นักเคลมผลงานแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา : นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร

กระทู้สนทนา
https://ppantip.com/topic/42577623/desktop
กระทู้โดนลบ



กระทู้หมายเลขในรูปถูกลบ จึงมาตั้งกระทู้ใหม่ เพื่อให้ประชาชนตาสว่าง  ไม่ถูกหลอกไปตายฟรีอีกค่ะ

1) 30 บาท รักษาทุกโรค




2) กองทุนหมู่บ้านละล้าน



กองทุนหมู่บ้าน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี 2544 เคลมผลงาน เงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน

หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง มีระเบียบใหม่ลดเหลือหมู่บ้านละเเสน 



เมื่อเพิ่มเป็นหมู่บ้านละล้าน มีการปล่อยให้กู้ไปอุปโภคบริโภค เนื่องจากใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี แต่กำหนดให้ใช้งบประมาณกระทรวงมหาดไทย จึงเละเทะ เพิ่มหนี้สินครัวเรือน จนกระทั่งรัฐบาลถูกไล่ และ นำไปสู่รัฐประหาร 2549

3) พักชำระหนี้เกษตรกร



4) บ้านเอื้ออาทร



5) หวยบนดิน

นอกจากยกเลิกเรียนฟรีจริง 15 ปี ซึ่งสำเร็จตั้งแต่ พฤษภาคม 2540 เพราะการอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538 แล้ว ยังมอมเมาประชาชนด้วยหวยบนดิน ส่งผลให้หวยทุกประเภทเป็นที่นิยมอย่างมากตั้งแต่ยุคนั้น จนกระทั่งปัจจุบัน  จุดเริ่มต้นของหนี้สินของประชาชนอีกประการหนึ่ง นอกจากกองทุนหมู่บ้านซึ่งละเลยวัตถุประสงค์

6) หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งชุมชน 

7) ธนาคารประชาชน 

ธนาคารประชาชน คือ โครงการเลียนแบบการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู แต่ให้ทุกอาชีพ  หากเป็นเอกชนผิดลิขสิทธิ์ หรือ ลอก



8) ปฏิรูประบบราชการ
สาร
ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ 

การปฏิรูประบบราชการเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งต้องดำเนินการเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยในปี2540  เพื่อเป้าหมายการเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี2020   ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ 1ตุลาคม 2539  อันเป็นแผนปฏิรูปสังคมและจัดระเบียบประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับศตวรรษที่ 21 

นอกจากปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสาธารณสุข มีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัฒน์ การปฏิรูปราชการเป็นเงื่อนไขอีกประการหนึ่ง ในการปฏิรูประเทศไทย เพื่อเป้าหมายในการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในปี 2020 จึงต้องปฏิรูปประเทศไทยในทุกด้านข้างต้น เพื่อจะนําไปสู่การพิทักษ์ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และนําประเทศให้ไปสู่การแข่งขันกับประชาคมโลกได้ในทุกมิติ  

การปฏิรูประบบราชการคือกลไกหนึ่ง ในการบริหารราชการแผ่นดิน บรรพบุรุษของเราก่อตั้งประเทศนี้มา 700 ปี แต่กลับมีการปฏิรูประบบราชการเพียง2 ครั้ง 

ครั้งที่ 1 เป็นการปฏิรูประบบราชการโดยการนําระบบจตุสดมภ์มาใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประมาณพุทธศักราช 1991- 2072
ครั้งที่ 2 ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์พุทธศักราช 2435 ครั้งยังเป็นสยามประเทศ  

ปัจจุบัน ปี 2540 และประเทศไทยมีระบบการปกครองประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2475 หรือ 65 ปีมาแล้ว

แต่ระบบราชการไทยยังคงเป็นระบบราชการแบบสมบูรณาญาสิทธิราช บริหารราชการแบบรวมศูนย์ ไม่ได้กระจายอำนาจ กระจายงบประมาณอย่างแท้จริง ตามระบอบประชาธิปไตย

ส่งผลให้ในจำนวนพลเมือง 58.2 ล้านคน มีถึง 48.7 ล้านคน เป็นเกษตรกรยากจนทำการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งไม่พอยังชีพ ผลคือ ราษฏรถางป่าเพื่อเอาชีวิตรอดระหว่างปี 2504-2538 จนกระทั่งประเทศไทยต้องสูญเสียผืนป่าไปถึง 84.8ล้านไร่ในเวลาเพียง 34ปี  เนื่องจากแรงงานไทยร้อยละ 79.1 มีการศึกษาระดับประถมหรือต่ำกว่า 

ข้าพเจ้าในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  จึงประกาศใช้ แผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา เพื่อให้การศึกษาเป็นอาวุธของประชาชน ในการทำสงครามกับความยากจน และยาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรม

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการให้สอดคล้องกับการอภิวัฒน์การศึกษา2538 ตามแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัตน์ 2538
:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่ 21  ประเาทศไทยจะได้มีระบบราชการที่ดีตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีความทันโลก และมีเทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2020 

ประโยคอันมีชื่อเสียง ของ นักปราชญ์ฝรั่งเศส Joseph de Maistre  มีใจความว่า
❝  ทุกประเทศได้รับรัฐบาลซึ่งตนสมควรได้รับ ❞(every nation gets the government it deserves) บางครั้งแปลความหมายว่า ประชาชนเป็นอย่างไร เราจะได้รัฐบาลแบบนั้น

ระบบการศึกษาซึ่งทำให้ประชากรมีคุณภาพ จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถมีรัฐบาลซึ่งมีความสามารถ ในอันที่จะรับมือกับปัญหาท้าทายที่ใหญ่หลวงในอนาคตข้างหน้า

รัฐบาลนี้จึงจะมุ่งมั่นอภิวัฒน์การศึกษาไทยให้ประเทศไทยมีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลกให้ได้ในปี 2550 หรือ ภายใน 12 ปีนับจากประเทศไทยเริ่มกระบวนการอภิวัฒน์การศึกษาไทยเมื่อปี 2538

รวมทั้งจะดําเนินการปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ยืนหยุ่น คล่องตัว และ กระจายอำนาจในการบริหารและบริการประชาชนควบคู่กันไป เพื่อเป็นกลไกในการปฏิรูป การศึกษา ระบบสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจ และ การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม 

โดยจะเปลี่ยนนโยบายการปกครองประเทศด้วยการรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลางตั้งแต่ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นการกระจายอานาจด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งในท้องถิ่น ตามแนวทางประชาธิปไตย และการปรับบทบาทของรัฐให้สอดคล้องกับความเจริญของภาคเอกชน และความเจริญของประชาคมโลก ด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อประโยชน์และความสุข ของประเทศชาติและประชาชน 

ทั้งนี้เพื่อสร้างระบบราชการไทยให้มีระบบการบริหารและการบริการที่รวดเร็ว เสมอภาค เป็นธรรม และให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนมากที่สุด อีกทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้มีโอกาสและมาตรฐานการดํารงชีวิตที่ดีขึ้น มีระเบียบวินัย และตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม

ตลอดจนเพื่อส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับระหว่างประเทศ และเป็นผู้นําในภูมิภาคอาเซียน ทั้งในด้านการ ส่งเสริมสันติภาพ สิทธิมนุษยชน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนความร่วมมือ กับประชาคมโลก

ในรายละเอียด แผนแม่บทนี้ประกอบด้วยหลักการใหญ่สองหลักการ หลักการแรก คือ    การปรับบทบาทภารกิจ และขนาดของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ 12 วิธีการ 

และหลักการที่สองคือ การปรับปรุงระบบการทํางานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ  10 วิธีการ ในแต่ละวิธีการจะมีเป้าหมายระยะเวลาในการดําเนินการกําหนดไว้โดยแจ้งชัด      
    
ในภาพรวมการดําเนินการตามแผนแม่บทนี้จะมีระยะเวลาทั้งสิ้น 5 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้แผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการมีความเป็นพลวัต สามารถพัฒนาปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมวิธีการ ในการปฏิรูปได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือตามสภาพปัญหาที่เผชิญ อีกทั้งเพื่อให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสาธารณสุข ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสังคม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 

เพื่อให้การปฏิรูประบบราชการมีความเป็นรูปธรรมและเป็นนโยบายถาวรของทุกรัฐบาลเมื่อเข้ามาบริหารประเทศต้องสานต่อให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 
จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการฉบับนี้ ซึ่งได้มีการจัดทําประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน  เอกชน นักวิชาการ ตลอดจนผู้บริหารสูงสุดทุกหน่วยงานภาครัฐมาแล้ว ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการและคณะรัฐมนตรี 

ขั้นตอนต่อไป คือ การแปลงแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ 2540-2544 ไปสู่แผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับประชาชน  สื่อสารมวลชน ภาคเอกชน ภาคราชการ  และ  ฝ่ายการเมือง

ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ข้าพเจ้าขอขอบคุณ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ที่ปรึกษาวิชาการ กรรมการ เลขานุการ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทุกท่านซึ่งได้เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ ร่วมกันทํางาน จนกระทั่งเราสามารถจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ ของประเทศไทย

              ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล
              รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
              ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ

9)ทำสงครามกับความยากจนและยาเสพติด ด้วยวิธีติดอาวุธทางปัญญาให้ประชาชนด้วยการศึกษา



10) สนามบินสุวรรณภูมิ

โล่ห์ที่ระลึก ความร่วมมือระหว่างประเทศไทย กับประเทศญี่ปุ่น ในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ปี 2539


สนามบินสุวรรณภูมิอ้างอิง   https://www.jsce.or.jp/e/archive/project/pj17.html

นำเข้าข้อมูลอันเป็นจริง เข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ โดย

ลูกสาว คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล - ผู้พันปราง
โฆษกกระทรวงกลาโหมคนแรกของประเทศไทย
ผู้หญิงคนแรกในรอบ 77 ปี 
ผู้กล้าท้าชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2545
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่