ฐีติภูตัง หลวงปู่มั่น ทำไมต้องเจริญสมถสมาธิก่อนวิปัสสนา?
รูปที่ 1 เพราะจิต (ฐีติภูตัง) ถูกอวิชชา คือ ความไม่รู้ครอบงำจนมืดบอดดำสนิท จึงเกิดสังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง
เมื่อมีความคิดปรุงแต่ง จึงเกิดวิญญาณ คือ อาการรู้ของจิตผ่านทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
เมื่อเกิดอาการรู้ของจิต (วิญญาณขันธ์) จึงเกิดนามรูป หรือ กายใจ ที่ถูกยึดว่า “ตัวเรา ของเรา”
รูปที่ 2 การภาวนา พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ควบคู่อานาปานสติ เป็นการลอกอวิชชาที่ครอบงำจิต โดยหายใจเข้า ภาวนา พุท หายใจออก ภาวนา โธ
คำว่า พุทโธ พร้อมสติรู้ลมหายใจจะค่อยๆ ลอกอวิชชาที่ครอบงำจิตออกให้หมด ใครมีอวิชชามากก็ภาวนามากหน่อย
รูปที่ 3 เมื่ออวิชชาที่ครอบงำจิตถูกลอกออกจนหมด จะปรากฏ จิตเดิมแท้ หรือ จิตประภัสสร ผ่องใส สว่างสว่างเป็นประภัสสรดุจดวงอาทิตย์ท่ามกลางความว่าง จิตนั้นบริสุทธิ์แต่ไม่มีปัญญาและยังมีเชื้ออวิชชาซ่อนอยู่ที่ผิวของจิต
เมื่อเห็นจิตแล้วต้องทำวิปัสสนาให้จิตเกิดปัญญาโดยการพิจารณาความไม่เที่ยงของกาย เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ให้จิตเกิดปัญญาเบื่อหน่ายการเกิด เมื่อจิตมีปัญญาหลุดพ้นจากขันธ์ 5 อวิชชาไม่สามารถครอบงำจิตได้อีก เป็นการหยุดการเวียน ว่าย ตาย เกิดของจิตในวัฏสงสารโดยทันที
จิตที่ปราศจากอวิชชาครอบงำจะมีความเป็นกลางทางอารมณ์ปรุงแต่ง พิจารณาอะไรจะรู้เห็นตามความเป็นจริง เกิดปัญญาได้ง่าย ต่างจากจิตที่มีอวิชชามาก เพราะพิจารณาอะไรก็จะเป็นไปตามกิเลส ตัณหา ความหลง ความไม่รู้ (อวิชชา) ของตนจึงจำเป็นต้องเจริญอานาปานสติและภาวนาพุทโธ เพื่อลอกอวิชชาที่ครอบงำจิตออกให้หมดก่อนวิปัสสนา
ฐีติภูตัง หลวงปู่มั่น ทำไมต้องเจริญสมถสมาธิก่อนวิปัสสนา?
รูปที่ 1 เพราะจิต (ฐีติภูตัง) ถูกอวิชชา คือ ความไม่รู้ครอบงำจนมืดบอดดำสนิท จึงเกิดสังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง
เมื่อมีความคิดปรุงแต่ง จึงเกิดวิญญาณ คือ อาการรู้ของจิตผ่านทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
เมื่อเกิดอาการรู้ของจิต (วิญญาณขันธ์) จึงเกิดนามรูป หรือ กายใจ ที่ถูกยึดว่า “ตัวเรา ของเรา”
รูปที่ 2 การภาวนา พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ควบคู่อานาปานสติ เป็นการลอกอวิชชาที่ครอบงำจิต โดยหายใจเข้า ภาวนา พุท หายใจออก ภาวนา โธ
คำว่า พุทโธ พร้อมสติรู้ลมหายใจจะค่อยๆ ลอกอวิชชาที่ครอบงำจิตออกให้หมด ใครมีอวิชชามากก็ภาวนามากหน่อย
รูปที่ 3 เมื่ออวิชชาที่ครอบงำจิตถูกลอกออกจนหมด จะปรากฏ จิตเดิมแท้ หรือ จิตประภัสสร ผ่องใส สว่างสว่างเป็นประภัสสรดุจดวงอาทิตย์ท่ามกลางความว่าง จิตนั้นบริสุทธิ์แต่ไม่มีปัญญาและยังมีเชื้ออวิชชาซ่อนอยู่ที่ผิวของจิต
เมื่อเห็นจิตแล้วต้องทำวิปัสสนาให้จิตเกิดปัญญาโดยการพิจารณาความไม่เที่ยงของกาย เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ให้จิตเกิดปัญญาเบื่อหน่ายการเกิด เมื่อจิตมีปัญญาหลุดพ้นจากขันธ์ 5 อวิชชาไม่สามารถครอบงำจิตได้อีก เป็นการหยุดการเวียน ว่าย ตาย เกิดของจิตในวัฏสงสารโดยทันที
จิตที่ปราศจากอวิชชาครอบงำจะมีความเป็นกลางทางอารมณ์ปรุงแต่ง พิจารณาอะไรจะรู้เห็นตามความเป็นจริง เกิดปัญญาได้ง่าย ต่างจากจิตที่มีอวิชชามาก เพราะพิจารณาอะไรก็จะเป็นไปตามกิเลส ตัณหา ความหลง ความไม่รู้ (อวิชชา) ของตนจึงจำเป็นต้องเจริญอานาปานสติและภาวนาพุทโธ เพื่อลอกอวิชชาที่ครอบงำจิตออกให้หมดก่อนวิปัสสนา