การปฏิรูประบบราชการเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งต้องดำเนินการเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยในปี2540 เพื่อเป้าหมายการเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี2020 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ 1ตุลาคม 2539 อันเป็นแผนปฏิรูปสังคมและจัดระเบียบประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับศตวรรษที่ 21
นอกจากปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสาธารณสุข มีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัฒน์ การปฏิรูปราชการเป็นเงื่อนไขอีกประการหนึ่ง ในการปฏิรูประเทศไทย เพื่อเป้าหมายในการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว การปฏิรูปประเทศไทยในทุกด้านข้างต้น จะนําไปสู่การพิทักษ์ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และนําประเทศให้ไปสู่การแข่งขันกับประชาคมโลกได้ในทุกมิติ
การปฏิรูประบบราชการคือกลไกหนึ่ง ในการบริหารราชการแผ่นดิน บรรพบุรุษของเราก่อตั้งประเทศนี้มา 700 ปี แต่กลับมีการปฏิรูประบบราชการเพียง2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เป็นการปฏิรูประบบราชการโดยการนําระบบจตุสดมภ์มาใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประมาณพุทธศักราช 1991- 2072 ครั้งที่ 2 ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์พุทธศักราช 2435 ครั้งยังเป็นสยามประเทศ ปัจจุบันปี 2540 และประเทศไทยมีระบบการปกครองประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2475 หรือ 65 ปีมาแล้ว
แต่ระบบราชการไทยยังคงเป็นระบบราชการแบบสมบูรณาญาสิทธิราช บริหารราชการแบบรวมศูนย์ ไม่ได้กระจายอำนาจ กระจายงบประมาณอย่างแท้จริง ตามระบอบประชาธิปไตย
ส่งผลให้ในจำนวนพลเมือง 58.2 ล้านคน มีถึง 48.7 ล้านคน เป็นเกษตรกรยากจนทำการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งไม่พอยังชีพ ผลคือ ราษฏรถางป่าเพื่อเอาชีวิตรอดระหว่างปี 2504-2538 จนกระทั่งประเทศไทยต้องสูญเสียผืนป่าไปถึง 84.8ล้านไร่ในเวลาเพียง 34ปี เนื่องจากแรงงานไทยร้อยละ 79.1 มีการศึกษาระดับประถมหรือต่ำกว่า
ข้าพเจ้าในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศใช้ แผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา เพื่อให้การศึกษาเป็นอาวุธของประชาชน ในการทำสงครามกับความยากจน และยาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรม
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการให้สอดคล้องกับการอภิวัฒน์การศึกษา2538 ตามแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ได้ระบบราชการที่ดีตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีความทันโลก และมีเทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2020
ประโยคอันมีชื่อเสียง ของ นักปราชญ์ฝรั่งเศส Joseph de Maistre มีใจความว่า
❝ ทุกประเทศได้รับรัฐบาลซึ่งตนสมควรได้รับ ❞(every nation gets the government it deserves) บางครั้งแปลความหมายว่า ประชาชนเป็นอย่างไร เราจะได้รัฐบาลแบบนั้น
ระบบการศึกษาซึ่งทำให้ประชากรมีคุณภาพ จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถมีรัฐบาลซึ่งมีความสามารถ ในอันที่จะรับมือกับปัญหาท้าทายที่ใหญ่หลวงในอนาคตข้างหน้า
รัฐบาลนี้จึงจะมุ่งมั่นอภิวัฒน์การศึกษาไทยให้ประเทศไทยมีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลกให้ได้ในปี 2550 หรือ ภายใน 12 ปีนับจากประเทศไทยเริ่มกระบวนการอภิวัฒน์การศึกษาไทยเมื่อปี 2538
รวมทั้งจะดําเนินการปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ยืนหยุ่น คล่องตัว และ กระจายอำนาจในการบริหารและบริการประชาชนควบคู่กันไป เพื่อเป็นกลไกในการปฏิรูป การศึกษา ระบบสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจ และ การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
โดยจะเปลี่ยนนโยบายการปกครองประเทศด้วยการรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลางตั้งแต่ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นการกระจายอานาจด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งในท้องถิ่น ตามแนวทางประชาธิปไตย และการปรับบทบาทของรัฐให้สอดคล้องกับความเจริญของภาคเอกชน และความเจริญของประชาคมโลก ด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อประโยชน์และความสุข ของประเทศชาติและประชาชน
ทั้งนี้เพื่อสร้างระบบราชการไทยให้มีระบบการบริหารและการบริการที่รวดเร็ว เสมอภาค เป็นธรรม และให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนมากที่สุด อีกทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้มีโอกาสและมาตรฐานการดํารงชีวิตที่ดีขึ้น มีระเบียบวินัย และตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม
ตลอดจนเพื่อส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับระหว่างประเทศ และเป็นผู้นําในภูมิภาคอาเซียน ทั้งในด้านการส่งเสริมสันติภาพ สิทธิมนุษยชน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนความร่วมมือ กับประชาคมโลก
ในรายละเอียด แผนแม่บทนี้ประกอบด้วยหลักการใหญ่สองหลักการ หลักการแรก คือ การปรับบทบาทภารกิจ และขนาดของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ 12 วิธีการ
และหลักการที่สองคือ การปรับปรุงระบบการทํางานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ 10 วิธีการ ในแต่ละวิธีการจะมีเป้าหมายระยะเวลาในการดําเนินการกําหนดไว้โดยแจ้งชัด
ในภาพรวมการดําเนินการตามแผนแม่บทนี้จะมีระยะเวลาทั้งสิ้น 5 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้แผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการมีความเป็นพลวัต สามารถพัฒนาปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมวิธีการ ในการปฏิรูปได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือตามสภาพปัญหาที่เผชิญ อีกทั้งเพื่อให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสาธารณสุข ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสังคม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8
เพื่อให้การปฏิรูประบบราชการมีความเป็นรูปธรรมและเป็นนโยบายถาวรของทุกรัฐบาลเมื่อเข้ามาบริหารประเทศต้องสานต่อให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการฉบับนี้ ซึ่งได้มีการจัดทําประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เอกชน นักวิชาการ ตลอดจนผู้บริหารสูงสุดทุกหน่วยงานภาครัฐมาแล้ว ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการและคณะรัฐมนตรี
ขั้นตอนต่อไป คือ การแปลงแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ 2540-2544 ไปสู่แผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับประชาชน สื่อสารมวลชน ภาคเอกชน ภาคราชการ และ ฝ่ายการเมือง
ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ข้าพเจ้าขอขอบคุณ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ที่ปรึกษาวิชาการ กรรมการ เลขานุการ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทุกท่านซึ่งได้เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ ร่วมกันทํางาน จนกระทั่งเราสามารถจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ ของประเทศไทย
ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ
สาร จากคุณพ่อ สุขวิช รังสิตพล แผนแม่บทปฏิรูปราชการ 2540-2544 ปฏิรูปราชการ ครั้งที่ 3 ของไทยใน 700 ปี
การปฏิรูประบบราชการเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งต้องดำเนินการเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยในปี2540 เพื่อเป้าหมายการเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี2020 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ 1ตุลาคม 2539 อันเป็นแผนปฏิรูปสังคมและจัดระเบียบประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับศตวรรษที่ 21
นอกจากปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสาธารณสุข มีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัฒน์ การปฏิรูปราชการเป็นเงื่อนไขอีกประการหนึ่ง ในการปฏิรูประเทศไทย เพื่อเป้าหมายในการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว การปฏิรูปประเทศไทยในทุกด้านข้างต้น จะนําไปสู่การพิทักษ์ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และนําประเทศให้ไปสู่การแข่งขันกับประชาคมโลกได้ในทุกมิติ
การปฏิรูประบบราชการคือกลไกหนึ่ง ในการบริหารราชการแผ่นดิน บรรพบุรุษของเราก่อตั้งประเทศนี้มา 700 ปี แต่กลับมีการปฏิรูประบบราชการเพียง2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เป็นการปฏิรูประบบราชการโดยการนําระบบจตุสดมภ์มาใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประมาณพุทธศักราช 1991- 2072 ครั้งที่ 2 ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์พุทธศักราช 2435 ครั้งยังเป็นสยามประเทศ ปัจจุบันปี 2540 และประเทศไทยมีระบบการปกครองประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2475 หรือ 65 ปีมาแล้ว
แต่ระบบราชการไทยยังคงเป็นระบบราชการแบบสมบูรณาญาสิทธิราช บริหารราชการแบบรวมศูนย์ ไม่ได้กระจายอำนาจ กระจายงบประมาณอย่างแท้จริง ตามระบอบประชาธิปไตย
ส่งผลให้ในจำนวนพลเมือง 58.2 ล้านคน มีถึง 48.7 ล้านคน เป็นเกษตรกรยากจนทำการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งไม่พอยังชีพ ผลคือ ราษฏรถางป่าเพื่อเอาชีวิตรอดระหว่างปี 2504-2538 จนกระทั่งประเทศไทยต้องสูญเสียผืนป่าไปถึง 84.8ล้านไร่ในเวลาเพียง 34ปี เนื่องจากแรงงานไทยร้อยละ 79.1 มีการศึกษาระดับประถมหรือต่ำกว่า
ข้าพเจ้าในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศใช้ แผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา เพื่อให้การศึกษาเป็นอาวุธของประชาชน ในการทำสงครามกับความยากจน และยาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรม
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการให้สอดคล้องกับการอภิวัฒน์การศึกษา2538 ตามแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ได้ระบบราชการที่ดีตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีความทันโลก และมีเทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2020
ประโยคอันมีชื่อเสียง ของ นักปราชญ์ฝรั่งเศส Joseph de Maistre มีใจความว่า
❝ ทุกประเทศได้รับรัฐบาลซึ่งตนสมควรได้รับ ❞(every nation gets the government it deserves) บางครั้งแปลความหมายว่า ประชาชนเป็นอย่างไร เราจะได้รัฐบาลแบบนั้น
ระบบการศึกษาซึ่งทำให้ประชากรมีคุณภาพ จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถมีรัฐบาลซึ่งมีความสามารถ ในอันที่จะรับมือกับปัญหาท้าทายที่ใหญ่หลวงในอนาคตข้างหน้า
รัฐบาลนี้จึงจะมุ่งมั่นอภิวัฒน์การศึกษาไทยให้ประเทศไทยมีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลกให้ได้ในปี 2550 หรือ ภายใน 12 ปีนับจากประเทศไทยเริ่มกระบวนการอภิวัฒน์การศึกษาไทยเมื่อปี 2538
รวมทั้งจะดําเนินการปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ยืนหยุ่น คล่องตัว และ กระจายอำนาจในการบริหารและบริการประชาชนควบคู่กันไป เพื่อเป็นกลไกในการปฏิรูป การศึกษา ระบบสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจ และ การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
โดยจะเปลี่ยนนโยบายการปกครองประเทศด้วยการรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลางตั้งแต่ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นการกระจายอานาจด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งในท้องถิ่น ตามแนวทางประชาธิปไตย และการปรับบทบาทของรัฐให้สอดคล้องกับความเจริญของภาคเอกชน และความเจริญของประชาคมโลก ด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อประโยชน์และความสุข ของประเทศชาติและประชาชน
ทั้งนี้เพื่อสร้างระบบราชการไทยให้มีระบบการบริหารและการบริการที่รวดเร็ว เสมอภาค เป็นธรรม และให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนมากที่สุด อีกทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้มีโอกาสและมาตรฐานการดํารงชีวิตที่ดีขึ้น มีระเบียบวินัย และตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม
ตลอดจนเพื่อส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับระหว่างประเทศ และเป็นผู้นําในภูมิภาคอาเซียน ทั้งในด้านการส่งเสริมสันติภาพ สิทธิมนุษยชน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนความร่วมมือ กับประชาคมโลก
ในรายละเอียด แผนแม่บทนี้ประกอบด้วยหลักการใหญ่สองหลักการ หลักการแรก คือ การปรับบทบาทภารกิจ และขนาดของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ 12 วิธีการ
และหลักการที่สองคือ การปรับปรุงระบบการทํางานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ 10 วิธีการ ในแต่ละวิธีการจะมีเป้าหมายระยะเวลาในการดําเนินการกําหนดไว้โดยแจ้งชัด
ในภาพรวมการดําเนินการตามแผนแม่บทนี้จะมีระยะเวลาทั้งสิ้น 5 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้แผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการมีความเป็นพลวัต สามารถพัฒนาปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมวิธีการ ในการปฏิรูปได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือตามสภาพปัญหาที่เผชิญ อีกทั้งเพื่อให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสาธารณสุข ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสังคม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8
เพื่อให้การปฏิรูประบบราชการมีความเป็นรูปธรรมและเป็นนโยบายถาวรของทุกรัฐบาลเมื่อเข้ามาบริหารประเทศต้องสานต่อให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการฉบับนี้ ซึ่งได้มีการจัดทําประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เอกชน นักวิชาการ ตลอดจนผู้บริหารสูงสุดทุกหน่วยงานภาครัฐมาแล้ว ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการและคณะรัฐมนตรี
ขั้นตอนต่อไป คือ การแปลงแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ 2540-2544 ไปสู่แผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับประชาชน สื่อสารมวลชน ภาคเอกชน ภาคราชการ และ ฝ่ายการเมือง
ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ข้าพเจ้าขอขอบคุณ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ที่ปรึกษาวิชาการ กรรมการ เลขานุการ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทุกท่านซึ่งได้เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ ร่วมกันทํางาน จนกระทั่งเราสามารถจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ ของประเทศไทย
ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ