ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม,
ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมัฏฐิตตา),
คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
ดูก่อนภิกาษุ ! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เป็นธรรมราชาผู้ประกอบด้วยธรรม อาศัยธรรมอย่างเดียว สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นอธิบดี ย่อมจัดการอารักขา ป้องกันและคุ้มครอง โดยธรรม ในกายกรรม, วจีกรรม, และมโนกรรม ว่า อย่างนี้ๆ ควรเสพอย่างนี้ๆ ไม่ควรเสพ ดังนี้.
ฉะนั้น คนผู้หวังอยู่ต่อคุณอันใหญ่ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า “ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเอง โดยศีลได้หรือไม่”. (เป็นต้น)
ว่าด้วย "God" 'กฏ' (ธรรมชาติ)
ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมัฏฐิตตา),
คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
ดูก่อนภิกาษุ ! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เป็นธรรมราชาผู้ประกอบด้วยธรรม อาศัยธรรมอย่างเดียว สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นอธิบดี ย่อมจัดการอารักขา ป้องกันและคุ้มครอง โดยธรรม ในกายกรรม, วจีกรรม, และมโนกรรม ว่า อย่างนี้ๆ ควรเสพอย่างนี้ๆ ไม่ควรเสพ ดังนี้.
ฉะนั้น คนผู้หวังอยู่ต่อคุณอันใหญ่ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า “ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเอง โดยศีลได้หรือไม่”. (เป็นต้น)