บันทึก ตราประจำเมือง "ตรัง"

ตราประจำเมือง "ตรัง"
ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีรัฐนิยมประกาศในเรื่องต่างๆ เพื่อแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม และยังมีความต้องการให้บ้านเมืองมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

การกำหนดให้มีตราประจำจังหวัด เป็นวิธีหนึ่งที่จะสร้างความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของคนในท้องถิ่นนั้น  ดังนั้น จอมพล ป. จึงมอบนโยบายให้กรมศิลปากรออกแบบตราประจำจังหวัด เริ่มดำเนินการ พ.ศ. 2483 โดยแจ้งให้จังหวัดต่างๆ เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเครื่องหมายประจำจังหวัดแล้วนำมาออกแบบ
กรมศิลปากรออกแบบตราประจำจังหวัดตรังเป็นภาพ สะพานเรือ ทะเลมีระลอกคลื่น ภูเขา และต้นไม้  โดยอธิบายความหมายไว้ดังนี้

"สะพานท่าเรือมีเสาโคมไฟ หมายถึง การเป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ทะเลมีคลื่นมาจากคำว่า  ตรังค์ แปลว่า คลื่น
ภูเขา หมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดซึ่งเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ สลับกับภูเขา
ต้นไม้ หมายถึง ต้นยางพารา ซึ่งพระยารัษฏานุประดิษฐ์ ได้นำมาปลูกในจังหวัดตรังเป็นแห่งแรก"
ปัจจุบันจังหวัดตรังยังใช้ตราตามแบบของกรมศิลปากร แต่เพิ่มชื่อจังหวัดไว้ตอนล่างของดวงตรา ในสมัยก่อนเคยมีรูปครุฑไว้ตอนบนของดวงตราด้วย
...............................................................
ที่มา : หนังสือ "ตรัง เมืองท่าอันดามัน"  บรรณาธิการ อาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์ และคณะ ในปี 2559
จัดทำจากดำริของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านเดชรัฐ สิมสิริ
สนับสนุนการจัดทำโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรัง (ททท. ตรัง)  นางสาวกรุณา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา  ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรัง

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่