การปฏิรูปการศึกษา

กระทู้สนทนา
โจเซฟ สติกลิตซ์" นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล นำข้อมูลหลักฐานและความคิดมากมายมาเสนอในหนังสือเล่มนี้ว่า ความเหลื่อมล้ำระดับสูงมี "ราคา" มหาศาลที่สังคมและเศรษฐกิจต้องจ่าย และรัฐกับสังคมจะต้องจัดการกับปัญหานี้อย่างเร่งด่วนก่อนสายเกินแก้
ประโยชน์ส่วนตน หรือ Self-Interest ที่จะขับเคลื่อนให้คนในประเทศเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้และความสุขให้กับตนเอง ซึ่ง ”อดัม สมิธ” เชื่อว่า ประโยชน์ส่วนตนในระดับบุคคล ผ่านการตัดสินใจที่ยับยั้งชั่งใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น จะนำไปสู่ประโยชน์ส่วนรวม คือความมั่งคั่งและความสุขของสังคม
จุดอ่อนสำคัญที่คนพูดถึงมากของระบบทุนนิยม คือปัญหาความเหลื่อมล้ำ คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ให้ความสำคัญกับการลดความยากจนที่จะมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจ ด้วยการปฏิวัติการศึกษาไทย ให้ทั่วถึงเท่าเทียม เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม เป็นรากฐานที่มั่นคงของการพัฒนาชาติ โดยออกแบบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  8 ให้เน้นการพัฒนาคนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม 
การปรับระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยใหม่ ด้วยแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538-เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่ 21                

ความจำเป็นในการปรับระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของยุคโลกาภิวัฒน์ หมายความว่า จะต้องจัดระบบการศึกษา เพื่อเตรียมคนให้สามารถศึกษาได้ตลอดชีวิต และในการเตรียมตรงนี้จะต้องจัดการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี ให้ประชาชนทุกคน จึงจำเป็นต้องผลักดันรัฐธรรมนูญ2540 ซึ่งจะแก้ไขปัญหาโครงสร้าง เพื่อให้สิทประชาชนทุกคนจะได้รับสิทธิการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี โดยรัฐไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามรัฐธรรมนูญ 

ความสามารถของประชาชนจะศึกษาต่อตลอดชีวิต ตามแผนแม่บทได้กำหนดให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นระดับที่เชื่อมโยงกับอุดมศึกษา หากประชาชนทุกคนจบที่ระดับนี้ ประชาชนจะมีความพร้อมทางด้านวิชาการที่จะไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปนอกจากนี้แล้ว 

หลังการศึกษาพื้นฐานได้มีการปรับระบบอุดมศึกษาให้มีความยืดหยุ่นมีความหลากหลาย สร้างเส้นทางศึกษาต่อไว้หลายๆ เส้นทาง แต่ให้มีความเชื่อมโยงกันในที่สุด มีการจัดตั้งวิทยาลัยสังกัดอาชีวะ 278 แห่ง เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย โดยนำกฎหมายปี 2491 มารองรับเพื่อให้ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเบิกได้จริงตั้งแต่ปี 2539 และคาดหวังว่าหากแนวทางพัฒนาประเทศ แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการต่อเนื่องภายใน12ปี (2538-2550) ประเทศไทยจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เพราะจะสามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม และรัฐบาลจะสามารถเก็บภาษีได้เพียงพอ สำหรับดูแลประชาชนให้ได้เรียนฟรีถึงปริญญาตรีเท่าเทียมกับสหรัฐอเมริกา

ในระบบการศึกษาใหม่นี้บทบาทของการศึกษานอกระบบจะมีมากขึ้นเพื่อดูแลประชาชนซึ่งถูกทอดทิ้งในอดีต จึ
ต้องมีมาตรการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยการจัดตั้งห้องสมุดอัจฉริยะเฉลิมระเกียรติ 95 แห่งทั่วประเทศ โดยคุณพ่อสุขวิช รังสิตพลได้ทำพิธีเปิดพร้อมกันทั่วประเทศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2539 โดยการใช้สื่อออนไลน์ครั้งแรกในประเทศไทย จากโรงเรียนสตรีวิทยา2 ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วประเทศ รวมถึงศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนหลายพันแห่ง และอื่นๆในห้องเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8 ซึ่งเป็นแผนฉบับเดียวซึ่งเน้นการพัฒนา คน

การปฏิรูปการศึกษาของคุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ได้ระดมสรรพกำลังจากทุกๆ ฝ่ายในสังคมให้เข้ามาช่วยจัดการศึกษาด้วยตามความหลักการ "ทุกคนเพื่อการศึกษา" (All for Education) หลักการและนโยบาย ตลอดจนมาตรการเพื่อให้เกิดการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี และการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต

การปฏิรูปการศึกษาของคุณพ่อสุขวิช รังสิตพล เกิดจากปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลกระทบจนทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา2538 อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ  
                 1.1  กระแสโลกาภิวัตน์   ในกระแสโลกาภิวัตน์  ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้ก้าวไปสู่ระบบเทคโนโลยี  มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้  ภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงของตลาดโลกด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทำให้หลายฝ่ายได้หันมาสนใจในการพัฒนาคุณภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย  เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะอย่างเพียงพอในการใช้และควบคุมเทคโนโลยีในการผลิตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ระบบการศึกษาไทยจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ โดยผลิตบุคลากรให้มีคุณภาพที่สนองความต้องการและความพึงพอใจของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม                 

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้โลกเต็มไปด้วยข่าวสารข้อมูล  ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว  บุคคลที่มีสื่อต่างๆ อยู่ในครอบครองจะสามารถรับรู้และสัมผัสข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้มากกว่าบุคคลอื่นๆ ที่ไม่มีโอกาสในการใช้บริการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากเหตุผลหรือข้อจำกัดต่างๆ เช่น ความยากจน  อยู่ในพื้นที่ห่างไกล   ช่องว่างของการรับรู้   ข้อมูลข่าวสารจะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่เทคโนโลยีสารสนเทศขับเคลื่อนไปถึง   

ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปมากจากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์   คนไทยมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้กว้างขวางขึ้นและในทางสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้นำเสนอโอกาสและทางเลือกให้บุคคลได้เรียนรู้จากหลายช่องทางและหลายรูปแบบ  ทำให้การเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นทั้งเวลาและสถานที่ตลอดจนสามารถเรียนรู้  และรับรู้ข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องตามความสนใจของตนเอง   และในอนาคตบุคคลจะแสวงหาแนวทางและค้นหาความรู้ได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จะเกิดจากการจัดการศึกษาในสถานศึกษาโดยเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาที่จะมีการนำเสนอความรู้หลากหลาย  และเรียนจากเหตุการณ์จริงในสังคม   ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และสร้างรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง   การแสวงหาความรู้จะเกิดจากความพึงพอใจ เป็นการเรียนรู้เพื่อสั่งสมประสบการณ์และเพื่อการศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิต ผลกระทบเหล่านี้ทำให้จำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษา2538 โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอนในแนวใหม่ที่สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์   ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โดยวิธีใดก็ได้   จะต้องมีความหลากหลายและยืดหยุ่น  แต่มีการเทียบมาตรฐานและรับรองคุณภาพให้อย่างเป็นระบบ                 

เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมยุคโลกาภิวัตน์   การศึกษายุคใหม่จะต้องพัฒนาคนให้มีความสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารเป็น   โดยสามารถนำมาพัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้ของตนเองได้  การศึกษาต้องเตรียมคนให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์ สามารถควบคุมภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้  การศึกษาจะต้องมีเป้าหมายหลักในการสร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้  เพื่อก่อให้เกิดองค์กรและสังคมแห่งการเรียนรู้ที่จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาและยกระดับการศึกษาของประเทศให้สามารถเข้าสู่การแข่งขันกับนานาชาติได้
แผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21 เป็นที่มาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8 ซึ่งเน้นการพัฒนาคน และเพื่อให้ประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างอย่างเป็นรูปธรรมจึงมีความจำเป็นต้องผลักดันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2540ให้สำเร็จใน11 เดือน เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่จะส่งผลสามารถการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ  ด้วยกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญด้านการศึกษา

การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ2540 ได้ระบุไว้ในมาตรา  12  ว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในวิชาการ  การศึกษาอบรม การเรียนการสอนย่อมได้รับความคุ้มครองเท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 

และในมาตรา 43 ระบุว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า12ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย  การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ   การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ                 

นอกจากนี้ในมาตรา  81  ระบุให้รัฐต้องจัดการศึกษา  อบรม  และสนับสนุนให้จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม  ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  สร้างเสริมความรู้และปลุกจิตสำนึกที่ถูกต้อง  พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปและวัฒนธรรมของชาติ เป็นต้น 

ซึ่งความในรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาจากแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษา2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21

เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนระหว่างแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538 : เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21 กับ กฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ 2540 หรือ กฎหมายการศึกษา2542ซึ่งมีการเข้าใจผิดว่าคือการปฏิรูปการศึกษา จะขอเรียกการปฏิรูปการศึกษา2538  ว่าการปฏิวัติการศึกษา2538 

การปฏิวัติการศึกษา2538 เป็นการศึกษาของประเทศไทยที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลอย่างกว้างขวาง  เพื่อกำหนดเนื้อหาสาระต่างๆ  เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศ  ซึ่งส่งผลกระทบสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาของชาติอย่างมาก   นับตั้งแต่การกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษา   ที่เน้นการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ   สติปัญญา   ความรู้   และคุณธรรม    

การจัดการศึกษาโดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 

การกำหนดสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาของบุคคล บิดามารดา  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรรัฐ  องค์กรเอกชน   สถาบันต่างๆ ทางสังคม  

การกำหนดระบบการศึกษา   ซึ่งระบุไว้ว่ามี  3  รูปแบบ  คือการศึกษาในระบบและนอกระบบการศึกษา  และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้มีการผสมผสานและการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างรูปแบบเดียวกัน และต่างรูปแบบกันได้

การกำหนดการบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ  ซึ่งมุ่งเน้นความเป็นเอกภาพ   ประสิทธิภาพ  และการกระจายอำนาจ  

การกำหนดสิทธิในการจัดการศึกษาขององค์กรท้องถิ่น   

การบริหารและการจัดการศึกษาเอกชน ซึ่งมุ่งเน้นความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานของรัฐ 

การกำหนดมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง และชัดเจน 

การพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเหล่านี้เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่