นิวรณ์ ๕.
คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เป็นข้าศึก
แก่สมาธิ มี ๕.อย่าง คือ...
๑.กามฉันท์
คือ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มีรูป
หรือความพอใจในกาม
๒.พยาบาท
คือ การปองร้ายผู้อื่น
๓.ถีนมิทธะ
คือ ความง่วงเหงาหาวนอน จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔.อุทธัจจกุกกุจจะ
คือ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
๕.วิจิกิจฉา
คือ ความลังเลสงสัย
นิวรณ์นั้น...
เป็นข้าศึกแก่สมาธิ เวลามีนิวรณ์ สมาธิ ก็ไม่มี
เวลามีสมาธิ นิวรณ์ ก็ไม่มี เหมือนมืดกับสว่าง
เวลามืด สว่างไม่มี เวลาสว่าง มืดก็หายไป จะนำ
มารวมกันไม่ได้
นิวรณ์ เกิดจากสัญญา และจากสังขาร
นิวรณ์ เกิดขึ้นที่จิตเพียงแห่งเดียว แต่ มีผลต่อ
แห่งอื่นๆ
๑.ผู้มีกามฉันท์นี้
ควรเจริญกายาคตาสติ พิจารณาเห็นร่างกายให้
เห็นเป็นปฏิกูล
๒.พยาบาท
เกิดขึ้นเพราะความคับแค้นใจ ผู้มีพยาบาท ชอบโกรธเกลียดผู้อื่นอยู่เสมอๆ
ควรเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา คิดให้เกิดความรัก เมตตาสงสารผู้อื่น
๓.ผู้มีความเกียจคร้านท้อแท้อยู่ในใจ
ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน เรียกว่า ถูกถีนมิทธะครอบงำ
ควรเจริญอนุสสติกัมมัฎฐาน พิจารณาความดี ของตนและผู้อื่น เพื่อจะได้มีความอุตสาหะทำงาน แก้ความท้อแท้ใจเสียได้
๔.ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
เกิดจากการที่จิตไม่สงบ
ควรเพ่งกสิณให้ใจผูกอยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง หรือเจริญกัมมัฏฐานให้ใจสังเวช เช่นมรณสติ
๕.ความลังเลไม่ตกลงได้
เนื่องจากไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน
ควรเจริญธาตุกัมมัฏฐาน เพื่อจะได้รู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง
ธรรมทั้ง ๕.ประการนี้
เมื่อเกิดกับผู้ใด ย่อมจะเป็นธรรมอันกั้นจิต ไม่ให้ผู้นั้นบรรลุความดี หรือสิ่งที่ตนประสงค์ได้
ฉะนั้น ผู้หวังความสำเร็จในชีวิตควรเว้นจากนิวรณ์ ๕. ประการนี้."
------------------------------------------------------------------------
หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
นิวรณ์ ๕. คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุ
คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เป็นข้าศึก
แก่สมาธิ มี ๕.อย่าง คือ...
๑.กามฉันท์
คือ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มีรูป
หรือความพอใจในกาม
๒.พยาบาท
คือ การปองร้ายผู้อื่น
๓.ถีนมิทธะ
คือ ความง่วงเหงาหาวนอน จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔.อุทธัจจกุกกุจจะ
คือ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
๕.วิจิกิจฉา
คือ ความลังเลสงสัย
นิวรณ์นั้น...
เป็นข้าศึกแก่สมาธิ เวลามีนิวรณ์ สมาธิ ก็ไม่มี
เวลามีสมาธิ นิวรณ์ ก็ไม่มี เหมือนมืดกับสว่าง
เวลามืด สว่างไม่มี เวลาสว่าง มืดก็หายไป จะนำ
มารวมกันไม่ได้
นิวรณ์ เกิดจากสัญญา และจากสังขาร
นิวรณ์ เกิดขึ้นที่จิตเพียงแห่งเดียว แต่ มีผลต่อ
แห่งอื่นๆ
๑.ผู้มีกามฉันท์นี้
ควรเจริญกายาคตาสติ พิจารณาเห็นร่างกายให้
เห็นเป็นปฏิกูล
๒.พยาบาท
เกิดขึ้นเพราะความคับแค้นใจ ผู้มีพยาบาท ชอบโกรธเกลียดผู้อื่นอยู่เสมอๆ
ควรเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา คิดให้เกิดความรัก เมตตาสงสารผู้อื่น
๓.ผู้มีความเกียจคร้านท้อแท้อยู่ในใจ
ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน เรียกว่า ถูกถีนมิทธะครอบงำ
ควรเจริญอนุสสติกัมมัฎฐาน พิจารณาความดี ของตนและผู้อื่น เพื่อจะได้มีความอุตสาหะทำงาน แก้ความท้อแท้ใจเสียได้
๔.ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
เกิดจากการที่จิตไม่สงบ
ควรเพ่งกสิณให้ใจผูกอยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง หรือเจริญกัมมัฏฐานให้ใจสังเวช เช่นมรณสติ
๕.ความลังเลไม่ตกลงได้
เนื่องจากไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน
ควรเจริญธาตุกัมมัฏฐาน เพื่อจะได้รู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง
ธรรมทั้ง ๕.ประการนี้
เมื่อเกิดกับผู้ใด ย่อมจะเป็นธรรมอันกั้นจิต ไม่ให้ผู้นั้นบรรลุความดี หรือสิ่งที่ตนประสงค์ได้
ฉะนั้น ผู้หวังความสำเร็จในชีวิตควรเว้นจากนิวรณ์ ๕. ประการนี้."
------------------------------------------------------------------------
หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง