เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ปฎิจจสมุปบาท ก็คือคือ การอธิบายเรื่องการเกิดขึ้นและดับไปของความทุกข์อย่างละเอียด
เมื่อกล่าวอย่างสรุปแล้ว ปฏิจจสมุปบาทก็คือ อาการของจิตเมื่อเกิดความยึดถือว่ามีตัวเราแล้วจิตก็เป็นทุกข์ แต่เมื่อจิตไม่เกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา จิตก็ไม่เป็นทุกข์
เมื่อจะอธิบายให้ละเอียดแล้ว ปฏิจจสมุปบาท จะมีอาการปรุงแต่งกันอยู่อย่างรวดเร็วในขณะที่จิตเกิดความทุกข์ถึง ๑๒ อาการ อย่างที่เราเคยได้ผ่านหูผ่านตากันมาแล้ว
แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า บางคนก็เข้าใจว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นคือการอธิบายถึงเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติ คืออธิบายว่า เมื่อจิตยังมีอวิชชาอยู่ก่อนตาย ก็จะทำให้เกิดกิเลส แล้วกิเลสก็ทำให้เกิดกรรม เมื่อตายไปผลของกรรมก็จะสร้างและภพชาติหรือการเกิดใหม่ทางร่างกายขึ้นมาอีก อย่างที่คนส่วนใหญ่เชื่อกันอยู่
การที่จะเข้าใจว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นสอนอะไรกันแน่นั้น เราจะต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานเสียก่อน จึงจะเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทได้ ซึ่งเรื่องพื้นฐานนั้นก็คือ เรื่องความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาของขันธ์ ๕ หรือร่างกายกับจิตใจ
เพราะถ้ายังเข้าใจว่าในขันธ์ ๕ นี้ยังมีสิ่งที่เป็นตัวตนของเรา หรือมีสิ่งที่จะสร้างตัวตนที่เป็นเราขึ้นมาใหม่ได้เมื่อร่างกายนี้ตายไปแล้ว ก็เท่ากับยังมีความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย หรือการเกิดใหม่ ซึ่งเป็นความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณของเราหรือของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายนี้เป็น อัตตา ที่หมายถึง ตัวตนอมตะ หรือตัวตนของมันเอง ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ และเมื่อมีความเชื่อเช่นนี้จึงทำให้เกิดการตีความว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นการอธิบายเรื่องการเวียว่ายตายเกิดทางร่างกายไป
แต่ถ้าเราจะได้ศึกษาเรื่องขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงแล้ว เราจะพบว่า มันไม่มีขันธ์ใดที่จะเป็นอัตตาหรือตัวตนของมันเองเลย มีแต่สิ่งที่ถูกปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นมาเพียงชั่วคราวเท่านั้น (คือเป็นอนัตตา ที่แปลว่า ไม่ใช่อัตตา) จึงทำให้เรื่องที่จะมีตัวเราเกิดขึ้นมาได้ใหม่เมื่อตายไปแล้วนั้น ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นจึงทำให้เข้าใจได้ทันทีว่า การตีความปฏิจจสมุปบาทว่าเป็นการอธิบายถึงเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายนั้นไม่ถูกต้อง
สรุปได้ว่า ถ้าจะศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้เข้าใจ จะต้องศึกษาเรื่องการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับหายไปของขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงก่อน (ไม่เอาความเชื่อ) ก็จะเกิดความเห็นแจ้งเรื่องขันธ์ ๕ นี้ว่ามันไม่เที่ยง (ไม่เป็นอมตะ) มีสภาวะที่ต้องทน และไม่ใช่ตัวตนของเราหรือของใครๆ และเมื่อเกิดความเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ แล้ว ก็จะศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย (ศึกษารายละเอียดได้จาก
http://www.whatami.net/ ) แต่ถ้ายังไม่เห็นแจ้งเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทไม่เข้าใจ
ปฎิจจสมุปบาท คือ อะไร?
เมื่อกล่าวอย่างสรุปแล้ว ปฏิจจสมุปบาทก็คือ อาการของจิตเมื่อเกิดความยึดถือว่ามีตัวเราแล้วจิตก็เป็นทุกข์ แต่เมื่อจิตไม่เกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา จิตก็ไม่เป็นทุกข์
เมื่อจะอธิบายให้ละเอียดแล้ว ปฏิจจสมุปบาท จะมีอาการปรุงแต่งกันอยู่อย่างรวดเร็วในขณะที่จิตเกิดความทุกข์ถึง ๑๒ อาการ อย่างที่เราเคยได้ผ่านหูผ่านตากันมาแล้ว
แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า บางคนก็เข้าใจว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นคือการอธิบายถึงเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติ คืออธิบายว่า เมื่อจิตยังมีอวิชชาอยู่ก่อนตาย ก็จะทำให้เกิดกิเลส แล้วกิเลสก็ทำให้เกิดกรรม เมื่อตายไปผลของกรรมก็จะสร้างและภพชาติหรือการเกิดใหม่ทางร่างกายขึ้นมาอีก อย่างที่คนส่วนใหญ่เชื่อกันอยู่
การที่จะเข้าใจว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นสอนอะไรกันแน่นั้น เราจะต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานเสียก่อน จึงจะเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทได้ ซึ่งเรื่องพื้นฐานนั้นก็คือ เรื่องความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาของขันธ์ ๕ หรือร่างกายกับจิตใจ
เพราะถ้ายังเข้าใจว่าในขันธ์ ๕ นี้ยังมีสิ่งที่เป็นตัวตนของเรา หรือมีสิ่งที่จะสร้างตัวตนที่เป็นเราขึ้นมาใหม่ได้เมื่อร่างกายนี้ตายไปแล้ว ก็เท่ากับยังมีความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย หรือการเกิดใหม่ ซึ่งเป็นความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณของเราหรือของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายนี้เป็น อัตตา ที่หมายถึง ตัวตนอมตะ หรือตัวตนของมันเอง ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ และเมื่อมีความเชื่อเช่นนี้จึงทำให้เกิดการตีความว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นการอธิบายเรื่องการเวียว่ายตายเกิดทางร่างกายไป
แต่ถ้าเราจะได้ศึกษาเรื่องขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงแล้ว เราจะพบว่า มันไม่มีขันธ์ใดที่จะเป็นอัตตาหรือตัวตนของมันเองเลย มีแต่สิ่งที่ถูกปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นมาเพียงชั่วคราวเท่านั้น (คือเป็นอนัตตา ที่แปลว่า ไม่ใช่อัตตา) จึงทำให้เรื่องที่จะมีตัวเราเกิดขึ้นมาได้ใหม่เมื่อตายไปแล้วนั้น ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นจึงทำให้เข้าใจได้ทันทีว่า การตีความปฏิจจสมุปบาทว่าเป็นการอธิบายถึงเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายนั้นไม่ถูกต้อง
สรุปได้ว่า ถ้าจะศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้เข้าใจ จะต้องศึกษาเรื่องการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับหายไปของขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงก่อน (ไม่เอาความเชื่อ) ก็จะเกิดความเห็นแจ้งเรื่องขันธ์ ๕ นี้ว่ามันไม่เที่ยง (ไม่เป็นอมตะ) มีสภาวะที่ต้องทน และไม่ใช่ตัวตนของเราหรือของใครๆ และเมื่อเกิดความเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ แล้ว ก็จะศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย (ศึกษารายละเอียดได้จาก http://www.whatami.net/ ) แต่ถ้ายังไม่เห็นแจ้งเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทไม่เข้าใจ