จิตสัมผัสถึงพระนิพพานชั่วขณะหนึ่ง
หลวงพ่อพุธตอบปัญหา [อารมณ์นิพพาน]
อันนี้เป็นคำถามเรื่องพระนิพพาน แต่ขอออกตัวว่า อาตมายังไม่ถึงนิพพาน แต่จะขอตอบไปด้วยความเข้าใจ นิพพานะ ตามภาษาศัพท์แปลว่า ดับ ในเมื่อใครบริกรรมภาวนาก็ดี หรือพิจารณาอะไรก็ดี ในเมื่อจิตสงบนิ่งลงเป็นอัปปนาสมาธิ จนกระทั่งตัวหายไปหมด ความรู้สึกว่ามีกาย ก็ไม่มี โดยที่สุดความรู้สึกว่า โลกคือแผ่นดินนี้ก็ไม่มี ยังเหลืออยู่ตั้งแต่สภาวะจิตรู้อันเดียวเท่านั้น อันนี้เป็นลักษณะแห่งความดับชั่วขณะหนึ่ง หรือเรียกว่าจิตสัมผัสถึงพระนิพพานชั่วขณะหนึ่ง
แต่ถ้าหากว่าสภาวะจิตของผู้นั้น มีความบริสุทธิ์สะอาดเหมือนๆ กับในขณะที่อยู่ในลักษณะนั้นตลอดไป ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่า มีจิตบรรลุถึงนิพพาน แต่ถ้ายังไม่เป็นนิพพานจริง เป็นนิพพานชั่วขณะหนึ่ง เมื่อถอนออกมาแล้วก็ยังเป็นปุถุชนธรรมดา เป็นอาการของจิตสัมผัสถึงนิพพานชั่วขณะหนึ่ง
อ้างอิง
http://xn--m3ciu2am4ccl.blogspot.com/2017/04/blog-post.html
ท่านพุทธทาสรับรู้เกี่ยวกับ “นิพพาน” 3 ระดับ
ระดับแรกเรียกว่า “ตทังคนิพพาน” ซึ่งหมายถึง สถานะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเมื่อภาวะภายนอกบังเอิญทำให้คนเราไม่เกิดความคิดเรื่องตัวกูของกู
นั่นคือ “ตทังคนิพพาน” หมายถึงการบรรลุภาวะสงบทางจิตเนื่องจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ก่อสันติสุข
นิพพานระดับที่ 2 ที่ท่านพุทธทาสกล่าวถึงก็คือ “วิกขัมภนนิพพาน” ซึ่งหมายถึงความสงบทางจิตที่เข้าถึงได้ด้วยการควบคุมจิตในระหว่างการทำสมาธิอย่างเข้มข้นจนสามารถบังคับหรือข่มกิเลสเอาไว้ได้
แต่นิพพานทั้ง 2 ระดับนี้ไม่อาจอยู่ได้อย่างถาวร
ในกรณีของ “ตทังคนิพพาน” นั้น ถ้าสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนไปสู่ความไม่สงบ กิเลสก็จะกลับมารบกวนจิตอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนในกรณีของ “วิกขัมภนนิพพาน” นั้น
แท้ที่จริงแล้วกิเลสไม่ได้ถูกกำจัดออกไป หากเพียงแต่ถูกกดทับหรือทำให้เปลี้ยไปด้วยพลังของสมาธิเท่านั้น
ในทางตรงกันข้ามกับนิพพานระดับต้นทั้งสองนี้ยังมีนิพพานระดับสูงสุดที่ท่านพุทธทาสกล่าวถึงคือ “สมุทเฉทนิพพาน” หรือ “ปรินิพพาน” ซึ่งเป็นความสงบของจิตอันเนื่องจากกิเลสถูกกำจัดออกไปจนหมด แทนที่จะถูกข่มหรือระงับไว้ชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม ท่านพุทธทาสก็ยังถือว่า ทั้ง “ตทังคนิพพาน” และ “วิกขัมภนนิพพาน” เป็นนิพพานที่แท้จริงเช่นกัน
https://www.matichonweekly.com/religion/article_23069
จิตสัมผัสถึงพระนิพพานชั่วขณะหนึ่ง
หลวงพ่อพุธตอบปัญหา [อารมณ์นิพพาน]
อันนี้เป็นคำถามเรื่องพระนิพพาน แต่ขอออกตัวว่า อาตมายังไม่ถึงนิพพาน แต่จะขอตอบไปด้วยความเข้าใจ นิพพานะ ตามภาษาศัพท์แปลว่า ดับ ในเมื่อใครบริกรรมภาวนาก็ดี หรือพิจารณาอะไรก็ดี ในเมื่อจิตสงบนิ่งลงเป็นอัปปนาสมาธิ จนกระทั่งตัวหายไปหมด ความรู้สึกว่ามีกาย ก็ไม่มี โดยที่สุดความรู้สึกว่า โลกคือแผ่นดินนี้ก็ไม่มี ยังเหลืออยู่ตั้งแต่สภาวะจิตรู้อันเดียวเท่านั้น อันนี้เป็นลักษณะแห่งความดับชั่วขณะหนึ่ง หรือเรียกว่าจิตสัมผัสถึงพระนิพพานชั่วขณะหนึ่ง
แต่ถ้าหากว่าสภาวะจิตของผู้นั้น มีความบริสุทธิ์สะอาดเหมือนๆ กับในขณะที่อยู่ในลักษณะนั้นตลอดไป ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่า มีจิตบรรลุถึงนิพพาน แต่ถ้ายังไม่เป็นนิพพานจริง เป็นนิพพานชั่วขณะหนึ่ง เมื่อถอนออกมาแล้วก็ยังเป็นปุถุชนธรรมดา เป็นอาการของจิตสัมผัสถึงนิพพานชั่วขณะหนึ่ง
อ้างอิง http://xn--m3ciu2am4ccl.blogspot.com/2017/04/blog-post.html
ท่านพุทธทาสรับรู้เกี่ยวกับ “นิพพาน” 3 ระดับ
ระดับแรกเรียกว่า “ตทังคนิพพาน” ซึ่งหมายถึง สถานะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเมื่อภาวะภายนอกบังเอิญทำให้คนเราไม่เกิดความคิดเรื่องตัวกูของกู
นั่นคือ “ตทังคนิพพาน” หมายถึงการบรรลุภาวะสงบทางจิตเนื่องจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ก่อสันติสุข
นิพพานระดับที่ 2 ที่ท่านพุทธทาสกล่าวถึงก็คือ “วิกขัมภนนิพพาน” ซึ่งหมายถึงความสงบทางจิตที่เข้าถึงได้ด้วยการควบคุมจิตในระหว่างการทำสมาธิอย่างเข้มข้นจนสามารถบังคับหรือข่มกิเลสเอาไว้ได้
แต่นิพพานทั้ง 2 ระดับนี้ไม่อาจอยู่ได้อย่างถาวร
ในกรณีของ “ตทังคนิพพาน” นั้น ถ้าสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนไปสู่ความไม่สงบ กิเลสก็จะกลับมารบกวนจิตอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนในกรณีของ “วิกขัมภนนิพพาน” นั้น
แท้ที่จริงแล้วกิเลสไม่ได้ถูกกำจัดออกไป หากเพียงแต่ถูกกดทับหรือทำให้เปลี้ยไปด้วยพลังของสมาธิเท่านั้น
ในทางตรงกันข้ามกับนิพพานระดับต้นทั้งสองนี้ยังมีนิพพานระดับสูงสุดที่ท่านพุทธทาสกล่าวถึงคือ “สมุทเฉทนิพพาน” หรือ “ปรินิพพาน” ซึ่งเป็นความสงบของจิตอันเนื่องจากกิเลสถูกกำจัดออกไปจนหมด แทนที่จะถูกข่มหรือระงับไว้ชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม ท่านพุทธทาสก็ยังถือว่า ทั้ง “ตทังคนิพพาน” และ “วิกขัมภนนิพพาน” เป็นนิพพานที่แท้จริงเช่นกัน
https://www.matichonweekly.com/religion/article_23069