เมื่อวานผมได้ไปวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดนี้สร้างโดยแนวคิดของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เริ่มแรกวัดนี้มีชื่อว่า วัดประชาธิปไตย ก่อนจะเปลี่ยนเป็นวัดพระศรีมหาธาตุ ภายหลังจากมีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ และดินจากสังเวชนียสถานมาประดิษฐานที่วัดนี้แล้ว
จุดเด่นของวัดนี้คือพระเจดีย์ ซึ่งภายในมีการบรรจุอัฐิของกลุ่มบุคคลในคณะราษฎรตามข้อเสนอของหลวงวิจิตรวาทการ โดยยึดแบบอย่างมาจากป็องเตอง (Pantheon) ของประเทศฝรั่งเศสที่ฝังศพบุคคลสำคัญของชาติ
อัฐิของบุคคลที่ถูกบรรจุอัฐิไว้ในเจดีย์นี้ เช่น
จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๓ ของไทย เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งรวมกันยาวนานที่สุดของไทย คือ ๑๕ ปี พร้อมกับอัฐิของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ผู้เป็นภริยา
นายทวี บุณยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๕ ของไทย เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดของไทย คือ ๑๗ วัน
ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนายกรัฐมนตรีคนที่ ๗ ของไทย พร้อมด้วยอัฐิของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้เป็นภริยา
พลโทประยูร ภมรมนตรี หนึ่งในผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นบิดาของคุณแซม-ยุรนันท์ ภมรมนตรี
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หนึ่งในผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นผู้นำการรัฐประหารพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย และได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒ ของไทย นามสกุลของท่านเป็นที่มาของชื่อถนนพหลโยธิน ซึ่งเปลี่ยนภายหลังถึงแก่อสัญกรรมแล้ว
พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ.๒๔๗๕ ผู้ร่างแผนการยึดอำนาจทั้งหมด
นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างสนามศุภชลาศัย
นายตั้ว ลพานุกรม หนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะราษฎร
พระพุทธบาทสี่รอย
นอกจากนี้วัดนี้ยังเคยเป็นที่จำพรรษาร่วมกันระหว่างพระสงฆ์ในมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย แต่ปัจจุบันเหลือเพียงพระในธรรมยุติกนิกาย จึงกลายเป็นวัดธรรมยุติกนิกายไปโดยปริยาย
ชมที่เก็บอัฐิคณะราษฎร วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
จุดเด่นของวัดนี้คือพระเจดีย์ ซึ่งภายในมีการบรรจุอัฐิของกลุ่มบุคคลในคณะราษฎรตามข้อเสนอของหลวงวิจิตรวาทการ โดยยึดแบบอย่างมาจากป็องเตอง (Pantheon) ของประเทศฝรั่งเศสที่ฝังศพบุคคลสำคัญของชาติ
อัฐิของบุคคลที่ถูกบรรจุอัฐิไว้ในเจดีย์นี้ เช่น
จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๓ ของไทย เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งรวมกันยาวนานที่สุดของไทย คือ ๑๕ ปี พร้อมกับอัฐิของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ผู้เป็นภริยา
นายทวี บุณยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๕ ของไทย เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดของไทย คือ ๑๗ วัน
ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนายกรัฐมนตรีคนที่ ๗ ของไทย พร้อมด้วยอัฐิของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้เป็นภริยา
พลโทประยูร ภมรมนตรี หนึ่งในผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นบิดาของคุณแซม-ยุรนันท์ ภมรมนตรี
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หนึ่งในผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นผู้นำการรัฐประหารพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย และได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒ ของไทย นามสกุลของท่านเป็นที่มาของชื่อถนนพหลโยธิน ซึ่งเปลี่ยนภายหลังถึงแก่อสัญกรรมแล้ว
พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ.๒๔๗๕ ผู้ร่างแผนการยึดอำนาจทั้งหมด
นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างสนามศุภชลาศัย
นายตั้ว ลพานุกรม หนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะราษฎร
พระพุทธบาทสี่รอย
นอกจากนี้วัดนี้ยังเคยเป็นที่จำพรรษาร่วมกันระหว่างพระสงฆ์ในมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย แต่ปัจจุบันเหลือเพียงพระในธรรมยุติกนิกาย จึงกลายเป็นวัดธรรมยุติกนิกายไปโดยปริยาย