ขอกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ นำเส้นทางในการเจริญสติ เพื่อเข้าสู่นิพพาน ของ พระอาจารย์ต้น นำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์กับสาธารณชนที่ใฝ่รู้ ใฝ่ปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงสิ่งต่างๆ ในชีวิตให้ดีขึ้น กราบขออนุญาตท่านพระอาจารย์ ในครั้งนี้ด้วย..
ลำดับการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน
พระอาจารย์ต้น จารุวณโณ ภิกขุ (ธรรมนาวา Dhammanava)
1.ระลึกถึงพระรัตนตรัย
ท่องบทนี้ เพื่อวางจิตไว้กับพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่อยู่อันสูงสุด
- พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
- ธัมโม เม นาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
- สังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ขยายความหมาย (เม คือ เรา , นาโถ คือ ที่พึ่ง)
สามารถท่องได้ตลอดทั้งวัน และทุกวัน ถ้ามีปัญหาเข้ามา ทำให้จิตใจไม่ดี ยิ่งท่องยิ่งดี
เมื่อจิตกำลังโดนกระทบ สามารถท่องบทต่อไปนี้เสริมเข้าไปได้ ยกตัวอย่างเช่น
กำลังมีความรำคาญใจเกิดขึ้น
เราก็ท่องต่อจากบทข้างบนได้ว่า
นี้คือ "ความรำคาญ"
ความรำคาญกำลังเกิดขึ้นกับจิต จิตกำลังมีความรำคาญ
ความรำคาญกำลังปรุงแต่งจิต จิตเรากำลังถูกความรำคาญปรุงแต่ง
เรากำลังมีความรำคาญ ความรำคาญกำลังเกิดขึ้นกับเรา
ตรงนี้พระอาจารย์เรียกว่า การ
"ทัก" ทักมันวนไปวนมา เดี๋ยวมันก็จะค่อยๆ ดับไป
ตรงนี้สามารถใช้ได้กับทุกปัญหาที่เข้ามากระทบจิตเรา
------------------------------------------
2. ท่องธาตุกัมมัฏฐาน 4
ท่องให้แม่นยำ ทุกตัวอักษร ตามลำดับให้ขึ้นใจ สามารถท่องได้ทั้งวัน
....ธาตุ ๔ คือ....
ธาตุดินเรียก...ปฐวีธาตุ
ธาตุน้ำเรียก...อาโปธาตุ
ธาตุไฟเรียก...เตโชธาตุ
ธาตุลมเรียก...วาโยธาตุ
ธาตุอันใดมีลักษณะ #แข้นแข็ง ธาตุนั้นเป็นธาตุดิน
ธาตุดินที่มีในกายนี้คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ
พังผืดไต ปอด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า
ธาตุอันใดมีลักษณะ #เอิบอาบ ธาตุนั้นเป็นธาตุน้ำ
ธาตุน้ำที่มีในกายนี้คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำปัสสาวะ(มูตร)
ธาตุอันใดมีลักษณะ #ร้อน ธาตุนั้นเป็นธาตุไฟ
ธาตุไฟที่มีในกายนี้คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่เผาผลาญอาหารให้ย่อย
ธาตุอันใดมีลักษณะ #พัดไปมา ธาตุนั้นเป็นธาตุลม
ธาตุลมที่มีในกายนี้คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
ความกำหนดพิจารณากายนี้...ให้เห็นว่า...
เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ประชุมกันอยู่ไม่ไช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน
---------------------------------------------------
3. การพิจารณาร่างกาย 6 ขั้นตอน
1. ร่างกายหมดลมหายใจ ธาตุลมแยกออกไปจากร่างกาย ธาตุอื่นๆ คือ ดิน น้ำ ไฟ ก็จะประกอบเป็นเราไม่ได้ ไอความร้อนก็จะ
ระเหยออกไป ร่างกายก็จะเริ่มเย็น เราก็เริ่มพิจารณาจากตรงนี้ คิดซ้ำๆ พิจารณาซ้ำๆ นำไปสู่การ "เห็น" ตามความเป็นจริงโดย
ไม่จำเป็นต้องไปดูซากศพจริงๆ
2. ธาตุน้ำดำดิน ร่างกายจะพอง ขึ้นอืด ตาถลน เขียวช้ำ ขาแขนบวมชี้ขึ้นฟ้า ลิ้นจุกปาก ทั้งตัวบวม เพราะน้ำพยายามดันมัน
ออกมา นำจุดนี้มาพิจารณาและคิดแบบมโนภาพขึ้นมา ย้ำบ่อยๆ เราจะเห็นภาพค่อยๆ ชัดขึ้นเรื่อยๆ รับรู้ได้ทางใจ จิตเริ่มเข้าใจ
จิตเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นต่อไป
3. ธาตุดินแตก เมื่อร่างกายถูกดันออกมามากๆ ก็จะเริ่มปริแตกออกมา เกิดช่องว่าง ทำให้น้ำเลือด น้ำหนองสามารถทะลักออก
มาได้
4. น้ำละลายดิน หลังจากที่น้ำไหลออกมาจากช่องปริแตกนั้น มันจะทำให้เนื้อเราเปื่อยย่อยไปด้วย หนอนต่างๆ ตามธรรมชาติ 8
หมื่นตระกูล ก็จะมากินซากของเรา เกิดความเน่า เหม็นขลุ้งไปทั่ว จิตเราจะเริ่มเห็นภาพตามเป็นขณะๆ พอเปื่อยเน่า ก็จะค่อยๆ
ย่อยสลายซึมไปตามดิน
5. เหลือแต่โครงกระดูก หัวกระโหลก จิตก็จะมองเห็นภาพเหล่านี้ จิตรับรู้ได้ว่า ตอนนี้เหลือแต่ธาตุดินล้วนๆ คือ กระดูก ซึ่งเป็น
ที่สุดแล้ว ไม่สามารถแยกเป็นอะไรได้แล้ว แต่เราต้องพิจารณาลึกลงไปต่อ คือ ความผุกร่อนของกระดูก แต่จะเมื่อไหร่นั้น ก็ต้อง
ย่อยสลายในที่สุด จนกลายเป็นความไม่มี ไม่เหลือ
6.เห็นโครงกระดูกเป็นดิน เรากับดินเป็นอันเดียวกัน ธาตุทั้งสี่ที่ประกอบเป็นเรา นั่นคือ ดินนั่นเอง
เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องย้อนกลับไปขั้นที่ 1 ตรึกตรองช้าๆ ค่อยๆ พิจารณาวน 1-6 ไปหลายๆ รอบ
----------------------------------------------------------------------
4. ท่องขันธ์ 5 ให้แม่นยำ และขึ้นใจ
ขันธ์ 5 ประกอบด้วยกองรูปธรรม และนามธรรมทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
1. รูปขันธ์ หมายถึง กองรูป ส่วนที่เป็นร่างกาย พฤติกรรม คุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย และส่วนประกอบที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ หมายถึง กองเวทนา ส่วนที่เป็นความรู้สึกทุกข์ สุข ดีใจ พอใจ
3. สัญญาขันธ์ หมายถึง กองสัญญา ส่วนที่เป็นการจำสิ่งที่ได้รับ
4. สังขารขันธ์ หมายถึง กองสังขาร ส่วนที่เป็นการคิดปรุงแต่ง โดยสามารถแยกแยะสิ่งที่รู้สึกหรือจดจำได้
5. วิญญาณขันธ์ หมายถึง กองวิญญาณ หรือ จิต เป็นการรู้แจ้งถึงสิ่งต่างๆ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
------------------------------------------------------
5. เรียนรู้ขันธ์ 5 เพื่อให้รู้ว่า ขันธ์แต่ละขันธ์ ทำงานอย่างไร โดยพิจารณาไปทีละขันธ์
--------------------------------------------------
6. พิจารณาขันธ์ ลงสู่ อริยสัจ 4 ให้รู้ว่า อริยสัจ 4 ทำงานอย่างไร
อริยสัจ 4 มีดังนี้
ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์
สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์
นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์
มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์
และเมื่อเกิดทุกข์ขึ้นแล้ว เราจะสอนจิตตัวเองว่าอย่างไร
- นี้คือ ทุกข์ ที่มีลักษณะแปรปรวน เสื่อมสลาย ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตน
- การรู้เหตุแห่งทุกข์นี้ ว่ามีเพราะอะไร
- การที่เราไม่รู้ว่า นี่คือ ทุกข์ จะเป็นสมุทัยตัวใหม่ (เหตุแห่งทุกข์)
- ในขณะที่เรารู้ทุกข์แล้ว สมุทัยใหม่จึงดับ เกิดเป็นนิโรธ คือ การดับไปของความทุกข์
- การที่เราได้เข้าไปเห็นและพิจารณาตามนี้ได้แล้ว คือ การเกิดมรรคนั่นเอง
------------------------------------
7. ดูการเกิด-ดับ ของขันธ์ เพื่อเจริญมรรคให้เต็มรอบ
เมื่อเราพิจารณาซ้ำๆ จนจิตมีควมชำนาญ เราจะเห็นการเกิด-ดับของขันธ์ และ
สามารถจัดลงในอริยสัจ4 ได้อย่างอัตโนมัติ
เมื่อจิตทำงาน ด้วยการเจริญมรรคได้เองอัตโนมัติเฉกเช่นนี้แล้ว เราก็จะเป็นเพียง
ผู้ดูการทำงานของมรรคในการประหารกิเลสสังโยชน์ของมรรคเอง โดยเราไม่
สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวอะไรได้แล้วในจุดนี้
ข้าพเจ้ามีสติปัญญาเพียงเท่านี้ในการสรุปเนื้อหาใจความ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วย
การฝึกจิต 7 ขั้นตอน แบบฉบับ พระอาจารย์ต้น จารุวณโณ ภิกขุ (ธรรมนาวา Dhammanava)
ขอกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ นำเส้นทางในการเจริญสติ เพื่อเข้าสู่นิพพาน ของ พระอาจารย์ต้น นำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์กับสาธารณชนที่ใฝ่รู้ ใฝ่ปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงสิ่งต่างๆ ในชีวิตให้ดีขึ้น กราบขออนุญาตท่านพระอาจารย์ ในครั้งนี้ด้วย..
ลำดับการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน
พระอาจารย์ต้น จารุวณโณ ภิกขุ (ธรรมนาวา Dhammanava)
1.ระลึกถึงพระรัตนตรัย
ท่องบทนี้ เพื่อวางจิตไว้กับพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่อยู่อันสูงสุด
- พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
- ธัมโม เม นาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
- สังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ขยายความหมาย (เม คือ เรา , นาโถ คือ ที่พึ่ง)
สามารถท่องได้ตลอดทั้งวัน และทุกวัน ถ้ามีปัญหาเข้ามา ทำให้จิตใจไม่ดี ยิ่งท่องยิ่งดี
เมื่อจิตกำลังโดนกระทบ สามารถท่องบทต่อไปนี้เสริมเข้าไปได้ ยกตัวอย่างเช่น กำลังมีความรำคาญใจเกิดขึ้น
เราก็ท่องต่อจากบทข้างบนได้ว่า
นี้คือ "ความรำคาญ"
ความรำคาญกำลังเกิดขึ้นกับจิต จิตกำลังมีความรำคาญ
ความรำคาญกำลังปรุงแต่งจิต จิตเรากำลังถูกความรำคาญปรุงแต่ง
เรากำลังมีความรำคาญ ความรำคาญกำลังเกิดขึ้นกับเรา
ตรงนี้พระอาจารย์เรียกว่า การ"ทัก" ทักมันวนไปวนมา เดี๋ยวมันก็จะค่อยๆ ดับไป
ตรงนี้สามารถใช้ได้กับทุกปัญหาที่เข้ามากระทบจิตเรา
------------------------------------------
2. ท่องธาตุกัมมัฏฐาน 4
ท่องให้แม่นยำ ทุกตัวอักษร ตามลำดับให้ขึ้นใจ สามารถท่องได้ทั้งวัน
....ธาตุ ๔ คือ....
ธาตุดินเรียก...ปฐวีธาตุ
ธาตุน้ำเรียก...อาโปธาตุ
ธาตุไฟเรียก...เตโชธาตุ
ธาตุลมเรียก...วาโยธาตุ
ธาตุอันใดมีลักษณะ #แข้นแข็ง ธาตุนั้นเป็นธาตุดิน
ธาตุดินที่มีในกายนี้คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ
พังผืดไต ปอด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า
ธาตุอันใดมีลักษณะ #เอิบอาบ ธาตุนั้นเป็นธาตุน้ำ
ธาตุน้ำที่มีในกายนี้คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำปัสสาวะ(มูตร)
ธาตุอันใดมีลักษณะ #ร้อน ธาตุนั้นเป็นธาตุไฟ
ธาตุไฟที่มีในกายนี้คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่เผาผลาญอาหารให้ย่อย
ธาตุอันใดมีลักษณะ #พัดไปมา ธาตุนั้นเป็นธาตุลม
ธาตุลมที่มีในกายนี้คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
ความกำหนดพิจารณากายนี้...ให้เห็นว่า...
เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ประชุมกันอยู่ไม่ไช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน
---------------------------------------------------
3. การพิจารณาร่างกาย 6 ขั้นตอน
1. ร่างกายหมดลมหายใจ ธาตุลมแยกออกไปจากร่างกาย ธาตุอื่นๆ คือ ดิน น้ำ ไฟ ก็จะประกอบเป็นเราไม่ได้ ไอความร้อนก็จะ
ระเหยออกไป ร่างกายก็จะเริ่มเย็น เราก็เริ่มพิจารณาจากตรงนี้ คิดซ้ำๆ พิจารณาซ้ำๆ นำไปสู่การ "เห็น" ตามความเป็นจริงโดย
ไม่จำเป็นต้องไปดูซากศพจริงๆ
2. ธาตุน้ำดำดิน ร่างกายจะพอง ขึ้นอืด ตาถลน เขียวช้ำ ขาแขนบวมชี้ขึ้นฟ้า ลิ้นจุกปาก ทั้งตัวบวม เพราะน้ำพยายามดันมัน
ออกมา นำจุดนี้มาพิจารณาและคิดแบบมโนภาพขึ้นมา ย้ำบ่อยๆ เราจะเห็นภาพค่อยๆ ชัดขึ้นเรื่อยๆ รับรู้ได้ทางใจ จิตเริ่มเข้าใจ
จิตเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นต่อไป
3. ธาตุดินแตก เมื่อร่างกายถูกดันออกมามากๆ ก็จะเริ่มปริแตกออกมา เกิดช่องว่าง ทำให้น้ำเลือด น้ำหนองสามารถทะลักออก
มาได้
4. น้ำละลายดิน หลังจากที่น้ำไหลออกมาจากช่องปริแตกนั้น มันจะทำให้เนื้อเราเปื่อยย่อยไปด้วย หนอนต่างๆ ตามธรรมชาติ 8
หมื่นตระกูล ก็จะมากินซากของเรา เกิดความเน่า เหม็นขลุ้งไปทั่ว จิตเราจะเริ่มเห็นภาพตามเป็นขณะๆ พอเปื่อยเน่า ก็จะค่อยๆ
ย่อยสลายซึมไปตามดิน
5. เหลือแต่โครงกระดูก หัวกระโหลก จิตก็จะมองเห็นภาพเหล่านี้ จิตรับรู้ได้ว่า ตอนนี้เหลือแต่ธาตุดินล้วนๆ คือ กระดูก ซึ่งเป็น
ที่สุดแล้ว ไม่สามารถแยกเป็นอะไรได้แล้ว แต่เราต้องพิจารณาลึกลงไปต่อ คือ ความผุกร่อนของกระดูก แต่จะเมื่อไหร่นั้น ก็ต้อง
ย่อยสลายในที่สุด จนกลายเป็นความไม่มี ไม่เหลือ
6.เห็นโครงกระดูกเป็นดิน เรากับดินเป็นอันเดียวกัน ธาตุทั้งสี่ที่ประกอบเป็นเรา นั่นคือ ดินนั่นเอง
เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องย้อนกลับไปขั้นที่ 1 ตรึกตรองช้าๆ ค่อยๆ พิจารณาวน 1-6 ไปหลายๆ รอบ
----------------------------------------------------------------------
4. ท่องขันธ์ 5 ให้แม่นยำ และขึ้นใจ
ขันธ์ 5 ประกอบด้วยกองรูปธรรม และนามธรรมทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
1. รูปขันธ์ หมายถึง กองรูป ส่วนที่เป็นร่างกาย พฤติกรรม คุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย และส่วนประกอบที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ หมายถึง กองเวทนา ส่วนที่เป็นความรู้สึกทุกข์ สุข ดีใจ พอใจ
3. สัญญาขันธ์ หมายถึง กองสัญญา ส่วนที่เป็นการจำสิ่งที่ได้รับ
4. สังขารขันธ์ หมายถึง กองสังขาร ส่วนที่เป็นการคิดปรุงแต่ง โดยสามารถแยกแยะสิ่งที่รู้สึกหรือจดจำได้
5. วิญญาณขันธ์ หมายถึง กองวิญญาณ หรือ จิต เป็นการรู้แจ้งถึงสิ่งต่างๆ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
------------------------------------------------------
5. เรียนรู้ขันธ์ 5 เพื่อให้รู้ว่า ขันธ์แต่ละขันธ์ ทำงานอย่างไร โดยพิจารณาไปทีละขันธ์
--------------------------------------------------
6. พิจารณาขันธ์ ลงสู่ อริยสัจ 4 ให้รู้ว่า อริยสัจ 4 ทำงานอย่างไร
อริยสัจ 4 มีดังนี้
ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์
สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์
นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์
มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์
และเมื่อเกิดทุกข์ขึ้นแล้ว เราจะสอนจิตตัวเองว่าอย่างไร
- นี้คือ ทุกข์ ที่มีลักษณะแปรปรวน เสื่อมสลาย ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตน
- การรู้เหตุแห่งทุกข์นี้ ว่ามีเพราะอะไร
- การที่เราไม่รู้ว่า นี่คือ ทุกข์ จะเป็นสมุทัยตัวใหม่ (เหตุแห่งทุกข์)
- ในขณะที่เรารู้ทุกข์แล้ว สมุทัยใหม่จึงดับ เกิดเป็นนิโรธ คือ การดับไปของความทุกข์
- การที่เราได้เข้าไปเห็นและพิจารณาตามนี้ได้แล้ว คือ การเกิดมรรคนั่นเอง
------------------------------------
7. ดูการเกิด-ดับ ของขันธ์ เพื่อเจริญมรรคให้เต็มรอบ
เมื่อเราพิจารณาซ้ำๆ จนจิตมีควมชำนาญ เราจะเห็นการเกิด-ดับของขันธ์ และ
สามารถจัดลงในอริยสัจ4 ได้อย่างอัตโนมัติ
เมื่อจิตทำงาน ด้วยการเจริญมรรคได้เองอัตโนมัติเฉกเช่นนี้แล้ว เราก็จะเป็นเพียง
ผู้ดูการทำงานของมรรคในการประหารกิเลสสังโยชน์ของมรรคเอง โดยเราไม่
สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวอะไรได้แล้วในจุดนี้
ข้าพเจ้ามีสติปัญญาเพียงเท่านี้ในการสรุปเนื้อหาใจความ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วย