ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง 'ศักดิ์สยาม' หยุดปฏิบัติหน้าที่ รมว.คมนาคม ปมถือหุ้นบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7540898
ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง ‘ศักดิ์สยาม’ หยุดปฏิบัติหน้าที่ รมว.คมนาคม ปมถือหุ้นบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ให้ยื่นคำชี้แจงต่อศาลใน 15 วัน
วันที่ 3 มี.ค.66 ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาเรื่องที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนาย
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบ 187 หรือไม่
หลังส.ส. 54 คน ยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯ ว่า นาย
ศักดิ์สยาม ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนแลพยังคงเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ผู้ถูกร้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการห้างหุ้นส่วน
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้อง เห็นว่ากรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 วรรคหนึ่งและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (9) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงต่อศาลใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาและมีมติเอกฉันท์สั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
ด่วน! ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์ ชี้คิดสูตรเลือกตั้งส.ส. 400 เขต ‘ไม่รวมต่างด้าว’
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_3853924
ด่วน!! ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์เบรกกกต. คิดสูตรส.ส.ชี้ขาด ‘ราษฎร’ ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 มีนาคม องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจในการประกาศจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 ซึ่งคิดคำนวณจำนวนส.ส.โดยนำจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่สำนักทะเบียนกลางประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มาใช้คิดคำนวณส.ส.แบบแบ่งเขตของแต่ละจังหวัด ต่อมามีผู้โต้แย้งและขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ทั้งนี้ ศาลธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมมนูญมาตรา 86 (1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งนั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย
อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 เป็นต้นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา
‘วิญญัติ’ ร้องกกต.สงสัย ‘สุรบถ หลีกภัย’ ถือหุ้นสื่อเข้าข่ายเป็นส.ส.ผิดกฎหมาย
https://www.dailynews.co.th/news/2057540/
"ทนายวิญญัติ" บุกร้อง กกต. สงสัย "สุรบถ หลีกภัย" ถือหุ้นสื่อ เข้าข่ายเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ผิดกฎหมายหรื่อไม่ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับคนอื่น ไม่มีการเลือกปฏิบัติ.
วันนี้ (3 มี.ค.66) นาย
วิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) เข้ายื่นหนังสือต่อเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ตรวจสอบ สอบสวน การได้เลื่อนอันดับเพื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ของ นายสุรบถ หลีกภัย ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ แทนคนเดิมที่ลาออกไป ว่ามีลักษณะเข้าข่ายบุคคลมีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัคร ส.ส. และจะทำให้กระบวนการเป็น ส.ส. ขัดหรือฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดหรือไม่
นาย
วิญญัติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ที่ตนมา กกต. เพราะทราบจากสื่อมวลชนที่ได้นำเสนอผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจกิจการโฆษณา มีนายสุรบถ ในฐานะกรรมการบริษัทและเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ตนจึงนำไปเทียบกับกรณีอื่น ๆ ว่าเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นสื่อมวลชน ตามความมาตรา 98 (3) ของรัฐธรรมนูญหรือไม่อย่างไร หากเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นสื่อมวลชนใด ๆ อาจส่งผลต่อความเป็น ส.ส.ของนาย
สุรบถ ให้สิ้นสุดลงหรือเป็นการเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบด้วยหรือไม่ เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ตนทราบว่า ภายหลัง กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ที่แม้ขณะนั้น นายสุรบถจะอยู่ในลำดับตามบัญชีที่ไม่ได้เป็น ส.ส. แต่ตามกฎหมายยังต้องคงสถานะการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่ออยู่ต่อไป ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามด้วย ซึ่งตนเห็นว่าต่างกับการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
ประกอบกับเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 62 ในช่วงที่ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ นายสุรบถ เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98 (3) และ พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2561 มาตรา 42 (3)
นาย
สุรบถ เป็นกรรมการบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโฆษณา ระหว่างวันที่ 11 ก.ย. 55 ถึง 22 ม.ค. 66 และเป็นกรรมการบริษัทอีกแห่ง (เอกชนที่สอง) ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. 58 ถึงวันที่ 6 ธ.ค. 63 และจากหลักฐานพบว่านายสุรบถได้โอนหุ้นบริษัทเอกชนแห่งแรกจำนวน 29,998 หุ้น ให้แก่ นาง
ภักดิพร สุจริตกุล ผู้เป็นมารดา เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 66 ลักษณะโอนกลับไปกลับมา ระหว่างบุคคลสองคน ในขณะที่ นาย
สุรบถยังคงมีตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทเอกชนนั้นอยู่ และในขณะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้น 30 เม.ย. 62 จึงถือเป็นบุคคลเข้าข่ายเป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98 (3) และ พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2561 มาตรา 42 (3)
โดยมีข้อสังเกตว่า วันที่ 20 ม.ค. 66 นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่ออันดับที่ก่อนนายสุรบถ ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 66
ประธานรัฐสภาก็ออกประกาศรับรองการเป็น ส.ส.ของนายสุรบถ ในวันรุ่งขึ้นทันที
ในวันนี้ ตนในฐานะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ติดตามการบังคับใช้กฎหมายของ กกต. และการตีความขององค์กรศาลที่เคยเป็นกรณีตัวอย่าง กรณีนี้จึงมาขอให้ กกต.ได้ตรวจสอบ สอบสวน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งตนได้แนบหลักฐานจากการสืบค้นทางทะเบียนมาด้วย.
JJNY : ด่วน! สั่ง'ศักดิ์สยาม'หยุดปฏิบัติหน้าที่│ศาลรธน.มีมติ‘ไม่รวมต่างด้าว’│‘วิญญัติ’ ร้องกกต.│ส.อ.ท.ชี้ 5เรื่องคาดหวัง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7540898
ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง ‘ศักดิ์สยาม’ หยุดปฏิบัติหน้าที่ รมว.คมนาคม ปมถือหุ้นบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ให้ยื่นคำชี้แจงต่อศาลใน 15 วัน
วันที่ 3 มี.ค.66 ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาเรื่องที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบ 187 หรือไม่
หลังส.ส. 54 คน ยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯ ว่า นายศักดิ์สยาม ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนแลพยังคงเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ผู้ถูกร้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการห้างหุ้นส่วน
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้อง เห็นว่ากรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 วรรคหนึ่งและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (9) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงต่อศาลใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาและมีมติเอกฉันท์สั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
ด่วน! ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์ ชี้คิดสูตรเลือกตั้งส.ส. 400 เขต ‘ไม่รวมต่างด้าว’
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_3853924
ด่วน!! ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์เบรกกกต. คิดสูตรส.ส.ชี้ขาด ‘ราษฎร’ ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 มีนาคม องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจในการประกาศจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 ซึ่งคิดคำนวณจำนวนส.ส.โดยนำจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่สำนักทะเบียนกลางประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มาใช้คิดคำนวณส.ส.แบบแบ่งเขตของแต่ละจังหวัด ต่อมามีผู้โต้แย้งและขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ทั้งนี้ ศาลธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมมนูญมาตรา 86 (1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งนั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย
อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 เป็นต้นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา
‘วิญญัติ’ ร้องกกต.สงสัย ‘สุรบถ หลีกภัย’ ถือหุ้นสื่อเข้าข่ายเป็นส.ส.ผิดกฎหมาย
https://www.dailynews.co.th/news/2057540/
"ทนายวิญญัติ" บุกร้อง กกต. สงสัย "สุรบถ หลีกภัย" ถือหุ้นสื่อ เข้าข่ายเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ผิดกฎหมายหรื่อไม่ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับคนอื่น ไม่มีการเลือกปฏิบัติ.
วันนี้ (3 มี.ค.66) นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) เข้ายื่นหนังสือต่อเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ตรวจสอบ สอบสวน การได้เลื่อนอันดับเพื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ของ นายสุรบถ หลีกภัย ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ แทนคนเดิมที่ลาออกไป ว่ามีลักษณะเข้าข่ายบุคคลมีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัคร ส.ส. และจะทำให้กระบวนการเป็น ส.ส. ขัดหรือฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดหรือไม่
นายวิญญัติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ที่ตนมา กกต. เพราะทราบจากสื่อมวลชนที่ได้นำเสนอผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจกิจการโฆษณา มีนายสุรบถ ในฐานะกรรมการบริษัทและเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ตนจึงนำไปเทียบกับกรณีอื่น ๆ ว่าเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นสื่อมวลชน ตามความมาตรา 98 (3) ของรัฐธรรมนูญหรือไม่อย่างไร หากเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นสื่อมวลชนใด ๆ อาจส่งผลต่อความเป็น ส.ส.ของนายสุรบถ ให้สิ้นสุดลงหรือเป็นการเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบด้วยหรือไม่ เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ตนทราบว่า ภายหลัง กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ที่แม้ขณะนั้น นายสุรบถจะอยู่ในลำดับตามบัญชีที่ไม่ได้เป็น ส.ส. แต่ตามกฎหมายยังต้องคงสถานะการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่ออยู่ต่อไป ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามด้วย ซึ่งตนเห็นว่าต่างกับการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
โดยมีข้อสังเกตว่า วันที่ 20 ม.ค. 66 นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่ออันดับที่ก่อนนายสุรบถ ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 66
ประธานรัฐสภาก็ออกประกาศรับรองการเป็น ส.ส.ของนายสุรบถ ในวันรุ่งขึ้นทันที
ในวันนี้ ตนในฐานะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ติดตามการบังคับใช้กฎหมายของ กกต. และการตีความขององค์กรศาลที่เคยเป็นกรณีตัวอย่าง กรณีนี้จึงมาขอให้ กกต.ได้ตรวจสอบ สอบสวน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งตนได้แนบหลักฐานจากการสืบค้นทางทะเบียนมาด้วย.