ปุถุชนดับได้เพียง ๑ ขันธ์

กระทู้สนทนา
ปุถุชนดับได้เพียง ๑ ขันธ์

การเสียชีวิตของคนคนหนึ่ง คือ การที่ร่างกาย(รูปขันธ์)อันประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟที่มาประชุมกันชั่วคราว เมื่อธาตุดินซึ่งประกอบด้วย น้ำ ไฟ ลม ธาตุน้ำก็ประกอบด้วยดิน ลม ไฟ ธาตุลมก็ประกอบด้วยดิน น้ำ ไฟ ธาตุไฟก็ประกอบไปด้วยดิน น้ำ ลม ธาตุทั้งสี่ก็ไม่มีตัวตนแท้จริงเป็นของของตน ล้วนมีความไม่เที่ยง แปรปรวน ทนอยู่ไม่ได้เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนแท้จริงเป็นของของตน ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มาประชุมกันชั่วคราวดังนี้ เมื่อธาตุใดธาตุหนึ่งบกพร่องไป ร่างกายหรือภาษาธรรมเรียกว่า รูปขันธ์ ก็แตกดับไป

ในวิถีชีวิตของปุถุชนตัวเราที่ประกอบไปด้วย ร่างกาย(รูปขันธ์ ๑) + จิตใจ(นามขันธ์ ๔) เมื่อร่างกายดับไป จิตใจที่สร้างสมไว้ด้วยความพอใจ ไม่พอใจและความหลง หรือโลภะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่เต็มเปี่ยมจิตที่จุติอันมากไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะหรืออวิชชายังคงไม่หมดเหตุปัจจัยในการเกิด การดับตามสภาวะธรรม สร้างภพ ชาติในการเวียนว่ายตายเกิดวนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสารตามวงจรของปฏิจจสมุปบาทวนรอบไปไม่มีวันสิ้นสุดภพแล้วภพเล่า ทันทีเมื่อลืมตาร่างกายและจิตใจของเราทำงานอัตโนมัติร่วมกันอย่างรวดเร็ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อายตนะภายนอกกระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลา ชีวิตปุถุชนจึงตอบรับการกระทบของอินทรีย์ ๖ด้วยความพอใจ ไม่พอใจและความหลงตลอดเวลา อย่างหยาบๆเรารับรู้ รู้สึกได้ เช่น เสียงดังของรถเราตัดสินด้วยความรำคาญคือ โทสะ คนเดินมาเหยียบเท้าตัดสินทันทีเจ็บ โกรธ ตัวเราเจ็บทันที ตัวเราก็โกรธทันที เป็นการทำงานของข้อมูลในสัญญาความจำเดิมที่เก็บไว้เมื่อเจ็บจะตัดสินด้วยความไม่พอใจ.. ยังไม่ทันที่คนเหยียบเท้าจะขอโทษ แล้วหากเขาไม่ขอโทษก็โกรธไปอีกนาน หน้าคนเหยียบถูกประทับไว้ในชวนะจิต ๗ ขณะชนิดไม่มีวันลืม อันนี้คือตัวอย่าง การตัดสินของจิตใจปุถุชนเราอย่างหยาบ อย่างละเอียดเช่น ขณะนั่งพักผ่อนลมพัดเย็นสบายรู้สึกสดชื่น เกิดความพอใจในความสดชื่นเย็นสบาย อยากมานั่งที่นี่อีก สงบร่มเย็น หรือได้พบปะพูดคุยกับคนที่เป็นกัลยาณมิตร พูดจาอ่อนหวานน่ารัก น่าฟัง เกิดความพอใจที่จะพูดคุยด้วยกันอีก อันนี้เป็นความพอใจที่ละเอียด หรือที่เรียกว่า เป็นความสุขอย่างปุถุชนเป็นสุขชั่วคราว เมื่อแสวงหาได้มาก็สุข ถ้าไม่ได้มาอีกก็เป็นทุกข์

โดยปกตินิสัยของปุถุชน จิตใจของเราจะท่องความพอใจ ไม่พอใจผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทุกลมหายใจเมื่อเราลืมตา ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ คือการยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็น เราเห็น หูเราได้ยิน จมูกเราได้กลิ่น ลิ้นเราได้รส กายเราได้สัมผัส รู้สึก และใจเรามีความนึกคิด เมื่อเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ คือการมีตัวเรา เมื่อมีตัวเราก็มีทุกข์ ตัวเรามีทุกข์ สุข ก็มีเกิดขึ้นกับตัวเรา

ในวิถีชีวิตของอริยะบุคคลผู้ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนแล้วนำปฏิบัติเพื่อการดับของอวิชชา หรือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือความพอใจ ไม่พอใจและความหลงตามไม่ทันพอใจไม่พอใจ การวิปัสสนาภาวนาพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต เป็นการดับอวิชชา ด้วยการน้อมนำเอาสัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นที่ถูกต้อง คือความจริงในกฏ ๒ กฏในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ไตรลักษณ์และอิทัปปัจยตาปฏิจจสมุปบาทไปตั้งเป็นสัมมาทิฏฐิสรุปเป็นคำวิปัสสนาว่า ไม่เที่ยง เกิด ดับ คือสภาวะธรรมของสรรพสิ่งทั้งปวง ทั้งโลกและตัวเราขึ้นอยู่กับกฏธรรมชาตินี้ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหนๆ นับถือศาสนาอะไร ทุกสิ่งและทุกชีวิตล้วนไม่เที่ยง เกิด ดับ รวมทั้งตัวเรา มีสภาวะใหม่ เก่า ผุ พัง แตกสลาย ตัวเราและทุกชีวิตหนุ่ม แก่ ตาย แต่ทำไมต้องวิปัสสนา การวิปัสสนาคือการท่อง เพื่อย้ำความจริงให้มีให้มากในใจเรา เพราะอริยะบุคคลคือ คนผู้ประเสริฐ ผู้รู้ทางดับทุกข์และมีปัญญาในการดับทุกข์เป็นทรัพย์อันประเสริฐคือ อริยะทรัพย์ นำติดตัวไป(ติดไปกับจิตใจหรือนามขันธ์ ๔ ขันธ์ที่ยังดับไม่สนิท หากยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์) ส่วนพระพุทธเจ้าทุกพระองค์และพระอรหันต์ทุกพระองค์ ท่านดับขันธปรินิพพาน คือการดับขันธ์ ๕ ได้อย่างเด็ดขาด ไม่มีจิตอันเป็นเหตุปัจจัยในการปฏิสนธิอีก ดับรอบของอวิชชาได้อย่างเด็ดขาด ดับไฟโลภะ โทสะ โมหะ ดับเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิง

***อริยะบุคคล และพระอริยะบุคคลผู้ฝึกฝนตนเองมาดีแล้ว ฝึกฝนตนเองมาชอบแล้ว ฝึกฝนตนเองมาตรงทางตรงธรรมแล้ว คือ ผู้ที่สามารถดับอวิชชา ไม่ให้เกิดขึ้นในตัวเราได้ด้วยตนเอง ด้วยการนำสัมมาทิฏฐิ คือไม่เที่ยง เกิด ดับน้อมนำไปใส่ไว้ในใจ ผ่านทางอินทรีย์ ๖ ทวารเข้าของข้อมูลเพื่อไปเก็บไว้ในสัญญาความจำ อริยะบุคคล ๔ คู่ ๘ บุรุษจึงสามารถพาตนเองหลุดพ้นจากปุถุชนได้ โดยมีหลักตัดสินในการละสังโยชน์ ๑๐ ตามเหตุปัจจัยเป็นลำดับไปและเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์จึงดับขันธ์ ๕ ได้ ดับการปฏิสนธิของจิตได้เด็ดขาด กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ อริยะบุุคคลตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไปนับว่ามีชีวิตที่ประเสริฐกว่าการได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เพราะมีอริยะทรัพย์ ทรัพย์ที่นำติดตัวไปได้เมื่อตาย

หลักสูตรเดียวสอนการวิปัสสนาทางสายเอกสายเดียว สำหรับปุถุชนศึกษาเรียนรู้และนำพระธรรมคำสอนไปปฏิบัติเพื่อพาตนเองข้ามพ้นจากปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยะบุคคล สอนในหลักธรรมคำสอนที่ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปเพื่อรู้จักทุกข์และการดับทุกข์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่