ แนะสู้คดีหุ้นITV เตือนคนร้อง ระวังโดนฟ้อง ‘แจ้งข้อมูลเท็จ’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3996843
อดีตเลขา กมธ.ฯ ยกข้อกฎหมาย ยัน ‘พิธาไม่ผิด’ แนะสู้คดีถือหุ้น ITV เตือนคนร้องระวังโดนฟ้อง ‘แจ้งข้อมูลเท็จ’
สืบเนื่องจากกรณีที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ร้องเรียนไปยัง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถึงประเด็นที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถือหุ้นของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV) จำนวน 42,000 หุ้น โดยมีการร้องเรียนว่า ผิดกฎหมายการเลือกตั้ง และให้ กกต.ตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) นั้น
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณพลเดช มณีลังกา อดีตเลขานุการกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้สัมภาษณ์กับ ‘มติชนทีวี’ ว่า หากย้อนไปเมื่อปี 2562 จะเห็นว่าได้มีการฟ้องร้องนักการเมืองในกรณีถือหุ้นสื่อ และมีการตัดสินให้มีความผิด ถูกปลดจากตำแหน่ง ส.ส.หลายคน แต่ในปัจจุบันมีคำวินิจฉัยที่เปลี่ยนไปจากในอดีตตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณี คือการถือหุ้นนั้นหากไม่มากพอที่จะสามารถกำหนดทิศทางสื่อได้ ให้ถือว่า ไม่มีความผิด และบริษัทไม่ได้มีการดำเนินการสื่อ ถือว่าไม่ผิดเช่นกัน
นายณพลเดชชี้ว่า คดีความดังกล่าวนั้น นายพิธามีสัดส่วนของหุ้นเป็นจำนวนที่น้อยมาก ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีความสามารถ หรือมีอำนาจสั่งการให้สื่อเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตีความตามบทบัญญัติกฎหมาย การมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเหตุเป็นผู้ถือหุ้น ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงถือว่าไม่มีความผิด
นอกจากนี้ มีการตรวจสอบไปถึงงบการเงินของบริษัท พบว่าบริษัทไม่ได้ประกอบกิจการ และมีรายได้ อีกทั้งยังได้ตรวจสอบถึง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่า บริษัทไม่ได้ยื่นต่ออายุหลังจากมีการยกฟ้อง
นายณพลเดชกล่าวต่อว่า การถือหุ้นสื่อ ที่มิอาจทำให้สื่อช่วยเหลือ หรือประชาสัมพันธ์ในการเลือกตั้งได้ ย่อมไม่ผิด และยังได้มีการลงรายละเอียดถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในกรณีถือหุ้นสื่อ หรือการมุ่งประสงค์ร้ายของผู้ที่มาร้องเรียน จุดประสงค์เพื่อให้นายพิธา พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ซึ่งการร้องเรียนนี้อาจจะส่งผลไปถึงตำแหน่งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจจะผิดตามกฎหมายตามมาตรา 173 ที่ว่าด้วยผู้ใดมิได้ทำความผิดเกิดขึ้น และมีการแจ้งหรือร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานสอบสวน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และหาก กกต. ร้องต่อศาล ก็อาจจะมีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 175 คือผู้ใดนำความเป็นเท็จ ฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำผิดกฎหมายอาญาแรงกว่าความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ นายณพลเดชยังชี้ให้นายพิธา ต่อสู้ใน 2 ประเด็นข้างต้น
“หากจะสู้คดี ให้สู้ใน 2 ประเด็นดังกล่าว และฟ้องกลับคนร้องเรียนด้วย” นายณพลเดชกล่าว
เครือข่ายแพทย์หนุนMOU เรื่องกัญชาเป็นยาเสพติด
https://www.innnews.co.th/news/criminal/news_556501/
เครือข่ายแพทย์ฯ ต้านยาเสพติด ทำจดหมายเปิดผนึกถึง 8 พรรคร่วม หนุน MOU นำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด
เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด ทำจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 8 ถึง พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค เรื่อง ข้อเท็จจริงและแนวคิดการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยมีเนื้อหา ระบุว่า
สืบเนื่องจากการแถลง MOU ของ 8 ว่าที่พรรคร่วมรัฐบาล โดยในข้อที่ 16 กำหนดให้ “นำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดให้โทษผ่านการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา” ซึ่งต่อมามีข่าวการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อนโยบายการนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดนี้ ของกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ทางเครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด ขอเสนอข้อเท็จจริงและแนวคิดการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพื่อสนับสนุนการดาเนินการตาม MOU ข้อที่ 16 มาดังนี้
1. “ตัวกัญชา ไม่เท่ากับ นโยบายกัญชา” กัญชามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ควรนำมาใช้อย่างถูกต้องด้วยนโยบายกัญชาทางการแพทย์ที่เหมาะสม และ “นโยบายกัญชาเสรี ไม่เท่ากับ นโยบายกัญชาทางการแพทย์” ประเทศไทยควรใช้นโยบายกัญชาทางการแพทย์ ไม่ใช่นโยบายกัญชาเสรี
2. นโยบายการปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลที่แล้ว โดยไม่รอให้มีกฎหมายกัญชาออกมาบังคับใช้ก่อน เป็น “ความผิดพลาดทางนโยบายอย่างร้ายแรง” เพราะทำให้เกิดกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ ดังนั้นการนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดในระหว่างรอการทำกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชาจึงเป็นแนวนโยบายที่ถูกต้องอย่างยิ่ง
กัญชามีทั้งประโยชน์และโทษ เปรียบเสมือนทะเล ที่มีประโยชน์ คือ ทำให้เด็กสามารถเล่นน้ำได้อย่างสนุกสนาน แต่ก็มีโทษ คือ ทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ กฎหมายกัญชาที่เหมาะสมเปรียบเสมือนห่วงยางที่จะช่วยให้เด็กเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย การปลดกัญชาเสรีด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยไม่รอกฎหมายกัญชา เปรียบเสมือนการโยนเด็กลงไปในทะเลโดยยังไม่มีห่วงยางให้ใช้ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง การนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดดังเดิม ในขณะที่กำลังดำเนินการทำกฎหมายกัญชาที่เหมาะสม คือ
การนำเด็กขึ้นจากน้ำทะเลทันทีในขณะที่กำลังทำห่วงยางที่ดีให้เสร็จ แล้วจึงค่อยให้เด็กลงไปในทะเลอีกครั้งพร้อมห่วงยางที่ดี นโยบาย MOU ข้อ
3. การกล่าวอ้างว่านโยบาย MOU ข้อที่ 16 นี้ จะทาให้ผู้ประกอบการกัญชาเสียหายมาก และข่มขู่ว่าจะมีม็อบกัญชามาขัดขวาง มีข้อโต้แย้งต่อการกล่าวอ้างนี้อยู่ 3 ประการ คือ
1) การคงอยู่ของนโยบายกัญชาเสรีก็ทำให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้นำศาสนา เสียหายเช่นกัน และมีจานวนมากกว่ากันหลายเท่าตัว การปล่อยนโยบายกัญชาเสรีไว้ก็จะถูกต่อต้านเช่นกัน โดยมีตัวเลขที่สะท้อนว่ามีประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายกัญชาเสรีมากกว่าผู้ที่เห็นด้วยหลายเท่าตัว ดังนี้ พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมที่คัดค้านนโยบายกัญชาเสรีอย่างชัดเจนจำนวน 4 พรรค ได้รับเสียงเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อรวมกันสูงถึง 26.7 ล้านเสียง ขณะที่พรรคที่ผลักดันนโยบายกัญชาเสรีได้รับเสียงเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเพียง 1.1 ล้านเสียง ห่างกันถึง กว่า 24 เท่าตัว โดยคะแนนเสียงในลักษณะนี้มีความเห็นต่อนโยบายกัญชาเสรีรวมอยู่ด้วยในระดับหนึ่ง
2) ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องรับผิดชอบกับความเสี่ยงในการทาธุรกิจของตนเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งด้านกำไรและขาดทุน