มูลนิธิ ปชต.เผยผลสำรวจ ปชช.ไทยเกิน 50% มองประเทศยังเป็นประชาธิปไตยไม่พอ
https://www.isranews.org/article/isranews-news/118464-isranews-Democracy.html
มูลนิธิพันธมิตรประชาธิปไตยทำดัชนี เผยผลสำรวจ ปชช.ไทย 32 เปอร์เซ็นต์มอง รบ.ยังไม่ดำเนินการไปตามวิถีประชาธิปไตย ชี้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์มองว่าประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยไม่พอ ขณะคนส่วนมากมอง รบ.ไทยจำกัดเสรีภาพเกินขอบเขตช่วงโควิด
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่ามูลนิธิกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยหรือ มูลนิธิ Alliance of Democracies ซึ่งเป็นมูลนิธิของนายอันเดอร์ส ฟ็อกห์ ราสมัสเซน อดีตเลขาธิการนาโต้ได้มีการจัดทำดัชนีการรับรู้ประชาธิปไตยประจำปี 2566 ซึ่งลักษณะของดัชนีจะเป็นการสำรวจความคิดเห็นของประชากรในประเทศต่างๆเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ
โดยในกรณีของประเทศไทยนั้นมีการสำรวจประชากรไทยระบุว่าในกรณีของความเป็นประชาธิปไตย พบว่าประชาชนกลุ่มที่มีความรู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ดำเนินไปตามวิถีทางของประชาธิปไตยอยู่ที่ 32 เปอร์เซ็นต์ (เปอร์เซ็นต์ยิ่งน้อยยิ่งดี) ซึ่งเปอร์เซ็นต์นี้เทียบเท่ากับประเทศอิตาลี ส่วนประเทศที่ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลมีความเป็นประชาธิปไตยที่สุดสามอับดับแรกได้แก่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ 11 เปอร์เซ็นต์ เทียบเท่ากับประเทศอินเดีย และสิงคโปร์พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของความรู้สึกของประชาชนว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์
ส่วนประเทศที่ประชาชนมีความรู้สึกว่ารัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตยสูงสุดในสามอันดับแรกได้แก่ประเทศฮังการี อิหร่าน และเวเนซุเอลา โดยมีเปอร์เซ็นต์เท่ากันอยู่ที่ 51 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ผลสำรวจประชากรจำนวน 53 ประเทศพบว่า 41 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเหล่านี้ระบุว่าประเทศตัวเองยังไม่เป็นประชาธิปไตย มี 46 เปอร์เซ็นต์บอกว่าประเทศตัวเองเป็นประชาธิปไตยเหมาะสมแล้ว และอีก 13 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าประเทศตัวเองเป็นประชาธิปไตยมากเกินไป
โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น ผลสำรวจระบุว่าประชาชนประมาณมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์มองว่าประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยเพียงพอ ประชาชนอีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์เป็นว่าเป็นประชาธิปไตย และไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์มองว่าไทยมีประชาธิปไตยมากเกินไป
ในดัชนี้ยังได้ระบุถึงความรู้สึกของประชาชนที่คิดว่ารัฐบาลจำกัดเสรีภาพมากเกินไปในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติโควิด-19 พบว่าประเทศไทยมีประชาชนที่รู้สึกว่ารัฐบาลนั้นจำกัดเสรีภาพมากเกินไป โดยประชากรกลุ่มนี้พบว่ามีมากกว่า 41 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกันประชาชนที่รู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้จำกัดเสรีภาพช่วงโควิดแต่อย่างใด
ผลสอบลับ! สตง.พบหน่วยงานทหารปริศนา เบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อน 4.37 ล.-ชดใช้เงินแล้ว
https://www.isranews.org/article/isranews/118457-inves09996.html
เผยผลสอบลับ สตง. พบหน่วยงานในสังกัดทหารปริศนา เบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนาม 'นายสิบ-นายทหาร-อาสาสมัคร' ซ้ำซ้อน
ช่วงปี 63-64 กว่า 4.37 ล้าน - หลังแจ้งผลผู้บริหารสั่งสอบมีปัญหาจริง สั่งชดใช้ค่าเสียหายแล้ว
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แหล่งข่าวจากหน่วยงานกองทัพไทย เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ว่า ในช่วงปี 2565 หน่วยงานในสังกัดทหาร มีปัญหาการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อนกัน ของนายสิบ นายทหาร และอาสาสมัครทหาร เป็นจำนวนเงินกว่า 4.37 ล้านบาท
โดยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อนกันดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงปี 2563 - 2564 และถูกเจ้าหน้าที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้ามาตรวจสอบพบ และแจ้งให้ หน่วยงานในสังกัดทหารแห่งนี้ ดำเนินการแก้ไขปัญหา ควบคุมกำกับดูแล ให้การดำเนินงานเกิดความโปร่งใส ไม่ให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นอีก
"
หลังจาก สตง. ตรวจสอบพบข้อมูลเรื่องนี้ ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดทหารดังกล่าว ได้สั่งให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงและพบว่ามีปัญหาเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อนจริง จำนวนกว่า 4.37 ล้านบาท และมีการชดใช้ค่าความเสียหายแล้ว" แหล่งข่าวระบุ
ขณะที่แหล่งข่าวจากสตง. ให้ข้อมูลยืนยันสำนักข่าวอิศรา ว่า สตง. ตรวจสอบพบหน่วยงานในสังกัดทหารแห่งหนึ่ง มีปัญหาการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อนกัน ของนายสิบ นายทหาร และอาสาสมัครทหาร เป็นจำนวนเงินกว่า 4.37 ล้านบาท จริง และได้แจ้งผลการตรวจสอบให้หน่วยงานแห่งนี้ รับทราบ พร้อมกำชับให้ควบคุมกำกับดูแลการดำเนินงานในเรื่องนี้
เบื้องต้น หลังการตรวจสอบ ทางหน่วยงานรับตรวจได้แจ้งว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีปัญหาเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง และได้มีการสั่งให้ชดใช้ความเสียหายดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
ส่วนความคืบหน้าอื่นๆ สำนักข่าวอิศรา จะติดตามมานำเสนอต่อไป
เศรษฐา ปลุกประชาชนเทใจเลือกฝ่าย ปชต. ให้กำลังใจ พิธา ถูกร้องสอบถือหุ้นสื่อ
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7657570
เศรษฐา ปลุกประชาชนเทใจเลือกฝ่ายประชาธิปไตย ให้กำลังใจ “พิธา” ถูกร้องสอบปมถือหุ้นสื่อ เย้ย รวมไทยสร้างชาติ อย่ามั่นใจ พลังเงียบจะเลือก
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 11 พ.ค. 2566 ที่จ.เชียงใหม่ นาย
เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย (พท.) และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงความคาดหวังหลังการจัดเวทีปราศรัยที่ จ.เชียงใหม่ ในช่วงโค้งสุดท้าย จะสามารถดึงคะแนนเสียงได้แค่ไหน ว่า ตนมีความมั่นใจ เพราะ จ.เชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่สำคัญที่สุดของพรรคเพื่อไทย ถือเป็นโฮมทาวน์ของเรา เราจึงคาดหวังว่าเราจะได้ ส.ส.ยกทั้งจังหวัด
เมื่อถามว่ามีการประเมินว่าหลังการเลือกตั้งจะกลับไปสู่วังวนการเมืองเดิม ในฐานะแคนดิเคตนายกฯ จะมีแผนรับมือกับสถานการณ์อย่างไร นาย
เศรษฐา กล่าวว่า พี่น้องประชาชนเหนื่อยมามากแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญ ตนมั่นใจว่าพี่น้องประชาชนจะให้ฉันทามติกับพรรคที่ตัวเองชอบ
“
ส่วนเรื่องความวุ่นวาย ความไม่แน่นอน หรือความไม่เป็นธรรมทั้งหลาย ส่วนตัวหลังเข้ามาสู่สนามการเมืองแล้ว เราต้องมั่นใจในระบอบประชาธิปไตย และการทำงานขององค์กรอิสระ ความระแวง ความหวาดกลัวแน่นอนว่าต้องมีบ้าง วันนี้อีกไม่ถึง 48 ชั่วโมงจะถึงการเลือกตั้งแล้ว ดังนั้น เราต้องมั่นใจว่าระบบที่เราอยู่จะให้ความเป็นธรรม” นายเศรษฐา กล่าว
เมื่อถามว่าบนเวทีปราศรัย เมื่อวันที่ 10 พ.ค. มีการพูดถึงการรัฐประหาร และครอบครัวของนาย
เศรษฐาก็ได้รับผลกระทบ นาย
เศรษฐา กล่าวว่า เรื่องนี้จริงๆ แล้ว ตนไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง แต่ถูกเชิญตัวไป และตนก็ปฏิบัติตามทุกอย่าง มีการลิดรอนสิทธิของคนไทยคนหนึ่ง ตนเชื่อว่ามีอีกหลายคนที่ถูกกระทำเช่นกัน ตนเข้าใจแต่ตนไม่เห็นด้วยเรื่องของการข่มขู่ คุกคาม เราไม่ยอมรับการรัฐประหารและเผด็จการ ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญมาก ประชาชนต้องเทใจให้ฝ่ายประชาธิปไตยให้ได้รับชัยชนะ
เมื่อถามถึงการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ 3 คนของพรรคเพื่อไทย แต่ไม่บอกว่าใครจะเป็นนายกฯ เพื่อป้องกันการชี้เป้าและการเตะตัดขาใช้อุบัติเหตุทางการเมืองหรือไม่ นาย
เศรษฐา กล่าวว่า ก็เป็นความหวาดระแวง เพราะเราโดนมาแล้วหลายหน ตรงนี้ก็เป็นกลยุทธ์ของเราเหมือนกัน ต้องมีความระมัดระวังในการเดินไปข้างหน้าในเรื่องนี้ ยืนยันว่าทั้ง 3 คนพร้อม ใครคนหนึ่งได้เป็น อีก 2 คนก็พร้อมทำงานคู่
เมื่อถามถึงกรณีนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกร้องตรวจสอบหุ้นสื่อ ถือเป็นการเตะตัดขาหรือไม่ นาย
เศรษฐา กล่าวว่า ตนยังไม่ได้ดูข้อเท็จจริง แต่ก็เป็นกำลังใจให้ แน่นอนว่าทุกฝ่ายต้องได้รับความเป็นธรรม และเราก็มีความเป็นห่วงบางพรรคที่เสนอชื่อแคนดิเดตฯ มาเพียงชื่อเดียว
เมื่อถามถึงการปราศรัยใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 12 พ.ค.นี้ นาย
เศรษฐา กล่าวว่า ขอให้ทุกคนติดตาม การปราศรัยครั้งสุดท้าย เราหวังว่าจะโน้มน้าวคนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจให้เลือกเราได้ ทั้งนี้ มั่นใจว่าเราเป็นพรรคใหญ่ เราเป็นสถาบันการเมืองที่ยึดโยงกับประชาชนกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เรามั่นใจว่าทีมงานของเราพร้อม เชื่อว่าการปราศรัยของเราจะได้รับการติดตามจากประชาชน
เมื่อถามว่าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พยายามหาเสียงด้วยการปลุกพลังเงียบ หวั่นจะกระทบกับคะแนนของคนที่ยังไม่ตัดสินใจหรือไม่ นาย
เศรษฐา กล่าวว่า ไม่ได้หมายความว่าพลังเงียบจะเลือกพรรครวมไทยสร้างชาติทั้งหมด พลังเงียบที่ยังไม่ตัดสินใจก็มี เหตุผลที่เขาเงียบก็เพราะเขายังไม่ตัดสินใจ ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของพรรคเพื่อไทยและทุกพรรคที่จะดึงคะแนนเสียงตรงนี้ออกมา ส่วนอะไรที่จะดึงคะแนนตรงนี้ออกมาได้ คือความชัดเจน ประสบการณ์
“
เราอย่าอยู่กับความฝัน แม้ความฝันไม่เสียเงิน เราอยู่กับความเป็นจริงดีกว่า ดูในอดีตดีกว่าว่าพรรคเพื่อไทยเคยทำนโยบายยากๆ ให้เกิดขึ้นได้ และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน” นาย
เศรษฐา กล่าว
‘วี วอช’ ขยี้ 7 ข้อกังวลเลือกตั้งล่วงหน้า จี้ 4 มาตรการ ดักทาง ‘บัตรเขย่ง’ 14 พฤษภา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3974129
We watch จัดแถลง 7 ข้อกังวล พร้อมแนะ กกต. เพิ่มความโปร่งใสนับคะแนน ป้องกัน ‘บัตรเขย่ง’ งอก
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์เลือกตั้ง ปี 2566 (We Watch) จัดแถลงการณ์ ความเห็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปล่วงหน้า-นอกเขต วันที่ 7 พ.ค. 2566 นำโดย น.ส.
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล นักกิจกรรมการเมือง,
ไผ่ ดาวดิน หรือ นาย
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักกิจกรรมการเมือง และ นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
‘
กิต’ ตัวแทนจากกลุ่ม We Watch แถลงว่า มีรายงานวันที่ 7 พฤษภาคม วันเลือกตั้งล่วงหน้า จากหน่วยเลือกทั้งหมด 447 ที่ อย่างน้อย 200 ที่ วันเลือกตั้งที่ผ่านมามีข้อกังวลอยู่ 7 ข้อ ได้แก่
1. เจ้าหน้าที่จ่าหน้าซองบัตรเลือกตั้งผิด
พบว่า คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งบางส่วน มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการระบุเลขหน้าซองของบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า ปัญหาที่เกิดขึ้นมากจนไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นความผิดพลาดของคณะกรรมการประจำหน่วยเท่านั้น แต่เป็นความผิดพลาดของการจัดอบรมคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหน้าที่พื้นฐานของ กกต.
2. การเสียสิทธิ์ของผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า
แม้ว่าการเลือกตั้งล่วงหน้ามีแถลงออกมาว่ามีคนมาใช้สิทธิ์กว่าร้อยละ 90 หรือประมาณ 2 ล้านกว่าคน แต่ในทางตรงกันข้าม มีคนไม่มาใช้สิทธิ์ 2 แสนคนซึ่งเป็นจำนวนมหาศาล เลยไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า “การเลือกตั้งที่ผ่านมามีการจัดการที่ประสิทธิภาพ มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี” ถ้าเปรียบเทียบกับ ปี 2557 ว่าด้วยระเบียบ กกต. สมาชิกผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2554 ข้อ 159 ระบุว่า ถ้าคนที่มาเลือกตั้งล่วงหน้าไม่สามารถมาใช้สิทธิได้ ก็สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปที่ภูมิลำเนาได้
3. เรื่องการลงทะเบียน
ที่เปิดลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 9 เมษายนเป็นวันสุดท้าย พบว่าระบบขัดข้อง ทำให้ประชาชนจำนวนมาก ไม่สามารถลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าได้
JJNY : 5in1 ยังเป็นประชาธิปไตยไม่พอ│พบหน่วยงานทหารปริศนา│เศรษฐาให้กำลังใจพิธา│‘วี วอช’ขยี้ 7ข้อ│สาวตัดพ้อ?ทำไมชุดนร.แพง
https://www.isranews.org/article/isranews-news/118464-isranews-Democracy.html
โดยในกรณีของประเทศไทยนั้นมีการสำรวจประชากรไทยระบุว่าในกรณีของความเป็นประชาธิปไตย พบว่าประชาชนกลุ่มที่มีความรู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ดำเนินไปตามวิถีทางของประชาธิปไตยอยู่ที่ 32 เปอร์เซ็นต์ (เปอร์เซ็นต์ยิ่งน้อยยิ่งดี) ซึ่งเปอร์เซ็นต์นี้เทียบเท่ากับประเทศอิตาลี ส่วนประเทศที่ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลมีความเป็นประชาธิปไตยที่สุดสามอับดับแรกได้แก่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ 11 เปอร์เซ็นต์ เทียบเท่ากับประเทศอินเดีย และสิงคโปร์พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของความรู้สึกของประชาชนว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์
ส่วนประเทศที่ประชาชนมีความรู้สึกว่ารัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตยสูงสุดในสามอันดับแรกได้แก่ประเทศฮังการี อิหร่าน และเวเนซุเอลา โดยมีเปอร์เซ็นต์เท่ากันอยู่ที่ 51 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ผลสำรวจประชากรจำนวน 53 ประเทศพบว่า 41 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเหล่านี้ระบุว่าประเทศตัวเองยังไม่เป็นประชาธิปไตย มี 46 เปอร์เซ็นต์บอกว่าประเทศตัวเองเป็นประชาธิปไตยเหมาะสมแล้ว และอีก 13 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าประเทศตัวเองเป็นประชาธิปไตยมากเกินไป
โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น ผลสำรวจระบุว่าประชาชนประมาณมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์มองว่าประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยเพียงพอ ประชาชนอีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์เป็นว่าเป็นประชาธิปไตย และไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์มองว่าไทยมีประชาธิปไตยมากเกินไป
ในดัชนี้ยังได้ระบุถึงความรู้สึกของประชาชนที่คิดว่ารัฐบาลจำกัดเสรีภาพมากเกินไปในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติโควิด-19 พบว่าประเทศไทยมีประชาชนที่รู้สึกว่ารัฐบาลนั้นจำกัดเสรีภาพมากเกินไป โดยประชากรกลุ่มนี้พบว่ามีมากกว่า 41 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกันประชาชนที่รู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้จำกัดเสรีภาพช่วงโควิดแต่อย่างใด
ผลสอบลับ! สตง.พบหน่วยงานทหารปริศนา เบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อน 4.37 ล.-ชดใช้เงินแล้ว
https://www.isranews.org/article/isranews/118457-inves09996.html
โดยการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อนกันดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงปี 2563 - 2564 และถูกเจ้าหน้าที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้ามาตรวจสอบพบ และแจ้งให้ หน่วยงานในสังกัดทหารแห่งนี้ ดำเนินการแก้ไขปัญหา ควบคุมกำกับดูแล ให้การดำเนินงานเกิดความโปร่งใส ไม่ให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นอีก
"หลังจาก สตง. ตรวจสอบพบข้อมูลเรื่องนี้ ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดทหารดังกล่าว ได้สั่งให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงและพบว่ามีปัญหาเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อนจริง จำนวนกว่า 4.37 ล้านบาท และมีการชดใช้ค่าความเสียหายแล้ว" แหล่งข่าวระบุ
ขณะที่แหล่งข่าวจากสตง. ให้ข้อมูลยืนยันสำนักข่าวอิศรา ว่า สตง. ตรวจสอบพบหน่วยงานในสังกัดทหารแห่งหนึ่ง มีปัญหาการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงสนามซ้ำซ้อนกัน ของนายสิบ นายทหาร และอาสาสมัครทหาร เป็นจำนวนเงินกว่า 4.37 ล้านบาท จริง และได้แจ้งผลการตรวจสอบให้หน่วยงานแห่งนี้ รับทราบ พร้อมกำชับให้ควบคุมกำกับดูแลการดำเนินงานในเรื่องนี้
เบื้องต้น หลังการตรวจสอบ ทางหน่วยงานรับตรวจได้แจ้งว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีปัญหาเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง และได้มีการสั่งให้ชดใช้ความเสียหายดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
ส่วนความคืบหน้าอื่นๆ สำนักข่าวอิศรา จะติดตามมานำเสนอต่อไป
เศรษฐา ปลุกประชาชนเทใจเลือกฝ่าย ปชต. ให้กำลังใจ พิธา ถูกร้องสอบถือหุ้นสื่อ
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7657570
เศรษฐา ปลุกประชาชนเทใจเลือกฝ่ายประชาธิปไตย ให้กำลังใจ “พิธา” ถูกร้องสอบปมถือหุ้นสื่อ เย้ย รวมไทยสร้างชาติ อย่ามั่นใจ พลังเงียบจะเลือก
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 11 พ.ค. 2566 ที่จ.เชียงใหม่ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย (พท.) และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงความคาดหวังหลังการจัดเวทีปราศรัยที่ จ.เชียงใหม่ ในช่วงโค้งสุดท้าย จะสามารถดึงคะแนนเสียงได้แค่ไหน ว่า ตนมีความมั่นใจ เพราะ จ.เชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่สำคัญที่สุดของพรรคเพื่อไทย ถือเป็นโฮมทาวน์ของเรา เราจึงคาดหวังว่าเราจะได้ ส.ส.ยกทั้งจังหวัด
เมื่อถามว่ามีการประเมินว่าหลังการเลือกตั้งจะกลับไปสู่วังวนการเมืองเดิม ในฐานะแคนดิเคตนายกฯ จะมีแผนรับมือกับสถานการณ์อย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่า พี่น้องประชาชนเหนื่อยมามากแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญ ตนมั่นใจว่าพี่น้องประชาชนจะให้ฉันทามติกับพรรคที่ตัวเองชอบ
“ส่วนเรื่องความวุ่นวาย ความไม่แน่นอน หรือความไม่เป็นธรรมทั้งหลาย ส่วนตัวหลังเข้ามาสู่สนามการเมืองแล้ว เราต้องมั่นใจในระบอบประชาธิปไตย และการทำงานขององค์กรอิสระ ความระแวง ความหวาดกลัวแน่นอนว่าต้องมีบ้าง วันนี้อีกไม่ถึง 48 ชั่วโมงจะถึงการเลือกตั้งแล้ว ดังนั้น เราต้องมั่นใจว่าระบบที่เราอยู่จะให้ความเป็นธรรม” นายเศรษฐา กล่าว
เมื่อถามว่าบนเวทีปราศรัย เมื่อวันที่ 10 พ.ค. มีการพูดถึงการรัฐประหาร และครอบครัวของนายเศรษฐาก็ได้รับผลกระทบ นายเศรษฐา กล่าวว่า เรื่องนี้จริงๆ แล้ว ตนไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง แต่ถูกเชิญตัวไป และตนก็ปฏิบัติตามทุกอย่าง มีการลิดรอนสิทธิของคนไทยคนหนึ่ง ตนเชื่อว่ามีอีกหลายคนที่ถูกกระทำเช่นกัน ตนเข้าใจแต่ตนไม่เห็นด้วยเรื่องของการข่มขู่ คุกคาม เราไม่ยอมรับการรัฐประหารและเผด็จการ ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญมาก ประชาชนต้องเทใจให้ฝ่ายประชาธิปไตยให้ได้รับชัยชนะ
เมื่อถามถึงการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ 3 คนของพรรคเพื่อไทย แต่ไม่บอกว่าใครจะเป็นนายกฯ เพื่อป้องกันการชี้เป้าและการเตะตัดขาใช้อุบัติเหตุทางการเมืองหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ก็เป็นความหวาดระแวง เพราะเราโดนมาแล้วหลายหน ตรงนี้ก็เป็นกลยุทธ์ของเราเหมือนกัน ต้องมีความระมัดระวังในการเดินไปข้างหน้าในเรื่องนี้ ยืนยันว่าทั้ง 3 คนพร้อม ใครคนหนึ่งได้เป็น อีก 2 คนก็พร้อมทำงานคู่
เมื่อถามถึงกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกร้องตรวจสอบหุ้นสื่อ ถือเป็นการเตะตัดขาหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนยังไม่ได้ดูข้อเท็จจริง แต่ก็เป็นกำลังใจให้ แน่นอนว่าทุกฝ่ายต้องได้รับความเป็นธรรม และเราก็มีความเป็นห่วงบางพรรคที่เสนอชื่อแคนดิเดตฯ มาเพียงชื่อเดียว
เมื่อถามถึงการปราศรัยใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 12 พ.ค.นี้ นายเศรษฐา กล่าวว่า ขอให้ทุกคนติดตาม การปราศรัยครั้งสุดท้าย เราหวังว่าจะโน้มน้าวคนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจให้เลือกเราได้ ทั้งนี้ มั่นใจว่าเราเป็นพรรคใหญ่ เราเป็นสถาบันการเมืองที่ยึดโยงกับประชาชนกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เรามั่นใจว่าทีมงานของเราพร้อม เชื่อว่าการปราศรัยของเราจะได้รับการติดตามจากประชาชน
เมื่อถามว่าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พยายามหาเสียงด้วยการปลุกพลังเงียบ หวั่นจะกระทบกับคะแนนของคนที่ยังไม่ตัดสินใจหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ไม่ได้หมายความว่าพลังเงียบจะเลือกพรรครวมไทยสร้างชาติทั้งหมด พลังเงียบที่ยังไม่ตัดสินใจก็มี เหตุผลที่เขาเงียบก็เพราะเขายังไม่ตัดสินใจ ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของพรรคเพื่อไทยและทุกพรรคที่จะดึงคะแนนเสียงตรงนี้ออกมา ส่วนอะไรที่จะดึงคะแนนตรงนี้ออกมาได้ คือความชัดเจน ประสบการณ์
“เราอย่าอยู่กับความฝัน แม้ความฝันไม่เสียเงิน เราอยู่กับความเป็นจริงดีกว่า ดูในอดีตดีกว่าว่าพรรคเพื่อไทยเคยทำนโยบายยากๆ ให้เกิดขึ้นได้ และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน” นายเศรษฐา กล่าว
‘วี วอช’ ขยี้ 7 ข้อกังวลเลือกตั้งล่วงหน้า จี้ 4 มาตรการ ดักทาง ‘บัตรเขย่ง’ 14 พฤษภา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3974129
We watch จัดแถลง 7 ข้อกังวล พร้อมแนะ กกต. เพิ่มความโปร่งใสนับคะแนน ป้องกัน ‘บัตรเขย่ง’ งอก
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์เลือกตั้ง ปี 2566 (We Watch) จัดแถลงการณ์ ความเห็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปล่วงหน้า-นอกเขต วันที่ 7 พ.ค. 2566 นำโดย น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล นักกิจกรรมการเมือง, ไผ่ ดาวดิน หรือ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักกิจกรรมการเมือง และ นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
‘กิต’ ตัวแทนจากกลุ่ม We Watch แถลงว่า มีรายงานวันที่ 7 พฤษภาคม วันเลือกตั้งล่วงหน้า จากหน่วยเลือกทั้งหมด 447 ที่ อย่างน้อย 200 ที่ วันเลือกตั้งที่ผ่านมามีข้อกังวลอยู่ 7 ข้อ ได้แก่
1. เจ้าหน้าที่จ่าหน้าซองบัตรเลือกตั้งผิด
พบว่า คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งบางส่วน มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการระบุเลขหน้าซองของบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า ปัญหาที่เกิดขึ้นมากจนไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นความผิดพลาดของคณะกรรมการประจำหน่วยเท่านั้น แต่เป็นความผิดพลาดของการจัดอบรมคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหน้าที่พื้นฐานของ กกต.
2. การเสียสิทธิ์ของผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า
แม้ว่าการเลือกตั้งล่วงหน้ามีแถลงออกมาว่ามีคนมาใช้สิทธิ์กว่าร้อยละ 90 หรือประมาณ 2 ล้านกว่าคน แต่ในทางตรงกันข้าม มีคนไม่มาใช้สิทธิ์ 2 แสนคนซึ่งเป็นจำนวนมหาศาล เลยไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า “การเลือกตั้งที่ผ่านมามีการจัดการที่ประสิทธิภาพ มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี” ถ้าเปรียบเทียบกับ ปี 2557 ว่าด้วยระเบียบ กกต. สมาชิกผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2554 ข้อ 159 ระบุว่า ถ้าคนที่มาเลือกตั้งล่วงหน้าไม่สามารถมาใช้สิทธิได้ ก็สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปที่ภูมิลำเนาได้
3. เรื่องการลงทะเบียน
ที่เปิดลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 9 เมษายนเป็นวันสุดท้าย พบว่าระบบขัดข้อง ทำให้ประชาชนจำนวนมาก ไม่สามารถลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าได้