ก.คลังเปิดทาง “รัฐบาลพิธา” รื้องบปี’67 หัวเชื้อ “สมัยบิ๊กตู่” วงเงิน3.35ล้านล.
https://www.matichon.co.th/politics/news_3987603
ก.คลังเปิดทาง “รัฐบาลพิธา” รื้องบปี’67 หัวเชื้อ “สมัยบิ๊กตู่” วงเงิน 3.35 ล้านล้าน เผยเหลือเพดานกู้เพิ่มอีกแค่ 1.5 ล้านล้าน
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงบประมาณได้เตรียมหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อปรับรายการในร่างพระราชบัญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุด ที่มี พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการเมื่อเดือนมีนาคม 2566 เพื่อดูว่ามีรายการในงบประมาณใดบ้างที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายปี 2567 จะสามารถทำได้ในสองแนวทาง คือ การปรับไส้ในของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ หรืออีกทางคือ การรื้อทั้งฉบับแล้วทำร่างใหม่ ซึ่งจะต้องมาพิจารณารายได้และรายจ่าย และประมาณการเศรษฐกิจใหม่ทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดว่า พ.ร.บ.งบปี 2567 ซึ่งตามปฏิทินงบประมาณต้องประกาศใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป นั้น น่าจะล่าช้าออกไปอีก คาดว่าอย่างช้าจะสามารถประกาศใช้ พ.ร.บ.งบปี 2567 ได้ภายในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2567 หรือล่าช้ามาก ออกไปราว 6 เดือนเหตุเพราะต้องรัฐบาลชุดใหม่และรัฐสภาชุดใหม่ที่จะทำหน้าที่ดูแล พ.ร.บ.งบปี 2567
สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.งบปี 2567 ที่รัฐบาล พล.อ.
ประยุทธ์ได้อนุมัติไปแล้วนั้น กำหนดให้มีงบประมาณรายจ่ายจำนวน 3.35 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ เป็นจำนวน 2.49 ล้านล้านบาท รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 3.37 หมื่นล้านบาท รายจ่ายเพื่อการลงทุน จำนวน 7.17 แสนล้านบาท และรายจ่ายชำระคืนเงินกู้ จำนวน 1.17 แสนล้านบาท ทั้งนี้ งบประมาณในปี 2567 ยังคงเป็นการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล คือ รายจ่ายสูงกว่ารายรับ โดยรัฐบาลวางแผนกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 5.93 แสนล้านบาท ขณะที่ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 19.42 ล้านล้านบาท
รายงานระบุต่อว่า สำหรับวงเงินที่รัฐบาลจะสามารถกู้ได้นั้น จะอยู่ภายใต้เพดานหนี้สาธารณะของรัฐบาล ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เป็นผู้กำหนดไว้ว่า ไม่เกิน 70% ของจีดีพี โดย ณ มีนาคม 2566 หนี้สาธารณะของรัฐบาลอยู่ที่ 10.79 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61.23% ของจีดีพี โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) คาดว่า ภายในสิ้นปีงบ 2566 (สิ้นเดือนกันยายน 2566) ระดับหนี้สาธารณะของรัฐบาลจะขึ้นไปอยู่ที่ 61.73% ของจีดีพี ทำให้เหลือช่องที่จะกู้ได้อีก 8-9% ของจีดีพี คิดเป็นวงเงินกู้ 1.5 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาระรายจ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลมีภาระในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น โดยตามแผนการคลังระยะปานกลาง ชี้ว่า งบชำระหนี้ของรัฐบาล เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปีงบ 2567 อยู่ที่ 9.63% ของงบประมาณรายจ่าย และปีงบ 2568 จะอยู่ที่ 11.15% และคาดว่าในปีงบ 2571 จะอยู่ที่ 16.24%
โวยปมพ.ร.บ.ทรมานอุ้มหายฯ ลั่นรัฐบาลรักษาการต้องรับผิดชอบ
https://www.dailynews.co.th/news/2347089/
ปธ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แนะรัฐบาลรักษาการ แสดงความรับผิดชอบ กรณี ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหาย ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ม.172 วรรคหนึ่ง
จากกรณี ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย มีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคสี่ วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 กรณีไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และให้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้น เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคสาม ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 18 พ.ค. นาย
สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า คงมีหลายประเด็นที่ควรจะต้องพูดถึง ซึ่งสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ เป็น โมฆะ ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้ได้ จึงเป็นเหตุทำให้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ตนจึงอยากถามว่า รัฐบาลรักษาการ ในขณะนี้ จะแสดงความรับผิดชอบ ต่อกรณีนี้อย่างไร ซึ่งโดยปกติที่ผ่านมานั้น โดยมารยาททางการเมือง กฎหมายที่รัฐบาลออกเป็นพระราชกำหนด และรัฐสภาไม่รับร่าง หรือไม่ออกเป็นกฎหมายให้ส่วนใหญ่ คณะรัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง โดยมารยาท
นาย
สุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ต่อมารัฐบาลรักษาการ และ หน่วยงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งออกมาแสดงความรับผิดชอบ และขอโทษต่อประชาชน ในการออก พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ผิดพลาด โดยเฉพาะการเยียวยาประชาชนที่เสียประโยชน์ หาก พ.ร.บ.ซ้อมทรมานฯ มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 การไม่ได้รับความเป็นธรรม ตามกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการดำเนินการในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่แต่เดิม รัฐบาลเอง แจ้งว่า จะมีความพร้อมในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 แต่ในขณะนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ชัดแล้วว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 รัฐบาลรักษาการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ควรจะต้องเร่งและดำเนินการสั่งการในแผนทั้งหมด ที่จะนำมาใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 มาดำเนินการปฏิบัติในทันที ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 อย่างไร
“
สิ่งสำคัญที่สุด คือ เรื่องความพร้อมในการจัดหากล้อง สำหรับบันทึกวิดีโอ ตนมองว่า ในปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการจัดหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ตนมองว่า ในปัจจุบัน กล้องบันทึกวิดีโอต่างๆ มีราคาที่ไม่แพงมาก และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปหาซื้อกล้องที่มีราคาแพง หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะตามสถานีตำรวจต่างๆ สามารถจัดหาได้ไม่ยาก โดยเฉพาะการเร่งมอบ นโยบายจากรัฐบาล และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรเร่งสั่งการด่วน ให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการอยู่ ปฏิบัติอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะให้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีการบังคับใช้ และให้การคุ้มครองทั้งตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วไป ทั้งจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนจะดีขึ้นมีความเชื่อใจกันมากขึ้น” นาย
สุรพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย
ชาวแปดริ้วทำลายสถิติ ปี'66 กาบัตรพุ่ง 82.84% ปลื้มเคลียร์ข่าวเท็จ 'บัตร ตปท.' จบอย่างไว
https://www.matichon.co.th/politics/news_3987732
กกต.ปลื้ม ชาวแปดริ้วใช้สิทธิเลือกตั้งติดท็อป 1 ใน 5 ของประเทศมากถึง 82.84 เกินกว่าเป้าที่คาดหวังไว้ และมากกว่าปี 2562 ที่เคยทำสถิติร้อยละ 79.07 ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องร่วมมือทำงาน เผยไม่มีพบปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง เรื่องร้องเรียนน้อย แต่พบมีปัญหาการปล่อยข่าวปลอมทำระส่ำในวันนับคะแนน
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายธนกฤต นาคจารุพงษ์ ผอ.กกต. จ.ฉะเชิงเทรา ถึงผลการจัดเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่มีอยู่ 969 หน่วยเลือกตั้ง ถือเป็นความสำเร็จร่วมกันของทุกฝ่ายที่ช่วยให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย มีประชาชนออกมาใช้สิทธิมากถึง 477,004 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 575,796 คน
จำนวนบัตรดี 450,634 บัตร คิดเป็น 94.47 บัตรเสีย 20,871 บัตร หรือประมาณ 4.38 เปอร์เซ็นต์ บัตรไม่เลือกผู้ใด 5,500 บัตร หรือประมาณ 1.15 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงถึง 82.84 ถือว่ามากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อปี 2562 ที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 79.07 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทำให้ จ.ฉะเชิงเทรา ติดอันดับเป็น 1 ใน 5 ของจังหวัดที่มีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุดจากทั่วประเทศ ซึ่งระหว่างนี้ กกต.ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลว่าอยู่ในลำดับที่เท่าใด
นาย
ธนกฤตกล่าวว่า ยังไม่พบว่ามีปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง ส่วนเรื่องร้องเรียนมีเพียง 1 เรื่อง แต่ระหว่างการนับคะแนนในวันเลือกตั้งพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับ การปล่อยข่าวปลอม จนทำให้เกิดกระแสขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค ช่วงระหว่างการนับคะแนนเวลาประมาณ 18.00 น. มีเจ้าหน้าที่เข้ามารายงานว่ามีการนำเสนอข่าวจนเป็นข่าวใหญ่โตไปทั่วประเทศว่า บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไม่ถูกนำมานับรวมในเขตเลือกตั้งที่ 3 (พื้นที่ อ.สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ และพนมสารคาม บางส่วน) เนื่องจากจัดส่งมาไม่ถึง หรือมาไม่ทันการนับคะแนนจนกลายเป็นบัตรเสีย
นาย
ธนกฤตกล่าวว่า ข้อเท็จจริงคือบัตรถูกส่งมาถึงในวันที่ 12 พ.ค. จำนวน 111 บัตร และวันที่ 13 พ.ค. ส่งมาอีก 5 บัตร ก่อนจะถึงวันเลือกตั้งรวม 116 ซอง และมีการนำออกมานับคะแนนรวมกับคะแนนในวันเลือกตั้งแล้ว จนทำให้เกิดความวุ่นวายในขณะนั้น มีคนโทรมาสอบถามตนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโจทย์ที่เราตอบไปแล้วว่าไม่จริง ต้องขอขอบคุณสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวออกไปว่าเรื่องจริงเป็นเช่นไร
“
การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์โปร่งใสในครั้งนี้ทำให้ภาพที่ออกไปสะท้อนถึงคนทั้งประเทศ และการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์ของคนทั้งโลกด้วย ขณะนี้คนในอาเซียนและคนทั้งโลกกำลังมองเราว่าการจัดการเลือกตั้งเป็นแบบไหน หากมีเรื่องใดเกิดขึ้นก็จะถูกโฟกัส เช่น กรณีนำเสนอข่าวไม่จริงเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ทั้งประเทศจึงโฟกัสมาที่ จ.ฉะเชิงเทรา แต่เรามารถตอบเรื่องจริงได้อย่างรวดเร็ว ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ทำให้การเลือกตั้งในครั้งนี้สุจริตโปร่งใสเที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย” นาย
ธนกฤตกล่าว
JJNY : ก.คลังเปิดทาง“รบ.พิธา” รื้องบตู่│โวยปมพ.ร.บ.ทรมานอุ้มหายฯ│ชาวแปดริ้วทำลายสถิติ│รัสเซียไม่คิดว่าจะยึดบักห์มุตได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3987603
ก.คลังเปิดทาง “รัฐบาลพิธา” รื้องบปี’67 หัวเชื้อ “สมัยบิ๊กตู่” วงเงิน 3.35 ล้านล้าน เผยเหลือเพดานกู้เพิ่มอีกแค่ 1.5 ล้านล้าน
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงบประมาณได้เตรียมหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อปรับรายการในร่างพระราชบัญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุด ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการเมื่อเดือนมีนาคม 2566 เพื่อดูว่ามีรายการในงบประมาณใดบ้างที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายปี 2567 จะสามารถทำได้ในสองแนวทาง คือ การปรับไส้ในของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ หรืออีกทางคือ การรื้อทั้งฉบับแล้วทำร่างใหม่ ซึ่งจะต้องมาพิจารณารายได้และรายจ่าย และประมาณการเศรษฐกิจใหม่ทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดว่า พ.ร.บ.งบปี 2567 ซึ่งตามปฏิทินงบประมาณต้องประกาศใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป นั้น น่าจะล่าช้าออกไปอีก คาดว่าอย่างช้าจะสามารถประกาศใช้ พ.ร.บ.งบปี 2567 ได้ภายในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2567 หรือล่าช้ามาก ออกไปราว 6 เดือนเหตุเพราะต้องรัฐบาลชุดใหม่และรัฐสภาชุดใหม่ที่จะทำหน้าที่ดูแล พ.ร.บ.งบปี 2567
สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.งบปี 2567 ที่รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ได้อนุมัติไปแล้วนั้น กำหนดให้มีงบประมาณรายจ่ายจำนวน 3.35 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ เป็นจำนวน 2.49 ล้านล้านบาท รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 3.37 หมื่นล้านบาท รายจ่ายเพื่อการลงทุน จำนวน 7.17 แสนล้านบาท และรายจ่ายชำระคืนเงินกู้ จำนวน 1.17 แสนล้านบาท ทั้งนี้ งบประมาณในปี 2567 ยังคงเป็นการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล คือ รายจ่ายสูงกว่ารายรับ โดยรัฐบาลวางแผนกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 5.93 แสนล้านบาท ขณะที่ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 19.42 ล้านล้านบาท
รายงานระบุต่อว่า สำหรับวงเงินที่รัฐบาลจะสามารถกู้ได้นั้น จะอยู่ภายใต้เพดานหนี้สาธารณะของรัฐบาล ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เป็นผู้กำหนดไว้ว่า ไม่เกิน 70% ของจีดีพี โดย ณ มีนาคม 2566 หนี้สาธารณะของรัฐบาลอยู่ที่ 10.79 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61.23% ของจีดีพี โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) คาดว่า ภายในสิ้นปีงบ 2566 (สิ้นเดือนกันยายน 2566) ระดับหนี้สาธารณะของรัฐบาลจะขึ้นไปอยู่ที่ 61.73% ของจีดีพี ทำให้เหลือช่องที่จะกู้ได้อีก 8-9% ของจีดีพี คิดเป็นวงเงินกู้ 1.5 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาระรายจ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลมีภาระในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น โดยตามแผนการคลังระยะปานกลาง ชี้ว่า งบชำระหนี้ของรัฐบาล เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปีงบ 2567 อยู่ที่ 9.63% ของงบประมาณรายจ่าย และปีงบ 2568 จะอยู่ที่ 11.15% และคาดว่าในปีงบ 2571 จะอยู่ที่ 16.24%
โวยปมพ.ร.บ.ทรมานอุ้มหายฯ ลั่นรัฐบาลรักษาการต้องรับผิดชอบ
https://www.dailynews.co.th/news/2347089/
ปธ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แนะรัฐบาลรักษาการ แสดงความรับผิดชอบ กรณี ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหาย ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ม.172 วรรคหนึ่ง
จากกรณี ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย มีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคสี่ วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 กรณีไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และให้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้น เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 วรรคสาม ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 18 พ.ค. นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า คงมีหลายประเด็นที่ควรจะต้องพูดถึง ซึ่งสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ เป็น โมฆะ ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้ได้ จึงเป็นเหตุทำให้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ตนจึงอยากถามว่า รัฐบาลรักษาการ ในขณะนี้ จะแสดงความรับผิดชอบ ต่อกรณีนี้อย่างไร ซึ่งโดยปกติที่ผ่านมานั้น โดยมารยาททางการเมือง กฎหมายที่รัฐบาลออกเป็นพระราชกำหนด และรัฐสภาไม่รับร่าง หรือไม่ออกเป็นกฎหมายให้ส่วนใหญ่ คณะรัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง โดยมารยาท
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ต่อมารัฐบาลรักษาการ และ หน่วยงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งออกมาแสดงความรับผิดชอบ และขอโทษต่อประชาชน ในการออก พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ผิดพลาด โดยเฉพาะการเยียวยาประชาชนที่เสียประโยชน์ หาก พ.ร.บ.ซ้อมทรมานฯ มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 การไม่ได้รับความเป็นธรรม ตามกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการดำเนินการในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่แต่เดิม รัฐบาลเอง แจ้งว่า จะมีความพร้อมในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 แต่ในขณะนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ชัดแล้วว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 รัฐบาลรักษาการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ควรจะต้องเร่งและดำเนินการสั่งการในแผนทั้งหมด ที่จะนำมาใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 มาดำเนินการปฏิบัติในทันที ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 อย่างไร
“สิ่งสำคัญที่สุด คือ เรื่องความพร้อมในการจัดหากล้อง สำหรับบันทึกวิดีโอ ตนมองว่า ในปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการจัดหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ตนมองว่า ในปัจจุบัน กล้องบันทึกวิดีโอต่างๆ มีราคาที่ไม่แพงมาก และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปหาซื้อกล้องที่มีราคาแพง หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะตามสถานีตำรวจต่างๆ สามารถจัดหาได้ไม่ยาก โดยเฉพาะการเร่งมอบ นโยบายจากรัฐบาล และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรเร่งสั่งการด่วน ให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการอยู่ ปฏิบัติอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะให้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีการบังคับใช้ และให้การคุ้มครองทั้งตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วไป ทั้งจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนจะดีขึ้นมีความเชื่อใจกันมากขึ้น” นายสุรพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย
ชาวแปดริ้วทำลายสถิติ ปี'66 กาบัตรพุ่ง 82.84% ปลื้มเคลียร์ข่าวเท็จ 'บัตร ตปท.' จบอย่างไว
https://www.matichon.co.th/politics/news_3987732
กกต.ปลื้ม ชาวแปดริ้วใช้สิทธิเลือกตั้งติดท็อป 1 ใน 5 ของประเทศมากถึง 82.84 เกินกว่าเป้าที่คาดหวังไว้ และมากกว่าปี 2562 ที่เคยทำสถิติร้อยละ 79.07 ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องร่วมมือทำงาน เผยไม่มีพบปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง เรื่องร้องเรียนน้อย แต่พบมีปัญหาการปล่อยข่าวปลอมทำระส่ำในวันนับคะแนน
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายธนกฤต นาคจารุพงษ์ ผอ.กกต. จ.ฉะเชิงเทรา ถึงผลการจัดเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่มีอยู่ 969 หน่วยเลือกตั้ง ถือเป็นความสำเร็จร่วมกันของทุกฝ่ายที่ช่วยให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย มีประชาชนออกมาใช้สิทธิมากถึง 477,004 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 575,796 คน
จำนวนบัตรดี 450,634 บัตร คิดเป็น 94.47 บัตรเสีย 20,871 บัตร หรือประมาณ 4.38 เปอร์เซ็นต์ บัตรไม่เลือกผู้ใด 5,500 บัตร หรือประมาณ 1.15 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงถึง 82.84 ถือว่ามากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อปี 2562 ที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 79.07 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทำให้ จ.ฉะเชิงเทรา ติดอันดับเป็น 1 ใน 5 ของจังหวัดที่มีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุดจากทั่วประเทศ ซึ่งระหว่างนี้ กกต.ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลว่าอยู่ในลำดับที่เท่าใด
นายธนกฤตกล่าวว่า ยังไม่พบว่ามีปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง ส่วนเรื่องร้องเรียนมีเพียง 1 เรื่อง แต่ระหว่างการนับคะแนนในวันเลือกตั้งพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับ การปล่อยข่าวปลอม จนทำให้เกิดกระแสขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค ช่วงระหว่างการนับคะแนนเวลาประมาณ 18.00 น. มีเจ้าหน้าที่เข้ามารายงานว่ามีการนำเสนอข่าวจนเป็นข่าวใหญ่โตไปทั่วประเทศว่า บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไม่ถูกนำมานับรวมในเขตเลือกตั้งที่ 3 (พื้นที่ อ.สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ และพนมสารคาม บางส่วน) เนื่องจากจัดส่งมาไม่ถึง หรือมาไม่ทันการนับคะแนนจนกลายเป็นบัตรเสีย
นายธนกฤตกล่าวว่า ข้อเท็จจริงคือบัตรถูกส่งมาถึงในวันที่ 12 พ.ค. จำนวน 111 บัตร และวันที่ 13 พ.ค. ส่งมาอีก 5 บัตร ก่อนจะถึงวันเลือกตั้งรวม 116 ซอง และมีการนำออกมานับคะแนนรวมกับคะแนนในวันเลือกตั้งแล้ว จนทำให้เกิดความวุ่นวายในขณะนั้น มีคนโทรมาสอบถามตนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโจทย์ที่เราตอบไปแล้วว่าไม่จริง ต้องขอขอบคุณสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวออกไปว่าเรื่องจริงเป็นเช่นไร
“การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์โปร่งใสในครั้งนี้ทำให้ภาพที่ออกไปสะท้อนถึงคนทั้งประเทศ และการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์ของคนทั้งโลกด้วย ขณะนี้คนในอาเซียนและคนทั้งโลกกำลังมองเราว่าการจัดการเลือกตั้งเป็นแบบไหน หากมีเรื่องใดเกิดขึ้นก็จะถูกโฟกัส เช่น กรณีนำเสนอข่าวไม่จริงเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ทั้งประเทศจึงโฟกัสมาที่ จ.ฉะเชิงเทรา แต่เรามารถตอบเรื่องจริงได้อย่างรวดเร็ว ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ทำให้การเลือกตั้งในครั้งนี้สุจริตโปร่งใสเที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย” นายธนกฤตกล่าว