แชร์ประสบการณ์ และข้อมูลการล้างท่อลมด้านในของผู้ป่วยเจาะคอ
จริง ๆ ตาม รพ จะมีแผ่นพับแนะนำอยู่แล้ว แต่อยากจะแชร์ประสบการณ์ และข้อมูลอีกมุมหนึ่ง
*หมายเหตุ ท่อเป็นแบบพลาสติก เบอร์ 6 และ 6.5 ความสูงประมาณ 4นิ้ว เปลี่ยนทุก ๆ 3 เดือน เพราะฉุกเฉินเท่านั้น สามารถใช้ได้นานไม่เกิน 6เดือน
*การล้าง และอุปกรณ์ เกิดจากการหาข้อมูล ประสบการณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วย สามารถหาอุปกรณ์แบบอื่นๆ ที่ดีกว่านี้ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของหน้างาน
อุปกรณ์
1อุปกรณ์ทำความสะอาด
1.1 แปรงขัดท่อลม หาซื้อได้จากโรงพยาบาล ราคาประมาณอันล่ะ 100 บาท (แบบหนามาก)หรือ ในออนไลน์ ค้นหาคำว่า แปรงล้างหลอดน้ำพลาสติก แบบหนา และยาว ราคาโหลประมาณอันล่ะ 15 บาท
1.2 น้ำยาล้างจาน หรือ น้ำสบู่
1.3 น้ำยาแช่ฆ่าเชื้อ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 6%เพราะความเข้มข้นสูง (ซึ่งสอดคล้องกับขวดแช่ท่อที่ใช้มีขนาด 100 มล และต้องเปลี่ยนน้ำยาทุกวัน 1ขวดประมาณ 50บาท ยี้ห้ออะไรก็ได้
2เครื่องมือ และภาชนะ
2.1 เครื่องมือ และภาชนะ ต้องเป็นสแตนเลส และผ่านการต้มน้ำร้อนฆ่าเชื้อแล้ว 30 นาทีเป็นอย่างน้อย เช่น ฝาปิดขวดแช่ท่อ (หากไม่สามารถหาได้ สามารถใช้ถ้วยกระเบื้องเล็กขาวไม่มีลายสีได้) , ภาชนะจัดเก็บท่อหลังทำความสะอาด , คีมคีบของ6นิ้ว และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวัน
2.2 ภาชนะขวดแก้วใส่แช่ท่อลม ต้องผ่านการต้มน้ำร้อนฆ่าเชื้อแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย โดยต้องมีความสูง 5นิ้ว แนะนำขวดแก้วสีชา หาได้จากการซื้อ ซุกไก่สกัดหรือ เครื่องดืมวิตามิน แบบขวด ขนาด100 มล. ยี้ห้ออะไรก็ได้ที่หนาหน่อย (บาง รพ จะแนะนำให้แช่ในกล่องเครื่องมือแพทย์ซึ่งจะใช้น้ำยาจำนวนมากประมาณ 350 มล ถึงจะท่วมท่อลม) ซึ่งตัวขวดจะมีขนาดสูงกว่า ท่อลมเล็กน้อย และใส่ได้ 1-2 ท่อ (หากหาไม่ได้ให้ใช้แก้วเล็กหนาทรงสูง และใช้ขวดพลาสติกสีชา รองอยู่ด้านนอก เพราะน้ำยาแช่ไม่ชอบแสง) และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวัน
3อื่น ๆ
3.1ผ้าก็อกแบบฆ่าเชื้อ สำหรับรองพื้นภาชนะ ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวัน
3.2น้ำดืมสะอาดสำหรับล้างท่อก่อนเก็บลงภาชนะเก็บ แนะนำน้ำดืมที่ผ่านมาตราฐาน การฆ่าเชื้อแบบต่าง ๆ และมี อย ต้องใช้ขวดที่ใหม่เสมอ
ขั้นตอนการล้างท่อ
0 หากท่อมีเสมหะติดเหนียวแข็ง ให้ทำการแช่ท่อในน้ำก่อน เพื่อให้เสมหะหลุดง่ายขึ้น
1ขัดท่อด้วยน้ำยาล้างหรือน้ำสบู่จนสะอาดทั้งด้านในและนอก ให้เน้นที่คอท่อ
2ล้างฟองออกให้สะอาด
3ใส่ท่อลมลงไปในขวดแก้วที่เตรียมไว้
4เทน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 6%ช้า ๆ จนถึงปากขวด
5ปิดฝาขวดด้วยฝา ที่เตรียวไว้ และรอเวลาจนครบ (อย่างน้อย 30นาที ยิ่งนานยิ่งสะอาดแต่ท่อจะออกสีเหลืองเล็กน้อย)
6เตรียมภาชนะจัดเก็บท่อ โดยการวางผ้าก็อกให้ทั่ว 1 ชั้น และปิดฝาให้เรียบร้อย
7เมื่อแช่น้ำยาครบเวลา ให้ทำการเปิดฝาออก ช้าๆ เพราะอาจจะเกิดการดูด นำคีมคีบ คีบท่อลมออกมา แล้วนำน้ำดืม (นำแนะขนาด 600 มล เพราะน้ำหนักไม่มาก และเป็นขวดใหม่) เทล้างทำความสะอาดจากปลายไปทางหัวที่ถูกคีบอยู่ โดยให้ทางปลายสูงกว่าหัวเล็กน้อย (กันน้ำไหลกลับ) ช้า ๆ ไปและกลับ 2-3 รอบ ทั้งด้านในและด้านนอก ปริมาณน้ำที่ใช้ประมาณ 400 มล
8เคาะน้ำที่ติดอยู่กับท่อลม ออกเบาๆ 4-5 ครั้ง โดยเคาะมือกับมือที่ถือท่อลมอยู่ แล้วนำไปวางไว้ยังภาชนะที่เตรียมไว้ และปิดฝากันฝุ่นหรือสิ่งสกปรก
9ก่อนนำท่อลมไปใช้ให้สังเกตว่ามีหยดน้ำเหลือมากหรือไหม หากมีให้เคาะมือกับมือเบา ๆ (เอาน้ำออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้) โดยใช้คีมคีบ หรือถุงมือยางใหม่ (แบบปลอดเชื้อยิ่งดี) ล้างด้วย แอลกอฮอร์
แชร์ประสบการณ์ข้อมูลการล้างท่อลมด้านในของผู้ป่วยเจาะคอ
จริง ๆ ตาม รพ จะมีแผ่นพับแนะนำอยู่แล้ว แต่อยากจะแชร์ประสบการณ์ และข้อมูลอีกมุมหนึ่ง
*หมายเหตุ ท่อเป็นแบบพลาสติก เบอร์ 6 และ 6.5 ความสูงประมาณ 4นิ้ว เปลี่ยนทุก ๆ 3 เดือน เพราะฉุกเฉินเท่านั้น สามารถใช้ได้นานไม่เกิน 6เดือน
*การล้าง และอุปกรณ์ เกิดจากการหาข้อมูล ประสบการณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วย สามารถหาอุปกรณ์แบบอื่นๆ ที่ดีกว่านี้ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของหน้างาน
อุปกรณ์
1อุปกรณ์ทำความสะอาด
1.1 แปรงขัดท่อลม หาซื้อได้จากโรงพยาบาล ราคาประมาณอันล่ะ 100 บาท (แบบหนามาก)หรือ ในออนไลน์ ค้นหาคำว่า แปรงล้างหลอดน้ำพลาสติก แบบหนา และยาว ราคาโหลประมาณอันล่ะ 15 บาท
1.2 น้ำยาล้างจาน หรือ น้ำสบู่
1.3 น้ำยาแช่ฆ่าเชื้อ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 6%เพราะความเข้มข้นสูง (ซึ่งสอดคล้องกับขวดแช่ท่อที่ใช้มีขนาด 100 มล และต้องเปลี่ยนน้ำยาทุกวัน 1ขวดประมาณ 50บาท ยี้ห้ออะไรก็ได้
2เครื่องมือ และภาชนะ
2.1 เครื่องมือ และภาชนะ ต้องเป็นสแตนเลส และผ่านการต้มน้ำร้อนฆ่าเชื้อแล้ว 30 นาทีเป็นอย่างน้อย เช่น ฝาปิดขวดแช่ท่อ (หากไม่สามารถหาได้ สามารถใช้ถ้วยกระเบื้องเล็กขาวไม่มีลายสีได้) , ภาชนะจัดเก็บท่อหลังทำความสะอาด , คีมคีบของ6นิ้ว และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวัน
2.2 ภาชนะขวดแก้วใส่แช่ท่อลม ต้องผ่านการต้มน้ำร้อนฆ่าเชื้อแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย โดยต้องมีความสูง 5นิ้ว แนะนำขวดแก้วสีชา หาได้จากการซื้อ ซุกไก่สกัดหรือ เครื่องดืมวิตามิน แบบขวด ขนาด100 มล. ยี้ห้ออะไรก็ได้ที่หนาหน่อย (บาง รพ จะแนะนำให้แช่ในกล่องเครื่องมือแพทย์ซึ่งจะใช้น้ำยาจำนวนมากประมาณ 350 มล ถึงจะท่วมท่อลม) ซึ่งตัวขวดจะมีขนาดสูงกว่า ท่อลมเล็กน้อย และใส่ได้ 1-2 ท่อ (หากหาไม่ได้ให้ใช้แก้วเล็กหนาทรงสูง และใช้ขวดพลาสติกสีชา รองอยู่ด้านนอก เพราะน้ำยาแช่ไม่ชอบแสง) และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวัน
3อื่น ๆ
3.1ผ้าก็อกแบบฆ่าเชื้อ สำหรับรองพื้นภาชนะ ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวัน
3.2น้ำดืมสะอาดสำหรับล้างท่อก่อนเก็บลงภาชนะเก็บ แนะนำน้ำดืมที่ผ่านมาตราฐาน การฆ่าเชื้อแบบต่าง ๆ และมี อย ต้องใช้ขวดที่ใหม่เสมอ
ขั้นตอนการล้างท่อ
0 หากท่อมีเสมหะติดเหนียวแข็ง ให้ทำการแช่ท่อในน้ำก่อน เพื่อให้เสมหะหลุดง่ายขึ้น
1ขัดท่อด้วยน้ำยาล้างหรือน้ำสบู่จนสะอาดทั้งด้านในและนอก ให้เน้นที่คอท่อ
2ล้างฟองออกให้สะอาด
3ใส่ท่อลมลงไปในขวดแก้วที่เตรียมไว้
4เทน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 6%ช้า ๆ จนถึงปากขวด
5ปิดฝาขวดด้วยฝา ที่เตรียวไว้ และรอเวลาจนครบ (อย่างน้อย 30นาที ยิ่งนานยิ่งสะอาดแต่ท่อจะออกสีเหลืองเล็กน้อย)
6เตรียมภาชนะจัดเก็บท่อ โดยการวางผ้าก็อกให้ทั่ว 1 ชั้น และปิดฝาให้เรียบร้อย
7เมื่อแช่น้ำยาครบเวลา ให้ทำการเปิดฝาออก ช้าๆ เพราะอาจจะเกิดการดูด นำคีมคีบ คีบท่อลมออกมา แล้วนำน้ำดืม (นำแนะขนาด 600 มล เพราะน้ำหนักไม่มาก และเป็นขวดใหม่) เทล้างทำความสะอาดจากปลายไปทางหัวที่ถูกคีบอยู่ โดยให้ทางปลายสูงกว่าหัวเล็กน้อย (กันน้ำไหลกลับ) ช้า ๆ ไปและกลับ 2-3 รอบ ทั้งด้านในและด้านนอก ปริมาณน้ำที่ใช้ประมาณ 400 มล
8เคาะน้ำที่ติดอยู่กับท่อลม ออกเบาๆ 4-5 ครั้ง โดยเคาะมือกับมือที่ถือท่อลมอยู่ แล้วนำไปวางไว้ยังภาชนะที่เตรียมไว้ และปิดฝากันฝุ่นหรือสิ่งสกปรก
9ก่อนนำท่อลมไปใช้ให้สังเกตว่ามีหยดน้ำเหลือมากหรือไหม หากมีให้เคาะมือกับมือเบา ๆ (เอาน้ำออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้) โดยใช้คีมคีบ หรือถุงมือยางใหม่ (แบบปลอดเชื้อยิ่งดี) ล้างด้วย แอลกอฮอร์