จากหลักปฏิจจสมุปบาที่ว่า อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร และมีการปรุงแต่งกันต่อๆไปถึง ๑๒ อาการ จนเกิดความทุกข์ขึ้นมานั้น
เห็นมีแต่คนแปลคำว่า อวิชชา ว่า ความไม่รู้ แต่ไม่เห็นอธิบายว่า ไม่รู้อะไร?
บางคนก็บอกว่า ไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ ก็ไม่ยอมอธิบายว่า ไม่รู้ความจริงอะไร?
บางคนก็บอกว่า ไม่รู้อริยสัจ ๔ ก็ไม่ยอมอธิบายว่า อริยสัจ ๔ นั้นสรุปว่าอย่างไร?
คำว่า อวิชชา แปลตรงๆว่า ไม่ใช่วิชชา
คำว่า วิชชา แปลว่า ความรู้สูงสุด (วิชา คือ ความรู้ธรรมดาทั่วไป)
ความรู้สูงสุด คือ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้
ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ ก็คือ ความรู้เรื่องอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ สรุปก็คือ คำสอนเรื่องทุกข์ และ การดับทุกข์
ทุกข์ ก็คือ ความทุกข์ของจิตใจในชีวิตปัจจุบัน อันได้แก่ ความเศร้าโศก ความคับแค้นใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของจิตด้วย "ความรู้ว่ามีตนเอง" (ตามหลักปฏิจจสมุปบาท)
ส่วนการดับทุกข์ก็คือ การหยุดการปรุงแต่งของจิตด้วยความรู้ว่ามีตนเองนี้เสียได้ โดยใช้ปัญญา (ความรู้ว่าไม่มีตนเองอยู่จริง) และ สมาธิ มาทำงานร่วมกัน (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) ก็จะทำให้ความทุกข์ของจิตใจนี้ระงับดับหายไปได้ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร (ถาวรคือตลอดชีวิต) เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็จะสงบเย็นหรือนิพพาน
สรุปได้ว่า อวิชชา หมายถึง ความรู้ว่ามีตนเอง ที่เป็นสัญชาติญาณ (ความรู้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมจิตตามธรรมาติ) ของทุกจิตที่เกิดขึ้นมา คือทุกชีวิตที่เกิดขึ้นมาก็จะมีอวิชชาเกิดขึ้นมาอยู่ด้วยตามธรรมชาติ ซึ่งอวิชชานี้เองที่ครอบงำจิตแล้วทำให้ชีวิตทั้งหลายเกิดความรู้สึกว่ามีตนเองอยู่จริง แล้วทุกชีวิตก็จะรักตัวเองแล้วก็พยายามเอาตัวรอด จนเกิดพฤติกรรมของชีวิตขึ้นมา เช่น หนีภัย หาอาหาร กินอาหาร สืบพันธ์ รักลูก เลี้ยงลูก เป็นต้น ถ้าชีวิตใดไม่มีอวิชชาชีวิตนั้นก็จะสูญพันธ์ไปจากโลก ที่สำคัญอวิชชานี้เองที่เป็นต้นเหตุให้จิตปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตนเองและความยึดถือ (พอใจ-ไม่พอใจ) ว่ามีตนเองขึ้นมา ซึ่งความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตัวเองนี่เอง ที่ทำให้จิตเกิดความทุกข์ขึ้นมา
การแปลคำว่า อวิชชา ว่าหมายถึง ความไม่รู้ นั้น ไม่ถูกต้อง
เห็นมีแต่คนแปลคำว่า อวิชชา ว่า ความไม่รู้ แต่ไม่เห็นอธิบายว่า ไม่รู้อะไร?
บางคนก็บอกว่า ไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ ก็ไม่ยอมอธิบายว่า ไม่รู้ความจริงอะไร?
บางคนก็บอกว่า ไม่รู้อริยสัจ ๔ ก็ไม่ยอมอธิบายว่า อริยสัจ ๔ นั้นสรุปว่าอย่างไร?
คำว่า อวิชชา แปลตรงๆว่า ไม่ใช่วิชชา
คำว่า วิชชา แปลว่า ความรู้สูงสุด (วิชา คือ ความรู้ธรรมดาทั่วไป)
ความรู้สูงสุด คือ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้
ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ ก็คือ ความรู้เรื่องอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ สรุปก็คือ คำสอนเรื่องทุกข์ และ การดับทุกข์
ทุกข์ ก็คือ ความทุกข์ของจิตใจในชีวิตปัจจุบัน อันได้แก่ ความเศร้าโศก ความคับแค้นใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของจิตด้วย "ความรู้ว่ามีตนเอง" (ตามหลักปฏิจจสมุปบาท)
ส่วนการดับทุกข์ก็คือ การหยุดการปรุงแต่งของจิตด้วยความรู้ว่ามีตนเองนี้เสียได้ โดยใช้ปัญญา (ความรู้ว่าไม่มีตนเองอยู่จริง) และ สมาธิ มาทำงานร่วมกัน (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) ก็จะทำให้ความทุกข์ของจิตใจนี้ระงับดับหายไปได้ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร (ถาวรคือตลอดชีวิต) เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็จะสงบเย็นหรือนิพพาน
สรุปได้ว่า อวิชชา หมายถึง ความรู้ว่ามีตนเอง ที่เป็นสัญชาติญาณ (ความรู้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมจิตตามธรรมาติ) ของทุกจิตที่เกิดขึ้นมา คือทุกชีวิตที่เกิดขึ้นมาก็จะมีอวิชชาเกิดขึ้นมาอยู่ด้วยตามธรรมชาติ ซึ่งอวิชชานี้เองที่ครอบงำจิตแล้วทำให้ชีวิตทั้งหลายเกิดความรู้สึกว่ามีตนเองอยู่จริง แล้วทุกชีวิตก็จะรักตัวเองแล้วก็พยายามเอาตัวรอด จนเกิดพฤติกรรมของชีวิตขึ้นมา เช่น หนีภัย หาอาหาร กินอาหาร สืบพันธ์ รักลูก เลี้ยงลูก เป็นต้น ถ้าชีวิตใดไม่มีอวิชชาชีวิตนั้นก็จะสูญพันธ์ไปจากโลก ที่สำคัญอวิชชานี้เองที่เป็นต้นเหตุให้จิตปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตนเองและความยึดถือ (พอใจ-ไม่พอใจ) ว่ามีตนเองขึ้นมา ซึ่งความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตัวเองนี่เอง ที่ทำให้จิตเกิดความทุกข์ขึ้นมา