เรื่องนิพพาน เป็น อนัตตา

ขออธิบายตามความเห็นความเข้าใจส่วนตัว

พระพุทธเจ้าท่านกล่าวประโยค "สิ่งไหนไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งไหนเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา"

ฝ่ายเห็นนิพพานเป็น อัตตา เห็นว่า "สิ่งไหนเที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุข สิ่งไหนเป็นสุข สิ่งนั้นเป็นอัตตา"
โดยอ้างอิงประโยคที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวเรื่องทุกข์ มาอธิบายนิพพานในแบบตรงข้าม

ดิฉันฝ่ายเห็นนิพพานเป็น อนัตตา เห็นว่า
"ธรรมะเป็นอนัตตา"
นิพพานซึ่งเป็นธรรมะจึงเป็นอนัตตา ด้วยเหตุผลที่จะอธิบายดังต่อไปนี้

จริงอยู่คำกล่าวว่า "สิ่งไหนไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งไหนเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" เป็นการอธิบายสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ได้อย่างไร
ทุกข์คือผลลัพธ์จากการทำงานของขันธ์5 ที่เป็นธรรมะกลุ่มอวิชชา

อธิบาย อวิชชา ตามความเห็นส่วนตัว
อวิชชา เป็นสภาวะ,เป็นธรรมะ,และเป็นชื่อของกลุ่มธรรมะซึ่งมี โมหะ เป็นหัวหน้ากลุ่ม
การทำงานของธรรมะกลุ่ม อวิชชา นี้ให้ผลลัพธ์ขั้นสุดเป็น ขันธ์5 ซึ่งเป็นทุกข์(ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทัย)

ตามเหตุผลที่แสดงข้างต้น ถ้าความเป็นทุกข์คือผลลัพธ์จากการทำงานของขันธ์5 ที่เป็นกลุ่มอวิชชา
ความไม่เป็นทุกข์ก็คือผลลัพธ์จากการทำงานของขันธ์5 ที่เป็นกลุ่ม วิชชา

อธิบาย วิชชา ตามความเห็นส่วนตัว
วิชชา เป็นสภาวะ,เป็นธรรมะ,และเป็นชื่อของกลุ่มธรรมะซึ่งมี ปัญญา เป็นหัวหน้ากลุ่ม
การทำงานของธรรมะกลุ่ม วิชชา นี้ให้ผลลัพธ์ขั้นสุดเป็น นิพพาน ซึ่งไม่เป็นทุกข์(ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธ)

สิ่งที่น่าสังเกตจากการอธิบายเรื่องกลุ่มของธรรมะที่ทำงานแล้วให้ผลลัพธ์เป็นทุกข์หรือไม่เป็นทุกข์นั้นคือ ธรรมะทั้งสองกลุ่มคืออวิชชาและวิชชา ล้วนมีสามัญลักษณะเหมือนกันทั้งสิ้นคือ ไม่เที่ยง,เป็นทุกข์,และเป็นอนัตตา
แต่ผลลัพธ์จากการทำงานของธรรมะทั้งสองกลุ่มกลับไม่เหมือนกันตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง

จะเห็นได้ว่าแม้ธรรมะกลุ่ม วิชชา ที่ทำงานให้ผลลัพท์ขั้นสุดเป็น นิพพาน จะมีสามัญลักษณะไม่เที่ยง,เป็นทุกข์,และเป็นอนัตตา เหมือนเช่นเดียวกันกับธรรมะกลุ่ม อวิชชา ก็ตาม หากแต่ว่าผลลัพธ์ที่ทำงานออกมานั้นกลับตรงกันข้าม!

ดังนั้นจึงขอสรุปว่า
ประโยค "สิ่งไหนไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งไหนเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" เป็นเพียงการกล่าวถึงธรรมะกลุ่ม อวิชชา ที่ทำงานให้ผลลัทธ์ขั้นสุดเป็น ขันธ์5 ซึ่งเป็นทุกข์ตามวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทัย

มิใช่การกล่าวรวมถึง นิพพาน ที่เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดจากการทำงานของธรรมะกลุ่ม วิชชา ซึ่งไม่เป็นทุกข์ตามวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธ

ธรรมะกลุ่ม วิชชา นี้ก็มีสามัญลักษณะไม่เที่ยง,เป็นทุกข์,และเป็นอนัตตา เช่นเดียวกันกับธรรมะกลุ่มอวิชชา หากแต่ว่าทำงานให้ผลลัพธ์ขั้นสุดเป็น นิพพาน

นิพพาน เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ แต่มีอยู่โดยความไม่มีปัจจัย
เมื่อไม่มีปัจจัยแม้ปรุงแต่งก็ปรุงแต่งโดยความไม่มีปัจจัย เมื่อไม่มีปัจจัยให้ต้องปรุงแต่ง จึงไม่มีปัจจัยให้ต้องบีบคั้น เมื่อไม่มีปัจจัยให้ต้องบีบคั้น จึงไม่มีปัจจัยให้ต้องทนได้ยาก เมื่อไม่มีปัจจัยให้ต้องทนได้ยาก จึงไม่มีปัจจัยให้ต้องเกิด-ดับ

ดังนี้ นิพพาน จึงเป็นอนัตตา ซึ่งไม่ประกอบด้วยปัจจัยให้ต้องบีบคั้นทนได้ยาก จนเป็นเหตุให้ต้องเกิด-ดับ

จึงขอจบการอธิบายความเข้าใจส่วนตัวแต่เพียงเท่านี้
🙏🌻
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 42
ผมไม่เห็นว่า นิพพาน เป็น อนัตตตา  และ ไม่เห็นว่า นิพพาน เป็น อัตตา
เพราะ..
1.พระองค์ไม่เคยตรัสสักครั้ง ว่า นิพพานเป็นอนัตตา หรือ อัตตา
2.ถ้าเชื่อว่า ธรรม เป็นอนัตตา  นิพพานเป็นธรรม เป็นความเชื่อที่ผิด
เหตุผลคือ พระพุทธองค์ตรัสว่า สพฺเพ เต ธมฺมา อนิจจา ทุกฺขา(ธรรมทั้งหลาย นั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ )
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา  สพฺเพ ธมฺมา อนัตตา
3.อัตตา อนัตตา เป็น คำศัพท์ที่ตรัสหรือใช้กับขันธ์๕   ไม่เคยใช้กับ นิพพาน หรือ อสังขตะ เลยสักครั้งเดียว ถ้าเอานิพพาน มาเทียบเท่ากับขันธ์๕ คงเป็นเรื่องที่กล่าวตู่พระองค์อย่างแท้จริง
4.นิพพานเป็น ภาวะที่ดับหรือไม่มีสังขาร(การปรุงแต่ง) ใดๆแล้ว ไม่มี การเกิด ดับฯ   การใช้คำว่า อัตตา  (ที่บ่งบอกถึงความยึดมั่นในตัวตน )
หรือ อนัตตา(สภาพที่ไม่ใช่ตัวตน มีความ แตกเสื่อมไปได้) จึงไม่สามารถใช้กับนิพพาน ได้เลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่