อิทัปปัจจยตา กับ ปฏิจจสมุปบาท ... ? (กำหนดตาม ธรรม ๔ เรื่อง ที่ใครค้านไม่ได้)

ดูก่อนอานนท์ เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอดซึ่ง ธรรมคือ ปฏิจจสมุปบาทนี้ (ไม่ตรัสคำว่า ธรรมคือ อิทัปปัจจยตา)

(จิตของ) หมู่สัตว์นี้ (กำหนดตาม -- มหาตัณหาสังขยสูตร --- กำหนด สิ่งที่ชื่อ จิต  ตามคำไหน วรรคไหน?)
จึงเป็นเหมือน กลุ่มด้ายยุ่ง
ยุ่งเหยิง เหมือนความยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่นไปด้วยปม (ปมคือ นิวรณ์ทั้ง ๕ + มิจฉาทิฏฐิ มั๊ง-- ตรงนี้ ผมเสนอเอง)
พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้า (ชื่อ) มุญชะ และหญ้า(ชื่อ) ปัพพชะ อย่างนี้

ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสังสาระ (คือ ? ตาม ธรรม ๔ อย่างที่ใครค้านไม่ได้?)
ทุคติ  (ตามที่ตรัสว่า อวิชชา นั่นแหละ เป็นคติ ของสัตว์เหล่านั้น)
วินิบาต (คือ ? พิจารณาเองตามที่ตรัส)
ไปได้

(พระสูตรที่ ๑๐ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน สํ ๑๖/๑๑๑/๒๒๕  ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๕ พุทธทาสภิกขุ)


^^^^^^^^
อิทัปปัจจยตา โดย พยัญชนะ คือ ---ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย  สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ปฏิจจสมุปบาท โดยพยัฯชนะ คือ -- ธรรมอันเป็นธรรมดา (แห่งธรรมชาติเช่นนั้น) อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น (ตามอาการเช่นนั้น ตามที่ ทรงปริวิตก ก่อนตรัสรู้ แบบ ไม่เคยฟังจากใครมาก่อน ได้แก่ สาย สมุทัย ที่มีคำว่า ชาติ / สาย นิโรธ ไม่มีคำว่า ตายเข้าโลง


ประเด็น กระทู้นี้


ธรรม ๔ เรื่อง ที่ใครค้านไม่ได้  กำหนด ตาม มหาตัณหาสังขยสูตร

ข้อความใด ที่ตรัส คือ อิทัปปัจจยตา ?
ข้อความใด ที่ตรัส คือ ปฏิจจสมุปบาท ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่