การเจริญสมาธิของพระมหาโมคคัลลานะ

[๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจายตนฌานเป็นไฉนหนอ 
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า 
อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ 
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน 

เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ 
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยรูป สัญญาย่อมฟุ้งซ่าน 
ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า 
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน 
จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน 
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน 

สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง 
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า 
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ 
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

จาก https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=519&items=1&preline=0&pagebreak=0

จะมีเรื่องราวเหมือนกัน ไล่มาตั้งแต่ ฌาน ๑-๔ อรูปฌานทั้ง ๔ จนถึง อนิมิตเจโตสมาธิ (วิปัสสนา)

อรรถกถา อธิบายช่วยเหลือได้ดีมาก

บทว่า กามสหคตา คือ ประกอบนิวรณ์ ๕
ก็เมื่อภิกษุนั้นออกจากปฐมฌานแล้ว นิวรณ์ ๕ ปรากฏแล้ว โดยความสงบมีอยู่
ด้วยเหตุนั้น ปฐมฌานนั้นของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่ามีส่วนแห่งความเสื่อม.
พระศาสดาทรงทราบความประมาทนั้นแล้ว จึงได้ประทานพระโอวาทว่า อย่าประมาท (ใช้อธิบายทุกฌาน) 

และแม้แต่อนิมิตเจโตสมาธิหรือวิปัสสนา ก็อย่าประมาท 
บทว่า อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ นั้น พระเถระกล่าวหมายถึงวิปัสสนา. สมาธิที่ละนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นได้แล้วเป็นไป.
บทว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ โหติ ความว่า เมื่อเราอยู่ด้วยวิปัสสนาสมาธิวิหารธรรมนี้อย่างนี้ วิปัสสนาญาณก็แก่กล้า ละเอียด นำไปอยู่.
เหมือนเมื่อบุรุษเอาขวานที่คมดี ตัดต้นไม้อยู่ มองดูอยู่ซึ่งคมขวานในทุกขณะด้วยคิดว่า
ขวานของเราคมจริงหนอดังนี้ กิจในการตัด ก็ย่อมไม่สำเร็จฉันใด
แม้พระเถระปรารภวิปัสสนาด้วยคิดว่า ญาณของเราแก่กล้าจริงหนอดังนี้ ความใคร่ก็ย่อมเกิดขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเถระนั้นก็ไม่สามารถให้วิปัสสนากิจสำเร็จได้ฉันนั้น.
พระเถระหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ โหติ.
               บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ อมนสิการา อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ อุปสมฺปชฺช วิหาสึ ความว่า 
เราเข้าเจโตสมาธิที่สัมปยุตด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา และสมาธิในมรรคและผลเบื้องสูง 
ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นตนทั้งปวงอยู่แล้ว.

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=523
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่