จะต้องพูดเรื่อง... ปัจจัตตัง และฐีติจิต อีกครั้งหนึ่ง

จะต้องพูดเรื่อง...
ปัจจัตตัง และฐีติจิต อีกครั้งหนึ่ง 
ปัจจัตตัง เป็นอย่างไร ฐีติจิต เป็นอย่างไร 
ปัจจัตตัง คือ...รู้เอง เห็นเอง 
ส่วนฐีติจิต คือ จิต ดั้งเดิม. ท่านเปรียบว่า...
อัปปนาสมาธิ 
อัปปนาจิต 
และฐีติจิต 
ต่างอยู่ ในฐานเดียวกัน แต่มีชื่อต่างกัน
อัปปนาสมาธิ
เป็นจิต ที่แน่วแน่ ลงไปจนถึง...จิตเดิม
อัปปนาจิต ก็เหมือนกัน 
ฐีติจิต ก็เหมือนกัน
ฐีติจิต เป็นจิตที่ ว่าง...
ไม่มีอารมณ์ เป็นจิตเดิม เป็นจิตที่ท่านเรียกว่า ประภัสสร แจ้งสว่าง จะอธิบายให้ฟัง
ถ้าผู้เข้าไม่ถึง ไม่เห็น ผู้เข้าถึง...เห็น ใครจะพูดอย่างไรก็ช่าง ไม่สนใจ
เพราะรู้ อยู่...แล้วเป็นปัจจัตตัง
อัปปนาสมาธิ นี้ 
จิตนั้น...
ไม่มีเศร้า ไม่มีหมอง ไม่มีมืด ไม่มีมัว 
เหมือนพระอาทิตย์ ท่านส่องสว่าง อยู่...
แต่ที่พระอาทิตย์จะมืด จะมัวเศร้าหมอง 
เพราะ...ขี้เมฆ เข้ามาบดบังพระอาทิตย์ 
ไม่ใช่ พระอาทิตย์เลื่อนเข้าไปหาขี้เมฆ 
นี่ท่านเปรียบไว้นัยหนึ่ง
ธรรมชาติของจิต มันเป็นของใสบริสุทธิ์
หากแต่...
มีกิเลสเข้ามาหมักหมมบดบัง จึงได้ฝ้าฟางไป
ถ้าใช้สติปัญญา
ชำระให้ดี ๆ แล้ว มันก็จะลงสู่...สภาพบริสุทธิ์
อีกนัยหนึ่งท่านเปรียบขี้เมฆ นั่นแหละ
เรื่องฐีติจิต นี้
ถ้าขาดสติปัญญา แล้วถอนขึ้นมา 
ไม่มี สติปัญญานะ เมื่อขาดสติปัญญา
พลั้งเผลอ ถอนขึ้นมา
ปล่อยถอนขึ้นมาเฉย ๆ ประสบอารมณ์อะไร 
เป็นกิเลสไปเลย นี่ ! มันจะหยุดไม่ได้ มันเผลอ
สติของเรา ไม่ดี
ท่านว่า จิต...
เป็นของพิสดารมากมาย แต่ว่า...
ถ้าฐีติจิต ตัวนี้ได้รับการอบรม 
ด้วยสติปัญญา ดีแน่ชัดแล้ว ก็ลงสู่...
สภาพเดิม...อันใสบริสุทธิ์."
----------------------------------------------------------------------
หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่